จากบทความนี้ เรากำลังโดนหลอก จริงหรือ
สนธิสัญญา พ.ศ.2447/ค.ศ.1904 และ สนธิสัญญา พ.ศ.2450/ค.ศ.1907 และแผนที่ภาคผนวก 1 หรือ MAP ANNEX 1 กล่าวคือ บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในสนธิสัญญาระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 กับฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2447/ค.ศ.1904 นั้น มาตรา 1 กำหนดให้ “เส้นเขตแดน คือ สันปันน้ำ” ซึ่งคำว่า “เส้นสันปันน้ำ” นี่เอง ได้ถูกนำมาเป็นข้อถกเถียง เรื่องดินแดนและอธิปไตยของไทยเหนือเขาพระวิหารบนเทือกเขาพนมดงรัก
แต่เอาเข้าจริงแล้ว ใน มาตรา 3 ของสนธิสัญญาฉบับเดียวกันนี้ ก็ได้ระบุเอาไว้ด้วยเช่นกันว่า
“ให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดนที่ประกอบเป็นอินโดจีนฝรั่งเศส การปักปันนี้ให้กระทำโดยคณะกรรมการผสมประกอบด้วยพนักงานซึ่งประเทศภาคีทั้งสองแต่งตั้ง” หมายความว่า แม้สนธิสัญญาจะกำหนดให้ “เส้นเขตแดน คือ สันปันน้ำ” แต่ “แนวเขตแดนที่แน่นอนจะได้กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการผสมฝรั่งเศส-สยาม” โดยมี พลเอก หม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานฝ่ายสยาม และ พันตรี แบร์นารด์ เป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศส
ต่อมา สนธิสัญญาครั้งหลังสุดในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2450/ค.ศ.1907 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินไปลงสัตยาบันกับฝรั่งเศสด้วยพระองค์เอง โดยตกลงยกพระตะบอง เสียมเรียบ และศรีโสภณ เพื่อแลกกับด่านซ้ายและตราด รวมทั้งหมู่เกาะต่างๆ ของอำเภอแหลมงอบในปัจจุบัน เพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยส่วนใหญ่ของประเทศเอาไว้
สนธิสัญญาทั้งสองฉบับนี้เอง ทำให้เกิดแผนที่ไทย(สยาม)-กัมพูชาขึ้น และพิมพ์สำเร็จเป็นครั้งแรกใน 1 ปี ต่อมาคือ พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 และหนึ่งในแผนที่จำนวน 11 ระวาง ที่ถูกพิมพ์ขึ้นในชุดเดียวกันนี้ ก็ปรากฏเส้นเขตแดนตามแผนที่ระวางชื่อ “Dangrek” มีสัญลักษณ์ระบุอย่างชัดเจนว่าที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร “Preas Vihear” อยู่ในเขตแดนของกัมพูชา [แผนที่ฉบับนี้หาได้จาก Google โดยพิมพ์คำว่า Dangrek แล้วเลือกรูปภาพขนาดใหญ่พิเศษ]
อ่านแบบเต็มๆ
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=341355
ในคดีเขาพระวิหาร ภายใต้แผนที่ไทย กับ ฝรั่งเศส ทำร่วมกันขึ้นตอน50 ปีที่แล้ว บรรพบุรุษไทยในอดีตยอมรับในแผนที่นั้นจริงไหม
สนธิสัญญา พ.ศ.2447/ค.ศ.1904 และ สนธิสัญญา พ.ศ.2450/ค.ศ.1907 และแผนที่ภาคผนวก 1 หรือ MAP ANNEX 1 กล่าวคือ บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในสนธิสัญญาระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 กับฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2447/ค.ศ.1904 นั้น มาตรา 1 กำหนดให้ “เส้นเขตแดน คือ สันปันน้ำ” ซึ่งคำว่า “เส้นสันปันน้ำ” นี่เอง ได้ถูกนำมาเป็นข้อถกเถียง เรื่องดินแดนและอธิปไตยของไทยเหนือเขาพระวิหารบนเทือกเขาพนมดงรัก
แต่เอาเข้าจริงแล้ว ใน มาตรา 3 ของสนธิสัญญาฉบับเดียวกันนี้ ก็ได้ระบุเอาไว้ด้วยเช่นกันว่า
“ให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดนที่ประกอบเป็นอินโดจีนฝรั่งเศส การปักปันนี้ให้กระทำโดยคณะกรรมการผสมประกอบด้วยพนักงานซึ่งประเทศภาคีทั้งสองแต่งตั้ง” หมายความว่า แม้สนธิสัญญาจะกำหนดให้ “เส้นเขตแดน คือ สันปันน้ำ” แต่ “แนวเขตแดนที่แน่นอนจะได้กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการผสมฝรั่งเศส-สยาม” โดยมี พลเอก หม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานฝ่ายสยาม และ พันตรี แบร์นารด์ เป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศส
ต่อมา สนธิสัญญาครั้งหลังสุดในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2450/ค.ศ.1907 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินไปลงสัตยาบันกับฝรั่งเศสด้วยพระองค์เอง โดยตกลงยกพระตะบอง เสียมเรียบ และศรีโสภณ เพื่อแลกกับด่านซ้ายและตราด รวมทั้งหมู่เกาะต่างๆ ของอำเภอแหลมงอบในปัจจุบัน เพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยส่วนใหญ่ของประเทศเอาไว้
สนธิสัญญาทั้งสองฉบับนี้เอง ทำให้เกิดแผนที่ไทย(สยาม)-กัมพูชาขึ้น และพิมพ์สำเร็จเป็นครั้งแรกใน 1 ปี ต่อมาคือ พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 และหนึ่งในแผนที่จำนวน 11 ระวาง ที่ถูกพิมพ์ขึ้นในชุดเดียวกันนี้ ก็ปรากฏเส้นเขตแดนตามแผนที่ระวางชื่อ “Dangrek” มีสัญลักษณ์ระบุอย่างชัดเจนว่าที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร “Preas Vihear” อยู่ในเขตแดนของกัมพูชา [แผนที่ฉบับนี้หาได้จาก Google โดยพิมพ์คำว่า Dangrek แล้วเลือกรูปภาพขนาดใหญ่พิเศษ]
อ่านแบบเต็มๆ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=341355