http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=51586
โรคอ้วนคืออะไร
ร่างกายของเราจะมีไขมันไว้เพื่อสำรองเป็นอาหาร ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
เป็นเบาะกันกระแทก หากมีมากเกินไปคือโรคอ้วน ปกติผู้หญิงจะมีปริมาณไขมันประมาณ 25-30% ส่วนผู้ชายจะมี 18-23 %ถ้าหากผู้หญิงมีมากกว่า 30% ชายมีมากกว่า 25%จะถือว่าโรคอ้วน โรคอ้วนหมายถึงมีปริมาณไขมันมากกว่าปกติ โรคอ้วนมิได้หมายถึงการมีน้ำหนักมากอย่างเดียว
โรคอ้วนที่มีผลร้ายต่อสุขภาพมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่
1. อ้วนทั้งตัว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติโดยไขมันที่เพิ่มมิได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
2. โรคอ้วนลงพุง[ abdominal obesity] ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีไขมันในอวัยวะภายในช่องท้องมากกว่าปกติ และอาจจะมีไขมันใต้ผิวหนังหน้าท้องเพิ่มขึ้นด้วย
3. โรคอ้วนลงพุ่งร่วมกับอ้วนทั้งตัว มีไขมันมากทั้งตัวและอวัยวะภายในช่องท้อง
การวัดปริมาณไขมันในร่างกาย
การวัดปริมาณไขมันในร่างกายไม่ใช่เรื่องง่าย โดยมากมักจะทำในห้องปฏิบัติการณ์เพื่อการวิจัย
1. การชั่งน้ำหนักในน้ำแล้วนำมาคำนวนหาปริมาณไขมันและปริมาณกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่มีความแม่นยำ แต่ก็ทำในห้องปฎิบัติการณ์เท่านั้น
2. BOD POD เป็นการตรวจโดยเครื่อง x-ray รูปไข่ เครื่องจะคำนวณหาปริมาณกล้ามเนื้อ ไขมันจากความเข้มของเนื้อเยื่อ
3. DEXA: Dual-energy X-ray absorptiometry (DEXA) เป็นการใช้ x-ray หาปริมาณไขมัน
นอกจากนั้นก็มีวิธีหาปริมาณไขมันได้อีกหลายอย่าง
• ใช้ calipers วัดความหนาของไขมันชั้นใต้ผิวหนัง อาจจะวัดที่ท้องแขนเป็นต้น
• Bioelectric impedance analysis โดยการใช้ไฟฟ้าผ่านเข้าไปในร่างกายแล้วคำนวณออกมา
• การใช้ตารางหนักและส่วนสูง
• การคำนวณดัชนีมวลกาย
• การวัดเส้นรอบเอว
โรคอ้วนจำเป็นต้องรักษาหรือไม่
ก่อนหน้านี้คนอ้วนไม่ถือเป็นโรคอ้วนแต่ปัจจุบันจัดเป็นโรคอ้วนเนื่องจากก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ โรคอ้วนเป็นโรคเกิดจากสาเหตุหลายๆอย่างทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วน้ำหนักก็จะขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน การรักษาโรคอ้วนได้เปลี่ยนไปจากอดีตที่นิยมให้ลดน้ำหนักเข้าสู่เกณฑ์ปกติอย่างรวดเร็วมาเป็นให้ลดน้ำหนักแบบค่อยๆเป็น โดยกำหนดเป้าหมายที่สามารถปฏิบัติได้ การลดน้ำหนักเพียงบางส่วนสามารถก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ การรักษาโรคอ้วนให้รักษาตลอดชีวิตเหมือนโรคเบาหวาน
ได้มีการศึกษาในประเทศไทยพบว่าผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีระดับ ไขมัน cholesterol ,triglyceride LDL ระดับน้ำตาล ละความดันโลหิตสูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ
ปัญหาของดัชนีมวลกายที่จะนำมาใช้อ้างอิงว่าอ้วนหรือไม่คงจะใช้ตัวเลขเดียวกันทั่วโลกไม่ได้ ฝรั่งจะมีโครงสร้างใหญ่กว่าชาวเอเชีย ดัชนีมวลกายของฝรั่งจึงจะค่อนข้างสูงกล่าวคือจะถือว่าน้ำหนักเกินเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก/ตารางเมตร ส่วนชาวเอเชียเราจะถือว่าน้ำหนักเกินคือดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก/ตารางเมตร เนื่องจากเมื่อดัชนีมวลกายเกินค่าดังกล่าวจะมีอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงสูง
จะเห็นว่าคนอ้วนมีโอกาสที่จะเกิดโรคมากมาย และผลดีของการลดน้ำหนักสามารถลดอัตราการเกิดโรคได้หลายชนิด และลด อัตราการตายได้ สมควรถึงเวลาที่จะหยุดความอ้วน
