ศาลรัฐธรรมนูญ“หน้าที่”ที่ต้องรักษา กับ “การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ”

กระทู้สนทนา
.....ประเด็นร้อนแรงที่เกิดขึ้น หลังคำตัดสินวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็ยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ พาเหรดออกมาแสดงความเห็นกันมากมาย แต่ทิศทางในการแสดงความเห็นนั้น มีหลายส่วนที่สวนทางคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา เช่น การแก้ไขที่มาของ สว.เข้าข่ายมาตรา 68 หรือไม่? กรณีเสียบบัตรแทนของรัฐสภาไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แล้วไปก้าวก่ายได้อย่างไร?  ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะรับเรื่องนี้หรือ? การตีความของศาลรัฐธรรมนูญเป็นการขยายขอบเขตอำนาจเกินที่ควรจะเป็น? นักวิชาการมากมายที่สอนกฎหมายและรัฐศาสตร์ ต่างก็ออกมาตั้งคำถามเหล่านี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ

     ไอ้ผมเองก็ไม่ได้จบมาทางด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ แต่ก็มีใจรักชาติ และห่วงใยประเทศเห็นว่าต่อไปจะเกิดบรรทัดฐานที่ผิดๆ จากคำตัดสินที่หามาตรฐานไม่ได้ของศาลรัฐธรรมนูญ และไอ้การที่ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายดีของผม ทำให้ผมสงสัยว่า การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบรึเปล่า

     แต่คุยกับนักกฎหมาย ก็ต้องใช้วิธีของนักกฎหมาย ซึ่งผมขอยก ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 7663/2543 มาอ้างอิงถึงคำว่า “การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ”
คำพิพากษาฎีกาที่ 7663/2543 อธิบายไว้ชัดแจ้งว่า ลักษณะของการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแบ่งได้ 4 ลักษณะคือ
1. การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจ
2. การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง อันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้น
3.การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
4.การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

     คำถามคือ การปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ เข้าข่าย 4 ลักษณะนี้ไหม ผมไม่สามารถตอบได้ แต่เท่าที่ประมวลผลจากการติดตามดูความเห็นของนักวิชาการที่ออกมาแสดงทัศนะ มันชวนให้ผมคิดว่า การปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญเข้าข่ายการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแบ่ง

     1. การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจ
เขาก็ถามกันทั้งบ้านทั้งเมืองว่าเอาอำนาจอะไรไปรับ จะบอกว่าเข้าข่ายมาตรา 68 ได้อย่างไร ในเมื่อมันไม่ได้ล้มล้าง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หากอ้าง วรรค2 ของมาตรา68 เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
     ซึ่งเขาก็ทำตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ที่เขียนไว้ในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 193 ข้อ5 ข้อ9 มาตรา173 มาตรา178 วรรค2 และมาตรา313 เหล่านี้หรือมิได้เป็นวิธีทางตามรัฐธรรมนูญ

     2. การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
แล้วที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างเจตารมย์ของรัฐธรรมนูญ ถามหน่อยเถอะ มันอยู่ตรงไหน บัญญัติไว้ในมาตราใด อ่านดูหลายรอบแล้วไม่เห็นมีเลย “สภาผัวเมีย” ดุลพินิจของศาลมันเกินขอบเขตหรือไม่ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

ผมถามประสาของคนที่ไม่มีความรู้ด้านนี้มากนัก แต่ก็พอรู้หลักการพิจารณาคดี เข้าใจว่า คำตัดสินที่มีมาก่อนหน้าย่อมเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ในการตัดสินต่อไป

แล้วศาลรัฐธรรมนูญ ยึดอะไรเป็นบรรทัดฐาน

หรือยึดว่า หากเป็นฝ่ายเพื่อไทย เป็นข้างทักษิณ ต้องผิดเสมอใช่ไหม แต่หากเป็นอีกฝ่าย ทำอะไรก็ไม่ผิดใช่ไหม ตอบผมที


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่