แนวคิดในเรื่องพินัยกรรมชีวิต หรือหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต (Living Will) มีผลในทางกฎหมายเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องมาจากกฎหมายการตายตามธรรมชาติ (Natural Death Act) ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ปี ค.ศ. ๑๙๗๖ (พ.ศ. ๒๕๑๙) เพื่อรับรองสิทธิของผู้ป่วยในการยอมรับหรือปฏิเสธกระบวนการทางการแพทย์ที่เป็นไปเพื่อยืดชีวิต (หรืออีกความหมายหนึ่งคือยืดความตายออกไป) ก่อนจะแพร่หลายไปยังรัฐและประเทศอื่นๆ
กำเนิดกฎหมายการตายตามธรรมชาติ
นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา สังคมอเมริกันมีปัญหาเรื่องการพูดถึงความตายอย่างเปิดเผย ดัง อาร์โนลด์ ทอยน์บี (Arnold J. Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า “สำหรับชาวอเมริกัน ความตายไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา แต่เป็นประหนึ่งคำสบประมาทต่อสิทธิในการมีชีวิตอยู่ เสรีภาพ และการแสวงหาความสุขอันไม่สามารถตัดขาดได้ของพลเมืองอเมริกาทุกคน” ("For Americans, death is un-American and an affront to every citizen's inalienable right to life, liberty and the pursuit of happiness.") ถ้อยคำดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายในการดำรงชีวิตอยู่ของคนอเมริกันได้อย่างชัดเจน เมื่อความตายเป็นสิ่งตรงข้ามกับชีวิต จึงถูกเบียดขับออกไปจากสังคม ไม่สามารถพูดถึงได้อย่างเปิดเผย เพราะเป็นเรื่องลามก ไม่สุภาพ เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งเรื่องเพศเคยเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคม โดยเฉพาะในวงการแพทย์ซึ่งนอกเหนือไปจากการที่ไม่สามารถพูดถึงแล้ว การตายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยยังถือเป็นความล้มเหลวในการทำงานของวิชาชีพแพทย์อีกด้วย เพราะแพทย์ถูกสอนให้เป็นผู้รักษาชีวิตอย่างถึงที่สุด
ประกอบกับความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทำให้วงการแพทย์สามารถต่อรองกับความตายได้มากขึ้น (ยืดการตายออกไป) อาทิ การพัฒนาปอดเหล็ก (Iron Lung) เพื่อช่วยผู้ป่วยโปลิโอในการหายใจในช่วงทศวรรษ ๑๙๕๐ ซึ่งพัฒนาต่อมาเป็นเครื่องช่วยหายใจ การใส่ท่ออาหาร (NG Tube) เพื่อนำสารอาหารไปเลี้ยงผู้ป่วยที่ไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ ฯลฯ ล้วนแต่ช่วยเพิ่มความสามารถของแพทย์ในการยืดชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องตายออกไปได้อีกนับชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี แล้วแต่สภาพของผู้ป่วย แม้ในหลายกรณี ผู้ป่วยเหล่านั้นจะไม่มีโอกาสฟื้นคืนกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมอีก
ความสามารถในการยืดชีวิตออกไปเป็นเวลายาวนาน เป็นผลให้การตายเป็นเรื่องที่ต้องนิยามอย่างซับซ้อนมากขึ้น การกำหนดความตายอย่างง่ายๆ ที่เคยเป็นมาแต่เดิม ด้วยการเต้นของหัวใจหรือการหายใจ จะใช้ไม่ได้สำหรับผู้ป่วยที่สวมเครื่องช่วยชีวิตเหล่านั้นเข้าไป จึงเกิดการกำหนดความตายอย่างใหม่โดยไปวัดที่การตายของสมอง เป็นต้น ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการวัด
ปัญหาของการยืดความตายออกไป
พร้อมๆ กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการยืดชีวิตออกไป ในช่วงทศวรรษ ๑๙๖๐-๗๐ สังคมอเมริกันได้เกิดค่านิยมหรืออุดมการณ์ใหม่ขึ้นมาหลายอย่าง ภายใต้บริบทการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของคนผิวสี การต่อต้านสงคราม และขบวนการแสวงหาทางออกของหนุ่มสาวชาวบุปผาชน นำไปสู่การแสวงหาคุณค่าใหม่ๆ ค่านิยมเรื่องสิทธิในการกำหนดชีวิตของตนเอง หรือศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ถูกหล่อหลอมขึ้นจากบริบทดังกล่าว
จึงเกิดการตั้งคำถามถึงการต้องนอนอยู่บนเตียงโดยช่วยตนเองไม่ได้ แม้จะยังมีชีวิตอยู่ ว่าเป็นการอยู่แบบมีศักดิ์ศรีหรือไม่
ทำให้เกิดการถกเถียงเรื่องดังกล่าวในสังคมอเมริกันเป็นระลอกๆ จนกระทั่งเกิดกรณีของ คาเรน แอนน์ ควินแลน (Karen Ann Quinlan) ในปี ค.ศ. ๑๙๗๖ (พ.ศ. ๒๕๑๙) เมื่อหญิงสาววัย ๒๒ ปี ที่ป่วยอยู่ในภาวะโคม่า และมีอาการพัฒนาไปเป็น “ภาวะเป็นผักเรื้อรัง” นอนอยู่กับท่อช่วยหายใจและท่ออาหารนานกว่า ๑๓ เดือน ทางครอบครัวจึงตัดสินใจขออำนาจจากศาลเพื่อถอดท่อเหล่านั้นออก แต่ทางโรงพยาบาลไม่สามารถทำได้ โดยอ้างเหตุจากการที่เธอไม่ได้อยู่ในภาวะสมองตาย (หรืออีกนัยหนึ่ง ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดว่าเธอตายแล้ว) กรณีดังกล่าวทำให้วงการกฎหมายของอเมริกาเกิดการทบทวนกรอบที่จะใช้ในการตัดสินใจหากมีกรณีที่คล้ายกันเกิดขึ้นอีก จนนำมาสู่การออกกฎหมายการตามตายธรรมชาติ (Nature Death Act) ของรัฐคาลิฟอร์เนีย รับรองสิทธิของผู้ป่วยในการยอมรับหรือปฏิเสธกระบวนการทางการแพทย์ที่เป็นไปเพื่อยืดชีวิต เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างญาติผู้ป่วยและผู้ให้บริการทางการแพทย์ (บุคลากรและโรงพยาบาล) ก่อนจะคลี่คลายขยายตัวมาเป็นกฎหมายสิทธิผู้ป่วย ค.ศ. ๑๙๙๙ (พ.ศ. ๒๕๓๓) โดยระบุให้โรงพยาบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐทุกแห่ง ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทราบว่าตนเองมีสิทธิ์ที่จะทำหนังสือแสดงเจตนาฯ (Living Will)
พินัยกรรมชีวิตในสังคมไทย
ในสังคมไทย กรณีที่ทำให้การแสดงเจตนาฯ ที่จะไม่รับการรักษาเพื่อยืดชีวิต เป็นที่รับรู้และเป็นข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง คือ กรณีของพุทธทาสภิกขุ เมื่อครั้งที่ท่านอาพาธใหญ่ด้วยอาการของโรคหัวใจเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ มีหลายคนต้องการให้ท่านได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากเชื่อว่ามีความพร้อมในการดูแลรักษา แต่ท่านพุทธทาสได้ปฏิเสธ โดยยืนยันว่า “ขอให้แผ่นดินนี้เป็นโรงพยาบาล และไม่หอบสังขารหนีความตาย” จนกระทั่งท่านอาพาธอีกครั้งหนึ่งด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ อันทำให้ท่านมรณภาพในเวลาต่อมา แม้ท่านจะเคยแสดงเจตนาไว้แล้วในการอาพาธครั้งก่อนแล้ว และย้ำกับผู้ที่ใกล้ชิดอยู่เสมอว่า ไม่ให้ช่วยชีวิตท่านอย่างผิดธรรมชาติ และต้องการมรณภาพโดยไม่มีเครื่องช่วยชีวิตใดๆ ติดตัว แต่เมื่อท่านไม่สามารถสื่อสารได้แล้ว ทำให้ท้ายที่สุด ท่านจึงถูกส่งเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมี “ชีวิต” โดยต้องอยู่กับเครื่องช่วยชีวิตสารพัดอย่างไปอีก ๔๐ กว่าวัน ก่อนจะมรณภาพในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
