( ขอสาระนะครับ ใครใส่เสื้อสีมา ถอดออกก่อน ถึงจะพาดพิงรัฐบาล แต่พาดพิงเฉพาะผลกระทบจากนโยบายเท่านั้น ว่ากันเป็นเรื่องๆ )
-----------------------------
จำได้ว่าพันติ๊ปมีวิวาทะเกี่ยวกับ
"เวลา" หลายครั้งหลายหนมาก
- กรณีหาบเร่แผงลอย ฝ่ายที่ไม่อยากให้มีเลยเด็ดขาด ( ต้องการทำให้บ้านเมืองสวยงามแบบโลกที่ 1 ) จะบอกว่า
"เงินน้อยก็ทำกินเอง" และเชื่อว่าทุกคนต้องปรับตัวให้ได้ ขณะที่ฝ่ายที่ต้องการให้มี ( จะผ่อนผัน จัดระเบียบให้เหลือทางเดินบ้างอะไรก็ว่าไป ) จะบอกว่า
"เป็นไปไม่ได้ เพราะแรงงานระดับล่าง อยู่ได้ด้วย OT อย่างน้อยๆ ทุกวันต้องทำวันละ 2 ชม. สังเกตว่าหลายคนซื้อข้าวเหนียวหมูปิ้ง ข้าวสวยพร้อมแกงถุงไปไว้ในที่ทำงานด้วย" ยังไม่นับเวลาเดินทางที่ต้องเจอกับรถติดไม่ว่าจะอยู่จุดไหนใน กทม. และปริมณฑลก็ตาม
- กรณีการศึกษาไทยกับไม้เรียว ฝ่ายที่ไม่ต้องการให้ตีเด็กอย่างเด็ดขาด ( เสรีนิยม? เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนฟังเหตุผลรู้เรื่องไม่ต้องบังคับ? ) บอกว่า
"ต้องไปแก้ปัญหาครอบครัว ต้องให้ครอบครัวกับโรงเรียน Deal กันมากขึ้น" แต่ฝ่ายที่ยังต้องการให้รักษาการตีเด็กไว้ ( อนุรักษ์นิยม? เชื่อว่าคนเราไม่ใช่ทุกคนที่เข้าใจเหตุผล ต้องบังคับขู่เข็ญกันบ้าง ) บอกว่าเป็นไปไม่ได้
"ลำพังพ่อแม่ที่อยู่กับลูก ก็แทบไม่มีเวลาเจอหน้าลูกเพราะต้องออกไปทำงานแต่เช้า กลับมาก็มืดค่ำ ด้วยเหตุผลด้านเวลาเดินทาง และต้องอยู่เพื่อทำ OT ไม่งั้นรายได้ไม่พอ" ยังไม่นับเด็กใน ตจว. ที่ 1 ปีจะได้เจอหน้าพ่อแม่แค่ 2 ครั้ง ( ปีใหม่ + สงกรานต์ ) เวลาที่เหลืออยู่กับญาติคนอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นปู่ย่าตายาย ซึ่งเืมื่อ Gen. ต่างกันเกินไปแบบนี้ ก็จะเป็นปัญหากับเด็กเอง และครูก็ไม่สามารถเ้ข้ามาทำอะไรได้มากนัก
-----------------------------------
ยกตัวอย่าง 2 กรณีนี้ก่อน ผมเห็นอะไรที่สำคัญอย่างหนึ่ง นั่นคือ
"แรงงานไทยอยู่ไ้ด้ด้วย OT"
ก่อนหน้าที่ผมจะจบ ป.ตรี ก็ทำงานภาคโรงงานมาก่อน เท่าที่เห็นมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ แม้กระทั่งแผนกที่ไม่มี OT ก็ยังหันไปหางานแบบ