ที่มา : www.siamhealth.net
เอาแต่เล่นหุ้น : โรคอ้วนหรืออ้วนลงพุง
โรคอ้วนคืออะไร
ร่างกายของเราจะมีไขมันไว้เพื่อสำรองเป็นอาหาร ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
เป็นเบาะกันกระแทก หากมีมากเกินไปคือโรคอ้วน ปกติผู้หญิงจะมีปริมาณไขมันประมาณ 25-30% ส่วนผู้ชายจะมี 18-23 %ถ้าหากผู้หญิงมีมากกว่า 30% ชายมีมากกว่า 25%จะถือว่าโรคอ้วน โรคอ้วนหมายถึงมีปริมาณไขมันมากกว่าปกติ โรคอ้วนมิได้หมายถึงการมีน้ำหนักมากอย่างเดียว
โรคอ้วนที่มีผลร้ายต่อสุขภาพมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่
1. อ้วนทั้งตัว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติโดยไขมันที่เพิ่มมิได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
2. โรคอ้วนลงพุง[ abdominal obesity] ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีไขมันในอวัยวะภายในช่องท้องมากกว่าปกติ และอาจจะมีไขมันใต้ผิวหนังหน้าท้องเพิ่มขึ้นด้วย
3. โรคอ้วนลงพุ่งร่วมกับอ้วนทั้งตัว มีไขมันมากทั้งตัวและอวัยวะภายในช่องท้อง
การวัดปริมาณไขมันในร่างกาย
การวัดปริมาณไขมันในร่างกายไม่ใช่เรื่องง่าย โดยมากมักจะทำในห้องปฏิบัติการณ์เพื่อการวิจัย
1. การชั่งน้ำหนักในน้ำแล้วนำมาคำนวนหาปริมาณไขมันและปริมาณกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่มีความแม่นยำ แต่ก็ทำในห้องปฎิบัติการณ์เท่านั้น
2. BOD POD เป็นการตรวจโดยเครื่อง x-ray รูปไข่ เครื่องจะคำนวณหาปริมาณกล้ามเนื้อ ไขมันจากความเข้มของเนื้อเยื่อ
3. DEXA: Dual-energy X-ray absorptiometry (DEXA) เป็นการใช้ x-ray หาปริมาณไขมัน
นอกจากนั้นก็มีวิธีหาปริมาณไขมันได้อีกหลายอย่าง
• ใช้ calipers วัดความหนาของไขมันชั้นใต้ผิวหนัง อาจจะวัดที่ท้องแขนเป็นต้น
• Bioelectric impedance analysis โดยการใช้ไฟฟ้าผ่านเข้าไปในร่างกายแล้วคำนวณออกมา
• การใช้ตารางหนักและส่วนสูง
• การคำนวณดัชนีมวลกาย
• การวัดเส้นรอบเอว
โรคอ้วนจำเป็นต้องรักษาหรือไม่
ก่อนหน้านี้คนอ้วนไม่ถือเป็นโรคอ้วนแต่ปัจจุบันจัดเป็นโรคอ้วนเนื่องจากก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ โรคอ้วนเป็นโรคเกิดจากสาเหตุหลายๆอย่างทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วน้ำหนักก็จะขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน การรักษาโรคอ้วนได้เปลี่ยนไปจากอดีตที่นิยมให้ลดน้ำหนักเข้าสู่เกณฑ์ปกติอย่างรวดเร็วมาเป็นให้ลดน้ำหนักแบบค่อยๆเป็น โดยกำหนดเป้าหมายที่สามารถปฏิบัติได้ การลดน้ำหนักเพียงบางส่วนสามารถก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ การรักษาโรคอ้วนให้รักษาตลอดชีวิตเหมือนโรคเบาหวาน
ได้มีการศึกษาในประเทศไทยพบว่าผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีระดับ ไขมัน cholesterol ,triglyceride LDL ระดับน้ำตาล ละความดันโลหิตสูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ
ปัญหาของดัชนีมวลกายที่จะนำมาใช้อ้างอิงว่าอ้วนหรือไม่คงจะใช้ตัวเลขเดียวกันทั่วโลกไม่ได้ ฝรั่งจะมีโครงสร้างใหญ่กว่าชาวเอเชีย ดัชนีมวลกายของฝรั่งจึงจะค่อนข้างสูงกล่าวคือจะถือว่าน้ำหนักเกินเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก/ตารางเมตร ส่วนชาวเอเชียเราจะถือว่าน้ำหนักเกินคือดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก/ตารางเมตร เนื่องจากเมื่อดัชนีมวลกายเกินค่าดังกล่าวจะมีอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงสูง
จะเห็นว่าคนอ้วนมีโอกาสที่จะเกิดโรคมากมาย และผลดีของการลดน้ำหนักสามารถลดอัตราการเกิดโรคได้หลายชนิด และลด อัตราการตายได้ สมควรถึงเวลาที่จะหยุดความอ้วน
ที่มา : www.siamhealth.net