จากมติชนออนไลน์
คอลัมน์ "หนังช่างคิด" OLDBOY บางคูวัด
ไม่ว่าเราจะเลือกแปลคำว่า Gravity เป็น “แรงโน้มถ่วง” หรือ “แรงดึงดูด” ก็ตาม แต่มันก็ยังแฝงความหมายของ “พลัง” ที่มองไม่เห็นอยู่นั่นเอง
ไม่ว่าเราจะมองภาพยนตร์ Gravity ของผู้กำกับฯ Alfonso Cuarón เป็นแนว ไซไฟลึกลับ หรือ ดราม่าซ่อนปรัชญา ฯลฯ มันก็ยังเป็นภาพยนตร์ที่ตั้งคำถามกับผู้ชมท่ามกลางองค์ประกอบที่ย้อนแย้ง ขัดกันในตัวเองตั้งแต่ต้นจนจบ
ไม่น่าแปลกใจที่ผู้ชมจำนวนหนึ่งจะรู้สึกผิดหวังที่มันไม่ได้เป็น แอ็คชั่นไซไฟที่ต่อสู้กับศัตรูผู้คุกคามแบบที่คุ้นเคย(สู้กับ จีน รัสเซีย เอเลี่ยนฯ หรือสู้กับอะไรซักอย่างก็ยังดีวะ) เพราะมันถูกออกแบบมาให้เป็นการต่อสู้กับตัวเอง ต่อสู้ภายในจิตใจ(โคตรจะนามธรรม)
เช่นเดียวกับหน้าหนังที่ขายชื่อดาราระดับแม่เหล็กอย่าง Sandra Bullock(รับบทเป็น ดร.ไรอัน สโตน) และ George Clooney(รับบทเป็น แม็ต โควอลสกี้) แต่ใครจะไปนึกล่ะว่า ตลอดทั้งเรื่อง เล่นกันอยู่แค่ 2 คนจริงๆ
Gravity เล่าเรื่องราวที่ไม่มีปมซับซ้อนอะไรเลย นั่นคือเกิดเรื่องไม่คาดฝันระหว่างที่ ดร.ไรอัน และ แม็ต พยายามซ่อมระบบสื่อสารของดาวเทียม เศษกระจัดกระจายของดาวเทียมที่ถูกทำลายวิ่งตามแนวของวงโคจร โจมตีจนทีมของพวกเขาเสียชีวิตทั้งหมด ยานที่จะใช้กลับโลกก็พังเสียหาย ดร.ไรอันและแม็ต จึงต้องหาทางแก้ปัญหาและพาตัวเองกลับสู่โลกมนุษย์ให้ได้
ระยะห่างที่พอดีของ Gravity มีคุณประโยชน์มหาศาลในการสร้างวงโคจรให้กับดาวเทียมสื่อสารสำหรับโลก แต่เมื่อเกิดปัญหา มันก็สร้างความวิบัติได้อย่างเหลือเชื่อ
ขณะที่การหลุดออกนอกระยะของแรงโน้มถ่วงหมายถึงอวสานที่มาถึงพร้อมกับการล่องลอยอย่างไร้ทิศทางไปในอวกาศ การกลับเข้าสู่พื้นผิวโลกโดยถูกแรงกระทำมหาศาลจากแรวโน้มถ่วง ฝ่าชั้นบรรยากาศลงมานั้นก็น่าสะพึงกลัวไม่น้อยไปกว่ากัน
และถ้าต้องเลือกระหว่างความเวิ้งว้างไร้ที่สิ้นสุดของอวกาศ กับพื้นที่คับแคบสุดแสนอันตรายภายในห้องโดยสารของยานอวกาศ อะไรกันแน่ที่น่ากลัวมากกว่ากัน
นอกจากผู้กำกับ Alfonso Cuarón ชาวเม็กซิโก จะสนุกสนานอย่างลึกซึ้งกับ “ปมขัดแย้ง” ที่ยอกย้อนอันแสดงผ่านงานด้านภาพที่แสนจะอลังการแล้ว เขายังพิถีพิถันกับรายละเอียดในงานโพรดักชั่น และงานด้านภาพที่ปรากฎออกมาอย่างน่าชื่นชม
