ทั่วโลกลุ้นระทึก อะไรจะเกิดขึ้นในวันที่ 17 ต.ค. หากพี่เบิ้ม สหรัฐผิดนัดชำระหนี้ มรสุมลูกใหญ่จ่อถาโถม "ตลาดเงิน-หุ้น"
ทั่วโลกกำลังจับตาดูรัฐบาลสหรัฐจะแก้ปัญหาการปิดหน่วยงานรัฐและการขยายเพดานหนี้ได้หรือไม่ แม้เชื่อว่าถึงที่สุดจะแก้ปัญหาได้ แต่หากสถานการณ์ยืดเยื้อออกไป ยังเป็นเรื่องยากในการประเมิน ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้น หากสหรัฐผิดชำระหนี้ในวันที่ 17 ต.ค.
ขณะนี้ ไม่มีใครประเมินได้อย่างแน่ชัดว่าสหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด ถ้าหากสภาคองเกรสไม่สามารถปรับเพิ่มเพดานการกู้ยืมของรัฐบาลสหรัฐ ในวันที่ 17 ต.ค.นี้
แต่จากข้อมูลในอดีตเมื่อไม่นานมานี้ อาจชี้ได้ว่าการผิดนัดชำระหนี้จะเกิดอะไรขึ้น
แม้แต่ กระทรวงการคลังสหรัฐก็ไม่ทราบว่าทางกระทรวงจะมีรายได้จากภาษีเข้ามาเท่าใดในแต่ละวันหลังวันที่ 17 ต.ค. โดยคาดว่าหนี้สินของกระทรวงจะพุ่งชนเพดานที่ 16.7 ล้านล้านดอลลาร์ในวันเดียวกันนอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สหรัฐก็ไม่สามารถคาดการณ์รายจ่ายของรัฐบาลได้อย่างแน่นอนในแต่ละวันด้วย ซึ่งรวมถึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีประชาชนจำนวนเท่าไรที่มายื่นขอสวัสดิการว่างงานเป็นครั้งแรกในแต่ละสัปดาห์
แต่บรรดานักวิเคราะห์ประเมินว่าเงินสดของรัฐบาลสหรัฐจะหมดลงภายในเวลาที่รวดเร็วเพียงใด โดยพิจารณาจากการเคลื่อนไหวในบัญชีธนาคารรายวันของกระทรวงการคลังในช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยพิจารณาจากการเคลื่อนไหวในบัญชีกระทรวงการคลังสหรัฐในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย. 2555 มีดังนี้
17 ต.ค. กระทรวงการคลังสหรัฐหมดหนทางในการควบคุมหนี้สินให้อยู่ใต้ระดับเพดาน และไม่สามารถกู้เงินใหม่ได้อีก โดยคาดว่าจะมีเงินสดเหลืออยู่ราว 3 หมื่นล้านดอลลาร์ในวันที่ 17 ต.ค. เพื่อใช้ชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งในบรรดาเงินที่ไหลเข้า-ออกจากกระทรวงในวันนั้น
ทางกระทรวงอาจมีรายได้จากภาษีราว 6.75 พันล้านดอลลาร์ และมีรายจ่ายสำหรับเช็คเงินบำนาญราว 1.09 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งจะส่งผลให้เงินสดในมือของกระทรวงลดลงสู่ระดับราว 2.75 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงท้ายวันที่ 17 ต.ค.
