ขสมก.ปัดซื้อรถเมล์ไร้บันไดที่ทุกคนใช้ได้สะดวก ปลอดภัย นัดเสวนาสัปดาห์หน้า

วันที่ 25 ต.ค. 56 เวลา 13.00 น. “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” นำโดยเครือข่ายคนพิการได้ไปร่วมชุมนุมกันที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ ขสมก. กระทรวงคมนาคม รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องโครงการจัดซื้อรถโดยสาร (รถเมล์) ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน

“ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ประชุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ ขสมก. ภาคีฯ เครือข่ายคนพิการ และผู้ใช้บริการรถเมล์ เสนอให้ ขสมก.ซื้อรถเมล์แบบไร้บันได (ชานต่ำ) และใช้ทางลาด เพื่อให้ทุกคนเดินหรือใช้เก้าอี้เข็น ขึ้น - ลง รถเมล์ได้โดยสะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว นอกจากนั้นรถเมล์ไร้บันได ยังมีน้ำหนักเบา ลดการใช้เชื้อเพลิง เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมและต่างประเทศนิยมใช้อย่างแพร่หลาย

ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ประชุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ ขสมก. ทั้งนี้ ภาคีฯ ได้ยืนยันเสนอแนะ ดังกล่าวในการให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างขอบเขตของงาน (TOR) ของโครงการฯ ตั้งแต่ ฉบับ 1 - 5 แต่ ขสมก.ปฏิเสธกรดำเนินการตามข้อเสนอแนะ กล่าวคือ ขสมก.ยืนยันจะซื้อรถเมล์ที่มีบันไดสูง ก้าวขึ้นลำบาก สุ่มเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ มีอันตรายถึงชีวิต รวมถึงใช้เชื้อเพลิงมาก เพิ่มภาวะโลกร้อน และทั่วโลกทยอยปลดระวางรถเมล์มีบันไดหมดแล้ว

“ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ประชุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ ขสมก. เวลา 13.00 น. “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” จึงได้ร่วมชุมนุมกันที่บริเวณ ขสมก. เพื่อเรียกร้องให้ คณะกรรมการ ขสมก. ซึ่งกำลังประชุมอยู่ให้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ โดยผู้ร่วมชุมนุมจะรอจนกว่า คณะกรรมการ ขสมก. ลงมติ “ซื้อรถเมล์ที่สะดวก ปลอดภัย ไร้มลพิษ ที่ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” อย่างเท่าเทียมกัน

“ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” ประชุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ ขสมก. ระหว่างรอคณะกรรมการ ขสมก.ประชุม ผู้นำคนพิการ เช่น นาวาอากาศโท ภราดร คุ้มทรัพย์ นายสัมฤทธิ์ ชาภิรมย์ นายภพต์ เทพาสิต นางสาวอาภาณี มิตรทอง และนางสาวสุรีพร ยุพา มิยาโมโต้ เป็นต้น ได้หมุนเวียนกันกล่าวปราศรัยต่อผู้ร่วมชุมนุม ถึงความสำคัญของความต้องการจำเป็นใช้บริการรถเมล์สาธารณะต่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพราะค่าใช้จ่ายในการใช้รถแท็กซี่มีราคาสูงมาก ตลอดจนอันตรายที่เกิดจากการใช้รถเมล์ที่มีบันได โดยเปรียบเทียบกับการใช้รถเมล์ไร้บันไดที่สะดวก และมีความปลอดภัยสูง

นายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ออกจากห้องประชุม มาเจรจากับผู้ร่วมชุมนุม

เวลา 14.40 น. นายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ออกจากห้องประชุม มาเจรจากับผู้ร่วมชุมนุม ผู้แทนภาคีฯ ได้ร่วมกันชี้แจงว่า ความต้องการใช้รถเมล์ไร้บันได ไม่ได้เป็นของกลุ่มคนพิการเท่านั้น แต่เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับคนทุกกลุ่มในสังคมที่มีข้อจำกัดในการก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วยอ่อนแรง ผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หญิงตั้งครรภ์ เด็กนักเรียน ผู้เข็นเก้ากี้เข็นเด็กอ่อน และคนพิการประเภทต่างๆ รวมถึงคนที่ใช้เก้าอี้เข็น เป็นต้น ภาคีฯ จึงเสนอให้ ขสมก.ซื้อรถเมล์ไร้บันไดที่ทุกคนใช้ได้สะดวกและปลอดภัยอย่างเสมอภาคกันตามสิทธิของพลเมือง นอกจากนั้นเมื่อคนพิการใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้ คนพิการก็ไม่ต้องใช้แท็กซี่ทุกครั้งที่เดินทางอย่างที่เป็นในปัจจุบันซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก

นายโอภาส แจ้งว่า ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร่าง ขอบเขตของงาน ฉบับที่ 5 ตามข้อเสนอแนะของภาคีฯ โดยในระหว่างสัปดาห์หน้า ขสมก.จะจัดประชาพิจารณ์ หรือเสวนารับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนต่อร่าง ขอบเขตงานฯ ฉบับที่ 5 ฉะนั้น ขอให้ผู้แทนภาคีฯ เข้าร่วมเสวนา และให้ข้อเสนอแนะด้วย

หลังการชี้แจงซึ่งใช้เวลาประมาณ 5 นาที นายโอภาส ได้กลับไป ส่วนผู้ร่วมชุมนุมได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ก่อนแยกย้ายกลับบ้าน โดยนางสาวอาภาณีในฐานะผู้แทนภาคีฯ ได้แถลงจุดยืนของภาคีฯรวมทั้งเครือข่ายคนพิการ ว่า ผู้แทนภาคีฯ จะเข้าร่วมประชุมประชาวิจารณ์หรือเสวนา ที่ ขสมก.จะจัดในสัปดาห์หน้า และหาก ขสมก.ยังยืนยันที่จะซื้อรถมีบันไดที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย และทำให้คนหลายกลุ่มโดยเฉพาะคนใช้เก้าอี้เข็นไม่สามารถใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้ ภาคีฯ จะเดินหน้าฟ้องศาลปกครอง ในกรณีที่ ขสมก.ใช้เงินภาษีราษฎรซื้อรถเมล์บริการสาธารณะที่อาจทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อประชาชนผู้ใช้บริการ รวมถึง เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มประชาชนที่มีข้อจำกัดในการใช้รถเมล์มีบันได เป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้บริการรถเมล์สาธารณะได้

ขอบคุณ : ข่าวและภาพจากศูนย์การดำรงชีวิตอิสระจังหวัดนนทบุรี
http://www.tddf.or.th/news/detail.php?contentid=0072&postid=0006379¤tpage=2
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่