เช่นเดียวกับงานด้านการแสดงซึ่งทั้ง Sandra Bullock และ George Clooney ก็โชว์ฝีมือ ปล่อยพลังให้เราได้เห็นคุณภาพการทำงานที่คุ้มกับค่าตัวมหาศาลของพวกเขา โดยไม่ต้องเก่งเกินมนุษย์ หรือออกแอ็คชั่นล้นเหลือ เร้าอารมณ์ผู้ชมแต่อย่างใด(แหงล่ะเล่นแบบนิ่งๆ เนิบๆ แบบนี้มันไม่ค่อยบิวต์ผู้ชมเท่าไหร่)
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อต่อจิ๊กซอว์ที่เป็นองค์ประกอบของภาพยนตร์โดยรวมแล้ว นี่เป็นงานอีกชิ้นหนึ่งซึ่งเข้าใกล้คำว่า “สมบูรณ์แบบ” สำหรับผมเลยทีเดียว
Alfonso Cuarón เลือกที่จะตั้งคำถามกับผู้ชมว่า คุณค่าของชีวิตคืออะไรกันแน่ ผ่านเรื่องเล่าและการต่อสู้ภายในจิตใจตัวเองของ ดร.ไรอัน ได้อย่างแยบยล
โดยเราได้รู้ภูมิหลังของเธอผ่านบทสนทนาที่มีแต่เสียงพูดคุยพลางคิดตามไปเรื่อยๆ ว่า เธอมีปมอะไรในชีวิต และการใช้ชีวิตที่ผ่านมาของเธอนั้นเป็นแบบ “อยู่ก็เหมือนตาย” ไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่าการใช้ชีวิตไปตามกิจวัตรประจำวันเท่านั้นเอง
เมื่อต้องต่อสู้ ฟันฝ่า(อย่างแท้จริง) นั่นจึงเกิดภาพเชิงสัญลักษณ์เสมือน “เกิดใหม่”(โดยเฉพาะตอนที่กลับเข้ามาในยานอวกาศของรัสเซียได้สำเร็จ) กระทั่งมองเห็นคุณค่าของการ “ใช้ชีวิต” ต่อไปจนกลายเป็นอารมณ์ “กลัวตาย” กลับมาต่อสู้อีกครั้งหนึ่ง
รวมถึงประเด็น “ก้าวข้าม” และปล่อยวางปมที่กดทับให้ตัวเองรู้สึกผิด หรือสลัดทิ้งไปไม่ได้ เพื่อที่จะก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมีความหวัง
สรุปว่าผมชอบทั้ง 3 ส่วนประกอบหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ อันได้แก่ เนื้อหาและการตั้งคำถามเชิงปรัชญาต่อคุณค่าของการมีชีวิต(รอด)อย่างไม่สยบยอมแพ้, ความสนุกตื่นเต้น ลุ้นระทึกบนความสมจริงของการอยู่ในอวกาศ/สภาไร้น้ำหนัก และพลังของการสื่อสารด้วยภาพที่ทำให้เราได้เห็น ”โลกของเรา” ในแบบที่มองเข้ามาอย่างเต็มตา จุใจตลอดเรื่อง
โดยส่วนตัวแล้ว แน่นอนว่าอัตราความชอบมีมากกว่า Cast Away ที่ ทอม แฮงค์ รับบทเป็นตัวชูโรงและ 127 Hours ซึ่งเจมส์ ฟรังโก้ ถ่ายทอดได้ดีเหลือเกิน
ส่วนบทและความตื่นเต้น สร้างอารมณ์ร่วมนั้น สูสีคู่คี่กับ Apollo 13 ของผู้กำกับฯ รอน โฮเวิร์ด เลยทีเดียว
ต่างกันก็ตรงที่ เมื่อ Apollo 13 ส่งข้อความ Huston, we have a problem กลับลงมาบนโลก มีทีมเวิร์คระดับสุดยอดช่วยกันกอบกู้สถานการณ์แบบจัดเต็ม
แต่ใน Gravity นั้น ดร.ไรอันต้องท่องคาถา D.I.Y. สถานเดียวเท่านั้นเอง
