credit : thanonline.com
------
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเผยผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ-ความงาม ใช้จุดเด่นสารธรรมชาติ สไตล์อาเซียนเจาะตลาด ชี้ 9 เดือนส่งออกเฉียด 8.6 หมื่นล้านบาท เกาะแนวรุกนโยบาย“เมดิคัลฮับ”เอื้อตลาดขยายตัวพร้อมกัน
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามว่า จากกระแสโลกที่กระตุ้นให้ทุกคนหันมาดูแลสุขภาพและความงามของตัวเอง ทำให้ธุรกิจนี้และที่เกี่ยวเนื่องพัฒนาแบบก้าวกระโดด และมีแนวโน้มในการขยายตัวสูง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ อาทิ เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เภสัชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ เป็นต้น 9 เดือนแรก(ม.ค.-ต.ค.)ของปีนี้มีมูลค่าราว 2,772 ล้านเหรียญสหรัฐฯ( 85,900 ล้านบาท) หรือ เพิ่มขึ้น 3.2% คาดว่าสิ้นปีจะขยายตัวได้ 4% และตั้งเป้าหมายการส่งออกปี 57 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6.3%
“กระแสที่กำลังมาแรงคงจะหนีไม่พ้นเครื่องสำอางจากสารธรรมชาติ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้สินค้าที่พัฒนาจากสารสกัดธรรมชาติ มากกว่าจะเป็นสารสังเคราะห์ ซึ่งเป็นโอกาสการตลาดของไทย เพราะเราเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยสมุนไพร และพืชพันธุ์ แต่สิ่งที่ยังยังขาดก็คือ เทคโนโลยี และบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์”นางนันทวัลย์ กล่าวและว่า เมื่อเปิดตลาดอาเซียนจะมีการเอื้อประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนข้อมูล การเรียนรู้ ทราบถึงความต้องการของผู้บริโภค เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสินค้า ในการสร้างฐานการผลิตเพื่อการค้า เทคโนโลยีและเครือข่ายระหว่างกัน
ทั้งนี้ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เวียดนาม กัมพูชา พม่า สิงคโปร์ และจีน โดยเฉพาะเมื่อจากความนิยมชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ของประเทศไทยเป็นมากขึ้นในแต่ละปี ประกอบกับรัฐบาลได้ผลักดันนโยบายให้ประเทศไทยกลายเป็น ศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ของทวีปเอเชีย(Medical Hub of Asia) ในส่วนของภาพรวมธุรกิจสปาไทย จัดได้ว่ามีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับจากต่างชาติ และมีอัตราการเติบโตสูงในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐฯ ยุโรป และยังได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย โดยภาพรวมธุรกิจสปาไทยมีอัตราการเติบโตประมาณ 20-30% โดยแบ่งเป็นลูกค้าต่างประเทศประมาณ 80% จากผลประกอบการ ดังกล่าวพอจะคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจด้านสุขภาพและความงามของไทยว่ามีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
สำหรับตลาดสุขภาพและความงามในประเทศคาดว่าปี 2558 ตลาดจะมีขนาด 16,400 ล้านบาท โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินว่า นโยบายเมดิคัลฮับ จะส่งผลให้มีรายได้เข้าประเทศประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี หรือ 0.4% ของจีดีพี ซึ่งถือเป็นเงินจำนวนมหาศาล แต่ผลกระทบที่อาจจะได้รับ คือ ค่ารักษาพยาบาลที่ปรับขึ้น เพราะโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่มีการตั้งราคารักษาพยาบาลราคาเดียวไม่แยกคนไทย หรือ คนต่างชาติ ส่วนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีแนวโน้มถูกดึงออกจากภาครัฐมากขึ้น