"จ้างเหมา" ตามสายงานผลิต ( คิดราคางานเป็นชิ้น ทำมากได้มาก ) ทำหลังจากเลิกงานในเวลาปกติ ( 5 โมงเย็น ) แล้ว ก็ยังไม่กลับบ้าน แต่ไปทำงานเหมาต่อ
เคยเก็บสถิติคนเหล่านี้ พบว่าเขาอึดจริงๆ มาทำงาน 8 โมงเช้า เลิกงาน 4 - 5 ทุ่ม ( บางวันเลิกเที่ยงคืน - ตี 1 ก็มี แต่ไม่บ่อย ) แน่นอนละตอนเงินเดือนออก ( ออกทุกๆ วันที่ 1 และ 15 ) พวกเขาคงหายเหนื่อยเพราะรับรอบนึงนี่หลัก 10k+ ( 2 รอบต่อเดือนก็มากกว่า 20k แน่ๆ )
แต่ก็แลกมาด้วย
"ไม่มีชีวิตส่วนตัว แม้เวลาพักผ่อนก็แทบจะไม่มี"
ไม่นานนี้ หลังจากประกาศใช้นโยบาย 300 บาททั่วประเทศ มีแรงงานในโรงงานบางแห่งที่รู้จักกัน บ่นแล้วว่า
"ไม่เอา 300 แล้ว ขอ 250 ได้ไหม แล้วให้มี OT อิสระเหมือนเดิม" เท่าที่ทราบ โรงงานแห่งนี้ก่อนจะปรับเป็น 300 บาทตามนโยบายรัฐบาล แม้ค่าจ้างรายวันจะน้อยตามค่าแรงขั้นต่ำในยุคนั้น แต่ข้อดึ ( ในมุมมองของพนักงาน ) คือมี OT ตลอด ใครมีแรงทำแค่ไหนทำไปเลย ถ้าก่อน 4 ทุ่ม จ่ายตามกรอบกฏหมาย ( หาร 8 ชม. ทำงานปกติแล้วคูณ 1.5 ) และถ้าหลัง 4 ทุ่มไปจนถึงเช้ามืด จะจ่ายให้มากกว่านั้น ( หาร 8 ชม. ทำงานปกติแล้วคูณ 2 )
พนง. ที่นี่ วันปกติจะกลับกัน 3 - 4 ทุ่ม แต่ถ้าเป็นวันเสาร์ หลายคนทำ OT ทั้งคืนและกลับเช้าวันอาทิตย์ ก่อนจะนอนยาวๆ ยันเย็น
( หลายๆ ที่ก็คงเช่นเดียวกัน ดังที่เห็นๆ กันว่ามีคนบ่นแล้ว 300 บาท เงินขึ้นจริง แต่กลับลำบากขึ้นด้วย เพราะสวัสดิการต่างๆ เช่นรถรับส่ง งานเทศกาลต่างๆ ชุดพนักงาน หรืออาหารกลางวัน ถูกตัดถูกหั่นออก )
จะเห็นนะครับ แรงงานไทยหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีเวลาให้ที่บ้านจริงๆ เราจึงเห็นเด็กมากมาย อยู่กันแต่ร้านเกม หรือบางบ้านก็ซื้อคอมพิวเตอร์ให้ลูกเลย เอาไว้เล่นเน็ตแก้เหงา และพอโตหน่อยก็เปลี่ยนเป็นมอเตอร์ไซค์ เป็นแวนซ์เป็นสก๊อยกันไป
ยังไม่ต้องนับเรื่อง Deal กับทางโรงเรียน ถ้าใครตามเรื่องแรงงานอยู่เรื่อยๆ จะเห็นภาคีเครือข่ายต่างๆ ในบ้านเรา ยังคงเรียกร้องไปยังกระทรวงแรงงานและรัฐบาลเสมอ ว่า
