คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1. เริ่มตั้งยังไง ต้องย้อนหลังไปปรับปรุงงบหรือไม่ หรือว่าตั้งเป็นค่าใช้จ่ายได้เลย
<> เริ่มตั้งอย่างไร .... ไม่ทราบว่ากิจการ จขกท. เป็น PAEs หรือ NPAEs
โดยหลักการต้องคำนวณตั้งแต่บริษัทเริ่มรับพนักงานเข้าทำงาน...
<> ถ้าเริ่มใช้ตอนทำงบ ปี 2554 สามารถได้ 4 วิธี.... แต่เมื่อไม่ได้ทำมาก่อนเลย คงต้องใช้วิธีปรับงบการเงินย้อนหลัง
2. หากตั้งเป็นค่าใช้จ่ายเลย คิดของปีปัจจุบัน เลย หรือต้องรับรู้ต้นทุนบริการของปีก่อนหน้าด้วย
แล้วค่อยเอามาลบกันเป็นหนี้สินที่ต้องตั้งในปี ปัจจุบัน
<> ต้องรับรู้ต้นทุนบริการของปีก่อนหน้าด้วย ( Past service cost )
อย่างไรก็ดี หากจะไม่ตั้งของปีก่อน จำได้ว่ามาตรฐานเปิดช่องให้ และเห็นส่วนใหญ่ทำกัน โดยให้หมายเหตุว่า :-
" บริษัทมีข้อมูลไม่พียงพอที่จะนำมาตั้งประมาณการได้อย่างน่าเชื่อถือ และจะพิจารณาตั้งทันทีเมื่อมีข้อมูลเพียงพอ"
<> กรณีรับรู้ต้นทุนบริการของอดีตด้วย : ข้อมูลในอดีตให้ปรับย้อนหลัง ส่วนต้นทุนบริการปีปัจจุบัน บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
3. เคยถามสรรพากร ท่านว่าต้องบวกกลับตอนสิ้นปีที่ทำ 50 -- แล้วตอนที่จ่ายจริงจะบันทึกยังไงคะ
(กรณีที่มีพนักงานเกษียณอายุ ออกจากงาน)
<> ผลประโยชน์พนักงาน .... เป็นการประมาณการ ดังนั้นตอนทำ ภ.ง.ด.50 จึงต้องบวกกลับ (เพราะไม่ได้เกิดจริง-รายจ่ายต้องห้าม)
<> ตอนที่จ่ายจริง .... ก็บันทึกตามปกติ Dr. ค้างจ่าย (ตามที่ตั้งไว้) Cr. เงินสด/ธนาคาร
( เข้าใจว่าคุณคงสับสนว่าบวกกลับแล้ว จะบันทึกตอนจ่ายเงินอย่างไรใช่หรือไม่... อย่าลืมว่าการบวกกลับไม่ได้มีการบันทึกบัญชี
เพียงแต่ปรับที่กระดาษทำการตอนคำนวณภาษี .... แต่ถ้าเข้าใจอยู่แล้ว ก็ขออภัย)
4. เวลาคำนวณ ใช้แค่พนักงานเงินเดือนประจำ หรือ ว่าต้องนำพนักงานรายวันมาคิดรวมเป็นต้นทุนบริการด้วย
<> ต้องดูข้อเท็จจริงของพนักงานรายวัน .... ว่าส่วนใหญ่ทำนานกี่ปี มีโอกาสที่จะได้รับชดเชยหลังออกจากงานหรือไม่
ทั้งนี้ต้องนำข้อมูลการ Turnover และระยะเวลาให้บริการ มาคำนวณ
5. ต้องเปิดเผยวิธีการคำนวณในงบรึเปล่า
<> ถ้าหมายถึงตารางคำนวณตัวเลขต่างๆ .... ไม่ต้องถึงขนาดนั้น
เช่น ถ้าเป็น NPAEs เปิดเผยเพียงว่า "ในการตั้งประมาณการหนี้สินเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงาน ใช้การประมาณการที่ดีที่สุด"
6. ถ้าเราจำไม่ได้ว่า พนักงาน เริ่มทำงานตั้งแต่เมื่อไหร่ จะทำอย่างไร ประมาณเอาได้ไหม
<> คงต้องใช้วิธีใดวิธีหนึ่งที่คิดว่าเป็นประมาณการที่ใกล้เคียงที่สุด
(น่าจะมีหลักฐานสักอย่างเกี่ยวกับพนักงาน.... หรือลองถามพนักงานดูว่าเข้างานเมื่อไหร่)
7. อัตราการหมุนเวียนของพนักงานคิดยังไง ถ้าไม่มีพนักงานลาออกเลย (เป็น 0) เพราะสูตรบอกว่า
(อัตราถัวเฉลี่ยของพนักงานที่ลาออก x อัตราถัวเฉลี่ยของพนักงานที่ยังคงอยู่) x 100
<> ตามสูตรเลย.... ถ้าไม่มีพนักงานออกเลย turnover rate = 0% ดังนั้นต้นทุนบริการทีคำนวณได้ ก็ x 100% ได้เลย
<> เริ่มตั้งอย่างไร .... ไม่ทราบว่ากิจการ จขกท. เป็น PAEs หรือ NPAEs
โดยหลักการต้องคำนวณตั้งแต่บริษัทเริ่มรับพนักงานเข้าทำงาน...
