มองต่างมุม "สุรยุทธ์" คุย "ทักษิณ"
รายงานพิเศษ
ขณะที่รัฐบาลเปิดเวทีปฏิรูปประเทศ แสวงหาความปรองดอง
การให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ถึงมุมมองที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พร้อมระบุมีโอกาสที่จะพบปะพูดคุยกันในอนาคต
มีความเห็นต่อท่าทีดังกล่าว ทั้งจากฝ่ายสันติวิธี คณะทำงานประสานงานเวทีปฏิรูปประเทศ รวมถึง แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
โคทม อารียา
ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล
การพูดคุยสามารถช่วยคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งได้ โดยเฉพาะการพูดคุยระหว่างคนที่เห็นแตกต่างกัน เพราะเราต้องทำความ เห็นต่าง และนำอารมณ์ความรู้สึกที่ทั้งดีและไม่ดีให้ปรากฏทั้งต่อเจ้าตัวและ ในปริมณฑลสาธารณะ
โดยจำแนกให้เห็นเหตุผลของแต่ละเรื่อง จะทำให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย เพราะที่ผ่านมาเราไม่ฟังเหตุผล สังคมไทยขาดการถกแถลง แจงเหตุผลซึ่งกันและกัน
แต่เท่านี้อาจจะไม่พอ เพราะบางประเด็นเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก เสียใจ น้อยใจ โกรธ ซึ่งสะสมช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมาจำนวนมาก
เชื่อว่าหากพล.อ.สุรยุทธ์ และพ.ต.ท.ทักษิณ ได้พูดคุยกันมากขึ้น เข้าใจอารมณ์ และความเป็นธรรมชาติของกันและกัน คลายปมอารมณ์ออกไปก็จะทำให้เหตุผลเดินหน้าไปได้ ต้องทำทั้งเรื่องเหตุผล และอารมณ์ไปพร้อมๆ กัน
อย่างที่ผ่านมาพล.อ.สุรยุทธ์ ฐานะนายกฯ สมัยนั้นก็เคยออกมาขอโทษต่อเหตุการณ์ตากใบในนามรัฐบาล
หรือกรณีนายบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้นำซีเรียเอง ก็เคยบอกว่าเมื่อคิดกลับไปก็รู้ว่าเคยทำผิดพลาดในอดีต การแสดงความเสียใจ หรือแสดงความรู้สึกต่อสิ่งที่ทำไปก็มีส่วนช่วยทำให้สังคมมีทางออกมากขึ้น
ที่บางส่วนบางกลุ่มไม่เอาพ.ต.ท.ทักษิณ คงไม่ใช่การไม่เอาในฐานะมนุษย์หรือคนไทยคนหนึ่ง แต่คงบอกว่าไม่เอาในฐานะผู้นำบริหารประเทศ หรือนายกฯ
ซึ่งในความจริง พ.ต.ท.ทักษิณก็พูดว่าไม่ปรารถนาจะกลับมาเป็นนายกฯ แต่คนยังไม่เชื่อ และตัวพ.ต.ท.ทักษิณเองก็อาจยังไม่มั่นใจ
ปัญหาของสังคมไทยตอนนี้จึงเป็นเรื่องความไม่ไว้วางใจ ที่สังคมจะต้องหากระบวนการที่เหมาะสมในการคุยกันเพื่อนำไปสู่ความไว้วางใจกันมากขึ้น และไปนำไปสู่ความคลี่คลายของ ทั้งสังคม และตัวพ.ต.ท.ทักษิณเองด้วย
