พี่ๆ คะ ข่วยอธิบายการใช้ Would have, Could have, Might have, May have, Must have, Should have ทั้งหมด + V3 หน่อยค่ะ

สับสนมากๆ เลยค่ะ ไม่เข้าใจน่ะค่ะ เจอประโยคพวกนี้ในหนังสือนิยายที่ตัวเองอ่านบ่อยมากเลยงงๆ น่ะค่ะ และอยากจะเอาไปใช้ด้วยแต่ไม่รู้จะใช้อย่างไรค่ะ คืองงเลยแหละ อยากรู้ว่ามันแปลว่าอะไร ใช้อย่างไรกันบ้างน่ะค่ะ ช่วยยกตัวอย่างมาให้จะเป็นพระคุณมากเลยค่ะ ที่จะถามก็มี

     1. Would have been
     2. Could have been
     3. May have been
     4. Might have been
     5. Must have been
     6. Should have been
     7. Would rather

               อันนี้เป็นรูปปกติ ขอเป็นรูปปฏิเสธด้วยได้ไหมคะ
                                    ขอบคุณมากค่ะ จุ๊ฟๆ
                                        อมยิ้ม17
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
Credit : https://m.facebook.com/betterenglishforthai/posts/525737940783296

would, could, should, etc ตอนที่ 6 อดีตที่หวนคืน

กริยาช่วยเหล่านี้มีรูปประโยคอดีตกาลที่พบเห็นอยู่เป็นประจำ โดยใช้ร่วมกับ have + กริยาช่องที่สาม สมัยที่เรียนในโรงเรียน จำได้ว่า เรียนว่าให้ใช้กับประโยค if แบบตรงข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นไปแล้วใน เช่น
• If she hadn’t got sick on the last day, she would have won the contest. “ถ้าเธอไม่ป่วยซะก่อนในวันสุดท้าย เธอก็จะชนะการแข่งขันไปแล้ว” ก็หมายความว่า อาจเป็นการแข่งขันที่ใช้เวลาหลายวัน แล้วเธอคนนี้ดันมาป่วยเอาวันสุดท้ายเข้าร่วมไม่ได้ คนพูดอาจเห็นว่า เธอคงคะแนนนำ หรือเก่งกว่าคนอื่น ถ้าได้แข่งครบทุกวันต้องชนะแน่ ๆ

เราอาจจะแทน would ด้วยคำอื่นก็ได้ เพื่อแสดงถึงความมั่นใจที่น้อยลง ลักษณะก็เหมือนที่ได้อธิบายไปแล้วในเรื่องการทำนายอนาคต แต่คราวนี้เป็นการทำนายอดีตแทน เช่น
• If …, she must have won the contest. ก็เป็นการฟันธงอยู่ แต่มั่นใจน้อยกว่า would หน่อย
• If …, she should have won the contest. มั่นใจน้อยลงอีก เป็น “เธอน่าจะชนะไปแล้ว” หรือ “เธอคงจะชนะไปแล้ว”
• If …, she may/might/could have won the contest. may หรือ might หรือ could ก็ใช้ได้ มั่นใจน้อยลงไปอีก may อาจจะฟังดูมั่นใจกว่าหน่อย แต่ก็ไม่ต้องเครียดนักว่าอันไหนมั่นใจมากน้อยกว่าอันไหน ลองใช้กันได้ตามสบาย แปลว่า “เธออาจจะชนะไปแล้ว”

ที่นี้ถ้าเราเรียนไปสอบ เรื่องมันก็จบแค่นี้ใช่ไหมครับ เห็น if ตามด้วยอดีตกาลแบบสมบูรณ์ (Past perfect tense) ก็ตามด้วย would/should/could have ตอนเรียนผมก็ยังนึกว่า โอโฮ จะพูดทั้งทีต้องร่ายยาวขนาดนี้เชียวหรือ ในทางปฏิบัติ หรือเรียนเพื่อเอาไปใช้ เราไม่จำเป็นต้องเห็น if เสมอไป เพียงแต่ต้องมีความเข้าใจว่า พวก would/should/could have เหล่านี้ เหมือนกับการคาดคะเน หรือการอยาก หรืออะไรทำนองนั้น กับเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว จบไปแล้ว แต่เรามาพูดย้อนหลังระลึกถึง แล้วก็บอกว่า อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือ น่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ลองดูตัวอย่างแบบไม่มี if นะครับ
• The party was so fun. You should have come with us. “งานปาร์ตี้สนุกมากเลย เธอน่าจะมากับเรานะ” ก็คือในความเป็นจริง เธอคนนี้ไม่ได้มาด้วย คงจะชวนแล้วไปยอมมา การตัดสินใจที่จะมา หรือไม่มานั้นผ่านไปแล้ว เราก็พูดย้อนหลังได้อย่างนี้ ส่วนงานปาร์ตี้นี้อาจจะจบไปแล้ว หรือยังดำเนินการอยู่ก็ได้ ถ้ายังดำเนินการอยู่ ก็หมายถึงว่า เราโทรศัพท์กลับไปคุยกับเธอคนนี้ในขณะที่อยู่ในงาน (ก็เธอไม่ได้มาด้วยนี่ การสนทนาจะเกิดขึ้นในปัจจุบันได้อย่างไร) ก็ใช้ The party is so fun แทนนะครับ
• We actually had more room in the car, you could have come with us. “จริง ๆ แล้วเรามีที่เหลือในรถนะ เธอน่าจะมากับเราได้” เธอคนนี้อาจจะไม่ไปเพราะทีแรกคิดว่าไม่มีที่นั่ง
• I would have done it differently. “เป็นฉัน ฉันจะทำไม่เหมือนอย่างนี้หรอก” จำวิธีแนะนำคนอื่น โดยใช้ I would ในตอนที่ 1 ของซีรีย์นี้ได้ไหมครับ นี่ก็คล้ายกันแต่เป็นการกึ่งแนะนำ กึ่งรำพึงรำพันถึงเรื่องที่ผ่านไปแล้ว อาจจะแก้ไขตอนนี้ไม่ทันแล้ว
• Somebody should/could have helped him. “ในสักคนน่าจะช่วยเขานะ” ก็คือ มีคนอื่นอยู่ แต่ไม่มีใครช่วยเขาตอนนั้น
• It (หรือ Things) could have been worse. เป็นการพูดปลอบใจตัวเอง หรือคนอื่น เวลาเกิดเหตุการณ์ร้าย ๆ แล้วจบไปแล้ว เหมือนคนไทยเราว่า “นี่ก็ยังดีนะ” เช่น Things could have been worse, at least everyone is safe. “นี่ก็ยังดีนะ อย่างน้อยทุกคนก็ปลอดภัย”
• It (หรือ Things) could not have been worse. ก็ตรงข้ามกันประโยคที่แล้วครับ พูดถึงเหตุการณ์ร้าย ๆ ที่จบไปแล้ว ในทำนองหมดกำลังใจว่า “ซวยจริง ๆ” หรือ “ไม่มีอะไรจะซวยไม่กว่านี้แล้ว” คือ ไม่มีโชคช่วยแม้แต่นิดเดียว ไอ้โน่นไอ้นี่แย่ไปหมด คล้ายกับคนไทยพูดว่า “ผีซ้ำด้ำพลอย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่