18 ต.ค.-29 ต.ค. ทุนสำรองเงินสดของกระทรวงการคลังลดลงอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงนี้ รัฐบาลสหรัฐมีรายได้ไหลเข้ามาในระดับเพียง 70% ของรายจ่าย และ รัฐบาลไม่สามารถออกพันธบัตรใหม่เพื่อชดเชยส่วนต่างนี้ได้อีก
สถานการณ์จะพลิกกลับชั่วคราวในวันอังคารที่ 22 ต.ค. เมื่อรัฐบาลสหรัฐมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายราว 3.5 พันล้านดอลลาร์ในวันนั้น
แต่เป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น และรัฐบาลจะเผชิญปัญหาใหญ่ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ต.ค. เพราะในวันนั้นกระทรวงการคลังต้องจ่ายเงิน 1.8 พันล้านดอลลาร์ให้แก่ผู้รับเหมาด้านอาวุธ, 2.2 พันล้านดอลลาร์ให้แก่แพทย์และโรงพยาบาลที่รักษาคนชราภายใต้โครงการเมดิแคร์และ 1.11 หมื่นล้านดอลลาร์ให้แก่โครงการสวัสดิการสังคม ในขณะที่ทางกระทรวงมีรายได้จากภาษีและรายได้อื่นๆรวมกันเพียง 9.6 พันล้านดอลลาร์
ปัจจัยหนึ่งที่คาดการณ์ได้ยากคือประเด็นที่ว่า นักลงทุนในตลาดพันธบัตรจะยังคงไว้วางใจในกระทรวงการคลังหรือไม่
ทั้งนี้ ถึงแม้รัฐบาลสหรัฐไม่สามารถเพิ่มการก่อหนี้ได้ในช่วงนั้น แต่รัฐบาลก็สามารถต่ออายุพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยนักลงทุนมีโอกาสในการไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐราว 1 แสนล้านดอลลาร์ทุกๆสัปดาห์
แต่ที่ผ่านมา นักลงทุนมักเลือกที่จะนำเงินดังกล่าวกลับมาลงทุนใหม่
ถ้าหากความกังวลเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนในพันธบัตรใหม่ของสหรัฐ ฐานะการเงินของกระทรวงการคลังก็อาจทรุดลงภายในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน
30 ต.ค. รัฐบาลสหรัฐผิดนัดชำระหนี้ โดยในช่วงท้ายวันนั้น รัฐบาลสหรัฐจะถือเงินในปริมาณที่ต่ำกว่ารายจ่ายที่จำเป็นราว 7 พันล้านดอลลาร์
คณะผู้บริหารของประธานาธิบดีบารัก โอบามาระบุว่า เจ้าหนี้ทุกรายจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้
กระทรวงการคลังระบุว่า ทางกระทรวงไม่มีความสามารถในการเลือกได้ว่าจะจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้รายใดก่อนรายอื่นๆ โดยครั้งสุดท้ายที่รัฐบาลประสบภาวะนี้เกิดขึ้นในปี 2553 ซึ่งในขณะนั้น รัฐบาล วางแผนที่จะรอให้กระทรวงการคลังมีเงินมากพอที่จะใช้ชำระค่าใช้จ่ายได้เต็ม 1 วัน ก่อนที่จะเริ่มออกเช็คใดๆ
วิธีการนี้หมายความว่า ทุกคนจะได้รับเช็คช้ากว่ากำหนด ซึ่งรวมถึงโรงเรียนในท้องถิ่นที่ต้องได้รับเงิน 680 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลกลาง ผู้รับสวัสดิการสังคมที่ต้องได้รับเงิน 553 ล้านดอลลาร์ และผู้รับสัมปทานด้านอาวุธที่ต้องได้รับเงิน 972 ล้านดอลลาร์
บริษัทบางแห่งที่มีรัฐบาลสหรัฐเป็นลูกค้ารายใหญ่จะได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทล็อคฮีด มาร์ติน
การชำระเงินจะประสบความล่าช้ามากขึ้นเรื่อยๆในขณะที่การผิดนัดชำระหนี้ดำเนินต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐสูญเสียเงินหลายพันล้านดอลลาร์ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน
31 ต.ค. สถานการณ์ย่ำแย่ลงในวันฮัลโลวีน ซึ่งเป็นวันที่กระทรวงการคลังต้องจ่ายดอกเบี้ย 6 พันล้านดอลลาร์ให้แก่ผู้ถือครองพันธบัตร
พันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐถือเป็นพื้นฐานของระบบการเงินโลก เพราะการลงทุนในพันธบัตรสหรัฐถือเป็นการลงทุนที่ปราศจากความเสี่ยง ดังนั้นการลงทุนในพันธบัตรสหรัฐจึงกลายเป็นพื้นฐานสำหรับหลายสิ่งหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงพอร์ทลงทุนของผู้เกษียณอายุ และเศรษฐกิจจีนที่เน้นการส่งออก
การผิดนัดชำระเงินจะเป็นการสั่นคลอนพื้นฐานดังกล่าว โดยรัฐบาลสหรัฐจ่ายอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำมากในปัจจุบันนี้ เพราะรัฐบาลมีประวัติที่แข็งแกร่งในด้านการชำระหนี้ ดังนั้นถ้าหากสหรัฐผิดนัดชำระหนี้ ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลสหรัฐก็จะพุ่งสูงขึ้น ตลาดหุ้นก็อาจจะดิ่งลง และผู้บริโภคก็อาจจะปรับลดการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ
กระทรวงการคลังจะเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากลำบากในวันนั้น โดยทางกระทรวงต้องตัดสินใจว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในจีน หรือจะจ่ายเงินให้แก่กองทัพสหรัฐในอัฟกานิสถาน ขณะที่คณะผู้บริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามาระบุว่า กระทรวงการคลังไม่มีอำนาจในการจัดลำดับความสำคัญในการชำระเงิน แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่าทางกระทรวงอาจจะพยายามทำเช่นนั้น
