ทำไมประเทศไทยชอบซ่อมถนนเป็นหลุม ด้วยการถมให้เป็นเนินสูงเกินผิวถนนเดิม ?

คือสงสัยว่า ทำไมหน่วยงานที่ซ่อมถนนที่เป็นหลุมบ่อ เค้าชอบซ่อมการเป็นหลุม ด้วยการเอาปูนไปเทในหลุมให้มันนูนขึ้นมากว่าเดิมล่ะครับ ?
ทำให้ผิวมันเรียบเท่าเดิมไม่ได้หรือ ?

ผมเคยทำงานกับคู่ค้าญี่ปุ่น
เค้าจะซ่อมถนนด้วยการตัดพื้นที่ผิวรอบๆ หลุมให้กว้างขึ้น  แล้วเอายางมะตอย(หรือคอนกรีต) เทในพื้นที่สี่เหลี่ยมนั้นๆ
แล้วเกลี่ยผิวให้เรียบเท่าเดิม หรือ สูงไม่เกินผิวถนนไม่เกิน 1 - 2 ซม.
(แบบรูปประกอบ ญี่ปุ่นเค้าจะซ่อมถนนลักษณะแบบนี้ ใช้เวลาซ่อมเร็วมาก ไม่เกิน 3 ชม.ก็วิ่งได้แล้ว)

เห็นของไทย เป็นหลุมก็เอาปูนเทใส่หลุมเลย พอมันแห้ง ก็เป็นเนินปูน ตะปุ่มตะป่ำ หมด...ขับผ่านแล้วก็กระเด้งกระดอนกัน

หรือการซ่อมถนนมันยากเกินไปสำหรับประเทศไทย ใช้เทคโนโลยีสูง ?

รถรีไซเคิลยางมะตอยแบบ เทรลเลอร์ ของญี่ปุ่นเค้าก็มีขาย คันนึงประมาณ 3 แสนบาท
ลากใส่ท้ายรถกระบะไปได้เลย ไปถึงที่ ก็ขุดหรือตัดพื้นถนนยางมะตอยแล้วมาเทใส่เครื่องนี้ มันจะเผายางใหม่แล้วเทคืนเดิมไป
ถ้าไม่พอก็เอายางมะตอยถุงเทเพิ่มในเตาเผาด้วย




แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 78


เวลาก่อสร้างยังมักง่ายไม่มีความเป็นมืออาชีพขนาดนี้ เทียบไม่ได้เลยครับกับต่างประเทศ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 18
ความคิดเห็นที่ 8
ทำงานดีไป ไม่จ่าย คนตรวจก็ไม่ให้ผ่าน

ไหนๆก็ต้องจ่าย จะทำดีๆไปทำไม

เละยังไง คนตรวจรับก็ไม่โดนใครมาทำอะไรหรอก ชาวบ้าน ก้มหน้ารับกรรม คิดซะว่าเมืองไทยมันก็ได้แต่นี้แหละ ด่าๆ เงียบๆกันไป

มันเน่าเฟะตั้งแต่ต้นแล้วล่ะครับ ชุ่ย นี่คือผลลัพธ์สุดท้าย
ความคิดเห็นที่ 69


ก็รู้นะครับว่าชำรุดแต่ไม่ซ่อมใช้วิธีนี้แทน 55555555

ปล.เส้นละแมชุมพรนี่ยังกะโดนสงคราม
ความคิดเห็นที่ 85
ถนนเมืองไทย เดี๋ยวพัง เดี๋ยวซ่อม จนกลายเป็นเรื่องชาชิน แต่หลายคนไม่รู้ว่าหากคำนวณค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานของถนนบ้านเราแล้ว อาจแพงติดอันดับโลกหรือแพงที่สุดในโลกเลยทีเดียว มากกว่านั้นเทคโนโลยีที่ใช้สร้างหนทางของเรายังเป็นของเก่าสมัยหลังสงครามโลก ซึ่งผู้ออกต้นฉบับอย่างอเมริกาเลิกใช้ไปนานแล้ว
       
