ในพระไตรปิฎกนั้นกล่าวถึงสภาวธรรม ที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมหลายที่ จึงไม่ใช่เพียงอ่านแล้วตีความตามตัวอักษรเท่านั้น
ทำให้ผมเขียนกลอนนี้ขึ้นมา
มรรคสมังคี นั้นมีในไตรปิฎก ทั้งหมดจดด้วยสภาวธรรมทั้งหลาย
ปรากฏชัดในไตรปิฎกมากมาย เป็นจุดหมายไม่เพียงอ่านตามอักษร
อันธรรมนั้นประกอบด้วยการศึกษา และภาวนาปฏิบัติตามขั้นตอน
จึงละกิเลสทำให้ทุกข์ลดทอน ตามคำสอนแห่งองค์พระชินศรี.
จากพระไตรปิฎกคำว่า มัคคสมังคี ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 ดังนี้
-------
อุปมานายโคบาลกับสมณพราหมณ์
[๓๘๙]....
...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ ๓ หมดสิ้นไป และมีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง
เป็นสกทาคามีบุคคล มาสู่โลกนี้คราวเดียว ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุพวกนั้น ก็ชื่อว่า
ตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่าลูกโค
ที่มีกำลังยังน้อย ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ ๓ หมดสิ้นไป เป็นโสดาบัน มีความเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็น
ธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า แม้พวกภิกษุนั้น ก็ชื่อว่าตัดกระแสมารขวาง
ไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลูกโคเล็กที่เกิดในวันนั้น ลอย
ไปตามเสียงโคเมียที่เป็นแม่ ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้
ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่เป็นมัคคสมังคีบุคคลชั้นต้น ที่เป็นธัมมานุสารี
และที่เป็นสัทธานุสารี แม้พวกภิกษุนั้น ก็ชื่อว่าตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดย
สวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราแล เป็นผู้ฉลาดในโลกนี้ ฉลาดใน
โลกหน้า ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมาร ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็น
แก่งแห่งมาร ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมัจจุ ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็น
แก่งแห่งมัจจุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใด จักนับถือถ้อยคำของเรานั้นว่า เป็นถ้อยคำ
อันตนควรฟัง ควรเชื่อ ความนับถือของชนเหล่านั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข
ตลอดกาลนาน.
...
----
>>> ต่อไปจะขยาย มัคคสมังคีบุคคล เป็นอย่างไร ให้ชัดเจน ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 14
-----
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล
[๔๖๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง มีอัน
แปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา จมูกไม่
เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็น
ธรรมดา กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่
หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลง
สู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด. เราเรียกผู้นี้ว่า
ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่
บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยัง
ไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า
เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๑.
----
>>> ต่อไปเป็นสภาวธรรม ที่เป็นฌาน ในพระไตรปิฎกเป็นดังนี้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 12
----
ว่าด้วยฌาน ๔
[๔๗๑] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็น
เครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแก่วิเวกอยู่. เธอทำกายนี้แล ให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วย
ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิด
แต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้
ฉลาด ใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุรณสีตัวนั้นมียางซึมไปจับ
ติดกันทั้งข้างในข้างนอก ย่อมไม่กระจายออก ฉะนั้น.
[๔๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมดาเอกผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ
สุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่. เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิด
แต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่
ถูกต้อง เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำขังอยู่ ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก
ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำ
นั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.
[๔๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย พระปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้
มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซ่าน ด้วยสุขอัน
ปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
เปรียบเหมือนในกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก แต่ละชนิด กออุบล กอปทุมหรือ
กอบุณฑริก ดอกบัวบางชนิด เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นจากน้ำ จมอยู่ในน้ำ
น้ำเลี้ยงไว้ อันน้ำเย็นหล่อเลี้ยง เอิบอาบซึมซาบไปแต่ยอดและเหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่ง
กออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น
[๔๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสในก่อนได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. เธอนั่ง
แผ่ไปทั่วกายนี้แล ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่จิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มี
เอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้องฉะนั้น.