อย่างไรก็ตาม การยืนยันว่าจะไม่กลับมารับตำแหน่งทางการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่ใช่ทางออกของความขัดแย้งทางการเมืองไปเสียทั้งหมด หากแต่ยังซับซ้อนมากไปกว่านั้น
ทางออกจึงให้มองให้เห็นความเป็นมนุษย์ อย่าเห็นความเป็นสุรยุทธ์ หรือความเป็นทักษิณเท่านั้น แต่ให้เข้าใจในความเป็นธรรมชาติ ธรรมดาของมนุษย์ ที่มีความโลภ โกรธ หลงเหมือนกัน จะทำให้เห็นว่ามนุษย์มีอะไรเหมือนกัน เมื่อนั้นก็จะเห็นใจกัน และเข้าใจกันมากขึ้น
การพูดคุยกันระหว่างพล.อ.สุรยุทธ์ และพ.ต.ท.ทักษิณ เชื่อว่าทั้งสองมีศักยภาพ โอกาสและมีวิธีการต่างๆ ในการ พูดคุยกันมากพออยู่แล้ว
แต่หากจะให้ช่วยออกแรง ผมก็สามารถช่วยได้ในฐานะ ตัวประกอบเล็กๆ
วราเทพ รัตนากร
รมต.ประจำสำนักนายกฯ และรมช.เกษตรฯ
คณะทำงานประสานงานเวทีปฏิรูปประเทศ
เวทีปฏิรูปประเทศไทยเปิดนโยบายแต่แรกแล้วว่าเราไม่ปิดกั้นใครคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลใดที่ต้องการเห็นประเทศไทยเดินไปข้างหน้า จึงไม่ปิดกั้นและไม่จำกัดการแสดงความคิดเห็น
ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่ต้องการสะท้อนความคิดไม่จำกัดว่า ต้องเข้ามานั่งร่วม ในเวทีหรือบนโต๊ะประชุมเท่านั้น และไม่ว่าจะเป็นการส่งตัวแทน ขอความคิดเห็น หรือจะให้เป็นเอกสาร เป็นหนังสือมาก็ล้วนเป็นประโยชน์
พ.ต.ท.ทักษิณยังไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ มา แต่คณะทำงานไม่ได้กำจัดวง ถ้าวันหนึ่งจำเป็นต้องฟังความเห็นจากพ.ต.ท.ทักษิณ คณะทำงานก็พร้อมนำความเห็นมาเป็นข้อพิจารณาร่วมกัน
อดีตนายกฯ หลายคนอย่างนายอานันท์ ปันยารชุน นายชวน หลีกภัย ก็ต่างแสดงความจำนงว่าพร้อมให้ความคิดเห็น คณะทำงานก็พร้อมจะนำมาเป็นข้อสรุป เวทีปฏิรูปประเทศเปิดกว้างเสมอ
หากให้มองการพูดคุย ของพล.อ.สุรยุทธ์ พร้อมพ.ต.ท.ทักษิณ จะช่วยสนับ สนุนเวทีปฏิรูปได้หรือไม่นั้น มองว่าถือเป็นสัญญาณที่ดี ที่พล.อ.สุรยุทธ์ ส่งสัญญาณมา
ทำให้หลายฝ่ายเกิดความเชื่อมั่นการปฏิรูปมากขึ้น วันนี้เราอยากได้ยินเสียงจากทุกภาคส่วน แม้ไม่ได้มาร่วมอยู่ในเวทีแต่ในแต่ละความคิดเห็นต่างเป็นประโยชน์ที่จะทำให้เวทีปฏิรูปก้าวไปข้างหน้าได้
แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีชื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ ร่วมในรายชื่อที่คณะทำงานจะเดินสายไปพบ ก็เพราะสถานะของพล.อ.สุรยุทธ์ คือองคมนตรี จึงไม่มั่นใจว่าคณะประสานงานจะเห็นว่าเหมาะสมหรือไม่
คงต้องรอดูสถานการณ์ก่อน เวลาการทำงาน ของเวทีนี้ยังมีอีกมาก เช่นเดียวกับโอกาสที่จะไปพบพ.ต.ท.ทักษิณ
ธิดา โตจิราการ
ประธาน นปช.