       ข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยโดย ดร.พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีการทาง (Pavement Technology) ชาวไทย ซึ่งเป็นอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคอร์ติน (Curtin University) ออสเตรเลีย ซึ่งชี้ว่าการออกแบบถนนของไทยนั้นยังใช้ทฤษฎีเก่าที่พัฒนามาตั้งแต่หลังยุคสงครามโลกอและที่ไม่มีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเมืองไทย อาศัยประสบการณ์ว่าสร้างแล้วไม่พังก็ทำต่อมาเรื่อยๆ ซึ่งไม่ได้ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเท่าไร อีกทั้งสร้างเผื่อพังไว้เยอะ แต่อดีตไม่มีปัญหานักเพราะรถยังน้อย
       
       ลอกเทคโนโลยีถนนอเมริกามาแต่เขาเลิกใช้ไปแล้ว
       “ปัญหาที่เกิดคือในยุคเก่านั้นเราลอกมาตรฐานการออกแบบของอเมริกามาหมดเลย เราไม่ได้พัฒนาเองเลย ชุดตัวเลข ชุดข้อมูลอะไรที่เขาแนะนำในการออกแบบ พูดตรงๆ คือเราลอกเขามาหมดเลย เราไม่มีตัวเลขในการออกแบบของเราเองเลย เขาสร้างเพื่อให้เหมาะแก่สภาพแวดล้อมของอเมริกา แต่บ้านเราไม่ได้พัฒนาอะไรขึ้นมาเลย นอกจากทำภาษาอังกฤษให้มาเป็นไทย ตามความเข้าใจของผมนะ แต่ว่าตอนนี้ทฤษฎีเก่านี้อเมริกาเขาไม่ใช้แล้ว” ดร.พีรพงศ์กล่าว
       
       อาจารย์ไทยในออสเตรเลีย อธิบายว่าโดยปกติหากมีอะไรที่ผิดไปจากประสบการณ์เดิม เช่น เคยสร้างถนน 10 ปีแล้วจึงปรับผิวใหม่เรียบ แต่ปรากฏว่าถนนเริ่มพังเมื่อเข้าสู่ปีที่ 2-3 นั่นแสดงว่าต้องมีบางอย่างผิดพลาด จึงต้องหาสาเหตุและปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยอาศัยการออกแบบที่ใช้สมบัติทางด้านวิศวกรรมวัสดุในการสร้างถนน เมื่อถนนพังเพราะวัสดุไม่ดีก็ต้องหาวัสดุใหม่ เป็นต้น ซึ่งทฤษฎีใหม่สามารถแก้ปัญหาลักษณะนี้ได้ แต่ทฤษฎีเก่าไม่สามารถตอบได้
       
       “ที่น่าเสียใจคืออเมริกาเลิกใช้แล้ว แต่บ้านเรายังไม่มีการขยับอย่างเป็นรูปธรรมที่จะทำให้ทุกอย่างมันดีขึ้น แล้วปัญหาของบ้านเราที่เห็นชัดๆ ที่สุดคือว่า เราใช้ถนนเป็นเส้นทางการขนส่งหลักของประเทศ ในการขนส่งทุกอย่าง เพราะฉะนั้นถนนที่เราสร้าง เราจะเห็นว่าเลนซ้ายพังก่อนเลนขวา เพราะรถบรรทุกวิ่งช้าอยู่ทางเลนซ้ายใช่ไหม ปัญหาที่เกิด ถ้าเรายอมรับกันตรงๆ ก็อาจจะเกิดจากน้ำหนักบรรทุกที่เกินมาตรฐาน แล้วปัญหานี้มันไปสัมพันธ์กับหลายฝ่าย เราจึงไม่กล้าออกมาพูดกันตรงๆ ว่าสาเหตุการพังของถนนบ้านเรานั้นเป็นเพราะอะไร” ดร.พีรพงศ์กล่าว
       
       ทั้งนี้ หากตั้งใจหาสาเหตุกันจริงๆ ก็สามารถวัดได้ว่ารถบรรทุกน้ำหนักเกินไปเท่าไร แต่ที่ผ่านมารถบรรทุกผลผลิตเกษตรมักจะได้รับการเพิกเฉยจากเจ้าหน้าที่ โดยในส่วนของรถพ่วงนั้นไม่ทำให้ถนนพังได้มากเท่ารถสิบล้อ เพราะรถพ่วงมีหลายเพลาและหลายล้อ ทำให้น้ำหนักที่ถ่ายลงเพลาแล้วถ่ายลงไปยังล้อไม่มากเท่าไร ขณะที่น้ำหนักบรรทุกจากสิบล้อจะถ่ายหนักน้ำหนักลงไปเต็มที่ทำให้ถนนพังได้ง่ายกว่า