หากปล่อยให้เติบโตในระยะยาว ไม่มีการดูแล จะยิ่งเกิดช่องว่างบริการการรักษาระหว่างโรงพยาบาลและเอกชนมากขึ้น ซึ่งมูลค่าบริการทางการแพทย์ที่มีมูลค่าสูง จะเป็นรักษาโรคเฉพาะทาง เช่น การผ่าตัดสมอง การผ่าตัดหัวใจ และโรคมะเร็ง โดยจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่มาเข้ารับการรักษาในเมืองไทยในปี 2555 ราว 2 ล้านคน ขณะที่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอาเซียนในปี 55 สร้างรายได้ให้กับประเทศกว่า 2,500 ล้านบาท คู่แข่งที่ประกาศตัวเป็นฮับเช่นกัน อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย อินเดีย
นางนันทวัลย์ กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายในตลาดเฉพาะที่น่าสนใจได้แก่ ตลาดฮาลาล ผลิตภัณฑ์โฮมสปาสไตล์อาเซียน เป็นต้น โดยการเปิดโรงงานลอริอัล ผู้ผลิตเครื่องสำอางจากฝรั่งเศสที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย หวังใช้เป็นฐานเจาะตลาดความงามในประเทศอาเซียนมีจุดที่น่าสนใจว่า ยุโรปได้เล็งเห็นกลุ่มเป้าหมายชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ในอาเซียน ที่หากไทยต้องการเป็นศูนย์กลางการให้บริการรักษาพยาบาลของอาเซียนอย่างแท้จริง ควรจะเตรียมตัวศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบริการทางการแพทย์ตามแบบวิถีอิสลาม ซึ่งมีหลักปฏิบัติที่แตกต่าง อาทิ โรงพยาบาลและแพทย์ต้องปรับวิธีการจ่ายยาในเดือนรอมฎอน การงดเว้นนัดผู้ป่วยนอกในเดือนรอมฎอน การใช้ปฏิทินอิสลามในการดูกำหนดนัดที่เหมาะสม ตลอดจนจัดสถานที่ละหมาดที่มีความสะดวกสำหรับผู้ป่วยที่สามารถลุกขึ้นเดินได้ แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในวิถีปฏิบัติที่แตกต่าง
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเผยผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ-ความงาม ใช้จุดเด่นสารธรรมชาติ สไตล์อาเซียนเจาะตลาด ชี้ 9 เดือนส่งออกเฉียด 8.6 หมื่นล้านบาท เกาะแนวรุกนโยบาย“เมดิคัลฮับ”เอื้อตลาดขยายตัวพร้อมกัน นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามว่า จากกระแสโลกที่กระตุ้นให้ทุกคนหันมาดูแลสุขภาพและความงามของตัวเอง ทำให้ธุรกิจนี้และที่เกี่ยวเนื่องพัฒนาแบบก้าวกระโดด และมีแนวโน้มในการขยายตัวสูง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ อาทิ เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เภสัชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ เป็นต้น 9 เดือนแรก(ม.ค.-ต.ค.)ของปีนี้มีมูลค่าราว 2,772 ล้านเหรียญสหรัฐฯ( 85,900 ล้านบาท) หรือ เพิ่มขึ้น 3.2% คาดว่าสิ้นปีจะขยายตัวได้ 4% และตั้งเป้าหมายการส่งออกปี 57 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6.3%
“กระแสที่กำลังมาแรงคงจะหนีไม่พ้นเครื่องสำอางจากสารธรรมชาติ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้สินค้าที่พัฒนาจากสารสกัดธรรมชาติ มากกว่าจะเป็นสารสังเคราะห์ ซึ่งเป็นโอกาสการตลาดของไทย เพราะเราเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยสมุนไพร และพืชพันธุ์ แต่สิ่งที่ยังยังขาดก็คือ เทคโนโลยี และบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์”นางนันทวัลย์ กล่าวและว่า เมื่อเปิดตลาดอาเซียนจะมีการเอื้อประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนข้อมูล การเรียนรู้ ทราบถึงความต้องการของผู้บริโภค เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสินค้า ในการสร้างฐานการผลิตเพื่อการค้า เทคโนโลยีและเครือข่ายระหว่างกัน ทั้งนี้ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เวียดนาม กัมพูชา พม่า สิงคโปร์ และจีน โดยเฉพาะเมื่อจากความนิยมชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ของประเทศไทยเป็นมากขึ้นในแต่ละปี ประกอบกับรัฐบาลได้ผลักดันนโยบายให้ประเทศไทยกลายเป็น ศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ของทวีปเอเชีย(Medical Hub of Asia)
