ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ราวเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรใจป้ำซื้อแท็บเล็ตแจกให้สมาชิกรัฐสภาเพื่อใช้งาน แม้จุดเริ่มจะตามหลังแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาสำหรับนักเรียน ป.1 แต่เมื่อดูวัตถุประสงค์โครงการแล้วแสนหรู คือ เพื่อจัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยสนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติงานของสมาชิกในสภาในการสืบค้นข้อมูลด้านนิติบัญญัติได้ด้วยความรวดเร็ว และลดปริมาณการใช้กระดาษที่ผลิตเอกสารใช้ระหว่างประชุม
จากข้อมูลล่าสุด พบว่า ได้จัด-แจกแท็บเล็ตจำนวนสมาชิกในรัฐสภาทั้ง 649 คนไปแล้ว 554 คน แยกเป็น ส.ส. 437 คน และ ส.ว. 117 คน และอีก 95 คนยังไม่ได้รับ แยกเป็น ส.ส. 63 คน ส่วน ส.ว. 32 คน
สำหรับผู้ที่ไม่รับมี 2 เหตุผลใหญ่ คือ มีแท็บเล็ตส่วนตัวแล้ว และไม่อยากใช้ เช่น "ส.ว.เพชรบุรี - สุมล สุตะวิริยวัฒน์" 1 ใน 95 สมาชิกรัฐสภาที่ "Say No" บอกว่า "ไม่ชอบสังคมก้มหน้า เลยไม่เอา และไม่อยากใช้ เพราะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความสัมพันธ์ รวมถึงมันรู้สึกอึดอัดเมื่อพบใครที่คอยแต่ก้มหน้าอยู่กับจอแท็บเล็ต"
เมื่อถามถึงความสะดวก-ประโยชน์ในงานสภา ส.ว. สาวใหญ่วัย 65 ปีผู้นี้หยุดคิดก่อนตอบว่า "ไม่เป็นปัญหา เพราะดิฉันเป็น ส.ว. บ้านนอกจากเมืองเพชรบุรี ชาวบ้านส่วนใหญ่หากมีเรื่องเดือดร้อนจะใช้โทรศัพท์มากกว่า อาจจะมีคนว่าฉันเป็นคนโลว์เทค (โนโลยี) ก็เชิญ แต่ฉันเป็นตัวแทนประชาชน ต้องใช้การเข้าหามากกว่าก้มหน้าก้มตาอยู่กับแท็บเล็ต"
ขณะที่ผู้แทนฯ รุ่นเดียวกัน
"ส.ส.ปุ๊" รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท แห่งประชาธิปัตย์ ยืดอกรับอย่างยินดีว่า ใช้แท็บเล็ตที่สภาแจก แต่ออกตัวว่า ไม่ใช่เพื่อเล่นเกม แต่จะเอาไว้ติดตามข่าวสาร ค้นหาข้อมูลประกอบการอภิปราย และติดต่อกับเพื่อนๆ ผ่านทางไลน์และเฟซบุ๊ก รวมถึงตรวจสอบความประพฤติของกลุ่มผู้แทนฯ ยังบลัดในพรรคประชาธิปัตย์ด้วย
อย่างไรก็ดี แรกเริ่มใช้เครื่องมือที่ทันสมัย คนวัย 60 ปีขึ้นไปมักบ่นว่ายาก แต่สำหรับ ส.ส.รัชฎาภรณ์บอก "ไม่ยาก เพราะเคยใช้สมาร์ทโฟนระบบทัชสกรีนมาก่อน อีกอย่าง ส.ส. อาวุโสในพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นายหัวชวน หลีกภัย ก็ใช้ จึงกระตุ้นให้เราใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยให้คล่องๆ คุณชวนใช้ไอโฟนและเล่นแอพพลิเคชั่นไลน์ และใช้เก่งด้วย บางครั้งเมื่อ ส.ส. ลงพื้นที่หาเสียงหรือปราศรัยเสร็จ คุณชวนก็จะพิมพ์ข้อความมาในกลุ่มว่า 'รีบไปขอบคุณประชาชน' ทำให้เราเห็นประโยชน์ของการสื่อสารตรงนี้"