นายคอลลินส์กล่าวว่า "การไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา อาจจะสร้างความเสียหายได้มากกว่าการไม่ชำระเงินในรายการอื่นๆ"
1 พ.ย. รัฐบาลสหรัฐจะเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่เคยประสบมาก่อนนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ในทางทฤษฎีนั้น รัฐบาลสหรัฐสามารถชำระหนี้ให้แก่ผู้ถือครองพันธบัตรได้ตลอดไป เนื่องจากรายได้จากภาษีอยู่ในระดับที่มากพอที่จะครอบคลุมการชำระดอกเบี้ย และกระทรวงการคลังก็จ่ายเงินให้แก่ผู้ถือครองพันธบัตรโดยผ่านทางระบบที่แยกต่างหากจากการชำระเงินในรายการอื่นๆ
การทำเช่นนี้จะส่งผลให้เจ้าหนี้รายอื่นๆได้รับการชำระหนี้ล่าช้า โดยกองทัพสหรัฐอาจจะชำระค่าเช่าได้ล่าช้ากว่ากำหนด และคนชราที่ต้องพึ่งพาเงินสวัสดิการสังคมก็อาจจะไม่มีเงินซื้ออาหาร
ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากกระทรวงการคลังไม่ยอมชำระดอกเบี้ยในวันฮัลโลวีน และนักการเมืองสหรัฐยังไม่ส่งสัญญาณว่าจะคลี่คลายวิกฤตินี้ ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐก็จะได้รับความเสียหาย และสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าของเครื่องมือทางการเงินเกือบทุกประเภท ซึ่งรวมถึงดอลลาร์สหรัฐ, สินเชื่อธนาคารในเอเชีย และต้นทุนในการทำประกันพืชผลในรัฐอิลลินอยส์
กระทรวงการคลังระบุว่า "การผิดนัดชำระหนี้จะเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและเป็นสิ่งที่อาจก่อให้เกิดหายนะครั้งใหญ่ โดยการผิดนัดชำระหนี้อาจจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก"
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/foreign/20131008/534953/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B8%8117%E0%B8%95.%E0%B8%84.%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89.html
ระทึก17ต.ค.อะไรจะเกิด?สหรัฐผิดนัดชำระหนี้
ทั่วโลกกำลังจับตาดูรัฐบาลสหรัฐจะแก้ปัญหาการปิดหน่วยงานรัฐและการขยายเพดานหนี้ได้หรือไม่ แม้เชื่อว่าถึงที่สุดจะแก้ปัญหาได้ แต่หากสถานการณ์ยืดเยื้อออกไป ยังเป็นเรื่องยากในการประเมิน ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้น หากสหรัฐผิดชำระหนี้ในวันที่ 17 ต.ค.
ขณะนี้ ไม่มีใครประเมินได้อย่างแน่ชัดว่าสหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด ถ้าหากสภาคองเกรสไม่สามารถปรับเพิ่มเพดานการกู้ยืมของรัฐบาลสหรัฐ ในวันที่ 17 ต.ค.นี้
แต่จากข้อมูลในอดีตเมื่อไม่นานมานี้ อาจชี้ได้ว่าการผิดนัดชำระหนี้จะเกิดอะไรขึ้น
แม้แต่ กระทรวงการคลังสหรัฐก็ไม่ทราบว่าทางกระทรวงจะมีรายได้จากภาษีเข้ามาเท่าใดในแต่ละวันหลังวันที่ 17 ต.ค. โดยคาดว่าหนี้สินของกระทรวงจะพุ่งชนเพดานที่ 16.7 ล้านล้านดอลลาร์ในวันเดียวกันนอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สหรัฐก็ไม่สามารถคาดการณ์รายจ่ายของรัฐบาลได้อย่างแน่นอนในแต่ละวันด้วย ซึ่งรวมถึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีประชาชนจำนวนเท่าไรที่มายื่นขอสวัสดิการว่างงานเป็นครั้งแรกในแต่ละสัปดาห์
แต่บรรดานักวิเคราะห์ประเมินว่าเงินสดของรัฐบาลสหรัฐจะหมดลงภายในเวลาที่รวดเร็วเพียงใด โดยพิจารณาจากการเคลื่อนไหวในบัญชีธนาคารรายวันของกระทรวงการคลังในช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยพิจารณาจากการเคลื่อนไหวในบัญชีกระทรวงการคลังสหรัฐในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย. 2555 มีดังนี้
17 ต.ค. กระทรวงการคลังสหรัฐหมดหนทางในการควบคุมหนี้สินให้อยู่ใต้ระดับเพดาน และไม่สามารถกู้เงินใหม่ได้อีก โดยคาดว่าจะมีเงินสดเหลืออยู่ราว 3 หมื่นล้านดอลลาร์ในวันที่ 17 ต.ค. เพื่อใช้ชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งในบรรดาเงินที่ไหลเข้า-ออกจากกระทรวงในวันนั้น
ทางกระทรวงอาจมีรายได้จากภาษีราว 6.75 พันล้านดอลลาร์ และมีรายจ่ายสำหรับเช็คเงินบำนาญราว 1.09 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งจะส่งผลให้เงินสดในมือของกระทรวงลดลงสู่ระดับราว 2.75 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงท้ายวันที่ 17 ต.ค.