ในส่วนของภาพรวมธุรกิจสปาไทย จัดได้ว่ามีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับจากต่างชาติ และมีอัตราการเติบโตสูงในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐฯ ยุโรป และยังได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย โดยภาพรวมธุรกิจสปาไทยมีอัตราการเติบโตประมาณ 20-30% โดยแบ่งเป็นลูกค้าต่างประเทศประมาณ 80% จากผลประกอบการ ดังกล่าวพอจะคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจด้านสุขภาพและความงามของไทยว่ามีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดสุขภาพและความงามในประเทศคาดว่าปี 2558 ตลาดจะมีขนาด 16,400 ล้านบาท โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินว่า นโยบายเมดิคัลฮับ จะส่งผลให้มีรายได้เข้าประเทศประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี หรือ 0.4% ของจีดีพี ซึ่งถือเป็นเงินจำนวนมหาศาล แต่ผลกระทบที่อาจจะได้รับ คือ ค่ารักษาพยาบาลที่ปรับขึ้น เพราะโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่มีการตั้งราคารักษาพยาบาลราคาเดียวไม่แยกคนไทย หรือ คนต่างชาติ
ส่วนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีแนวโน้มถูกดึงออกจากภาครัฐมากขึ้น หากปล่อยให้เติบโตในระยะยาว ไม่มีการดูแล จะยิ่งเกิดช่องว่างบริการการรักษาระหว่างโรงพยาบาลและเอกชนมากขึ้น ซึ่งมูลค่าบริการทางการแพทย์ที่มีมูลค่าสูง จะเป็นรักษาโรคเฉพาะทาง เช่น การผ่าตัดสมอง การผ่าตัดหัวใจ และโรคมะเร็ง โดยจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่มาเข้ารับการรักษาในเมืองไทยในปี 2555 ราว 2 ล้านคน ขณะที่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอาเซียนในปี 55 สร้างรายได้ให้กับประเทศกว่า 2,500 ล้านบาท คู่แข่งที่ประกาศตัวเป็นฮับเช่นกัน อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย อินเดีย นางนันทวัลย์ กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายในตลาดเฉพาะที่น่าสนใจได้แก่ ตลาดฮาลาล ผลิตภัณฑ์โฮมสปาสไตล์อาเซียน เป็นต้น โดยการเปิดโรงงานลอริอัล ผู้ผลิตเครื่องสำอางจากฝรั่งเศสที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย หวังใช้เป็นฐานเจาะตลาดความงามในประเทศอาเซียนมีจุดที่น่าสนใจว่า ยุโรปได้เล็งเห็นกลุ่มเป้าหมายชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ในอาเซียน ที่หากไทยต้องการเป็นศูนย์กลางการให้บริการรักษาพยาบาลของอาเซียนอย่างแท้จริง ควรจะเตรียมตัวศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบริการทางการแพทย์ตามแบบวิถีอิสลาม ซึ่งมีหลักปฏิบัติที่แตกต่าง อาทิ โรงพยาบาลและแพทย์ต้องปรับวิธีการจ่ายยาในเดือนรอมฎอน การงดเว้นนัดผู้ป่วยนอกในเดือนรอมฎอน การใช้ปฏิทินอิสลามในการดูกำหนดนัดที่เหมาะสม ตลอดจนจัดสถานที่ละหมาดที่มีความสะดวกสำหรับผู้ป่วยที่สามารถลุกขึ้นเดินได้ แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในวิถีปฏิบัติที่แตกต่าง
พาณิชย์เผยผลิตภัณฑ์สุขภาพ-ความงาม 9 เดือน ส่งออกเฉียด 8.6 หมื่นลบ.