ในกรณีดังกล่าว ความขัดแย้งที่เป็นหัวใจสำคัญ คือ ทัศนะเกี่ยวกับชีวิตและความตายที่แตกต่างกัน ของท่านพุทธทาสภิกขุและผู้ที่ต้องการเห็นท่านมีชีวิตต่อไป รวมทั้งทัศนคติของการแพทย์สมัยใหม่ที่ยึดถือมิติทางกาย คือ การรักษาสัญญาณชีพต่างๆ อันเป็นสัญลักษณ์ของการมีชีวิตให้คงอยู่จนถึงที่สุด มากกว่ามิติด้านอื่นๆ เช่น มิติทางด้านจิตวิญญาณ จึงนำไปสู่การตัดสินใจยืดความตายของท่านออกไป และได้จุดประกายให้กับสังคมไทยเริ่มมีการพูดคุยกันถึงเรื่องสิทธิของผู้ป่วยในการแสดงเจตนาที่จะไม่รับการรักษาอย่างเป็นจริงเป็นจังนับแต่นั้นมา
จนต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ระบุไว้ในมาตรา ๕๔ ให้มีการออกกฎหมายเพื่อดูแลคุ้มครองผู้สูงอายุ คณะทำงานในเรื่องดังกล่าวจึงได้พิจารณาประเด็นต่างๆ เพื่อใช้ในการร่างกฎหมาย ซึ่งมีเรื่องพินัยกรรมชีวิต (ชื่อในขณะนั้น) อยู่ด้วย สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดทำกฎหมาย จึงได้จัดสัมนาเพื่อพิจารณาในด้านศาสนา การแพทย์ และกฎหมาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยสมควรมีกฎหมายในลักษณะของพินัยกรรมชีวิตหรือไม่
การตายที่ดีในสังคมไทย
สังคมไทยแต่เดิม ความตายไม่ใช่เรื่องที่แปลกแยกออกไปจากชีวิต ก่อนที่ความคิดแบบสมัยใหม่ของตะวันตกจะมาครอบงำความคิดของสังคมไทยอย่างกว้างขวาง วัฒนธรรมดั้งเดิมที่ผูกพันกับความเชื่อและภูมิปัญญาทางศาสนา รวมกับสภาพความเป็นอยู่ที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทำให้คนในสังคมรับรู้กันได้ว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผ่านทั้งคำสอน ประเพณี และความจริงธรรมชาติ ที่เห็นได้ทุกวันของชีวิต ดังท่านพุทธทาสภิกขุได้เคยเล่าถึงวิธีการเตรียมตัวตายของคนในสมัยพุทธกาลว่า หากเขารู้ตัวว่าจะตายก็จะทำการอดอาหาร อดน้ำ ถึงที่สุดแม้ยาก็ไม่รับ เพื่อรักษาสติสัมปชัญญะไว้ให้ได้ตายอย่างสงบ
การสืบทอดวัฒนธรรมการเตรียมตัวตายในรูปแบบดังกล่าว ยังคงมีให้เห็นอยู่บ้างในสังคมไทยร่วมสมัย ดังเช่น สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เคยเล่าถึงการเตรียมตัวตายของญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง เมื่อรู้ตัวว่าจะตายก็เรียกลูกหลานมาสั่งเสีย แล้วเจริญอานาปานสติภาวนาไปจนสิ้นลม หรือ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้เล่าถึงเรื่องคุณยายของท่านที่อายุ ๘๕ ปี พอวันหนึ่งคุณยายก็บอกว่าพอแล้ว จากนั้นจึงหยุดกินข้าวกินน้ำและตายอยู่ท่ามกลางลูกหลานด้วยความสงบและมีสติ
ทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงการยอมรับความตายว่าเป็นสัจธรรมอันหลีกหนีไม่ได้ และไม่จำเป็นต้องหนี หากต้องเผชิญหน้าอย่างมีสติรู้ตัวด้วยความสงบ ด้วยถือกันว่าหากทำได้จะเป็นการตายที่ดีและนำไปสู่สุคติ ต่างจากในปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่พากันคิดไปว่า การตายไปอย่างไม่รู้สึกตัว ไม่มีความเจ็บปวดหรือวิตกกังวลใดๆ เช่น การนอนหลับแล้วตายไป เป็นการตายที่ดีและพึงปรารถนา