---
>>> ต่อไปเป็นสภาวธรรมที่เป็น กายคตาสติ หรืออาจกล่าวว่าเป็นวิปัสสนาพิจารณากายในกาย ดังในพระไตรปิฏกเล่มที่ 14
----
[๒๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออกมีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจ เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า
หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่
อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน
หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน
หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่า กำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ เมื่อภิกษุนั้น
ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปใน ธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความ รู้สึกตัวในเวลา
ก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลา
ทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและ
ปัสสาวะ ในเวลา เดิน ยืน นั่งนอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะ
ละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
----
และผมเน้นเรื่องการปฏิบัติ ด้วยเห็นทุกข์ และการยอมสละชีวิตเพื่อธรรมได้ ด้วยกลอนที่เขียนไว้ดังนี้
ปฏิบัติธรรมด้วยเห็นทุกข์ ไม่ได้สนุกตามค่านิยม
เห็นธรรมไม่ใช่เพื่อเชยชม แต่เพื่อดลพ้นทุกข์ที่ร้อนรน
เมื่อทุกข์เบียดกดดันอยู่เบื้องหน้า ย่อมต้องกล้าในธรรมเพื่อให้พ้น
เมื่อฌานญาณสมบูรณ์เบื้องต้น จึงดั้นด้นย่อมสละแม้ชีวิต
ธรรมที่นำเสนอเพื่อให้รู้ เพื่อให้ผู้ ประสงค์นั้นเข้าใจ
ธรรมยิ่งนั้นยอมสละชีวิตไป พร้อมดำเนินไปตามวิปัสสนาญาณ.
ต้องเห็นทุกข์ยอมทิ้งแม้ชีวิต จึงจะพลิกเห็นธรรมแตกฉาน
แล้วแจ้งชัดด้วยปัญญาญาณ เพราะชำนาญพลีชีพเพื่อธรรมเอย.
ในพระไตรปิฎกนั้นกล่าวถึงสภาวธรรม ที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมหลายที่ จึงไม่ใช่เพียงอ่านแล้วตีความตามตัวอักษรเท่านั้น
ทำให้ผมเขียนกลอนนี้ขึ้นมา
มรรคสมังคี นั้นมีในไตรปิฎก ทั้งหมดจดด้วยสภาวธรรมทั้งหลาย
ปรากฏชัดในไตรปิฎกมากมาย เป็นจุดหมายไม่เพียงอ่านตามอักษร
อันธรรมนั้นประกอบด้วยการศึกษา และภาวนาปฏิบัติตามขั้นตอน
จึงละกิเลสทำให้ทุกข์ลดทอน ตามคำสอนแห่งองค์พระชินศรี.
จากพระไตรปิฎกคำว่า มัคคสมังคี ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 ดังนี้
-------
อุปมานายโคบาลกับสมณพราหมณ์
[๓๘๙]....
...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ ๓ หมดสิ้นไป และมีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง
เป็นสกทาคามีบุคคล มาสู่โลกนี้คราวเดียว ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุพวกนั้น ก็ชื่อว่า
ตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่าลูกโค
ที่มีกำลังยังน้อย ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ ๓ หมดสิ้นไป เป็นโสดาบัน มีความเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็น
ธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า แม้พวกภิกษุนั้น ก็ชื่อว่าตัดกระแสมารขวาง
ไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลูกโคเล็กที่เกิดในวันนั้น ลอย
ไปตามเสียงโคเมียที่เป็นแม่ ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้
ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่เป็นมัคคสมังคีบุคคลชั้นต้น ที่เป็นธัมมานุสารี
และที่เป็นสัทธานุสารี แม้พวกภิกษุนั้น ก็ชื่อว่าตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดย
สวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราแล เป็นผู้ฉลาดในโลกนี้ ฉลาดใน
โลกหน้า ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมาร ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็น
แก่งแห่งมาร ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมัจจุ ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็น
แก่งแห่งมัจจุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใด จักนับถือถ้อยคำของเรานั้นว่า เป็นถ้อยคำ
อันตนควรฟัง ควรเชื่อ ความนับถือของชนเหล่านั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข
ตลอดกาลนาน.
