คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
เป็นวิทยาศาสตร์ค่ะ และนักจิตวิทยา ไม่ได้มีแค่ฟรอยด์เพียงท่านเดียว ยังมีอีกหลายท่านที่มีทั้งทฤษฎีที่เห็นด้วยกับฟรอยด์ และ ขัดแย้งกับฟรอยด์
ฟรอยด์ ถือเป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิเคราะห์ แต่ยังมีกลุ่มอื่นๆ อย่างกลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งมีพาฟลอฟ และสกินเนอร์อยู่ ซึ่งได้ทำการทดลองจนนำไปสู่การเกิดทฤษฎี และยังมีธอร์นไดท์อีก ในขณะที่เพียเจย์ จะอยู่ในเชิง cognitive ซึ่งเน้นไปทางด้านสติปัญญาก็ทำการทดลองเช่นกัน ตัวฟรอยด์เองก็ทำการทดลองในผู้ป่วยจิตเวชที่ตนเองรักษาอยู่ และนำไปสู่การสรุปข้อมูล และจากการสังเกตเก็บข้อมูลต่างๆก็นำไปสู่พัฒนาการลำดับขั้นของฟรอยด์ แต่ใช่ว่า แนวคิดของเขาจะได้รับการยอมรับจากทุกคนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านจิตวิทยา แม้แต่ลูกศิษย์ของเขาเองก็ยังมีบางแนวคิดที่แตกต่างออกไป นักจิตวิทยาปัจจุบันนี้ก็ไม่ไ้ด้ศึกษาแค่จากของฟรอยด์ แต่จะศึกษาในทุกๆกลุ่ม เพราะแต่ละกลุ่มก็มีข้อแตกต่างกันออกไป และการนำมาใช้ในการทำงานจะขึ้นกับวิจารณญาณ จะว่าไปแม้แต่การใช้หลักทางคณิตยังมีเลย อย่างของคาร์ลเทล
ขอยกตัวอย่างงานวิจัยของ piaget ซึ่งถือเป็นนักจิตวิทยาคนหนึ่งในกลุ่ม cognitive ที่ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาถูกนำมาใช้แพร่หลายล่ะกัน และยังถือเป็นนักจิตวิทยาที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเล่นในเด็กด้วยน่ะ อันนี้จะไปสนับสนุนในด้านของจิตวิทยาการเรียนรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมที่แสดงออกในแต่ละช่วงวัย เขาพยายามอธิบายว่า วัยที่แตกต่างกัน จะส่งผลให้มีพฤติกรรมต่างกัน การรับรู้ต่างกัน เป็นการอธิบายบุคลิกภาพที่เกิดขึ้นมาน่ะ
ส่วนอันนี้จะเป็นแนวของ skinner เป็นกลุ่ม behavior กลุ่มนี้ค่อนข้างเชื่อว่า ทุกพฤติกรรมเกิดจากการเรียนรู้ สกินเนอร์ไม่ได้สนใจด้านจิตวิเคราะห์หรือประสบการณ์ในอดีตเทียบเท่าฟรอยด์ แต่เขาเชื่อว่า เราสามารถลบการเรียนรู้ในอดีตได้ด้วยการปลูกฝังความเรียนรู้ใหม่ ซึ่งแนวคิดแบบนี้ปัจจุบันได้นำมาใช้ประยุกต์ในการบำบัด phobia และเขาก็ค่อนข้างเชื่อว่า เราสามารถปลูกฝังบุคคลิกหรือการเรียนรู้ให้กับบุคคลได้ ด้วยการให้สิ่งเสริมแรงน่ะ ก็ถูกนำมาใช้ในทางด้านการศึกษาให้กับเด็ก หรือ การเลี้ยงดูเด็ก เพื่อให้มีบุคลิกที่คาดหวัง ในทางจิตคลินิกก็นำมาประยุกต์ปรับใช้เพื่อปรับบุคลิกภาพหรือพฤติกรรม อย่างในเด็กที่ก้าวร้าว หรือ กลุ่ม antisocial