พินัยกรรมชีวิต สู่การจากไปด้วยใจสงบ
แนวคิดในเรื่องพินัยกรรมชีวิต หรือหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต (Living Will) มีผลในทางกฎหมายเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องมาจากกฎหมายการตายตามธรรมชาติ (Natural Death Act) ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ปี ค.ศ. ๑๙๗๖ (พ.ศ. ๒๕๑๙) เพื่อรับรองสิทธิของผู้ป่วยในการยอมรับหรือปฏิเสธกระบวนการทางการแพทย์ที่เป็นไปเพื่อยืดชีวิต (หรืออีกความหมายหนึ่งคือยืดความตายออกไป) ก่อนจะแพร่หลายไปยังรัฐและประเทศอื่นๆ
กำเนิดกฎหมายการตายตามธรรมชาติ
นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา สังคมอเมริกันมีปัญหาเรื่องการพูดถึงความตายอย่างเปิดเผย ดัง อาร์โนลด์ ทอยน์บี (Arnold J. Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า “สำหรับชาวอเมริกัน ความตายไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา แต่เป็นประหนึ่งคำสบประมาทต่อสิทธิในการมีชีวิตอยู่ เสรีภาพ และการแสวงหาความสุขอันไม่สามารถตัดขาดได้ของพลเมืองอเมริกาทุกคน” ("For Americans, death is un-American and an affront to every citizen's inalienable right to life, liberty and the pursuit of happiness.") ถ้อยคำดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายในการดำรงชีวิตอยู่ของคนอเมริกันได้อย่างชัดเจน เมื่อความตายเป็นสิ่งตรงข้ามกับชีวิต จึงถูกเบียดขับออกไปจากสังคม ไม่สามารถพูดถึงได้อย่างเปิดเผย เพราะเป็นเรื่องลามก ไม่สุภาพ เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งเรื่องเพศเคยเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคม โดยเฉพาะในวงการแพทย์ซึ่งนอกเหนือไปจากการที่ไม่สามารถพูดถึงแล้ว การตายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยยังถือเป็นความล้มเหลวในการทำงานของวิชาชีพแพทย์อีกด้วย เพราะแพทย์ถูกสอนให้เป็นผู้รักษาชีวิตอย่างถึงที่สุด
ประกอบกับความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทำให้วงการแพทย์สามารถต่อรองกับความตายได้มากขึ้น (ยืดการตายออกไป) อาทิ การพัฒนาปอดเหล็ก (Iron Lung) เพื่อช่วยผู้ป่วยโปลิโอในการหายใจในช่วงทศวรรษ ๑๙๕๐ ซึ่งพัฒนาต่อมาเป็นเครื่องช่วยหายใจ การใส่ท่ออาหาร (NG Tube) เพื่อนำสารอาหารไปเลี้ยงผู้ป่วยที่ไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ ฯลฯ ล้วนแต่ช่วยเพิ่มความสามารถของแพทย์ในการยืดชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องตายออกไปได้อีกนับชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี แล้วแต่สภาพของผู้ป่วย แม้ในหลายกรณี ผู้ป่วยเหล่านั้นจะไม่มีโอกาสฟื้นคืนกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมอีก
ความสามารถในการยืดชีวิตออกไปเป็นเวลายาวนาน เป็นผลให้การตายเป็นเรื่องที่ต้องนิยามอย่างซับซ้อนมากขึ้น การกำหนดความตายอย่างง่ายๆ ที่เคยเป็นมาแต่เดิม ด้วยการเต้นของหัวใจหรือการหายใจ จะใช้ไม่ได้สำหรับผู้ป่วยที่สวมเครื่องช่วยชีวิตเหล่านั้นเข้าไป จึงเกิดการกำหนดความตายอย่างใหม่โดยไปวัดที่การตายของสมอง เป็นต้น ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการวัด
ปัญหาของการยืดความตายออกไป
พร้อมๆ กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการยืดชีวิตออกไป ในช่วงทศวรรษ ๑๙๖๐-๗๐ สังคมอเมริกันได้เกิดค่านิยมหรืออุดมการณ์ใหม่ขึ้นมาหลายอย่าง ภายใต้บริบทการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของคนผิวสี การต่อต้านสงคราม และขบวนการแสวงหาทางออกของหนุ่มสาวชาวบุปผาชน นำไปสู่การแสวงหาคุณค่าใหม่ๆ ค่านิยมเรื่องสิทธิในการกำหนดชีวิตของตนเอง หรือศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ถูกหล่อหลอมขึ้นจากบริบทดังกล่าว
จึงเกิดการตั้งคำถามถึงการต้องนอนอยู่บนเตียงโดยช่วยตนเองไม่ได้ แม้จะยังมีชีวิตอยู่ ว่าเป็นการอยู่แบบมีศักดิ์ศรีหรือไม่
ทำให้เกิดการถกเถียงเรื่องดังกล่าวในสังคมอเมริกันเป็นระลอกๆ จนกระทั่งเกิดกรณีของ คาเรน แอนน์ ควินแลน (Karen Ann Quinlan) ในปี ค.ศ. ๑๙๗๖ (พ.ศ. ๒๕๑๙) เมื่อหญิงสาววัย ๒๒ ปี ที่ป่วยอยู่ในภาวะโคม่า และมีอาการพัฒนาไปเป็น “ภาวะเป็นผักเรื้อรัง” นอนอยู่กับท่อช่วยหายใจและท่ออาหารนานกว่า ๑๓ เดือน ทางครอบครัวจึงตัดสินใจขออำนาจจากศาลเพื่อถอดท่อเหล่านั้นออก แต่ทางโรงพยาบาลไม่สามารถทำได้ โดยอ้างเหตุจากการที่เธอไม่ได้อยู่ในภาวะสมองตาย (หรืออีกนัยหนึ่ง ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดว่าเธอตายแล้ว) กรณีดังกล่าวทำให้วงการกฎหมายของอเมริกาเกิดการทบทวนกรอบที่จะใช้ในการตัดสินใจหากมีกรณีที่คล้ายกันเกิดขึ้นอีก จนนำมาสู่การออกกฎหมายการตามตายธรรมชาติ (Nature Death Act) ของรัฐคาลิฟอร์เนีย รับรองสิทธิของผู้ป่วยในการยอมรับหรือปฏิเสธกระบวนการทางการแพทย์ที่เป็นไปเพื่อยืดชีวิต เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างญาติผู้ป่วยและผู้ให้บริการทางการแพทย์ (บุคลากรและโรงพยาบาล) ก่อนจะคลี่คลายขยายตัวมาเป็นกฎหมายสิทธิผู้ป่วย ค.ศ. ๑๙๙๙ (พ.ศ. ๒๕๓๓) โดยระบุให้โรงพยาบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐทุกแห่ง ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทราบว่าตนเองมีสิทธิ์ที่จะทำหนังสือแสดงเจตนาฯ (Living Will)
พินัยกรรมชีวิตในสังคมไทย
ในสังคมไทย กรณีที่ทำให้การแสดงเจตนาฯ ที่จะไม่รับการรักษาเพื่อยืดชีวิต เป็นที่รับรู้และเป็นข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง คือ กรณีของพุทธทาสภิกขุ เมื่อครั้งที่ท่านอาพาธใหญ่ด้วยอาการของโรคหัวใจเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ มีหลายคนต้องการให้ท่านได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากเชื่อว่ามีความพร้อมในการดูแลรักษา แต่ท่านพุทธทาสได้ปฏิเสธ โดยยืนยันว่า “ขอให้แผ่นดินนี้เป็นโรงพยาบาล และไม่หอบสังขารหนีความตาย” จนกระทั่งท่านอาพาธอีกครั้งหนึ่งด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ อันทำให้ท่านมรณภาพในเวลาต่อมา แม้ท่านจะเคยแสดงเจตนาไว้แล้วในการอาพาธครั้งก่อนแล้ว และย้ำกับผู้ที่ใกล้ชิดอยู่เสมอว่า ไม่ให้ช่วยชีวิตท่านอย่างผิดธรรมชาติ และต้องการมรณภาพโดยไม่มีเครื่องช่วยชีวิตใดๆ ติดตัว แต่เมื่อท่านไม่สามารถสื่อสารได้แล้ว ทำให้ท้ายที่สุด ท่านจึงถูกส่งเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมี “ชีวิต” โดยต้องอยู่กับเครื่องช่วยชีวิตสารพัดอย่างไปอีก ๔๐ กว่าวัน ก่อนจะมรณภาพในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