"แม้กฏหมายเขียนไว้ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่ใช่" เช่นถ้าเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเมื่อไร จะถูกนายจ้างบีบออกทันที , การหยุด - ลา แม้จะมีเอกสารยืนยันของจริง ตรวจสอบได้ แต่ก็จะถูกเพ่งเล็ง และมองอย่างไม่ไว้วางใจจากฝ่ายบุคคล , การฟ้องคดี แม้จะมีศาลแรงงานเฉพาะ แต่ถ้าคนไม่มี Connection ( ในที่นี้ไม่ใช่เส้นสายในทางทุจริต แต่หมายถึงการที่รู้จักกับคนที่ทำงานภาคกระบวนการยุติธรรม เช่นตำรวจ ทนายความ หรือข้าราชการอื่นๆ ที่จะให้คำแนะนำ อธิบายขั้นตอนการฟ้องคดี และติดตามเรื่องให้ ) พอพูดถึงการแจ้งความหรือฟ้องคดี หลายคนส่ายหัว ยอมแพ้ ยกให้เป็นเรื่องกรรมเก่า
( ก็นะ ระบบราชการไทย เป็นยังไงก็รู้ๆ กันอยู่ )
แรงงานไทยจึงไม่ค่อยกล้าหยุด - ลามากนัก ไม่ว่าจะำจำเป็นแค่ไหนก็ตาม เพราะ้ถ้ามีข้อพิพาทขึ้นมา มันหาคนช่วยฝ่ายลูกจ้างแทบไม่ได้เลย
---------------------------------------
ผมเห็นรากของปัญหา 2 เรื่อง ทั้งเรื่องชีวิตที่ต้องพึ่งพา OT และแรงงานไม่อาจเรียกร้องสิทธิที่พึงมีตามกฏหมายได้เต็มที่ เพราะติดที่ขั้นตอนกระบวนการ
สงสัยว่าประเทศที่เจริญแล้ว เขามีปัญหากันแบบนี้ไหมครับ?
ปล.ฝากเพลงด้วย ( ใครเป็นมนุษย์เงินเดือน ไม่ว่าราชการหรือเอกชน ไม่ว่าโรงงานหรือ Office น่าจะชอบ )
แรงงานในประเทศที่เจริญแล้ว เขาอยู่ได้ด้วย OT และีมีปัญหาเรื่องสิทธิต่างๆ เหมือนบ้านเราไหมครับ?
-----------------------------
จำได้ว่าพันติ๊ปมีวิวาทะเกี่ยวกับ "เวลา" หลายครั้งหลายหนมาก
- กรณีหาบเร่แผงลอย ฝ่ายที่ไม่อยากให้มีเลยเด็ดขาด ( ต้องการทำให้บ้านเมืองสวยงามแบบโลกที่ 1 ) จะบอกว่า "เงินน้อยก็ทำกินเอง" และเชื่อว่าทุกคนต้องปรับตัวให้ได้ ขณะที่ฝ่ายที่ต้องการให้มี ( จะผ่อนผัน จัดระเบียบให้เหลือทางเดินบ้างอะไรก็ว่าไป ) จะบอกว่า "เป็นไปไม่ได้ เพราะแรงงานระดับล่าง อยู่ได้ด้วย OT อย่างน้อยๆ ทุกวันต้องทำวันละ 2 ชม. สังเกตว่าหลายคนซื้อข้าวเหนียวหมูปิ้ง ข้าวสวยพร้อมแกงถุงไปไว้ในที่ทำงานด้วย" ยังไม่นับเวลาเดินทางที่ต้องเจอกับรถติดไม่ว่าจะอยู่จุดไหนใน กทม. และปริมณฑลก็ตาม