แล้วถ้าถามว่า ปัจจุบันเรายังใช้แนวทางของฟรอยด์หรือไม่ คำตอบคือ ใช้อยู่ค่ะ ซึ่งจะขึ้นกับวิจารณญาณและความเหมาะสมในการนำมาใช้มากกว่า การทำจิตบำบัดแบบจิตวิเคราะห์ก็ยังมีการทำอยู่ หรือ การส่งเสริมการเลี้ยงดูตามแนวทางพัฒนาการของฟรอยด์ก็ยังมี การอธิบายถึงจิตใต้สำนึกในรูปแบบของฟรอยด์ก็มีเช่นกัน แต่โดยมากมักจะใช้หลายๆแนวทางร่วมกัน เพราะอย่างที่บอกแต่ละแนวคิดก็มีจุดแตกต่างกันออกไป ซึ่งมันจะเสริมซึ่งกันและกันน่ะ ฟรอยด์ไม่ได้ให้กำเนิดแค่ id ego หรือ super ego นะคะ เขายังให้กำเนิดทฤษฎีำพัฒนาการ 5 ขั้น แนวคิดเรื่องสัญชาตญาณเป็นและตาย และแนวทางการทำจิตบำบัดด้วยน่ะ ซึ่งรูปแบบทฤษฎีพัฒนาการของเขา สอดคล้องกับของอิริคสัน และ เพียเจย์ เวลาอธิบายก็มักจะใช้อ้างอิงซึ่งกันและกันน่ะ ส่วนแนวคิด id ego superego ก็มีหลายคนเอาไปต่อยอด อย่างคาร์ลจุง หรือ ฮาโรลด์ , คูบี้ , ลอเรนส์ ก็นำไปปรับเปลี่ยนตัดบางส่วนออกไป เพิ่มบางส่วนเข้ามา และกลายเป็นแนวคิดของตนเองน่ะ
ส่วนการทำงานทางจิต ก็มีการวัดการทำงานอยู่ค่ะ แต่จะเน้นแยกเป็นเรื่องๆเลยมากกว่า อย่างศึกษาความกลัว ความเครียด การเรียนรู้ จนไปถึงศึกษาทางด้านการทำจิตบำบัดในผู้ป่วยทางจิตเวช อย่างการใช้เทคนิคโน้นนี่ในผู้ป่วยซึมเศร้า และวัดการทำงานของสมอง หรือวัดระดับการเรียนรู้กับเซลล์ในสมอง และนำไปสู่ข้อสรุปว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น สอดคล้องทั้งทางปัจจัยทางชีวภาพและจิตวิทยายังไง ที่นิยมใช้ในการศึกษากันส่วนมากก็ใช้พวก EEG fMRI งานวิจัยพวกนี้หาไม่ยากค่ะ ใน sciencedirect ก็มีเยอะแยะ
ฟรอยด์ ถือเป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิเคราะห์ แต่ยังมีกลุ่มอื่นๆ อย่างกลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งมีพาฟลอฟ และสกินเนอร์อยู่ ซึ่งได้ทำการทดลองจนนำไปสู่การเกิดทฤษฎี และยังมีธอร์นไดท์อีก ในขณะที่เพียเจย์ จะอยู่ในเชิง cognitive ซึ่งเน้นไปทางด้านสติปัญญาก็ทำการทดลองเช่นกัน ตัวฟรอยด์เองก็ทำการทดลองในผู้ป่วยจิตเวชที่ตนเองรักษาอยู่ และนำไปสู่การสรุปข้อมูล และจากการสังเกตเก็บข้อมูลต่างๆก็นำไปสู่พัฒนาการลำดับขั้นของฟรอยด์ แต่ใช่ว่า แนวคิดของเขาจะได้รับการยอมรับจากทุกคนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านจิตวิทยา แม้แต่ลูกศิษย์ของเขาเองก็ยังมีบางแนวคิดที่แตกต่างออกไป นักจิตวิทยาปัจจุบันนี้ก็ไม่ไ้ด้ศึกษาแค่จากของฟรอยด์ แต่จะศึกษาในทุกๆกลุ่ม เพราะแต่ละกลุ่มก็มีข้อแตกต่างกันออกไป และการนำมาใช้ในการทำงานจะขึ้นกับวิจารณญาณ จะว่าไปแม้แต่การใช้หลักทางคณิตยังมีเลย อย่างของคาร์ลเทล
ขอยกตัวอย่างงานวิจัยของ piaget ซึ่งถือเป็นนักจิตวิทยาคนหนึ่งในกลุ่ม cognitive ที่ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาถูกนำมาใช้แพร่หลายล่ะกัน และยังถือเป็นนักจิตวิทยาที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเล่นในเด็กด้วยน่ะ อันนี้จะไปสนับสนุนในด้านของจิตวิทยาการเรียนรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมที่แสดงออกในแต่ละช่วงวัย เขาพยายามอธิบายว่า วัยที่แตกต่างกัน จะส่งผลให้มีพฤติกรรมต่างกัน การรับรู้ต่างกัน เป็นการอธิบายบุคลิกภาพที่เกิดขึ้นมาน่ะ