18 ต.ค.-29 ต.ค. ทุนสำรองเงินสดของกระทรวงการคลังลดลงอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงนี้ รัฐบาลสหรัฐมีรายได้ไหลเข้ามาในระดับเพียง 70% ของรายจ่าย และ รัฐบาลไม่สามารถออกพันธบัตรใหม่เพื่อชดเชยส่วนต่างนี้ได้อีก
สถานการณ์จะพลิกกลับชั่วคราวในวันอังคารที่ 22 ต.ค. เมื่อรัฐบาลสหรัฐมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายราว 3.5 พันล้านดอลลาร์ในวันนั้น
แต่เป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น และรัฐบาลจะเผชิญปัญหาใหญ่ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ต.ค. เพราะในวันนั้นกระทรวงการคลังต้องจ่ายเงิน 1.8 พันล้านดอลลาร์ให้แก่ผู้รับเหมาด้านอาวุธ, 2.2 พันล้านดอลลาร์ให้แก่แพทย์และโรงพยาบาลที่รักษาคนชราภายใต้โครงการเมดิแคร์และ 1.11 หมื่นล้านดอลลาร์ให้แก่โครงการสวัสดิการสังคม ในขณะที่ทางกระทรวงมีรายได้จากภาษีและรายได้อื่นๆรวมกันเพียง 9.6 พันล้านดอลลาร์
ปัจจัยหนึ่งที่คาดการณ์ได้ยากคือประเด็นที่ว่า นักลงทุนในตลาดพันธบัตรจะยังคงไว้วางใจในกระทรวงการคลังหรือไม่
ทั้งนี้ ถึงแม้รัฐบาลสหรัฐไม่สามารถเพิ่มการก่อหนี้ได้ในช่วงนั้น แต่รัฐบาลก็สามารถต่ออายุพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยนักลงทุนมีโอกาสในการไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐราว 1 แสนล้านดอลลาร์ทุกๆสัปดาห์
แต่ที่ผ่านมา นักลงทุนมักเลือกที่จะนำเงินดังกล่าวกลับมาลงทุนใหม่
ถ้าหากความกังวลเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนในพันธบัตรใหม่ของสหรัฐ ฐานะการเงินของกระทรวงการคลังก็อาจทรุดลงภายในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน
30 ต.ค. รัฐบาลสหรัฐผิดนัดชำระหนี้ โดยในช่วงท้ายวันนั้น รัฐบาลสหรัฐจะถือเงินในปริมาณที่ต่ำกว่ารายจ่ายที่จำเป็นราว 7 พันล้านดอลลาร์
คณะผู้บริหารของประธานาธิบดีบารัก โอบามาระบุว่า เจ้าหนี้ทุกรายจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้
กระทรวงการคลังระบุว่า ทางกระทรวงไม่มีความสามารถในการเลือกได้ว่าจะจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้รายใดก่อนรายอื่นๆ โดยครั้งสุดท้ายที่รัฐบาลประสบภาวะนี้เกิดขึ้นในปี 2553 ซึ่งในขณะนั้น รัฐบาล วางแผนที่จะรอให้กระทรวงการคลังมีเงินมากพอที่จะใช้ชำระค่าใช้จ่ายได้เต็ม 1 วัน ก่อนที่จะเริ่มออกเช็คใดๆ
วิธีการนี้หมายความว่า ทุกคนจะได้รับเช็คช้ากว่ากำหนด ซึ่งรวมถึงโรงเรียนในท้องถิ่นที่ต้องได้รับเงิน 680 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลกลาง ผู้รับสวัสดิการสังคมที่ต้องได้รับเงิน 553 ล้านดอลลาร์ และผู้รับสัมปทานด้านอาวุธที่ต้องได้รับเงิน 972 ล้านดอลลาร์
บริษัทบางแห่งที่มีรัฐบาลสหรัฐเป็นลูกค้ารายใหญ่จะได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทล็อคฮีด มาร์ติน
การชำระเงินจะประสบความล่าช้ามากขึ้นเรื่อยๆในขณะที่การผิดนัดชำระหนี้ดำเนินต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐสูญเสียเงินหลายพันล้านดอลลาร์ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน
31 ต.ค. สถานการณ์ย่ำแย่ลงในวันฮัลโลวีน ซึ่งเป็นวันที่กระทรวงการคลังต้องจ่ายดอกเบี้ย 6 พันล้านดอลลาร์ให้แก่ผู้ถือครองพันธบัตร
พันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐถือเป็นพื้นฐานของระบบการเงินโลก เพราะการลงทุนในพันธบัตรสหรัฐถือเป็นการลงทุนที่ปราศจากความเสี่ยง ดังนั้นการลงทุนในพันธบัตรสหรัฐจึงกลายเป็นพื้นฐานสำหรับหลายสิ่งหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงพอร์ทลงทุนของผู้เกษียณอายุ และเศรษฐกิจจีนที่เน้นการส่งออก
การผิดนัดชำระเงินจะเป็นการสั่นคลอนพื้นฐานดังกล่าว โดยรัฐบาลสหรัฐจ่ายอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำมากในปัจจุบันนี้ เพราะรัฐบาลมีประวัติที่แข็งแกร่งในด้านการชำระหนี้ ดังนั้นถ้าหากสหรัฐผิดนัดชำระหนี้ ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลสหรัฐก็จะพุ่งสูงขึ้น ตลาดหุ้นก็อาจจะดิ่งลง และผู้บริโภคก็อาจจะปรับลดการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ
กระทรวงการคลังจะเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากลำบากในวันนั้น โดยทางกระทรวงต้องตัดสินใจว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในจีน หรือจะจ่ายเงินให้แก่กองทัพสหรัฐในอัฟกานิสถาน ขณะที่คณะผู้บริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามาระบุว่า กระทรวงการคลังไม่มีอำนาจในการจัดลำดับความสำคัญในการชำระเงิน แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่าทางกระทรวงอาจจะพยายามทำเช่นนั้น
นายคอลลินส์กล่าวว่า "การไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา อาจจะสร้างความเสียหายได้มากกว่าการไม่ชำระเงินในรายการอื่นๆ"
1 พ.ย. รัฐบาลสหรัฐจะเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่เคยประสบมาก่อนนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ในทางทฤษฎีนั้น รัฐบาลสหรัฐสามารถชำระหนี้ให้แก่ผู้ถือครองพันธบัตรได้ตลอดไป เนื่องจากรายได้จากภาษีอยู่ในระดับที่มากพอที่จะครอบคลุมการชำระดอกเบี้ย และกระทรวงการคลังก็จ่ายเงินให้แก่ผู้ถือครองพันธบัตรโดยผ่านทางระบบที่แยกต่างหากจากการชำระเงินในรายการอื่นๆ
การทำเช่นนี้จะส่งผลให้เจ้าหนี้รายอื่นๆได้รับการชำระหนี้ล่าช้า โดยกองทัพสหรัฐอาจจะชำระค่าเช่าได้ล่าช้ากว่ากำหนด และคนชราที่ต้องพึ่งพาเงินสวัสดิการสังคมก็อาจจะไม่มีเงินซื้ออาหาร
ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากกระทรวงการคลังไม่ยอมชำระดอกเบี้ยในวันฮัลโลวีน และนักการเมืองสหรัฐยังไม่ส่งสัญญาณว่าจะคลี่คลายวิกฤตินี้ ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐก็จะได้รับความเสียหาย และสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าของเครื่องมือทางการเงินเกือบทุกประเภท ซึ่งรวมถึงดอลลาร์สหรัฐ, สินเชื่อธนาคารในเอเชีย และต้นทุนในการทำประกันพืชผลในรัฐอิลลินอยส์
กระทรวงการคลังระบุว่า "การผิดนัดชำระหนี้จะเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและเป็นสิ่งที่อาจก่อให้เกิดหายนะครั้งใหญ่ โดยการผิดนัดชำระหนี้อาจจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก"
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/foreign/20131008/534953/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B8%8117%E0%B8%95.%E0%B8%84.%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89.html