       “ยางมะตอย” ต้นทุนแพงสุดในถนน แต่ด้อยมาตรฐาน
       “ส่วนโครงสร้างถนนที่บ้านเราควรจะปรับคือ ส่วนถนนที่แพงที่สุด คือยางมะตอย (Asphalt) ถ้าพูดถึงวัสดุทุกชนิดในการทำถนน ยางมะตอยอาจจะมีค่าถึง 70-80% ของมูลค่าในการทำถนนเส้นหนึ่ง บอกได้เลยว่าในการทำถนนเส้นหนึ่ง หากเราไม่ใช้วัสดุยางมะตอยเลย หรือใช้ยางมะตอยให้น้อยลง หรือลดลง ราคาถนนต่อเมตรของถนนบ้านเราจะถูกลงเยอะมาก แต่ในอดีตยังไม่มีการศึกษาอะไรกัน”
       
       ดร.พีรพงศ์ยังเล่าอีกว่า ในอดีตสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ได้ทุ่มงบประมาณ 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้องค์กรวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐฯ พัฒนายางมะตอย จนกลายเป็นผู้นำที่มีองค์ความรู้ทางด้านยางมะตอยที่ดีที่สุดในโลก และตอนนี้ได้ใช้ระบบใหม่ในการออกแบบการก่อสร้างถนน และยกเลิกแบบเก่าทั้งหมด ในขณะที่เมืองไทยยังอิงระบบเก่าจากสหรัฐฯ ที่เขาเลิกใช้กันไปแล้ว
       
       ทั้งนี้ ยางมะตอยมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิโดยตรง เมื่อร้อนจะอ่อนตัวและเมื่อเย็นจะแข็งตัว แต่สำหรับเมืองไทยยัง “ตัดเกรด” หรือแบ่งชนิดยางมะตอยโดยอิงที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสอย่างเดียว แต่ปัจจุบันสหรัฐฯ แบ่งชนิดยางมะตอยโดยคำนึงถึงอุณหภูมิ จำนวนรถ และปัจจัยอื่นๆ บนท้องถนน เพื่อเลือกใช้ยางมะตอยให้เหมาะสมแก่การใช้งานในแต่ละพื้นที่
       
       “การตัดเกรดคือการแบ่งชนิด เช่น พื้นที่นี้ใช้ชนิดนี้ อีกพื้นที่หนึ่งใช้อีกชนิดหนึ่ง วิธีนี้ใช้ประเภทนี้ ส่วนประเทศไทยในภาคเหนือกับภาคใต้ ก็มีความแตกต่างกันทั้งอุณหภูมิ สภาพอากาศ สภาพรถ ภาคเหนือก็ยังต่างจากอีสานอีก แต่บ้านเรายังใช้ยางมะตอยชนิดเดียว ที่เรียกว่า AC 60/70 ซึ่งเป็นค่าการแบ่งเกรดยางมะตอย ที่ค่ายิ่งมากจะเป็นยางมะตอยแบบแข็ง ค่ายิ่งน้อยจะเป็นยางมะตอยแบบอ่อน แต่จากการศึกษาของผมที่ได้ทุน สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) ทำ ตอนจบปริญญาเอกแรกๆ บอกว่า ยางมะตอยที่ใช้ในบ้านเราเป็นยางด้อยมาตรฐานหมดเลย ใช้ไม่ได้ ต้องปรับปรุงคุณภาพ”
       
       เกณฑ์ที่ใช้แบ่งเกรดยางมะตอยของเมืองไทยจริงตามที่ ดร.พีรพงศ์ ศึกษาควรเป็นระบบ PG หรือ Performance Grade ซึ่งยาง AC 60/70 นั้นเมื่อนำมาตัดเกรดแบบ PG จะได้เป็น PG 64-22 หมายถึง อุณหภูมิสูงสุดของถนนที่ยางชนิดนี้จะทำงานได้ดีอยู่ที่ 64 องศาเซลเซียสถึง -22 องศาเซลเซียส แต่หากพิจารณาทั้งสภาพอากาศ สภาพการจราจรของไทยแล้ว ยางมะตอยที่เราต้องการอย่างน้อยที่สุดคือ PG72-10 ซึ่งรับช่วงอุณหภูมิสูงได้มากขึ้น
       