ทางซีก ส.ส. น้องใหม่-วัยรุ่น ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า Work More++ อย่าง ส.ส. ใหม่ที่อายุไม่น้อย
"พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน แห่งพรรคมาตุภูมิ" บอกว่า ใช้แท็บเล็ตที่สภานำมาให้บริการ ซึ่งมาพร้อมกับแอพพลิเคชั่นที่เจ้าหน้าที่ดาวน์โหลดติดไว้กับตัวเครื่อง เช่น ข้อบังคับการประชุม รัฐธรรมนูญ ทีวีรัฐสภา วิทยุรัฐสภา ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่ใช้บ่อยสุดๆ คือ ทีวีรัฐสภา เพื่อไว้ติดตามข่าวสารและการประชุมสภาระหว่างนั่งประชุมคณะกรรมาธิการ นอกจากนั้นคือ โปรแกรมซาฟารี เพื่อสืบค้นข้อมูลทั่วไป โดยการใช้งานที่ง่ายแสนง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส เกิดจากการเรียนรู้ผ่านเจ้าหน้าที่ฝึกสอนและฝึกฝนด้วยตนเอง
ด้าน "อดีต รมช.เกษตรฯ"
ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เล่าว่า ตั้งแต่มีแท็บเล็ตใช้ ช่วยงานได้เยอะ แถมเพิ่มความรวดเร็วได้ดั่งใจ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบการชี้แจง และตอบคำถามสมาชิก ลดจำนวนเอกสารที่ต้องหอบหิ้ว และที่สำคัญ ลดจำนวนผู้ช่วย ส.ส. ที่ปกติจะเดินขวักไขว่อยู่เต็มรัฐสภา เพราะสั่งให้คนติดตามทำงานอยู่ที่บ้าน และหากจะเรียกใช้งานก็สั่งผ่านทางไลน์หรืออีเมล
"งานในพื้นที่หรือแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน ได้ใช้ไลน์ติดต่อผู้ใหญ่ของพรรคหรือท่านรัฐมนตี เช่น ส่งข้อความไปหา หรือส่งภาพเอกสารไปให้ดูก่อนเป็นเบื้องต้นได้ ทำให้การช่วยเหลือชาวบ้านรวดเร็ว เช่นเดียวกัน คนในพื้นที่เมื่อมีปัญหาต้องการให้ ส.ส. ช่วย ก็ส่งข้อความผ่านไลน์"
การทำงานประสาน-สื่อกลางเพื่อช่วยชาวบ้านด้วยเทคโนโลยียอมรับว่า ปรบมือข้างเดียวไม่ดัง เมื่อผู้ส่งสารใช้เป็นแล้ว ผู้รับสารก็ต้องใช้เป็นด้วย แต่งานนี้ "ส.ส.ยุทธพงศ์" ยิ้มรับว่า ไม่เป็นปัญหา เพราะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย แม้อายุใกล้ 70 ในอีก 3 ปีข้างหน้า แต่ก็เล่นไลน์ติดต่อโลกโซเชียล
ส่วน
"แชมป์" กรวีร์ ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา เห็นว่า แท็บเล็ตที่รัฐสภาซื้อแจกให้สมาชิกยืมใช้มีประโยชน์ต่อการทำงาน เช่น หาข้อมูลได้รวดเร็ว แต่หากคำนึงถึงวัตถุประสงค์ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้แจงผ่านกรรมาธิการกิจการสภาเพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษ ที่ต้องจัดงบซื้อปีละหลายล้านบาท ยังคงไม่ตอบโจทย์