ส่วนอันนี้จะเป็นแนวของ skinner เป็นกลุ่ม behavior กลุ่มนี้ค่อนข้างเชื่อว่า ทุกพฤติกรรมเกิดจากการเรียนรู้ สกินเนอร์ไม่ได้สนใจด้านจิตวิเคราะห์หรือประสบการณ์ในอดีตเทียบเท่าฟรอยด์ แต่เขาเชื่อว่า เราสามารถลบการเรียนรู้ในอดีตได้ด้วยการปลูกฝังความเรียนรู้ใหม่ ซึ่งแนวคิดแบบนี้ปัจจุบันได้นำมาใช้ประยุกต์ในการบำบัด phobia และเขาก็ค่อนข้างเชื่อว่า เราสามารถปลูกฝังบุคคลิกหรือการเรียนรู้ให้กับบุคคลได้ ด้วยการให้สิ่งเสริมแรงน่ะ ก็ถูกนำมาใช้ในทางด้านการศึกษาให้กับเด็ก หรือ การเลี้ยงดูเด็ก เพื่อให้มีบุคลิกที่คาดหวัง ในทางจิตคลินิกก็นำมาประยุกต์ปรับใช้เพื่อปรับบุคลิกภาพหรือพฤติกรรม อย่างในเด็กที่ก้าวร้าว หรือ กลุ่ม antisocial
แล้วถ้าถามว่า ปัจจุบันเรายังใช้แนวทางของฟรอยด์หรือไม่ คำตอบคือ ใช้อยู่ค่ะ ซึ่งจะขึ้นกับวิจารณญาณและความเหมาะสมในการนำมาใช้มากกว่า การทำจิตบำบัดแบบจิตวิเคราะห์ก็ยังมีการทำอยู่ หรือ การส่งเสริมการเลี้ยงดูตามแนวทางพัฒนาการของฟรอยด์ก็ยังมี การอธิบายถึงจิตใต้สำนึกในรูปแบบของฟรอยด์ก็มีเช่นกัน แต่โดยมากมักจะใช้หลายๆแนวทางร่วมกัน เพราะอย่างที่บอกแต่ละแนวคิดก็มีจุดแตกต่างกันออกไป ซึ่งมันจะเสริมซึ่งกันและกันน่ะ ฟรอยด์ไม่ได้ให้กำเนิดแค่ id ego หรือ super ego นะคะ เขายังให้กำเนิดทฤษฎีำพัฒนาการ 5 ขั้น แนวคิดเรื่องสัญชาตญาณเป็นและตาย และแนวทางการทำจิตบำบัดด้วยน่ะ ซึ่งรูปแบบทฤษฎีพัฒนาการของเขา สอดคล้องกับของอิริคสัน และ เพียเจย์ เวลาอธิบายก็มักจะใช้อ้างอิงซึ่งกันและกันน่ะ ส่วนแนวคิด id ego superego ก็มีหลายคนเอาไปต่อยอด อย่างคาร์ลจุง หรือ ฮาโรลด์ , คูบี้ , ลอเรนส์ ก็นำไปปรับเปลี่ยนตัดบางส่วนออกไป เพิ่มบางส่วนเข้ามา และกลายเป็นแนวคิดของตนเองน่ะ
ส่วนการทำงานทางจิต ก็มีการวัดการทำงานอยู่ค่ะ แต่จะเน้นแยกเป็นเรื่องๆเลยมากกว่า อย่างศึกษาความกลัว ความเครียด การเรียนรู้ จนไปถึงศึกษาทางด้านการทำจิตบำบัดในผู้ป่วยทางจิตเวช อย่างการใช้เทคนิคโน้นนี่ในผู้ป่วยซึมเศร้า และวัดการทำงานของสมอง หรือวัดระดับการเรียนรู้กับเซลล์ในสมอง และนำไปสู่ข้อสรุปว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น สอดคล้องทั้งทางปัจจัยทางชีวภาพและจิตวิทยายังไง ที่นิยมใช้ในการศึกษากันส่วนมากก็ใช้พวก EEG fMRI งานวิจัยพวกนี้หาไม่ยากค่ะ ใน sciencedirect ก็มีเยอะแยะ
แสดงความคิดเห็น
วิชาจิตวิทยาถือเป็นวิทยาศาสตร์ไหม ฟรอยด์ใช่นักวิทยาศาสตร์เปล่า แล้วมนุษย์สามารถวัดค่าต่างๆของจิตได้ไหม
ไอ้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ อีโก้ ซุปเปอร์อีโก้นี่มันเหมือนนิทาน คิดเองเออเองเลย มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนหรือเปล่า
วิชาจิตวิทยาถือเป็นวิทยาศาสตร์ไหม
แล้วในตอนนี้มนุษย์สามารถวัดค่าต่างๆทางจิต ค่าต่างๆทางสมองเหมือนวัดอุณหภูมิ ความดันของสิ่งของได้ไหม