- กรณีการศึกษาไทยกับไม้เรียว ฝ่ายที่ไม่ต้องการให้ตีเด็กอย่างเด็ดขาด ( เสรีนิยม? เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนฟังเหตุผลรู้เรื่องไม่ต้องบังคับ? ) บอกว่า "ต้องไปแก้ปัญหาครอบครัว ต้องให้ครอบครัวกับโรงเรียน Deal กันมากขึ้น" แต่ฝ่ายที่ยังต้องการให้รักษาการตีเด็กไว้ ( อนุรักษ์นิยม? เชื่อว่าคนเราไม่ใช่ทุกคนที่เข้าใจเหตุผล ต้องบังคับขู่เข็ญกันบ้าง ) บอกว่าเป็นไปไม่ได้ "ลำพังพ่อแม่ที่อยู่กับลูก ก็แทบไม่มีเวลาเจอหน้าลูกเพราะต้องออกไปทำงานแต่เช้า กลับมาก็มืดค่ำ ด้วยเหตุผลด้านเวลาเดินทาง และต้องอยู่เพื่อทำ OT ไม่งั้นรายได้ไม่พอ" ยังไม่นับเด็กใน ตจว. ที่ 1 ปีจะได้เจอหน้าพ่อแม่แค่ 2 ครั้ง ( ปีใหม่ + สงกรานต์ ) เวลาที่เหลืออยู่กับญาติคนอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นปู่ย่าตายาย ซึ่งเืมื่อ Gen. ต่างกันเกินไปแบบนี้ ก็จะเป็นปัญหากับเด็กเอง และครูก็ไม่สามารถเ้ข้ามาทำอะไรได้มากนัก
-----------------------------------
ยกตัวอย่าง 2 กรณีนี้ก่อน ผมเห็นอะไรที่สำคัญอย่างหนึ่ง นั่นคือ "แรงงานไทยอยู่ไ้ด้ด้วย OT"
ก่อนหน้าที่ผมจะจบ ป.ตรี ก็ทำงานภาคโรงงานมาก่อน เท่าที่เห็นมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ แม้กระทั่งแผนกที่ไม่มี OT ก็ยังหันไปหางานแบบ "จ้างเหมา" ตามสายงานผลิต ( คิดราคางานเป็นชิ้น ทำมากได้มาก ) ทำหลังจากเลิกงานในเวลาปกติ ( 5 โมงเย็น ) แล้ว ก็ยังไม่กลับบ้าน แต่ไปทำงานเหมาต่อ
เคยเก็บสถิติคนเหล่านี้ พบว่าเขาอึดจริงๆ มาทำงาน 8 โมงเช้า เลิกงาน 4 - 5 ทุ่ม ( บางวันเลิกเที่ยงคืน - ตี 1 ก็มี แต่ไม่บ่อย ) แน่นอนละตอนเงินเดือนออก ( ออกทุกๆ วันที่ 1 และ 15 ) พวกเขาคงหายเหนื่อยเพราะรับรอบนึงนี่หลัก 10k+ ( 2 รอบต่อเดือนก็มากกว่า 20k แน่ๆ )
แต่ก็แลกมาด้วย "ไม่มีชีวิตส่วนตัว แม้เวลาพักผ่อนก็แทบจะไม่มี"
ไม่นานนี้ หลังจากประกาศใช้นโยบาย 300 บาททั่วประเทศ มีแรงงานในโรงงานบางแห่งที่รู้จักกัน บ่นแล้วว่า "ไม่เอา 300 แล้ว ขอ 250 ได้ไหม แล้วให้มี OT อิสระเหมือนเดิม" เท่าที่ทราบ โรงงานแห่งนี้ก่อนจะปรับเป็น 300 บาทตามนโยบายรัฐบาล แม้ค่าจ้างรายวันจะน้อยตามค่าแรงขั้นต่ำในยุคนั้น แต่ข้อดึ ( ในมุมมองของพนักงาน ) คือมี OT ตลอด ใครมีแรงทำแค่ไหนทำไปเลย ถ้าก่อน 4 ทุ่ม จ่ายตามกรอบกฏหมาย ( หาร 8 ชม. ทำงานปกติแล้วคูณ 1.5 ) และถ้าหลัง 4 ทุ่มไปจนถึงเช้ามืด จะจ่ายให้มากกว่านั้น ( หาร 8 ชม. ทำงานปกติแล้วคูณ 2 )
