credit : thanonline.com
------
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 29 แห่ง จำนวน 62 คน เรื่อง “คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2557” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 24 – 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผลสำรวจ พบว่านักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 75.8 คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2557 จะดีกว่าปี 2556
โดยจะขยายตัวได้ ร้อยละ 3.6 เช่นเดียวกับเศรษฐกิจไทยที่นักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 82.3 คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะดีขึ้นโดยจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4.3 ขณะที่ร้อยละ 9.7 เห็นว่าจะแย่กว่า เมื่อถามถึงราคาน้ำมันดิบดูไบ ร้อยละ 53.2 คาดว่าราคาจะสูงขึ้นจากปีนี้โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับ 109 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปร้อยละ 61.3 คาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.1-3.0
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2557 ร้อยละ 45.2 คาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบัน(ร้อยละ 2.50) ตลอดปี 2557 รองลงมาร้อยละ 35.5 คาดว่า ธปท. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันไปสู่ระดับร้อยละ 3.0 ภายในสิ้นปี 2557
ด้านค่าเงินบาท ร้อยละ 37.1 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 2557 จะอ่อนค่ากว่าปี 2556 โดยจะอยู่ที่ระดับ 31.6 บาทดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ร้อยละ 32.3 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยจะแข็งค่ากว่าปี 2556 โดยจะอยู่ที่ระดับ 30.5 บาทดอลลาร์สหรัฐ เมื่อถามถึงการขยายตัวของการส่งออก(ในรูปของเงินบาท) ร้อยละ 69.4 คาดว่าการส่งออกของไทยปี 2557 จะดีกว่าปี 2556 โดยจะขยายตัวได้ร้อยละ 4.9 ขณะที่ร้อยละ 12.9 คาดว่าจะแย่กว่าปี 2556 โดยจะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.1
ส่วนความเห็นต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ร้อยละ 35.5 คาดว่า SET Index ปี 57 จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,468-1,643 จุด ส่วนร้อยละ 21.0 คาดว่า SET Index ปี 57 จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,292-1,467 จุด ขณะที่ร้อยละ 19.4 คาดว่า SET Index ปี 57 มีโอกาสที่จะทำสถิติจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าปี 56 ที่อยู่ในระดับ 1,643 จุด
สำหรับปัจจัยที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะส่งผลกระทบและฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยปี 2557 มากที่สุด 4 ลำดับแรกมีดังนี้
อันดับ 1 ร้อยละ 80.6 ปัญหาการเมือง/การชุมนุมประท้วง/เสถียรภาพของรัฐบาล
อันดับ 2 ร้อยละ 66.1 เศรษฐกิจโลกในภาพรวม
อันดับ 3 ร้อยละ 59.7 ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก
อันดับ 4 ร้อยละ 58.1 หนี้ภาคครัวเรือนของไทย
นักเศรษฐศาสตร์มอง ศก.ไทยปี 57 ดีขึ้น แต่ห่วงปัจจัยการเมืองฉุด
------
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 29 แห่ง จำนวน 62 คน เรื่อง “คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2557” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 24 – 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผลสำรวจ พบว่านักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 75.8 คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2557 จะดีกว่าปี 2556
โดยจะขยายตัวได้ ร้อยละ 3.6 เช่นเดียวกับเศรษฐกิจไทยที่นักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 82.3 คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะดีขึ้นโดยจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 4.3 ขณะที่ร้อยละ 9.7 เห็นว่าจะแย่กว่า เมื่อถามถึงราคาน้ำมันดิบดูไบ ร้อยละ 53.2 คาดว่าราคาจะสูงขึ้นจากปีนี้โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับ 109 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปร้อยละ 61.3 คาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.1-3.0
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2557 ร้อยละ 45.2 คาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบัน(ร้อยละ 2.50) ตลอดปี 2557 รองลงมาร้อยละ 35.5 คาดว่า ธปท. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันไปสู่ระดับร้อยละ 3.0 ภายในสิ้นปี 2557
ด้านค่าเงินบาท ร้อยละ 37.1 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 2557 จะอ่อนค่ากว่าปี 2556 โดยจะอยู่ที่ระดับ 31.6 บาทดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ร้อยละ 32.3 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยจะแข็งค่ากว่าปี 2556 โดยจะอยู่ที่ระดับ 30.5 บาทดอลลาร์สหรัฐ เมื่อถามถึงการขยายตัวของการส่งออก(ในรูปของเงินบาท) ร้อยละ 69.4 คาดว่าการส่งออกของไทยปี 2557 จะดีกว่าปี 2556 โดยจะขยายตัวได้ร้อยละ 4.9 ขณะที่ร้อยละ 12.9 คาดว่าจะแย่กว่าปี 2556 โดยจะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.1
ส่วนความเห็นต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ร้อยละ 35.5 คาดว่า SET Index ปี 57 จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,468-1,643 จุด ส่วนร้อยละ 21.0 คาดว่า SET Index ปี 57 จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,292-1,467 จุด ขณะที่ร้อยละ 19.4 คาดว่า SET Index ปี 57 มีโอกาสที่จะทำสถิติจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าปี 56 ที่อยู่ในระดับ 1,643 จุด
สำหรับปัจจัยที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะส่งผลกระทบและฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยปี 2557 มากที่สุด 4 ลำดับแรกมีดังนี้
อันดับ 1 ร้อยละ 80.6 ปัญหาการเมือง/การชุมนุมประท้วง/เสถียรภาพของรัฐบาล
อันดับ 2 ร้อยละ 66.1 เศรษฐกิจโลกในภาพรวม
อันดับ 3 ร้อยละ 59.7 ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก
อันดับ 4 ร้อยละ 58.1 หนี้ภาคครัวเรือนของไทย