ร่วมกันศึกษาและเรียนรู้พระไตรปิฎก "พระสุตตันตปิฎก " " มหาปรินิพพานสูตร" ภิกขุอปริหานิยธรรมหมวด 4 ตอน7 อุเบกขา

ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

-----------------------------------------------

มหาปรินิพพานสูตร
อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม 10  ข้อ 138 หน้า 86

หรือ อ่านใน

ลิงค์ มหาปรินิพพานสูตร
(พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ)

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915

อรรถกถา

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67


------------------------------------------------------------

พุทธพจน์สำคัญในมหาปรินิพพานสูตร


1."ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย  หลังจากเราล่วงลับไป  ก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"

2."ภิกษุ พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุ ยังไม่บัญญัติสิ่งที่เรามิได้บัญญัติไว้  ไม่ล้มล้างสิ่งที่เราบัญญัติไว้แล้ว  ถือปฏิบัติตามสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แล้ว"


-----------------------------------------------------------



อุเบกขาสัมโพชฌงค์




----------------------------------



อปริหานิยธรรมในหมวดนี้ทั้งหมด

(อ้ัางอิง พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ  เล่มที่ 10  หน้า 85 ข้อ 139)


[๑๓๙]  ภิกษุทั้งหลาย  เราจะแสดงอปริหานิยธรรม  ๗  ประการอีกหมวดหนึ่ง
แก่เธอทั้งหลาย  เธอทั้งหลายจงฟัง  จงใส่ใจให้ดี  เราจักกล่าว”  ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว  พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
   “ภิกษุทั้งหลาย
                 ๑.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
                      ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสติสัมโพชฌงค์  (ธรรมที่เป็นองค์แห่ง
                      การตรัสรู้คือความระลึกได้)
                 ๒.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
                      ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์  (ธรรมที่เป็นองค์
                      แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม)
                  ๓.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
                      ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญวิริยสัมโพชฌงค์  (ธรรมที่เป็นองค์แห่ง
                      การตรัสรู้คือความเพียร)
                 ๔.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
                      ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปีติสัมโพชฌงค์  (ธรรมที่เป็นองค์แห่ง
                      การตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
                 ๕.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
                      ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์  (ธรรมที่เป็นองค์
                      แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ)
                 ๖.  ภิกษุพึงหวังได้  แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
                      ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์  (ธรรมที่เป็นองค์แห่ง
                      การตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
                 ๗.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
                      ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์  (ธรรมที่เป็นองค์
                      แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง)
    ภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง  ๗  ประการนี้อยู่  และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง  ๗  ประการนี้อยู่

(จบ ฉบับมหาจุฬาฯ)

-------------

(ขออนุโมทนาและขอบคุณ คุณฐานาฐานะ ที่ให้คำแนะนำในการตั้งกระทู้ครับ)

ฉบับสยามรัฐที่ลงโดยคุณฐานาฐานะครั้งที่แล้ว


พระพุทธพจน์ :-
          [๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ อีกหมวดหนึ่ง
แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
          พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
๑. พวกภิกษุจักเจริญสติสัมโพชฌงค์...., ๒. ...ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์....
๓. ...วิริยสัมโพชฌงค์... ๔. ...ปีติสัมโพชฌงค์... ๕. ...ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...
๖. ...สมาธิสัมโพชฌงค์... ๗. พวกภิกษุจักเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อยู่
เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ นี้ จักตั้งอยู่ในหมู่ภิกษุ
และหมู่ภิกษุจักสนใจในอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ นี้ อยู่เพียงใด พึงหวังได้
ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915#73          

          คำว่า โพชฌงค์, โพธิปักขิยธรรม
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพชฌงค์
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพธิปักขิยธรรม

          หมวดหนังสือธรรมะ
          เรื่อง ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html

แนะนำ :-
          อ่านและค้นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม
          อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง
          พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
          พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม    
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/

          พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม  
          สารบัญประเภทธรรม
http://84000.org/tipitaka/dic/d_type_index.php?    

          หมวดหนังสือธรรมะ
http://84000.org/tipitaka/book/
          เรื่อง ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html
          เรื่อง สิ่งที่เป็นมงคล (มงคล ๓๘)
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn06.html
          เรื่อง ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html

จากคุณ : ฐานาฐานะ [FriendFlock]
เขียนเมื่อ : 31 ต.ค. 55 13:37:46 [แก้ไข]
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่