"ทุกวันนี้สภายังส่งเอกสาร จดหมายนัดประชุม ไปที่บ้านอยู่ดี หากต้องการจะใช้แท็บเล็ตเพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษ เพื่อประหยัดงบประมาณจริง ควรจะแก้ไขโดยเริ่มจากการแก้ไขข้อบังคับการประชุมที่กำหนดให้มีการแจ้งประชุมสมาชิกล่วงหน้า 3 วันด้วยเอกสารทางการ ส่วนตัวไม่ค่อยได้ใช้แท็บเล็ตที่สภาแจกเท่าไหร่ เพราะของส่วนตัวก็มีอยู่แล้ว เร็วๆ นี้จะนำมาคืนแล้ว เพราะกลัวว่าไม่ได้ใช้แล้วอุปกรณ์เกิดเสื่อมสภาพ ต้องชดใช้คืนเป็นเงิน"
แม้การใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือวิเศษ-เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากจะมีคุณประโยชน์ต่อคนใช้แล้ว อีกด้านย่อมทำให้เกิดโทษหากใช้งานไม่เหมาะสม อย่างที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีการแชร์ภาพผู้แทนฯ ในสภาไทยใช้แท็บเล็ตไปในทางไม่เหมาะสม เช่น ดูรูปโป๊ เล่นเกม ระหว่างการประชุมสภา ทำให้สังคมตั้งคำถามถึงระดับวุฒิภาวะของคนระดับผู้แทนประชาชน
แต่ในมุมของสมาชิกรัฐสภา กลับมองว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นใหญ่ที่สังคมควรจับตา เพราะอาจเป็นการกระทำโดยไม่ตั้งใจของสมาชิกที่เริ่มใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดย "พล.อ.สนธิ" บอกว่า ผู้ใช้มือใหม่ที่เข้าไปค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตผ่านแท็บเล็ตที่มีหน้าจอเล็ก ส่วนใหญ่เว็บไซต์ที่มีการโฆษณาเป็นป๊อปอัพ โดยการนำภาพผู้หญิงนุ่งน้อยห่มน้อยมาเป็นภาพโฆษณา ทำให้คนที่ใช้ไม่คล่องเผลอเอานิ้วไปโดยอย่างไม่ตั้งใจ
อีกฟากมุมมองของ "ส.ส.จอมแฉ"
ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ที่คอยสังเกตพฤติกรรมของเพื่อนสมาชิกในห้องประชุมที่มีแท็บเล็ตใช้ส่วนตัวว่า ส่วนใหญ่ใช้เล่นเกม หรืองานที่ไม่เกี่ยวกับสภา ที่เหลือก็จะเอาไว้ติดตามข้อมูลข่าวสาร อย่าง ส.ส. ที่มักใช้งนแท็บเล็ตในห้องประชุม เช่น รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม นริศ ขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุง และบุญยอด สุขถิ่นไทย และจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ พรรคประชาธิปัตย์
กระนั้นก็ตาม หากแบ่งสัดส่วนจริงๆ พบว่า คนที่หิ้วแท็บเล็ตเพื่อใช้งานมีประมาณ 30% ของ ส.ส. ทั้งหมด แต่ท้ายสุด ชูวิทย์ "หัวหน้าพรรครักประเทศไทย" ยังเห็นความสำคัญของการมีและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น แท็บเล็ต เนื่องจากยุคสมัยที่พัฒนาไปแล้ว จึงถือว่ามีประโยชน์ และอยากให้มีต่อไป
"ไม่ว่า ส.ส. จะเอาไปใช้งานอย่างไร หรือไม่เอามาใช้ ก็ไม่ใช่ตัววัดประสิทธิภาพการทำงาน เพราะบุคลิก ส.ส. ล้วนต่างกัน บางคนอาจไม่เก่งงานในสภา แต่เก่งงานในพื้นที่ บางคนก็ไม่เก่งงานพื้นที่ แต่งานสภาเป็นเลิศก็เป็นไปได้" ส.ส.จอมแฉกล่าวทิ้งท้าย
ขนิษฐา เทพจร - อนุพรรณ จันทนะ
