credit : thanonline.com
------
การส่งออกของไทยถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดตัวเลขเป็นทางการจากฝ่ายรัฐบาลยอมรับว่าการส่งออกของไทยปี 2556 จะเติบโตเพียง 1 % เท่านั้น และคาดการณ์การส่งออกของไทยในปี 2557 จะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 5.9 % เนื่องจากกลุ่มเกษตรและอาหารจะส่งออกได้ประมาณ 5.9 % กลุ่มอุตสาหกรรมหนักเพิ่มขึ้น 7.1 % แฟชั่นเพิ่มขึ้น 4.8 % ไลฟ์สไตล์เพิ่มขึ้น 4.8 % สุขภาพและความงามเพิ่มขึ้น 6.3 %
ก่อนหน้านี้ประเทศไทยยอดส่งออกดีมากๆ แต่ต่อมาในภายหลัง มีบางประเทศในยุโรปเศรษฐกิจตกต่ำ ยังเหลือเศรษฐกิจมั่นคงไม่กี่ประเทศ อาทิ เยอรมนีและฝรั่งเศส อีกทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา ตลาดส่งออกที่สำคัญของโลกเผชิญภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างที่สุด ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องประสบปัญหาการส่งออกอย่างหนักหน่วงในเวลานี้
ความจริงแล้วตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป เป็นตลาดส่งออกที่ไทยส่งออกได้ถดถอยลงมาเรื่อยๆ ราวเกือบ 10 ปีอยู่แล้ว โดยส่งออกไปยังยุโรปราว 10 % ของยอดการส่งออกรวมของประเทศไทย และส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาต่ำกว่า 10 % จึงน่าจะเรียกว่าสองตลาดนี้อยู่ในภาวะทรงตัวในระดับต่ำมาตลอด และการส่งออกลดลงในภูมิภาคนี้ เกิดขึ้นก่อนยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะเผชิญภาวะวิกฤตเสียด้วยซ้ำ
นี่เป็นภาพสะท้อนว่า แท้จริงแล้วปัญหาการส่งออกลดลงของไทย ไม่ใช่เพราะตลาดหลักอย่างยุโรปและสหรัฐอเมริกามีปัญหาเท่านั้นที่เป็นปัญหา แต่มีปัญหาหลักมาจากอย่างอื่นด้วย อาทิ ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ได้ย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบการภายในประเทศลดการผลิต หรืออาจปิดตัวเองไปอีกอย่างหนึ่ง อันเนื่องมาจากการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำอย่างพรวดพราดของรัฐบาล และขีดความสามารถในการส่งออกของไทยลดลง ทำให้ประเทศอื่นสามารถส่งสินค้าเข้าไปแข่งขันไทยในตลาดต่างประเทศได้ดีกว่าอีกอย่างหนึ่งด้วย
การแสวงหาตลาดต่างประเทศในส่วนของทูตพาณิชย์นั้น เราได้เห็นความพยายามของเจ้าหน้าที่อย่างถึงที่สุดแล้ว มีทั้งออกพื้นที่ จัดงานนิทรรศการแสดงสินค้า แสดงผลิตภัณฑ์ รวมไปจนถึงการขึ้นเว็บไซต์ติดตามความเคลื่อนไหวทางการค้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีนและใกล้เคียง
สิ่งที่ไทยควรแก้ไขปรับปรุงโดยภาคเอกชนภายใต้การอุดหนุนเป็นกรณีพิเศษจากรัฐก็คือ ไทยต้องแก้ไขปัญหาการส่งออกด้วยวิธีการเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตสินค้ามากขึ้น เพื่อลดต้นทุนค่าแรงงานในระยะยาวลงไป เพราะปัญหาที่เผชิญอยู่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายทุน ย้ายฐานการผลิต อันสอดคล้องกับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนด้วย และไทยต้องเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าที่แตกต่าง ใช้ Know How ขั้นสูงยิ่งกว่า เท่าที่ผลิตในปัจจุบันให้ได้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,899 วันที่ 24 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แก้ส่งออกไทยตกต่ำ