Gravity : แรงดึงดูดแห่งชีวิต เวิ้งว้างอย่างอึดอัด
คอลัมน์ "หนังช่างคิด" OLDBOY บางคูวัด
ไม่ว่าเราจะเลือกแปลคำว่า Gravity เป็น “แรงโน้มถ่วง” หรือ “แรงดึงดูด” ก็ตาม แต่มันก็ยังแฝงความหมายของ “พลัง” ที่มองไม่เห็นอยู่นั่นเอง
ไม่ว่าเราจะมองภาพยนตร์ Gravity ของผู้กำกับฯ Alfonso Cuarón เป็นแนว ไซไฟลึกลับ หรือ ดราม่าซ่อนปรัชญา ฯลฯ มันก็ยังเป็นภาพยนตร์ที่ตั้งคำถามกับผู้ชมท่ามกลางองค์ประกอบที่ย้อนแย้ง ขัดกันในตัวเองตั้งแต่ต้นจนจบ
ไม่น่าแปลกใจที่ผู้ชมจำนวนหนึ่งจะรู้สึกผิดหวังที่มันไม่ได้เป็น แอ็คชั่นไซไฟที่ต่อสู้กับศัตรูผู้คุกคามแบบที่คุ้นเคย(สู้กับ จีน รัสเซีย เอเลี่ยนฯ หรือสู้กับอะไรซักอย่างก็ยังดีวะ) เพราะมันถูกออกแบบมาให้เป็นการต่อสู้กับตัวเอง ต่อสู้ภายในจิตใจ(โคตรจะนามธรรม)
เช่นเดียวกับหน้าหนังที่ขายชื่อดาราระดับแม่เหล็กอย่าง Sandra Bullock(รับบทเป็น ดร.ไรอัน สโตน) และ George Clooney(รับบทเป็น แม็ต โควอลสกี้) แต่ใครจะไปนึกล่ะว่า ตลอดทั้งเรื่อง เล่นกันอยู่แค่ 2 คนจริงๆ
Gravity เล่าเรื่องราวที่ไม่มีปมซับซ้อนอะไรเลย นั่นคือเกิดเรื่องไม่คาดฝันระหว่างที่ ดร.ไรอัน และ แม็ต พยายามซ่อมระบบสื่อสารของดาวเทียม เศษกระจัดกระจายของดาวเทียมที่ถูกทำลายวิ่งตามแนวของวงโคจร โจมตีจนทีมของพวกเขาเสียชีวิตทั้งหมด ยานที่จะใช้กลับโลกก็พังเสียหาย ดร.ไรอันและแม็ต จึงต้องหาทางแก้ปัญหาและพาตัวเองกลับสู่โลกมนุษย์ให้ได้
ระยะห่างที่พอดีของ Gravity มีคุณประโยชน์มหาศาลในการสร้างวงโคจรให้กับดาวเทียมสื่อสารสำหรับโลก แต่เมื่อเกิดปัญหา มันก็สร้างความวิบัติได้อย่างเหลือเชื่อ
ขณะที่การหลุดออกนอกระยะของแรงโน้มถ่วงหมายถึงอวสานที่มาถึงพร้อมกับการล่องลอยอย่างไร้ทิศทางไปในอวกาศ การกลับเข้าสู่พื้นผิวโลกโดยถูกแรงกระทำมหาศาลจากแรวโน้มถ่วง ฝ่าชั้นบรรยากาศลงมานั้นก็น่าสะพึงกลัวไม่น้อยไปกว่ากัน
และถ้าต้องเลือกระหว่างความเวิ้งว้างไร้ที่สิ้นสุดของอวกาศ กับพื้นที่คับแคบสุดแสนอันตรายภายในห้องโดยสารของยานอวกาศ อะไรกันแน่ที่น่ากลัวมากกว่ากัน
นอกจากผู้กำกับ Alfonso Cuarón ชาวเม็กซิโก จะสนุกสนานอย่างลึกซึ้งกับ “ปมขัดแย้ง” ที่ยอกย้อนอันแสดงผ่านงานด้านภาพที่แสนจะอลังการแล้ว เขายังพิถีพิถันกับรายละเอียดในงานโพรดักชั่น และงานด้านภาพที่ปรากฎออกมาอย่างน่าชื่นชม