'แท็บเล็ต' แจก ส.ส. - ส.ว. ใช้งานไม่เหมาะสม
ราวเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรใจป้ำซื้อแท็บเล็ตแจกให้สมาชิกรัฐสภาเพื่อใช้งาน แม้จุดเริ่มจะตามหลังแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาสำหรับนักเรียน ป.1 แต่เมื่อดูวัตถุประสงค์โครงการแล้วแสนหรู คือ เพื่อจัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยสนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติงานของสมาชิกในสภาในการสืบค้นข้อมูลด้านนิติบัญญัติได้ด้วยความรวดเร็ว และลดปริมาณการใช้กระดาษที่ผลิตเอกสารใช้ระหว่างประชุม
จากข้อมูลล่าสุด พบว่า ได้จัด-แจกแท็บเล็ตจำนวนสมาชิกในรัฐสภาทั้ง 649 คนไปแล้ว 554 คน แยกเป็น ส.ส. 437 คน และ ส.ว. 117 คน และอีก 95 คนยังไม่ได้รับ แยกเป็น ส.ส. 63 คน ส่วน ส.ว. 32 คน
สำหรับผู้ที่ไม่รับมี 2 เหตุผลใหญ่ คือ มีแท็บเล็ตส่วนตัวแล้ว และไม่อยากใช้ เช่น "ส.ว.เพชรบุรี - สุมล สุตะวิริยวัฒน์" 1 ใน 95 สมาชิกรัฐสภาที่ "Say No" บอกว่า "ไม่ชอบสังคมก้มหน้า เลยไม่เอา และไม่อยากใช้ เพราะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความสัมพันธ์ รวมถึงมันรู้สึกอึดอัดเมื่อพบใครที่คอยแต่ก้มหน้าอยู่กับจอแท็บเล็ต"
เมื่อถามถึงความสะดวก-ประโยชน์ในงานสภา ส.ว. สาวใหญ่วัย 65 ปีผู้นี้หยุดคิดก่อนตอบว่า "ไม่เป็นปัญหา เพราะดิฉันเป็น ส.ว. บ้านนอกจากเมืองเพชรบุรี ชาวบ้านส่วนใหญ่หากมีเรื่องเดือดร้อนจะใช้โทรศัพท์มากกว่า อาจจะมีคนว่าฉันเป็นคนโลว์เทค (โนโลยี) ก็เชิญ แต่ฉันเป็นตัวแทนประชาชน ต้องใช้การเข้าหามากกว่าก้มหน้าก้มตาอยู่กับแท็บเล็ต"
ขณะที่ผู้แทนฯ รุ่นเดียวกัน "ส.ส.ปุ๊" รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท แห่งประชาธิปัตย์ ยืดอกรับอย่างยินดีว่า ใช้แท็บเล็ตที่สภาแจก แต่ออกตัวว่า ไม่ใช่เพื่อเล่นเกม แต่จะเอาไว้ติดตามข่าวสาร ค้นหาข้อมูลประกอบการอภิปราย และติดต่อกับเพื่อนๆ ผ่านทางไลน์และเฟซบุ๊ก รวมถึงตรวจสอบความประพฤติของกลุ่มผู้แทนฯ ยังบลัดในพรรคประชาธิปัตย์ด้วย
อย่างไรก็ดี แรกเริ่มใช้เครื่องมือที่ทันสมัย คนวัย 60 ปีขึ้นไปมักบ่นว่ายาก แต่สำหรับ ส.ส.รัชฎาภรณ์บอก "ไม่ยาก เพราะเคยใช้สมาร์ทโฟนระบบทัชสกรีนมาก่อน อีกอย่าง ส.ส. อาวุโสในพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นายหัวชวน หลีกภัย ก็ใช้ จึงกระตุ้นให้เราใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยให้คล่องๆ คุณชวนใช้ไอโฟนและเล่นแอพพลิเคชั่นไลน์ และใช้เก่งด้วย บางครั้งเมื่อ ส.ส. ลงพื้นที่หาเสียงหรือปราศรัยเสร็จ คุณชวนก็จะพิมพ์ข้อความมาในกลุ่มว่า 'รีบไปขอบคุณประชาชน' ทำให้เราเห็นประโยชน์ของการสื่อสารตรงนี้"