พล.อ.สุรยุทธ์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ จะสามารถมาพูดคุยกันจริงได้หรือไม่ ไม่สามารถคาดเดาได้ แต่การที่คนทั้งสองได้มาพูดคุยกันก็ถือเป็นเรื่องที่ดีกว่าการจะถือปืนมายิงกัน
และหากมีการพูดคุยกันจริงๆ เชื่อว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่น่าจะขัดข้องอะไร แต่ประชาชนจะเชื่อว่าทั้งสองได้พูดคุยกันจริงหรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อย่างไรก็ดี การพูดคุยของบุคคล ทั้งสองไม่น่าจะนำไปสู่การสร้างความปรองดองในชาติได้ เพราะการจะให้สังคมไทยปรองดองกันได้จริงๆ บรรดาชนชั้นนำอนุรักษนิยมต้องยอมรับฟังเสียงของประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศอย่างแท้จริง
สิ่งที่น่าจับตาดูคือวิธีคิดของชนชั้นนำอนุรักษนิยมที่ยังคิดเหมือนกันว่าคู่ขัดแย้งของพวกเขาคือพ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งที่ความจริง คู่ขัดแย้งที่แท้จริงของพวกเขาคือประชาชน
การพูดคุยจะมีขึ้นก็ได้ แต่ถามว่าการพูดคุยดังกล่าวประชาชนอยู่ตรงจุดไหน มีช่องทางและเป็นประโยชน์กับประชาชนขนาดไหน และคุยกันแล้วบ้านเมืองจะดีขึ้นหรือไม่
ส่วนตัวมองว่าแม้ทั้งสองจะพูดหรือเจรจากันอย่างไรก็ไม่มีประโยชน์ และไม่สามารถทำให้บ้านเมืองดีขึ้นได้ เพราะทั้งคู่ไม่ใช่คู่ขัดแย้งที่แท้จริงในสังคม และการพูด คุยที่จะมีขึ้นก็จะเป็นเหมือนเพียงการประสานประโยชน์ร่วมกันของชนชั้นนำเท่านั้น
สังคมจะเกิดความปรองดองที่แท้จริง กลุ่มชนชั้นนำอนุรักษนิยมเพียงพูดแค่ว่าจะให้ประกันตัวนักโทษการ เมือง จะให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งมาตรา 309 มาตรา 68 และมาตราที่เกี่ยวข้องกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
เพียงพูดแค่นี้เชื่อว่าบ้านเมืองจะเกิดการปรองดอง เพราะประชาชนที่เป็นคู่ขัดแย้งจะได้รับประโยชน์ที่ แท้จริง
การพูดคุยดังกล่าวจะไม่ใช่ช่องทางที่จะทำให้พ.ต.ท.ทักษิณได้กลับประเทศไทย เชื่อว่าพ.ต.ท.ทักษิณทำใจในเรื่องนี้แล้ว และหากจะกลับมาจริงๆ คงกลับเมื่อบ้านเมืองไม่มีปัญหาเหมือนเช่นทุกวันนี้
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1UY3hOak0xTWc9PQ%3D%3D§ionid
มองต่างมุม "สุรยุทธ์" คุย "ทักษิณ"
มองต่างมุม "สุรยุทธ์" คุย "ทักษิณ"
รายงานพิเศษ
ขณะที่รัฐบาลเปิดเวทีปฏิรูปประเทศ แสวงหาความปรองดอง
การให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ถึงมุมมองที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พร้อมระบุมีโอกาสที่จะพบปะพูดคุยกันในอนาคต
มีความเห็นต่อท่าทีดังกล่าว ทั้งจากฝ่ายสันติวิธี คณะทำงานประสานงานเวทีปฏิรูปประเทศ รวมถึง แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
โคทม อารียา
ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล
การพูดคุยสามารถช่วยคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งได้ โดยเฉพาะการพูดคุยระหว่างคนที่เห็นแตกต่างกัน เพราะเราต้องทำความ เห็นต่าง และนำอารมณ์ความรู้สึกที่ทั้งดีและไม่ดีให้ปรากฏทั้งต่อเจ้าตัวและ ในปริมณฑลสาธารณะ
โดยจำแนกให้เห็นเหตุผลของแต่ละเรื่อง จะทำให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย เพราะที่ผ่านมาเราไม่ฟังเหตุผล สังคมไทยขาดการถกแถลง แจงเหตุผลซึ่งกันและกัน
แต่เท่านี้อาจจะไม่พอ เพราะบางประเด็นเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก เสียใจ น้อยใจ โกรธ ซึ่งสะสมช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมาจำนวนมาก
เชื่อว่าหากพล.อ.สุรยุทธ์ และพ.ต.ท.ทักษิณ ได้พูดคุยกันมากขึ้น เข้าใจอารมณ์ และความเป็นธรรมชาติของกันและกัน คลายปมอารมณ์ออกไปก็จะทำให้เหตุผลเดินหน้าไปได้ ต้องทำทั้งเรื่องเหตุผล และอารมณ์ไปพร้อมๆ กัน