<> ถ้าเริ่มใช้ตอนทำงบ ปี 2554 สามารถได้ 4 วิธี.... แต่เมื่อไม่ได้ทำมาก่อนเลย คงต้องใช้วิธีปรับงบการเงินย้อนหลัง
2. หากตั้งเป็นค่าใช้จ่ายเลย คิดของปีปัจจุบัน เลย หรือต้องรับรู้ต้นทุนบริการของปีก่อนหน้าด้วย
แล้วค่อยเอามาลบกันเป็นหนี้สินที่ต้องตั้งในปี ปัจจุบัน
<> ต้องรับรู้ต้นทุนบริการของปีก่อนหน้าด้วย ( Past service cost )
อย่างไรก็ดี หากจะไม่ตั้งของปีก่อน จำได้ว่ามาตรฐานเปิดช่องให้ และเห็นส่วนใหญ่ทำกัน โดยให้หมายเหตุว่า :-
" บริษัทมีข้อมูลไม่พียงพอที่จะนำมาตั้งประมาณการได้อย่างน่าเชื่อถือ และจะพิจารณาตั้งทันทีเมื่อมีข้อมูลเพียงพอ"
<> กรณีรับรู้ต้นทุนบริการของอดีตด้วย : ข้อมูลในอดีตให้ปรับย้อนหลัง ส่วนต้นทุนบริการปีปัจจุบัน บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
3. เคยถามสรรพากร ท่านว่าต้องบวกกลับตอนสิ้นปีที่ทำ 50 -- แล้วตอนที่จ่ายจริงจะบันทึกยังไงคะ
(กรณีที่มีพนักงานเกษียณอายุ ออกจากงาน)
<> ผลประโยชน์พนักงาน .... เป็นการประมาณการ ดังนั้นตอนทำ ภ.ง.ด.50 จึงต้องบวกกลับ (เพราะไม่ได้เกิดจริง-รายจ่ายต้องห้าม)
<> ตอนที่จ่ายจริง .... ก็บันทึกตามปกติ Dr. ค้างจ่าย (ตามที่ตั้งไว้) Cr. เงินสด/ธนาคาร
( เข้าใจว่าคุณคงสับสนว่าบวกกลับแล้ว จะบันทึกตอนจ่ายเงินอย่างไรใช่หรือไม่... อย่าลืมว่าการบวกกลับไม่ได้มีการบันทึกบัญชี
เพียงแต่ปรับที่กระดาษทำการตอนคำนวณภาษี .... แต่ถ้าเข้าใจอยู่แล้ว ก็ขออภัย)
4. เวลาคำนวณ ใช้แค่พนักงานเงินเดือนประจำ หรือ ว่าต้องนำพนักงานรายวันมาคิดรวมเป็นต้นทุนบริการด้วย
<> ต้องดูข้อเท็จจริงของพนักงานรายวัน .... ว่าส่วนใหญ่ทำนานกี่ปี มีโอกาสที่จะได้รับชดเชยหลังออกจากงานหรือไม่
ทั้งนี้ต้องนำข้อมูลการ Turnover และระยะเวลาให้บริการ มาคำนวณ
5. ต้องเปิดเผยวิธีการคำนวณในงบรึเปล่า
<> ถ้าหมายถึงตารางคำนวณตัวเลขต่างๆ .... ไม่ต้องถึงขนาดนั้น
เช่น ถ้าเป็น NPAEs เปิดเผยเพียงว่า "ในการตั้งประมาณการหนี้สินเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงาน ใช้การประมาณการที่ดีที่สุด"