ทางซีก ส.ส. น้องใหม่-วัยรุ่น ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า Work More++ อย่าง ส.ส. ใหม่ที่อายุไม่น้อย "พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน แห่งพรรคมาตุภูมิ" บอกว่า ใช้แท็บเล็ตที่สภานำมาให้บริการ ซึ่งมาพร้อมกับแอพพลิเคชั่นที่เจ้าหน้าที่ดาวน์โหลดติดไว้กับตัวเครื่อง เช่น ข้อบังคับการประชุม รัฐธรรมนูญ ทีวีรัฐสภา วิทยุรัฐสภา ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่ใช้บ่อยสุดๆ คือ ทีวีรัฐสภา เพื่อไว้ติดตามข่าวสารและการประชุมสภาระหว่างนั่งประชุมคณะกรรมาธิการ นอกจากนั้นคือ โปรแกรมซาฟารี เพื่อสืบค้นข้อมูลทั่วไป โดยการใช้งานที่ง่ายแสนง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส เกิดจากการเรียนรู้ผ่านเจ้าหน้าที่ฝึกสอนและฝึกฝนด้วยตนเอง
ด้าน "อดีต รมช.เกษตรฯ" ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เล่าว่า ตั้งแต่มีแท็บเล็ตใช้ ช่วยงานได้เยอะ แถมเพิ่มความรวดเร็วได้ดั่งใจ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบการชี้แจง และตอบคำถามสมาชิก ลดจำนวนเอกสารที่ต้องหอบหิ้ว และที่สำคัญ ลดจำนวนผู้ช่วย ส.ส. ที่ปกติจะเดินขวักไขว่อยู่เต็มรัฐสภา เพราะสั่งให้คนติดตามทำงานอยู่ที่บ้าน และหากจะเรียกใช้งานก็สั่งผ่านทางไลน์หรืออีเมล
"งานในพื้นที่หรือแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน ได้ใช้ไลน์ติดต่อผู้ใหญ่ของพรรคหรือท่านรัฐมนตี เช่น ส่งข้อความไปหา หรือส่งภาพเอกสารไปให้ดูก่อนเป็นเบื้องต้นได้ ทำให้การช่วยเหลือชาวบ้านรวดเร็ว เช่นเดียวกัน คนในพื้นที่เมื่อมีปัญหาต้องการให้ ส.ส. ช่วย ก็ส่งข้อความผ่านไลน์"
การทำงานประสาน-สื่อกลางเพื่อช่วยชาวบ้านด้วยเทคโนโลยียอมรับว่า ปรบมือข้างเดียวไม่ดัง เมื่อผู้ส่งสารใช้เป็นแล้ว ผู้รับสารก็ต้องใช้เป็นด้วย แต่งานนี้ "ส.ส.ยุทธพงศ์" ยิ้มรับว่า ไม่เป็นปัญหา เพราะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย แม้อายุใกล้ 70 ในอีก 3 ปีข้างหน้า แต่ก็เล่นไลน์ติดต่อโลกโซเชียล
ส่วน "แชมป์" กรวีร์ ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา เห็นว่า แท็บเล็ตที่รัฐสภาซื้อแจกให้สมาชิกยืมใช้มีประโยชน์ต่อการทำงาน เช่น หาข้อมูลได้รวดเร็ว แต่หากคำนึงถึงวัตถุประสงค์ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้แจงผ่านกรรมาธิการกิจการสภาเพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษ ที่ต้องจัดงบซื้อปีละหลายล้านบาท ยังคงไม่ตอบโจทย์