อย่างที่ผ่านมาพล.อ.สุรยุทธ์ ฐานะนายกฯ สมัยนั้นก็เคยออกมาขอโทษต่อเหตุการณ์ตากใบในนามรัฐบาล
หรือกรณีนายบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้นำซีเรียเอง ก็เคยบอกว่าเมื่อคิดกลับไปก็รู้ว่าเคยทำผิดพลาดในอดีต การแสดงความเสียใจ หรือแสดงความรู้สึกต่อสิ่งที่ทำไปก็มีส่วนช่วยทำให้สังคมมีทางออกมากขึ้น
ที่บางส่วนบางกลุ่มไม่เอาพ.ต.ท.ทักษิณ คงไม่ใช่การไม่เอาในฐานะมนุษย์หรือคนไทยคนหนึ่ง แต่คงบอกว่าไม่เอาในฐานะผู้นำบริหารประเทศ หรือนายกฯ
ซึ่งในความจริง พ.ต.ท.ทักษิณก็พูดว่าไม่ปรารถนาจะกลับมาเป็นนายกฯ แต่คนยังไม่เชื่อ และตัวพ.ต.ท.ทักษิณเองก็อาจยังไม่มั่นใจ
ปัญหาของสังคมไทยตอนนี้จึงเป็นเรื่องความไม่ไว้วางใจ ที่สังคมจะต้องหากระบวนการที่เหมาะสมในการคุยกันเพื่อนำไปสู่ความไว้วางใจกันมากขึ้น และไปนำไปสู่ความคลี่คลายของ ทั้งสังคม และตัวพ.ต.ท.ทักษิณเองด้วย
อย่างไรก็ตาม การยืนยันว่าจะไม่กลับมารับตำแหน่งทางการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่ใช่ทางออกของความขัดแย้งทางการเมืองไปเสียทั้งหมด หากแต่ยังซับซ้อนมากไปกว่านั้น
ทางออกจึงให้มองให้เห็นความเป็นมนุษย์ อย่าเห็นความเป็นสุรยุทธ์ หรือความเป็นทักษิณเท่านั้น แต่ให้เข้าใจในความเป็นธรรมชาติ ธรรมดาของมนุษย์ ที่มีความโลภ โกรธ หลงเหมือนกัน จะทำให้เห็นว่ามนุษย์มีอะไรเหมือนกัน เมื่อนั้นก็จะเห็นใจกัน และเข้าใจกันมากขึ้น
การพูดคุยกันระหว่างพล.อ.สุรยุทธ์ และพ.ต.ท.ทักษิณ เชื่อว่าทั้งสองมีศักยภาพ โอกาสและมีวิธีการต่างๆ ในการ พูดคุยกันมากพออยู่แล้ว
แต่หากจะให้ช่วยออกแรง ผมก็สามารถช่วยได้ในฐานะ ตัวประกอบเล็กๆ
วราเทพ รัตนากร
รมต.ประจำสำนักนายกฯ และรมช.เกษตรฯ
คณะทำงานประสานงานเวทีปฏิรูปประเทศ
เวทีปฏิรูปประเทศไทยเปิดนโยบายแต่แรกแล้วว่าเราไม่ปิดกั้นใครคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลใดที่ต้องการเห็นประเทศไทยเดินไปข้างหน้า จึงไม่ปิดกั้นและไม่จำกัดการแสดงความคิดเห็น
ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่ต้องการสะท้อนความคิดไม่จำกัดว่า ต้องเข้ามานั่งร่วม ในเวทีหรือบนโต๊ะประชุมเท่านั้น และไม่ว่าจะเป็นการส่งตัวแทน ขอความคิดเห็น หรือจะให้เป็นเอกสาร เป็นหนังสือมาก็ล้วนเป็นประโยชน์
พ.ต.ท.ทักษิณยังไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ มา แต่คณะทำงานไม่ได้กำจัดวง ถ้าวันหนึ่งจำเป็นต้องฟังความเห็นจากพ.ต.ท.ทักษิณ คณะทำงานก็พร้อมนำความเห็นมาเป็นข้อพิจารณาร่วมกัน
อดีตนายกฯ หลายคนอย่างนายอานันท์ ปันยารชุน นายชวน หลีกภัย ก็ต่างแสดงความจำนงว่าพร้อมให้ความคิดเห็น คณะทำงานก็พร้อมจะนำมาเป็นข้อสรุป เวทีปฏิรูปประเทศเปิดกว้างเสมอ
หากให้มองการพูดคุย ของพล.อ.สุรยุทธ์ พร้อมพ.ต.ท.ทักษิณ จะช่วยสนับ สนุนเวทีปฏิรูปได้หรือไม่นั้น มองว่าถือเป็นสัญญาณที่ดี ที่พล.อ.สุรยุทธ์ ส่งสัญญาณมา
ทำให้หลายฝ่ายเกิดความเชื่อมั่นการปฏิรูปมากขึ้น วันนี้เราอยากได้ยินเสียงจากทุกภาคส่วน แม้ไม่ได้มาร่วมอยู่ในเวทีแต่ในแต่ละความคิดเห็นต่างเป็นประโยชน์ที่จะทำให้เวทีปฏิรูปก้าวไปข้างหน้าได้
แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีชื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ ร่วมในรายชื่อที่คณะทำงานจะเดินสายไปพบ ก็เพราะสถานะของพล.อ.สุรยุทธ์ คือองคมนตรี จึงไม่มั่นใจว่าคณะประสานงานจะเห็นว่าเหมาะสมหรือไม่
คงต้องรอดูสถานการณ์ก่อน เวลาการทำงาน ของเวทีนี้ยังมีอีกมาก เช่นเดียวกับโอกาสที่จะไปพบพ.ต.ท.ทักษิณ
ธิดา โตจิราการ
ประธาน นปช.