6. ถ้าเราจำไม่ได้ว่า พนักงาน เริ่มทำงานตั้งแต่เมื่อไหร่ จะทำอย่างไร ประมาณเอาได้ไหม
<> คงต้องใช้วิธีใดวิธีหนึ่งที่คิดว่าเป็นประมาณการที่ใกล้เคียงที่สุด
(น่าจะมีหลักฐานสักอย่างเกี่ยวกับพนักงาน.... หรือลองถามพนักงานดูว่าเข้างานเมื่อไหร่)
7. อัตราการหมุนเวียนของพนักงานคิดยังไง ถ้าไม่มีพนักงานลาออกเลย (เป็น 0) เพราะสูตรบอกว่า
(อัตราถัวเฉลี่ยของพนักงานที่ลาออก x อัตราถัวเฉลี่ยของพนักงานที่ยังคงอยู่) x 100
<> ตามสูตรเลย.... ถ้าไม่มีพนักงานออกเลย turnover rate = 0% ดังนั้นต้นทุนบริการทีคำนวณได้ ก็ x 100% ได้เลย
แสดงความคิดเห็น
ผลประโยชน์พนักงาน
เรื่อง ผลประโยชน์พนักงาน (หลังออกจากงาน)
ไปอบรมที่ไหนดีคะ เพราะหาไม่เจอเลย ที่สภาวิชาชีพการบัญชีก็ไม่มี
(เศร้า - คราวที่แล้วไปอบรมที่สภา หัวข้ออบรมเขียนว่า ผลประโยชน์พนักงาน แต่ไปจริงกลายเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปซะงั้น -- อืม..ผลประโยชน์พนักงานเงินเดือน จริงๆ --)
ปีนี้ต้องทำของที่บริษัท (ผู้สอบสั่งมา) เลยอยากหาที่อบรมค่ะ
หรือ ท่านใด มีความรู้ทางนี้ รบกวนด้วยค่ะ
1. เริ่มตั้งยังไง ต้องย้อนหลังไปปรับปรุงงบหรือไม่ หรือว่าตั้งเป็นค่าใช้จ่ายได้เลย
2. หากตั้งเป็นค่าใช้จ่ายเลย คิดของปีปัจจุบัน เลย หรือต้องรับรู้ต้นทุนบริการของปีก่อนหน้าด้วย แล้วค่อยเอามาลบกันเป็นหนี้สินที่ต้องตั้งในปี ปัจจุบัน
3. เคยถามสรรพากร ท่านว่าต้องบวกกลับตอนสิ้นปีที่ทำ 50 -- แล้วตอนที่จ่ายจริงจะบันทึกยังไงคะ
(กรณีที่มีพนักงานเกษียณอายุ ออกจากงาน)
4. เวลาคำนวณ ใช้แค่พนักงานเงินเดือนประจำ หรือ ว่าต้องนำพนักงานรายวันมาคิดรวมเป็นต้นทุนบริการด้วย
5. ต้องเปิดเผยวิธีการคำนวณในงบรึเปล่า
6. ถ้าเราจำไม่ได้ว่า พนักงาน เริ่มทำงานตั้งแต่เมื่อไหร่ จะทำอย่างไร ประมาณเอาได้ไหม
7. อัตราการหมุนเวียนของพนักงานคิดยังไง ถ้าไม่มีพนักงานลาออกเลย (เป็น 0) เพราะสูตรบอกว่า
(อัตราถัวเฉลี่ยของพนักงานที่ลาออก x อัตราถัวเฉลี่ยของพนักงานที่ยังคงอยู่) x 100
ตอนนี้สงสัยเท่านี้ค่ะ มึน....
รบกวนเพื่อนๆ พี่ๆ ช่วยน้องทีนะคร๊าบบบบบ กราบงามๆ