------
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเผยผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ-ความงาม ใช้จุดเด่นสารธรรมชาติ สไตล์อาเซียนเจาะตลาด ชี้ 9 เดือนส่งออกเฉียด 8.6 หมื่นล้านบาท เกาะแนวรุกนโยบาย“เมดิคัลฮับ”เอื้อตลาดขยายตัวพร้อมกัน
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามว่า จากกระแสโลกที่กระตุ้นให้ทุกคนหันมาดูแลสุขภาพและความงามของตัวเอง ทำให้ธุรกิจนี้และที่เกี่ยวเนื่องพัฒนาแบบก้าวกระโดด และมีแนวโน้มในการขยายตัวสูง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ อาทิ เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เภสัชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ เป็นต้น 9 เดือนแรก(ม.ค.-ต.ค.)ของปีนี้มีมูลค่าราว 2,772 ล้านเหรียญสหรัฐฯ( 85,900 ล้านบาท) หรือ เพิ่มขึ้น 3.2% คาดว่าสิ้นปีจะขยายตัวได้ 4% และตั้งเป้าหมายการส่งออกปี 57 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6.3%
“กระแสที่กำลังมาแรงคงจะหนีไม่พ้นเครื่องสำอางจากสารธรรมชาติ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้สินค้าที่พัฒนาจากสารสกัดธรรมชาติ มากกว่าจะเป็นสารสังเคราะห์ ซึ่งเป็นโอกาสการตลาดของไทย เพราะเราเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยสมุนไพร และพืชพันธุ์ แต่สิ่งที่ยังยังขาดก็คือ เทคโนโลยี และบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์”นางนันทวัลย์ กล่าวและว่า เมื่อเปิดตลาดอาเซียนจะมีการเอื้อประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนข้อมูล การเรียนรู้ ทราบถึงความต้องการของผู้บริโภค เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสินค้า ในการสร้างฐานการผลิตเพื่อการค้า เทคโนโลยีและเครือข่ายระหว่างกัน
ทั้งนี้ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เวียดนาม กัมพูชา พม่า สิงคโปร์ และจีน โดยเฉพาะเมื่อจากความนิยมชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ของประเทศไทยเป็นมากขึ้นในแต่ละปี ประกอบกับรัฐบาลได้ผลักดันนโยบายให้ประเทศไทยกลายเป็น ศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ของทวีปเอเชีย(Medical Hub of Asia) ในส่วนของภาพรวมธุรกิจสปาไทย จัดได้ว่ามีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับจากต่างชาติ และมีอัตราการเติบโตสูงในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐฯ ยุโรป และยังได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย โดยภาพรวมธุรกิจสปาไทยมีอัตราการเติบโตประมาณ 20-30% โดยแบ่งเป็นลูกค้าต่างประเทศประมาณ 80% จากผลประกอบการ ดังกล่าวพอจะคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจด้านสุขภาพและความงามของไทยว่ามีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
สำหรับตลาดสุขภาพและความงามในประเทศคาดว่าปี 2558 ตลาดจะมีขนาด 16,400 ล้านบาท โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินว่า นโยบายเมดิคัลฮับ จะส่งผลให้มีรายได้เข้าประเทศประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี หรือ 0.4% ของจีดีพี ซึ่งถือเป็นเงินจำนวนมหาศาล แต่ผลกระทบที่อาจจะได้รับ คือ ค่ารักษาพยาบาลที่ปรับขึ้น เพราะโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่มีการตั้งราคารักษาพยาบาลราคาเดียวไม่แยกคนไทย หรือ คนต่างชาติ ส่วนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีแนวโน้มถูกดึงออกจากภาครัฐมากขึ้น