วันที่ 19 พ.ย. 2013 รายการเจาะข่าวเด่น ดำเนินรายการโดยสรยุทธ สุทัศนจินดา สัมภาษณ์สดสองแกนนำม็อบคือ คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ คุณถาวร เสนเนียม ถกเถียงเรื่องประเด็นการชุมนุมของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมหลัก ๆ ของไทยในขณะนี้
โดยการดำเนินรายการดำเนินไปจนถึงช่วงท้าย คุณถาวร เสนเนียม ไม่สามารถตอบคำถามที่คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ตั้งคำถามได้เลย และที่สำคัญที่ทำให้การสัมภาษณ์ครั้งนี้กลายเป็นประเด็นฮอตสำหรับวงการ นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ นั่นคือการพูดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และลุกลามมาถึงเรื่องเกี่ยวกับอำนาจและความชอบธณรมของรัฐสภา บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญ โดยคุณถาวร เสนเนียม กล่าวว่า
“ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเหนือ 3 องค์กรคือ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และตุลาการ ดังนั้นผู้มีำอำนาจชี้ขาดความชอบ ของ 3 องค์กรดังกล่าว คือ ศาลรัฐธรรมนูญ และยังกล่าวอีกว่า องค์กรที่ชี้ความถูกผิดในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ หรือขัดแย้งรัฐธรรมนูญคือศาลรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยเราใช้ระบบที่ศาลรัฐธรรมนูญสูงสุด ไม่ใช่รัฐสภา … ย้ำอีกทีว่า ศาลรัฐธรรมนูญสูงสุด ไม่ใช่รัฐสภาสูงสุด”
ซึ่งคุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้กล่าวออกมาว่าตนเห็นต่างอย่างสิ้นเชิงพร้อมกล่าวว่า
“รัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจชี้ขาดก็จริง แต่… จะต้องชี้ขาดตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ดังนั้นจะมาอ้างว่า ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดอย่างไร 3 องค์การดังกล่าวที่มีอำนาจต้องยอมรับ นั้นไม่ได้ครับ! เพราะว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 68 นั้นเขียนไว้ชัดว่าต้องผ่านอัยการสูงสุดก่อน แต่ท่านก็ล้วงมาทำหน้าที่ในขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจโดยชอบ ไม่ใช่การใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐสภา …. ผู้แทนของประชาชนต้องมีอำนาจปกป้องรัฐสภาของประชาชน”
จากนั้น คุณถาวร เสนเนียม ได้กล่าวต่ออีกว่า
“ถ้ามีความขัดแย้ง หรือขาดดุลยภาพของ 3 องค์กรดังกล่าว ไม่มีใครชี้ขาด ความคิดเห็นที่ต่าง ถ้าไม่มีกาประนีประนอม ต้องมีการชี้ขาดขององค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ เพราะฉะนั้นการที่คุณบอกว่าไม่รับในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่ชี้ขาดความขัดแย้งของพวกผมและของพวกคุณซึ่งเป็นเสียงข้างมาก ที่ผมเรียกว่านิติธรรมอำพราง ใช้เสียงข้างมากอย่างเดียว เราเอาความไม่ชอบธรรมกับเสียงข้างมากมารวมกันไม่ได้! ”
จากนั้นคุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ก็ได้กล่าวต่อว่า
“ผมไม่รู้ว่านั่นตำราการเมืองอะไร? แล้วประชาชนคนไทยต้องทราบนะครับว่า ผมเสียใจที่จะต้องมานั่งฟังประชาธิปัตย์บอกว่า สภาที่ท่านเลือก รัฐบาลที่ท่านเลือก มีสถานะต่ำกว่าศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรทางข้าง ไม่ได้เป็นองค์กรที่มีสถานะเหนือกว่า องค์กรไหน? ที่จะมีอำนาจเหนือกว่าอำนาจอธิปไตยที่มาจากประชาชนได้ยังไง?”
