เทฺววาจิก (มีวาจาสอง) อ่านว่า ทะ-เว-วา-จิก แปลว่า ผู้ถึงสรณะ ๒
ในสมัยก่อนที่ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะจะได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า
มีพาณิช ๒ คน คือ ตปุสสะ และภัลลิกะ เป็นผู้กล่าววาจาถึงสรณะสอง คือ พระพุทธและพระธรรม
เพราะว่าขณะนั้นยังไม่มีพระสงฆ์
เทียบ
เตวาจิก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ตปุสสะ และภัลลิกะ เป็นพ่อค้าที่มาจากอุกกลชนบท พบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะ
ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ ได้ถวายเสบียงเดินทาง คือ ข้าวสัตตุผล ข้าวสัตตุก้อน แล้วแสดงตนเป็นอุบาสก
ถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็นสรณะ
นับเป็นปฐมอุบาสกผู้ถึงสรณะ ๒ ที่เรียกว่า เทฺววาจิก
ราชายตนกถา เรื่องตปุสสะภัลลิกะ ๒ พ่อค้า
http://84000.org/tipitaka/read/?4/6
เตวาจิก มีวาจาครบ ๓
หมายถึง ผู้กล่าวว่าจาถึงสรณะครบทั้งสามอย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
บิดาพระยสะเป็นคนแรก ที่ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต;
บิดาของยสกุลบุตรตามหา
http://84000.org/tipitaka/read/?4/27
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เทฺว&detail=on#find3
ในวันเพ็ญเดือนแปด เมื่อท่านพระอัญญาโกณฑัญญะตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ได้เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทารูปแรก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ในวันแรมค่ำหนึ่ง ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแก่พระวัปปเถระ
ในวันแรม ๒ ค่ำได้เกิดขึ้นแก่พระภัททิยเถระ
ในวันแรม ๓ ค่ำได้เกิดแก่พระมหานามเถระ
ในวันแรม ๔ ค่ำ ได้เกิดขึ้นแก่พระอัสสชิเถระ
ก็แลในวันแรม ๕ ค่ำแห่งปักษ์ พระองค์ให้เธอทั้งหมดประชุมพร้อมกันแล้วตรัสสอนด้วยอนัตตสูตร
ในวันแรม ๕ ค่ำ มีมนุษย์ ๖ คน เป็นพระอรหันต์ในโลก
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เอหิภิกขุอุปสัมปทา
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=20
ไตรสรณคมน์ การถึงสรณะสาม, การถึงรัตนะสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
สรณคมน์มี ๒ อย่าง คือ โลกุตตรสรณคมน์และโลกิยสรณคมน์
๑.
โลกุตตรสรณคมน์ คือไตรสรณคมน์ของพระอริยสาวก มีนิพพานเป็นอารมณ์ มีสามัญญผล ๔ เป็นวิบากผล
มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวงเป็นอานิสงส์
สรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้าหมอง ไ้ม่แตกเป็นมีโทษเพราะ
พระอริยสาวกไม่อุทิศศาสดาอื่นแม้ในระหว่างภพ
๒.
โลกิยสรณคมน์ คือไตรสรณคมน์ของปุถุชน มีพระพุทธคุณเป็นต้น เป็นอารมณ์ มี ๒ อย่าง คือ
๒.๑ แตกไป เพราะไปนับถือผู้อื่น เป็นศาสดา อันนี้มีโทษ มีผลไม่น่าปรารถนา
๒.๒ แตกไป เพราะตาย อันนี้ถือว่า ไม่มีโทษ เพราะมรณะห้ามไม่ได้ ไม่เป็นวิบาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ คำว่า สามัญญผล ๔
คือผลของความเป็นสมณะ คือประโยชน์ที่จะได้จากการดำรงเพศเป็นสมณะ หรือบำเพ็ญสมณธรรม
สามัญญผล ๔ หมายถึงอริยผล (โสดาปัตติผล สกาทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล)
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ไตรสรณคมน์
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91&p=7#เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสรณคมน์เหล่านั้น
พระอริยสาวกไม่อุทิศศาสดาอื่นแม้ในระหว่างภพ
รัตนสูตร [บางส่วน]
สักกายทิฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่
ธรรมเหล่านั้นอันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้ว พร้อมด้วยความถึงพร้อม
แห่งการเห็น (นิพพาน) ทีเดียว
อนึ่งพระอริยบุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อทำอภิฐานทั้ง ๖
(คือ อนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีด)
สังฆรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=7662&Z=7746
พหุธาตุกสูตร [บางส่วน]
(๙) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ
จะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่น นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล
คือ ปุถุชนจะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่นได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=14&A=3432
มาตริสูตร
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=10326&Z=10333
คำว่า อภิฐาน
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อภิฐาน
เทฺววาจิก เตวาจิก และสรณคมน์
เทฺววาจิก (มีวาจาสอง) อ่านว่า ทะ-เว-วา-จิก แปลว่า ผู้ถึงสรณะ ๒
ในสมัยก่อนที่ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะจะได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า
มีพาณิช ๒ คน คือ ตปุสสะ และภัลลิกะ เป็นผู้กล่าววาจาถึงสรณะสอง คือ พระพุทธและพระธรรม
เพราะว่าขณะนั้นยังไม่มีพระสงฆ์
เทียบ เตวาจิก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในวันเพ็ญเดือนแปด เมื่อท่านพระอัญญาโกณฑัญญะตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ได้เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทารูปแรก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ไตรสรณคมน์ การถึงสรณะสาม, การถึงรัตนะสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
สรณคมน์มี ๒ อย่าง คือ โลกุตตรสรณคมน์และโลกิยสรณคมน์
๑. โลกุตตรสรณคมน์ คือไตรสรณคมน์ของพระอริยสาวก มีนิพพานเป็นอารมณ์ มีสามัญญผล ๔ เป็นวิบากผล
มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวงเป็นอานิสงส์
สรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้าหมอง ไ้ม่แตกเป็นมีโทษเพราะพระอริยสาวกไม่อุทิศศาสดาอื่นแม้ในระหว่างภพ
๒. โลกิยสรณคมน์ คือไตรสรณคมน์ของปุถุชน มีพระพุทธคุณเป็นต้น เป็นอารมณ์ มี ๒ อย่าง คือ
๒.๑ แตกไป เพราะไปนับถือผู้อื่น เป็นศาสดา อันนี้มีโทษ มีผลไม่น่าปรารถนา
๒.๒ แตกไป เพราะตาย อันนี้ถือว่า ไม่มีโทษ เพราะมรณะห้ามไม่ได้ ไม่เป็นวิบาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พระอริยสาวกไม่อุทิศศาสดาอื่นแม้ในระหว่างภพ
รัตนสูตร [บางส่วน]
สักกายทิฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่
ธรรมเหล่านั้นอันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้ว พร้อมด้วยความถึงพร้อม
แห่งการเห็น (นิพพาน) ทีเดียว
อนึ่งพระอริยบุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อทำอภิฐานทั้ง ๖
(คือ อนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีด)
สังฆรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=7662&Z=7746
พหุธาตุกสูตร [บางส่วน]
(๙) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ
จะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่น นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล
คือ ปุถุชนจะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่นได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=14&A=3432
มาตริสูตร
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=10326&Z=10333
คำว่า อภิฐาน
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อภิฐาน