พนง. ที่นี่ วันปกติจะกลับกัน 3 - 4 ทุ่ม แต่ถ้าเป็นวันเสาร์ หลายคนทำ OT ทั้งคืนและกลับเช้าวันอาทิตย์ ก่อนจะนอนยาวๆ ยันเย็น
( หลายๆ ที่ก็คงเช่นเดียวกัน ดังที่เห็นๆ กันว่ามีคนบ่นแล้ว 300 บาท เงินขึ้นจริง แต่กลับลำบากขึ้นด้วย เพราะสวัสดิการต่างๆ เช่นรถรับส่ง งานเทศกาลต่างๆ ชุดพนักงาน หรืออาหารกลางวัน ถูกตัดถูกหั่นออก )
จะเห็นนะครับ แรงงานไทยหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีเวลาให้ที่บ้านจริงๆ เราจึงเห็นเด็กมากมาย อยู่กันแต่ร้านเกม หรือบางบ้านก็ซื้อคอมพิวเตอร์ให้ลูกเลย เอาไว้เล่นเน็ตแก้เหงา และพอโตหน่อยก็เปลี่ยนเป็นมอเตอร์ไซค์ เป็นแวนซ์เป็นสก๊อยกันไป
ยังไม่ต้องนับเรื่อง Deal กับทางโรงเรียน ถ้าใครตามเรื่องแรงงานอยู่เรื่อยๆ จะเห็นภาคีเครือข่ายต่างๆ ในบ้านเรา ยังคงเรียกร้องไปยังกระทรวงแรงงานและรัฐบาลเสมอ ว่า "แม้กฏหมายเขียนไว้ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่ใช่" เช่นถ้าเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเมื่อไร จะถูกนายจ้างบีบออกทันที , การหยุด - ลา แม้จะมีเอกสารยืนยันของจริง ตรวจสอบได้ แต่ก็จะถูกเพ่งเล็ง และมองอย่างไม่ไว้วางใจจากฝ่ายบุคคล , การฟ้องคดี แม้จะมีศาลแรงงานเฉพาะ แต่ถ้าคนไม่มี Connection ( ในที่นี้ไม่ใช่เส้นสายในทางทุจริต แต่หมายถึงการที่รู้จักกับคนที่ทำงานภาคกระบวนการยุติธรรม เช่นตำรวจ ทนายความ หรือข้าราชการอื่นๆ ที่จะให้คำแนะนำ อธิบายขั้นตอนการฟ้องคดี และติดตามเรื่องให้ ) พอพูดถึงการแจ้งความหรือฟ้องคดี หลายคนส่ายหัว ยอมแพ้ ยกให้เป็นเรื่องกรรมเก่า
( ก็นะ ระบบราชการไทย เป็นยังไงก็รู้ๆ กันอยู่ )
แรงงานไทยจึงไม่ค่อยกล้าหยุด - ลามากนัก ไม่ว่าจะำจำเป็นแค่ไหนก็ตาม เพราะ้ถ้ามีข้อพิพาทขึ้นมา มันหาคนช่วยฝ่ายลูกจ้างแทบไม่ได้เลย
---------------------------------------
ผมเห็นรากของปัญหา 2 เรื่อง ทั้งเรื่องชีวิตที่ต้องพึ่งพา OT และแรงงานไม่อาจเรียกร้องสิทธิที่พึงมีตามกฏหมายได้เต็มที่ เพราะติดที่ขั้นตอนกระบวนการ
สงสัยว่าประเทศที่เจริญแล้ว เขามีปัญหากันแบบนี้ไหมครับ?
ปล.ฝากเพลงด้วย ( ใครเป็นมนุษย์เงินเดือน ไม่ว่าราชการหรือเอกชน ไม่ว่าโรงงานหรือ Office น่าจะชอบ )