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญมาตรา 3 และมาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า
มาตรา3 “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหา กษัตริย์ผู้ ทรง เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้”
มาตรา6 “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใด ของกฎหมาย กฎ หรือ ข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัติ นั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้“
จาก:
Banaze.com
ถาวร เสนเนียม พลาด!! ไม่รู้จริงเรื่องอำนาจรัฐธรรมนูญ เดือดวงการ นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
วันที่ 19 พ.ย. 2013 รายการเจาะข่าวเด่น ดำเนินรายการโดยสรยุทธ สุทัศนจินดา สัมภาษณ์สดสองแกนนำม็อบคือ คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ คุณถาวร เสนเนียม ถกเถียงเรื่องประเด็นการชุมนุมของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมหลัก ๆ ของไทยในขณะนี้
โดยการดำเนินรายการดำเนินไปจนถึงช่วงท้าย คุณถาวร เสนเนียม ไม่สามารถตอบคำถามที่คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ตั้งคำถามได้เลย และที่สำคัญที่ทำให้การสัมภาษณ์ครั้งนี้กลายเป็นประเด็นฮอตสำหรับวงการ นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ นั่นคือการพูดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และลุกลามมาถึงเรื่องเกี่ยวกับอำนาจและความชอบธณรมของรัฐสภา บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญ โดยคุณถาวร เสนเนียม กล่าวว่า
“ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเหนือ 3 องค์กรคือ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และตุลาการ ดังนั้นผู้มีำอำนาจชี้ขาดความชอบ ของ 3 องค์กรดังกล่าว คือ ศาลรัฐธรรมนูญ และยังกล่าวอีกว่า องค์กรที่ชี้ความถูกผิดในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ หรือขัดแย้งรัฐธรรมนูญคือศาลรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยเราใช้ระบบที่ศาลรัฐธรรมนูญสูงสุด ไม่ใช่รัฐสภา … ย้ำอีกทีว่า ศาลรัฐธรรมนูญสูงสุด ไม่ใช่รัฐสภาสูงสุด”
ซึ่งคุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้กล่าวออกมาว่าตนเห็นต่างอย่างสิ้นเชิงพร้อมกล่าวว่า
“รัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจชี้ขาดก็จริง แต่… จะต้องชี้ขาดตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ดังนั้นจะมาอ้างว่า ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดอย่างไร 3 องค์การดังกล่าวที่มีอำนาจต้องยอมรับ นั้นไม่ได้ครับ! เพราะว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 68 นั้นเขียนไว้ชัดว่าต้องผ่านอัยการสูงสุดก่อน แต่ท่านก็ล้วงมาทำหน้าที่ในขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจโดยชอบ ไม่ใช่การใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐสภา …. ผู้แทนของประชาชนต้องมีอำนาจปกป้องรัฐสภาของประชาชน”
จากนั้น คุณถาวร เสนเนียม ได้กล่าวต่ออีกว่า
“ถ้ามีความขัดแย้ง หรือขาดดุลยภาพของ 3 องค์กรดังกล่าว ไม่มีใครชี้ขาด ความคิดเห็นที่ต่าง ถ้าไม่มีกาประนีประนอม ต้องมีการชี้ขาดขององค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ เพราะฉะนั้นการที่คุณบอกว่าไม่รับในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่ชี้ขาดความขัดแย้งของพวกผมและของพวกคุณซึ่งเป็นเสียงข้างมาก ที่ผมเรียกว่านิติธรรมอำพราง ใช้เสียงข้างมากอย่างเดียว เราเอาความไม่ชอบธรรมกับเสียงข้างมากมารวมกันไม่ได้! ”
จากนั้นคุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ก็ได้กล่าวต่อว่า
“ผมไม่รู้ว่านั่นตำราการเมืองอะไร? แล้วประชาชนคนไทยต้องทราบนะครับว่า ผมเสียใจที่จะต้องมานั่งฟังประชาธิปัตย์บอกว่า สภาที่ท่านเลือก รัฐบาลที่ท่านเลือก มีสถานะต่ำกว่าศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรทางข้าง ไม่ได้เป็นองค์กรที่มีสถานะเหนือกว่า องค์กรไหน? ที่จะมีอำนาจเหนือกว่าอำนาจอธิปไตยที่มาจากประชาชนได้ยังไง?”
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญมาตรา 3 และมาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า
มาตรา3 “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหา กษัตริย์ผู้ ทรง เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้”
มาตรา6 “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใด ของกฎหมาย กฎ หรือ ข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัติ นั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้“
จาก: Banaze.com