------
การส่งออกของไทยถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดตัวเลขเป็นทางการจากฝ่ายรัฐบาลยอมรับว่าการส่งออกของไทยปี 2556 จะเติบโตเพียง 1 % เท่านั้น และคาดการณ์การส่งออกของไทยในปี 2557 จะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 5.9 % เนื่องจากกลุ่มเกษตรและอาหารจะส่งออกได้ประมาณ 5.9 % กลุ่มอุตสาหกรรมหนักเพิ่มขึ้น 7.1 % แฟชั่นเพิ่มขึ้น 4.8 % ไลฟ์สไตล์เพิ่มขึ้น 4.8 % สุขภาพและความงามเพิ่มขึ้น 6.3 %
ก่อนหน้านี้ประเทศไทยยอดส่งออกดีมากๆ แต่ต่อมาในภายหลัง มีบางประเทศในยุโรปเศรษฐกิจตกต่ำ ยังเหลือเศรษฐกิจมั่นคงไม่กี่ประเทศ อาทิ เยอรมนีและฝรั่งเศส อีกทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา ตลาดส่งออกที่สำคัญของโลกเผชิญภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างที่สุด ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องประสบปัญหาการส่งออกอย่างหนักหน่วงในเวลานี้
ความจริงแล้วตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป เป็นตลาดส่งออกที่ไทยส่งออกได้ถดถอยลงมาเรื่อยๆ ราวเกือบ 10 ปีอยู่แล้ว โดยส่งออกไปยังยุโรปราว 10 % ของยอดการส่งออกรวมของประเทศไทย และส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาต่ำกว่า 10 % จึงน่าจะเรียกว่าสองตลาดนี้อยู่ในภาวะทรงตัวในระดับต่ำมาตลอด และการส่งออกลดลงในภูมิภาคนี้ เกิดขึ้นก่อนยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะเผชิญภาวะวิกฤตเสียด้วยซ้ำ
นี่เป็นภาพสะท้อนว่า แท้จริงแล้วปัญหาการส่งออกลดลงของไทย ไม่ใช่เพราะตลาดหลักอย่างยุโรปและสหรัฐอเมริกามีปัญหาเท่านั้นที่เป็นปัญหา แต่มีปัญหาหลักมาจากอย่างอื่นด้วย อาทิ ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ได้ย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบการภายในประเทศลดการผลิต หรืออาจปิดตัวเองไปอีกอย่างหนึ่ง อันเนื่องมาจากการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำอย่างพรวดพราดของรัฐบาล และขีดความสามารถในการส่งออกของไทยลดลง ทำให้ประเทศอื่นสามารถส่งสินค้าเข้าไปแข่งขันไทยในตลาดต่างประเทศได้ดีกว่าอีกอย่างหนึ่งด้วย
การแสวงหาตลาดต่างประเทศในส่วนของทูตพาณิชย์นั้น เราได้เห็นความพยายามของเจ้าหน้าที่อย่างถึงที่สุดแล้ว มีทั้งออกพื้นที่ จัดงานนิทรรศการแสดงสินค้า แสดงผลิตภัณฑ์ รวมไปจนถึงการขึ้นเว็บไซต์ติดตามความเคลื่อนไหวทางการค้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีนและใกล้เคียง
สิ่งที่ไทยควรแก้ไขปรับปรุงโดยภาคเอกชนภายใต้การอุดหนุนเป็นกรณีพิเศษจากรัฐก็คือ ไทยต้องแก้ไขปัญหาการส่งออกด้วยวิธีการเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตสินค้ามากขึ้น เพื่อลดต้นทุนค่าแรงงานในระยะยาวลงไป เพราะปัญหาที่เผชิญอยู่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายทุน ย้ายฐานการผลิต อันสอดคล้องกับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนด้วย และไทยต้องเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าที่แตกต่าง ใช้ Know How ขั้นสูงยิ่งกว่า เท่าที่ผลิตในปัจจุบันให้ได้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,899 วันที่ 24 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556