หากปล่อยให้เติบโตในระยะยาว ไม่มีการดูแล จะยิ่งเกิดช่องว่างบริการการรักษาระหว่างโรงพยาบาลและเอกชนมากขึ้น ซึ่งมูลค่าบริการทางการแพทย์ที่มีมูลค่าสูง จะเป็นรักษาโรคเฉพาะทาง เช่น การผ่าตัดสมอง การผ่าตัดหัวใจ และโรคมะเร็ง โดยจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่มาเข้ารับการรักษาในเมืองไทยในปี 2555 ราว 2 ล้านคน ขณะที่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอาเซียนในปี 55 สร้างรายได้ให้กับประเทศกว่า 2,500 ล้านบาท คู่แข่งที่ประกาศตัวเป็นฮับเช่นกัน อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย อินเดีย
นางนันทวัลย์ กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายในตลาดเฉพาะที่น่าสนใจได้แก่ ตลาดฮาลาล ผลิตภัณฑ์โฮมสปาสไตล์อาเซียน เป็นต้น โดยการเปิดโรงงานลอริอัล ผู้ผลิตเครื่องสำอางจากฝรั่งเศสที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย หวังใช้เป็นฐานเจาะตลาดความงามในประเทศอาเซียนมีจุดที่น่าสนใจว่า ยุโรปได้เล็งเห็นกลุ่มเป้าหมายชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ในอาเซียน ที่หากไทยต้องการเป็นศูนย์กลางการให้บริการรักษาพยาบาลของอาเซียนอย่างแท้จริง ควรจะเตรียมตัวศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบริการทางการแพทย์ตามแบบวิถีอิสลาม ซึ่งมีหลักปฏิบัติที่แตกต่าง อาทิ โรงพยาบาลและแพทย์ต้องปรับวิธีการจ่ายยาในเดือนรอมฎอน การงดเว้นนัดผู้ป่วยนอกในเดือนรอมฎอน การใช้ปฏิทินอิสลามในการดูกำหนดนัดที่เหมาะสม ตลอดจนจัดสถานที่ละหมาดที่มีความสะดวกสำหรับผู้ป่วยที่สามารถลุกขึ้นเดินได้ แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในวิถีปฏิบัติที่แตกต่าง
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเผยผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ-ความงาม ใช้จุดเด่นสารธรรมชาติ สไตล์อาเซียนเจาะตลาด ชี้ 9 เดือนส่งออกเฉียด 8.6 หมื่นล้านบาท เกาะแนวรุกนโยบาย“เมดิคัลฮับ”เอื้อตลาดขยายตัวพร้อมกัน นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามว่า จากกระแสโลกที่กระตุ้นให้ทุกคนหันมาดูแลสุขภาพและความงามของตัวเอง ทำให้ธุรกิจนี้และที่เกี่ยวเนื่องพัฒนาแบบก้าวกระโดด และมีแนวโน้มในการขยายตัวสูง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ อาทิ เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เภสัชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ เป็นต้น 9 เดือนแรก(ม.ค.-ต.ค.)ของปีนี้มีมูลค่าราว 2,772 ล้านเหรียญสหรัฐฯ( 85,900 ล้านบาท) หรือ เพิ่มขึ้น 3.2% คาดว่าสิ้นปีจะขยายตัวได้ 4% และตั้งเป้าหมายการส่งออกปี 57 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6.3%
“กระแสที่กำลังมาแรงคงจะหนีไม่พ้นเครื่องสำอางจากสารธรรมชาติ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้สินค้าที่พัฒนาจากสารสกัดธรรมชาติ มากกว่าจะเป็นสารสังเคราะห์ ซึ่งเป็นโอกาสการตลาดของไทย เพราะเราเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยสมุนไพร และพืชพันธุ์ แต่สิ่งที่ยังยังขาดก็คือ เทคโนโลยี และบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์”นางนันทวัลย์ กล่าวและว่า เมื่อเปิดตลาดอาเซียนจะมีการเอื้อประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนข้อมูล การเรียนรู้ ทราบถึงความต้องการของผู้บริโภค เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสินค้า ในการสร้างฐานการผลิตเพื่อการค้า เทคโนโลยีและเครือข่ายระหว่างกัน ทั้งนี้ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เวียดนาม กัมพูชา พม่า สิงคโปร์ และจีน โดยเฉพาะเมื่อจากความนิยมชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ของประเทศไทยเป็นมากขึ้นในแต่ละปี ประกอบกับรัฐบาลได้ผลักดันนโยบายให้ประเทศไทยกลายเป็น ศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ของทวีปเอเชีย(Medical Hub of Asia)