"ทุกวันนี้สภายังส่งเอกสาร จดหมายนัดประชุม ไปที่บ้านอยู่ดี หากต้องการจะใช้แท็บเล็ตเพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษ เพื่อประหยัดงบประมาณจริง ควรจะแก้ไขโดยเริ่มจากการแก้ไขข้อบังคับการประชุมที่กำหนดให้มีการแจ้งประชุมสมาชิกล่วงหน้า 3 วันด้วยเอกสารทางการ ส่วนตัวไม่ค่อยได้ใช้แท็บเล็ตที่สภาแจกเท่าไหร่ เพราะของส่วนตัวก็มีอยู่แล้ว เร็วๆ นี้จะนำมาคืนแล้ว เพราะกลัวว่าไม่ได้ใช้แล้วอุปกรณ์เกิดเสื่อมสภาพ ต้องชดใช้คืนเป็นเงิน"
แม้การใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือวิเศษ-เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากจะมีคุณประโยชน์ต่อคนใช้แล้ว อีกด้านย่อมทำให้เกิดโทษหากใช้งานไม่เหมาะสม อย่างที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีการแชร์ภาพผู้แทนฯ ในสภาไทยใช้แท็บเล็ตไปในทางไม่เหมาะสม เช่น ดูรูปโป๊ เล่นเกม ระหว่างการประชุมสภา ทำให้สังคมตั้งคำถามถึงระดับวุฒิภาวะของคนระดับผู้แทนประชาชน
แต่ในมุมของสมาชิกรัฐสภา กลับมองว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นใหญ่ที่สังคมควรจับตา เพราะอาจเป็นการกระทำโดยไม่ตั้งใจของสมาชิกที่เริ่มใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดย "พล.อ.สนธิ" บอกว่า ผู้ใช้มือใหม่ที่เข้าไปค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตผ่านแท็บเล็ตที่มีหน้าจอเล็ก ส่วนใหญ่เว็บไซต์ที่มีการโฆษณาเป็นป๊อปอัพ โดยการนำภาพผู้หญิงนุ่งน้อยห่มน้อยมาเป็นภาพโฆษณา ทำให้คนที่ใช้ไม่คล่องเผลอเอานิ้วไปโดยอย่างไม่ตั้งใจ
อีกฟากมุมมองของ "ส.ส.จอมแฉ" ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ที่คอยสังเกตพฤติกรรมของเพื่อนสมาชิกในห้องประชุมที่มีแท็บเล็ตใช้ส่วนตัวว่า ส่วนใหญ่ใช้เล่นเกม หรืองานที่ไม่เกี่ยวกับสภา ที่เหลือก็จะเอาไว้ติดตามข้อมูลข่าวสาร อย่าง ส.ส. ที่มักใช้งนแท็บเล็ตในห้องประชุม เช่น รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม นริศ ขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุง และบุญยอด สุขถิ่นไทย และจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ พรรคประชาธิปัตย์
กระนั้นก็ตาม หากแบ่งสัดส่วนจริงๆ พบว่า คนที่หิ้วแท็บเล็ตเพื่อใช้งานมีประมาณ 30% ของ ส.ส. ทั้งหมด แต่ท้ายสุด ชูวิทย์ "หัวหน้าพรรครักประเทศไทย" ยังเห็นความสำคัญของการมีและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น แท็บเล็ต เนื่องจากยุคสมัยที่พัฒนาไปแล้ว จึงถือว่ามีประโยชน์ และอยากให้มีต่อไป
"ไม่ว่า ส.ส. จะเอาไปใช้งานอย่างไร หรือไม่เอามาใช้ ก็ไม่ใช่ตัววัดประสิทธิภาพการทำงาน เพราะบุคลิก ส.ส. ล้วนต่างกัน บางคนอาจไม่เก่งงานในสภา แต่เก่งงานในพื้นที่ บางคนก็ไม่เก่งงานพื้นที่ แต่งานสภาเป็นเลิศก็เป็นไปได้" ส.ส.จอมแฉกล่าวทิ้งท้าย
ขนิษฐา เทพจร - อนุพรรณ จันทนะ