...
----
>>> ต่อไปจะขยาย มัคคสมังคีบุคคล เป็นอย่างไร ให้ชัดเจน ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 14
-----
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล
[๔๖๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง มีอัน
แปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา จมูกไม่
เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็น
ธรรมดา กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่
หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลง
สู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด. เราเรียกผู้นี้ว่า
ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่
บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยัง
ไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า
เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๑.
----
>>> ต่อไปเป็นสภาวธรรม ที่เป็นฌาน ในพระไตรปิฎกเป็นดังนี้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 12
----
ว่าด้วยฌาน ๔
[๔๗๑] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็น
เครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแก่วิเวกอยู่. เธอทำกายนี้แล ให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วย
ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิด
แต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้
ฉลาด ใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุรณสีตัวนั้นมียางซึมไปจับ
ติดกันทั้งข้างในข้างนอก ย่อมไม่กระจายออก ฉะนั้น.
[๔๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมดาเอกผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ
สุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่. เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิด
แต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่
ถูกต้อง เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำขังอยู่ ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก
ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำ
นั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.
[๔๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย พระปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้
มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซ่าน ด้วยสุขอัน
ปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
เปรียบเหมือนในกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก แต่ละชนิด กออุบล กอปทุมหรือ
กอบุณฑริก ดอกบัวบางชนิด เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นจากน้ำ จมอยู่ในน้ำ
น้ำเลี้ยงไว้ อันน้ำเย็นหล่อเลี้ยง เอิบอาบซึมซาบไปแต่ยอดและเหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่ง
กออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น
[๔๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสในก่อนได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. เธอนั่ง
แผ่ไปทั่วกายนี้แล ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่จิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มี
เอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้องฉะนั้น.
---
>>> ต่อไปเป็นสภาวธรรมที่เป็น กายคตาสติ หรืออาจกล่าวว่าเป็นวิปัสสนาพิจารณากายในกาย ดังในพระไตรปิฏกเล่มที่ 14
----
[๒๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออกมีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจ เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า
หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่
อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน
หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน
หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่า กำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ เมื่อภิกษุนั้น
ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปใน ธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความ รู้สึกตัวในเวลา
ก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลา
ทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและ
ปัสสาวะ ในเวลา เดิน ยืน นั่งนอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะ
ละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
----
และผมเน้นเรื่องการปฏิบัติ ด้วยเห็นทุกข์ และการยอมสละชีวิตเพื่อธรรมได้ ด้วยกลอนที่เขียนไว้ดังนี้
ปฏิบัติธรรมด้วยเห็นทุกข์ ไม่ได้สนุกตามค่านิยม
เห็นธรรมไม่ใช่เพื่อเชยชม แต่เพื่อดลพ้นทุกข์ที่ร้อนรน
เมื่อทุกข์เบียดกดดันอยู่เบื้องหน้า ย่อมต้องกล้าในธรรมเพื่อให้พ้น
เมื่อฌานญาณสมบูรณ์เบื้องต้น จึงดั้นด้นย่อมสละแม้ชีวิต
ธรรมที่นำเสนอเพื่อให้รู้ เพื่อให้ผู้ ประสงค์นั้นเข้าใจ
ธรรมยิ่งนั้นยอมสละชีวิตไป พร้อมดำเนินไปตามวิปัสสนาญาณ.
ต้องเห็นทุกข์ยอมทิ้งแม้ชีวิต จึงจะพลิกเห็นธรรมแตกฉาน
แล้วแจ้งชัดด้วยปัญญาญาณ เพราะชำนาญพลีชีพเพื่อธรรมเอย.