ในกรณีดังกล่าว ความขัดแย้งที่เป็นหัวใจสำคัญ คือ ทัศนะเกี่ยวกับชีวิตและความตายที่แตกต่างกัน ของท่านพุทธทาสภิกขุและผู้ที่ต้องการเห็นท่านมีชีวิตต่อไป รวมทั้งทัศนคติของการแพทย์สมัยใหม่ที่ยึดถือมิติทางกาย คือ การรักษาสัญญาณชีพต่างๆ อันเป็นสัญลักษณ์ของการมีชีวิตให้คงอยู่จนถึงที่สุด มากกว่ามิติด้านอื่นๆ เช่น มิติทางด้านจิตวิญญาณ จึงนำไปสู่การตัดสินใจยืดความตายของท่านออกไป และได้จุดประกายให้กับสังคมไทยเริ่มมีการพูดคุยกันถึงเรื่องสิทธิของผู้ป่วยในการแสดงเจตนาที่จะไม่รับการรักษาอย่างเป็นจริงเป็นจังนับแต่นั้นมา
จนต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ระบุไว้ในมาตรา ๕๔ ให้มีการออกกฎหมายเพื่อดูแลคุ้มครองผู้สูงอายุ คณะทำงานในเรื่องดังกล่าวจึงได้พิจารณาประเด็นต่างๆ เพื่อใช้ในการร่างกฎหมาย ซึ่งมีเรื่องพินัยกรรมชีวิต (ชื่อในขณะนั้น) อยู่ด้วย สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดทำกฎหมาย จึงได้จัดสัมนาเพื่อพิจารณาในด้านศาสนา การแพทย์ และกฎหมาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยสมควรมีกฎหมายในลักษณะของพินัยกรรมชีวิตหรือไม่
การตายที่ดีในสังคมไทย
สังคมไทยแต่เดิม ความตายไม่ใช่เรื่องที่แปลกแยกออกไปจากชีวิต ก่อนที่ความคิดแบบสมัยใหม่ของตะวันตกจะมาครอบงำความคิดของสังคมไทยอย่างกว้างขวาง วัฒนธรรมดั้งเดิมที่ผูกพันกับความเชื่อและภูมิปัญญาทางศาสนา รวมกับสภาพความเป็นอยู่ที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทำให้คนในสังคมรับรู้กันได้ว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผ่านทั้งคำสอน ประเพณี และความจริงธรรมชาติ ที่เห็นได้ทุกวันของชีวิต ดังท่านพุทธทาสภิกขุได้เคยเล่าถึงวิธีการเตรียมตัวตายของคนในสมัยพุทธกาลว่า หากเขารู้ตัวว่าจะตายก็จะทำการอดอาหาร อดน้ำ ถึงที่สุดแม้ยาก็ไม่รับ เพื่อรักษาสติสัมปชัญญะไว้ให้ได้ตายอย่างสงบ
การสืบทอดวัฒนธรรมการเตรียมตัวตายในรูปแบบดังกล่าว ยังคงมีให้เห็นอยู่บ้างในสังคมไทยร่วมสมัย ดังเช่น สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เคยเล่าถึงการเตรียมตัวตายของญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง เมื่อรู้ตัวว่าจะตายก็เรียกลูกหลานมาสั่งเสีย แล้วเจริญอานาปานสติภาวนาไปจนสิ้นลม หรือ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้เล่าถึงเรื่องคุณยายของท่านที่อายุ ๘๕ ปี พอวันหนึ่งคุณยายก็บอกว่าพอแล้ว จากนั้นจึงหยุดกินข้าวกินน้ำและตายอยู่ท่ามกลางลูกหลานด้วยความสงบและมีสติ
ทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงการยอมรับความตายว่าเป็นสัจธรรมอันหลีกหนีไม่ได้ และไม่จำเป็นต้องหนี หากต้องเผชิญหน้าอย่างมีสติรู้ตัวด้วยความสงบ ด้วยถือกันว่าหากทำได้จะเป็นการตายที่ดีและนำไปสู่สุคติ ต่างจากในปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่พากันคิดไปว่า การตายไปอย่างไม่รู้สึกตัว ไม่มีความเจ็บปวดหรือวิตกกังวลใดๆ เช่น การนอนหลับแล้วตายไป เป็นการตายที่ดีและพึงปรารถนา