เช่นเดียวกับงานด้านการแสดงซึ่งทั้ง Sandra Bullock และ George Clooney ก็โชว์ฝีมือ ปล่อยพลังให้เราได้เห็นคุณภาพการทำงานที่คุ้มกับค่าตัวมหาศาลของพวกเขา โดยไม่ต้องเก่งเกินมนุษย์ หรือออกแอ็คชั่นล้นเหลือ เร้าอารมณ์ผู้ชมแต่อย่างใด(แหงล่ะเล่นแบบนิ่งๆ เนิบๆ แบบนี้มันไม่ค่อยบิวต์ผู้ชมเท่าไหร่)
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อต่อจิ๊กซอว์ที่เป็นองค์ประกอบของภาพยนตร์โดยรวมแล้ว นี่เป็นงานอีกชิ้นหนึ่งซึ่งเข้าใกล้คำว่า “สมบูรณ์แบบ” สำหรับผมเลยทีเดียว
Alfonso Cuarón เลือกที่จะตั้งคำถามกับผู้ชมว่า คุณค่าของชีวิตคืออะไรกันแน่ ผ่านเรื่องเล่าและการต่อสู้ภายในจิตใจตัวเองของ ดร.ไรอัน ได้อย่างแยบยล
โดยเราได้รู้ภูมิหลังของเธอผ่านบทสนทนาที่มีแต่เสียงพูดคุยพลางคิดตามไปเรื่อยๆ ว่า เธอมีปมอะไรในชีวิต และการใช้ชีวิตที่ผ่านมาของเธอนั้นเป็นแบบ “อยู่ก็เหมือนตาย” ไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่าการใช้ชีวิตไปตามกิจวัตรประจำวันเท่านั้นเอง
เมื่อต้องต่อสู้ ฟันฝ่า(อย่างแท้จริง) นั่นจึงเกิดภาพเชิงสัญลักษณ์เสมือน “เกิดใหม่”(โดยเฉพาะตอนที่กลับเข้ามาในยานอวกาศของรัสเซียได้สำเร็จ) กระทั่งมองเห็นคุณค่าของการ “ใช้ชีวิต” ต่อไปจนกลายเป็นอารมณ์ “กลัวตาย” กลับมาต่อสู้อีกครั้งหนึ่ง
รวมถึงประเด็น “ก้าวข้าม” และปล่อยวางปมที่กดทับให้ตัวเองรู้สึกผิด หรือสลัดทิ้งไปไม่ได้ เพื่อที่จะก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมีความหวัง
สรุปว่าผมชอบทั้ง 3 ส่วนประกอบหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ อันได้แก่ เนื้อหาและการตั้งคำถามเชิงปรัชญาต่อคุณค่าของการมีชีวิต(รอด)อย่างไม่สยบยอมแพ้, ความสนุกตื่นเต้น ลุ้นระทึกบนความสมจริงของการอยู่ในอวกาศ/สภาไร้น้ำหนัก และพลังของการสื่อสารด้วยภาพที่ทำให้เราได้เห็น ”โลกของเรา” ในแบบที่มองเข้ามาอย่างเต็มตา จุใจตลอดเรื่อง
โดยส่วนตัวแล้ว แน่นอนว่าอัตราความชอบมีมากกว่า Cast Away ที่ ทอม แฮงค์ รับบทเป็นตัวชูโรงและ 127 Hours ซึ่งเจมส์ ฟรังโก้ ถ่ายทอดได้ดีเหลือเกิน
ส่วนบทและความตื่นเต้น สร้างอารมณ์ร่วมนั้น สูสีคู่คี่กับ Apollo 13 ของผู้กำกับฯ รอน โฮเวิร์ด เลยทีเดียว
ต่างกันก็ตรงที่ เมื่อ Apollo 13 ส่งข้อความ Huston, we have a problem กลับลงมาบนโลก มีทีมเวิร์คระดับสุดยอดช่วยกันกอบกู้สถานการณ์แบบจัดเต็ม
แต่ใน Gravity นั้น ดร.ไรอันต้องท่องคาถา D.I.Y. สถานเดียวเท่านั้นเอง