พล.อ.สุรยุทธ์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ จะสามารถมาพูดคุยกันจริงได้หรือไม่ ไม่สามารถคาดเดาได้ แต่การที่คนทั้งสองได้มาพูดคุยกันก็ถือเป็นเรื่องที่ดีกว่าการจะถือปืนมายิงกัน
และหากมีการพูดคุยกันจริงๆ เชื่อว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่น่าจะขัดข้องอะไร แต่ประชาชนจะเชื่อว่าทั้งสองได้พูดคุยกันจริงหรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อย่างไรก็ดี การพูดคุยของบุคคล ทั้งสองไม่น่าจะนำไปสู่การสร้างความปรองดองในชาติได้ เพราะการจะให้สังคมไทยปรองดองกันได้จริงๆ บรรดาชนชั้นนำอนุรักษนิยมต้องยอมรับฟังเสียงของประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศอย่างแท้จริง
สิ่งที่น่าจับตาดูคือวิธีคิดของชนชั้นนำอนุรักษนิยมที่ยังคิดเหมือนกันว่าคู่ขัดแย้งของพวกเขาคือพ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งที่ความจริง คู่ขัดแย้งที่แท้จริงของพวกเขาคือประชาชน
การพูดคุยจะมีขึ้นก็ได้ แต่ถามว่าการพูดคุยดังกล่าวประชาชนอยู่ตรงจุดไหน มีช่องทางและเป็นประโยชน์กับประชาชนขนาดไหน และคุยกันแล้วบ้านเมืองจะดีขึ้นหรือไม่
ส่วนตัวมองว่าแม้ทั้งสองจะพูดหรือเจรจากันอย่างไรก็ไม่มีประโยชน์ และไม่สามารถทำให้บ้านเมืองดีขึ้นได้ เพราะทั้งคู่ไม่ใช่คู่ขัดแย้งที่แท้จริงในสังคม และการพูด คุยที่จะมีขึ้นก็จะเป็นเหมือนเพียงการประสานประโยชน์ร่วมกันของชนชั้นนำเท่านั้น
สังคมจะเกิดความปรองดองที่แท้จริง กลุ่มชนชั้นนำอนุรักษนิยมเพียงพูดแค่ว่าจะให้ประกันตัวนักโทษการ เมือง จะให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งมาตรา 309 มาตรา 68 และมาตราที่เกี่ยวข้องกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
เพียงพูดแค่นี้เชื่อว่าบ้านเมืองจะเกิดการปรองดอง เพราะประชาชนที่เป็นคู่ขัดแย้งจะได้รับประโยชน์ที่ แท้จริง
การพูดคุยดังกล่าวจะไม่ใช่ช่องทางที่จะทำให้พ.ต.ท.ทักษิณได้กลับประเทศไทย เชื่อว่าพ.ต.ท.ทักษิณทำใจในเรื่องนี้แล้ว และหากจะกลับมาจริงๆ คงกลับเมื่อบ้านเมืองไม่มีปัญหาเหมือนเช่นทุกวันนี้
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1UY3hOak0xTWc9PQ%3D%3D§ionid