       “ถ้าเอาเกรด 64-22 ไปใช้ เมื่ออยู่ช่วงอุณหภูมิ 64 องศาเซลเซียสก็ใช้ไม่ได้ ซึ่งบ้านเราตกทั้งประเทศเลย เมื่อใช้เกรดนี้มาจับ แต่เขายังไม่มีการขยับกัน ถ้าใช้เกรด PG72-10 มันจะดีขึ้น เพราะช่วงอุณหภูมิจะกว้างขึ้น และรองรับอุณหภูมิอย่างหน้าร้อนของบ้านเรา” อาจารย์วิศวกรรมโยธาและซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรและโทจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าว
       เรายังขาดความรู้การสร้างถนนอีกมาก
       โครงสร้างถนนนั้นมีหลายชั้นและคุณสมบัติด้านบนจะดีกว่าด้านล่าง ซึ่งยางมะตอยเป็นวัสดุดีที่สุดของถนนและอยู่ชั้นบนสุด ทำหน้าที่ช่วยถ่ายแรงลงด้านล่างของถนน เราไม่ใช้ยางมะตอยในการสร้างถนนเลยก็ได้ แต่ ดร.พีรพงศ์ระบุว่าเราต้องสร้างเป็นถนนแบบ “ฟูลเดพธ์” (Full Depth) คือถนนชั้นเดียวและหนา 20-30 เซนติเมตร ซึ่งเป็นถนนที่อเมริกาใช้กันมาก แต่ไม่เหมาะกับเมืองไทย เพราะมีราคาแพงมาก จึงต้องนำหินชนิดอื่นๆ มาวางเป็นชั้นเพื่อลดความหนาลง
       
       “ตอนนี้บ้านเราเริ่มเทคนิคสูงมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพชั้นพื้นทาง ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ใต้ชั้นยางมะตอย โดยเอาซีเมนส์ไปผสมให้แข็งขึ้น แต่ปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง มันก็จะเกิดปัญหาตามมา คือขาดองค์ความรู้ว่าจะต้องผสมซีเมนส์ลงไปในปริมาณเท่าไหร่ มันถึงจะเหมาะสม เราขาดความรู้ว่าควรจะใช้เท่าไหร่ เพราะไปลอกเขามา” อีกปัญหาที่ ดร.พีรพงศ์ชี้ให้เห็น
       
       หากจะทำวิจัยเรื่องถนนหนทาง ดร.พีรพงศ์ กล่าวว่า ภาครัฐต้องเป็นผู้ผลักดัน ตัวอย่างเช่นอเมริกาที่ทำหลายส่วนพร้อมๆ กัน แล้วท้ายสุดเอาผลการศึกษามาผนวกกัน ซึ่งเราต้องเริ่มจากการพัฒนาวัสดุการทาง เทคโนโลยีการก่อสร้างใหม่ๆ เทคนิคการปรับปรุงคุณภาพ รวมถึงการซ่อมเพราะถนนมีการเสื่อมสภาพไปทุกวัน จึงต้องหาวิธีซ่อมให้ใช้เวลาสั้นที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ยังต้องการนักวิจัยเข้ามาในเรื่องเหล่านี้มากพอสมควร
       
       “บ้านเรามองแค่ถนนก็คือถนน ไม่ได้ให้ความสำคัญ จะไปให้ความสำคัญกับเรื่องโลจิสติกส์ (การขนส่ง) เรื่องการวางแผนว่าจะขนจากตรงไหนไปตรงไหน โดยมีพื้นฐานว่าถนนเราดีหมด ซึ่งตรงนี้จะมีปัญหาเยอะ โดยเฉพาะการจะเข้าไปเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องน้ำหนักรถที่แต่ละประเทศมีมาตรฐานแตกต่างกัน และถึงเวลาที่เราจะต้องยกระดับมาตรฐานแล้ว” ดร.พีรพงศ์ กล่าว และบอกว่ากำลังตั้งโจทย์ให้นักศึกษาไทยนำวัสดุการสร้างถนนในไทยมาพิสูจน์ว่าใช้ได้จริงตามทฤษฎีใหม่หรือไม่ ส่วนเรื่องยางมะตอยนั้นได้พิสูจน์แล้วว่าไม่คุ้มที่จะนำไปใช้ เพราะมีโอกาสทำให้ถนนพังสูง
ความคิดเห็นที่ 9
จะได้เห็นชัดว่าซ่อมแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่