ในส่วนของภาพรวมธุรกิจสปาไทย จัดได้ว่ามีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับจากต่างชาติ และมีอัตราการเติบโตสูงในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐฯ ยุโรป และยังได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย โดยภาพรวมธุรกิจสปาไทยมีอัตราการเติบโตประมาณ 20-30% โดยแบ่งเป็นลูกค้าต่างประเทศประมาณ 80% จากผลประกอบการ ดังกล่าวพอจะคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจด้านสุขภาพและความงามของไทยว่ามีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดสุขภาพและความงามในประเทศคาดว่าปี 2558 ตลาดจะมีขนาด 16,400 ล้านบาท โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินว่า นโยบายเมดิคัลฮับ จะส่งผลให้มีรายได้เข้าประเทศประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี หรือ 0.4% ของจีดีพี ซึ่งถือเป็นเงินจำนวนมหาศาล แต่ผลกระทบที่อาจจะได้รับ คือ ค่ารักษาพยาบาลที่ปรับขึ้น เพราะโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่มีการตั้งราคารักษาพยาบาลราคาเดียวไม่แยกคนไทย หรือ คนต่างชาติ
ส่วนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีแนวโน้มถูกดึงออกจากภาครัฐมากขึ้น หากปล่อยให้เติบโตในระยะยาว ไม่มีการดูแล จะยิ่งเกิดช่องว่างบริการการรักษาระหว่างโรงพยาบาลและเอกชนมากขึ้น ซึ่งมูลค่าบริการทางการแพทย์ที่มีมูลค่าสูง จะเป็นรักษาโรคเฉพาะทาง เช่น การผ่าตัดสมอง การผ่าตัดหัวใจ และโรคมะเร็ง โดยจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่มาเข้ารับการรักษาในเมืองไทยในปี 2555 ราว 2 ล้านคน ขณะที่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอาเซียนในปี 55 สร้างรายได้ให้กับประเทศกว่า 2,500 ล้านบาท คู่แข่งที่ประกาศตัวเป็นฮับเช่นกัน อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย อินเดีย นางนันทวัลย์ กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายในตลาดเฉพาะที่น่าสนใจได้แก่ ตลาดฮาลาล ผลิตภัณฑ์โฮมสปาสไตล์อาเซียน เป็นต้น โดยการเปิดโรงงานลอริอัล ผู้ผลิตเครื่องสำอางจากฝรั่งเศสที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย หวังใช้เป็นฐานเจาะตลาดความงามในประเทศอาเซียนมีจุดที่น่าสนใจว่า ยุโรปได้เล็งเห็นกลุ่มเป้าหมายชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ในอาเซียน ที่หากไทยต้องการเป็นศูนย์กลางการให้บริการรักษาพยาบาลของอาเซียนอย่างแท้จริง ควรจะเตรียมตัวศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบริการทางการแพทย์ตามแบบวิถีอิสลาม ซึ่งมีหลักปฏิบัติที่แตกต่าง อาทิ โรงพยาบาลและแพทย์ต้องปรับวิธีการจ่ายยาในเดือนรอมฎอน การงดเว้นนัดผู้ป่วยนอกในเดือนรอมฎอน การใช้ปฏิทินอิสลามในการดูกำหนดนัดที่เหมาะสม ตลอดจนจัดสถานที่ละหมาดที่มีความสะดวกสำหรับผู้ป่วยที่สามารถลุกขึ้นเดินได้ แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในวิถีปฏิบัติที่แตกต่าง