๚: ข้าพเจ้าจักประกาศ *พุทธธมฺโมวาท* ในพระผู้ทรงบริสุทธิ์ด้วย *ตถาคตโพธิสัทธา* ตามที่ปรากฏ ต่อไป ฯ:๛

๚:๛:ฯ
เทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พระองค์ผู้ทรงบริสุทธิ์ด้วย *ตถาคตโพธิสัทธา*
ฯ:๛

*ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา*
เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชันษา ๑๐๐ ปี
๓ ตุลาคม ๒๕๕๖

พระประวัติ ฯ
http://www.sangharaja.org/home/index.php
.........................
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช  ประทานพระวรธรรมคติ เนื่องในวันอาสาฬหบูชา

สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระวรธรรมคติวันอาสาฬหบูชา
ให้ชาวพุทธนำพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งของจิตใจ  ศึกษาหลักธรรมให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
มิใช่เพียงกราบไหว้ขอพร.
( พฤหัสบดีที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕.)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
.........................
@ ๚๛ @
สัมมาปัญญา มีคุณสถานเดียว
ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ฟังแล้ว ฯ.
ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติคุณและชื่อเสียง ฯ.
คนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้...
...แม้ในความทุกข์ก็หาความสุขได้



สวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร @ :- [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ยโต จ โข เม ภิกฺขเว อิเมสุ จตูสุ อริยสจฺเจสุ เอวนฺติปริวฏฺฏํ
ทฺวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ สุวิสุทฺธํ อโหสิ
*การหยั่งรู้ การเห็น-ตามความเป็นจริง ได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว*



ยาวกีวญฺจ เม ภิกฺขเว อิเมสุ จตูสุ อริยสจฺเจสุ เอวํ ติปริวฏฺฏํ
ทฺวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ น สุวิสุทฺธํ อโหสิ ...

ภิกษุทั้งหลาย :-
เมื่อใดการหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริง ว่าอริยสัจ ๔  มี ๓ รอบ  มีอาการ ๑๒
[ ได้แก่  ๑. หยั่งรู้อริยสัจ แต่ละอย่าง-ตามความเป็นจริง   ๒. หยั่งรู้กิจแห่งอริยสัจ   ๓. หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้ว-ในอริยสัจ ]
ยังไม่หมดจดเพียงใด,
... เนว ตาวาหํ ภิกฺขเว สเทวเก โลเก สมารเก สพฺรหฺมเก สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย
สเทวมนุสฺสาย อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธติ ปจฺจญฺญาสึ. ฯ

ภิกษุทั้งหลาย :-
เราไม่ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ไม่มีใครจะเทียบได้ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา มาร พรหม
แม้มวลมนุษย์ ทั้งที่เป็นสมณะเป็นพราหมณ์ ก็เทียบเท่ามิได้เพียงนั้น ฯ.

ยโต จ โข เม ภิกฺขเว อิเมสุ จตูสุ อริยสจฺเจสุ เอวนฺติปริวฏฺฏํ
ทฺวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ สุวิสุทฺธํ อโหสิ...

ภิกษุทั้งหลาย :-
เมื่อใดการหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริงดังกล่าวมาหมดจดดีแล้ว
เมื่อนั้นเราได้ยืนยันตนเป็นผู้ตรัสรู้ชอบดังกล่าวแล้ว เช่นนั้น ,

... ญาณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ อุทปาทิ อกุปฺปา เม วิมุตฺติ อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ ฯ.
การหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริงได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า ...
ความหลุดพ้นของเราไม่มีการกลับกำเริบอีกแล้ว

ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้ว ไม่ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดอีก ฯ.

ตถาคตโพธิสัทธา

คือ : เชื่อมั่นในองค์พระตถาคตว่าทรงเป็น  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยปราศจากความสงสัยใดๆทั้งสิ้น
ปักใจเชื่อว่า พระพุทธองค์ทรงพระคุณ สมบูรณ์พร้อม ทั้ง ๙ ประการ
๚:๛

พระพุทธคุณอันทรงสมบูรณ์พร้อม ทั้ง ๙ ประการ ได้แก่ :-
พระคุณประการที่ ๑.  อะระหัง   ทรงเป็นพระอรหันต์
พระคุณประการที่ ๒.  สัมมาสัมพุทโธ  ตรัสรู้ด้วยพรองค์เองโดยถูกต้อง ทรงรู้ ทรงเห็นสัจธรรมทั้งปวง มี อริยสัจสี่ เป็นสำคัญ
พระคุณประการที่ 3.  วิชชาจะระณะสัมปันโน  ทรงถึงพร้อมด้วย วิชชา  และ จรณะ
           วิชชา ที่หมายถึง ความรู้แจ้งที่กำจัดมืดเสียได้ มืดคืออะไร ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕
           ( ขันธ์ ๕ : รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) จรณะ หมายถึง ธรรมควรประพฤติ ๑๕ ประการ.
พระคุณประการที่ ๔.  สุคโต   ทรงดำเนินไปดีแล้ว นัยที่สำคัญที่สุดของสุคโตคือ ทรงดำเนินทางจิตไปได้อย่างถูกต้อง
ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา  ซึ่งเป็นวิถีทางเดียวที่จะไปสู่แดนเกษม คือ นิพพาน.

พระคุณประการที่ ๕.  โลกวิทู   ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็น คติธรรมดาแห่งโลก  ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ประการ คือ :-
           ๑.) สังขารโลก ได้แก่ โลกที่มีอาหารเป็นปัจจัยปรุงแต่งปรนเปรอถึง ๔ ประเภทด้วยกัน
ได้แก่ อาหารที่เรารับประทานทุกวัน
อาหารที่ทำให้เกิดเวทนาหรือความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ต่างๆ
อาหารที่ทำให้เกิดความคิด ซึ่งนำสู่การก่อกรรมต่างๆ
และอาหารที่ก่อให้เกิดความรู้แจ้งแทงตลอดทางอารมณ์หรือที่เรียกว่า วิญญาณ อันเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงให้เกิดรูปนาม.
           ๒.) สัตวโลก ได้แก่ หมู่สัตว์ทั้งหลายในโลก
           ๓.) โอกาสโลก ได้แก่สภาพต่างๆ ทางภูมิประเทศ และวิทยาศาสตร์
ที่ประกอบกันขึ้นเป็นที่อยู่ของมนุษย์ โลกสวรรค์ ทั้งโลกมนุษย์ตลอดทั่วทุกจักรวาล
พระคุณประการที่ ๖.  อนุตตะโร ปุริสัทธัมมสารถิ ....ทรงมีพระปรีชาญาณในการที่จะฝึกและสอนคน ให้เป็นคนดี โดยไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน
พระคุณประการที่ ๗.  สัตถา เทวะมนุษย์สานัง .....ทรงเป็นบรมครูแห่งมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
พระพุทธคุณข้อนี้ เกิดจากการที่พระองค์ทรงเป็น โลกวิทู  นั่นเอง
จึงทรงสามารถฝึกได้ทั้งมนุษย์และเทวดาทั้ง ๖ ชั้นฟ้า รวมถึงรูปพรหมอีกด้วย.

พระคุณประการที่ ๘.  พุทโธ   ทรงมีพระทัย เบิกบาน เพราะทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
ซึ่งทำให้สามารถโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์ตามพระองค์ไปด้วย

พระคุณประการที่ ๙.  ภควา   คือ ทรงหักสังสารจักรเสียได้
คำว่าจักรในบริบทนี้ หมายถึง อวิชชา ตัณหา อุปาทาน และกรรม ซึ่งเสมือนตัวจักร ที่พัดผันส่งต่อไปยังกันและกัน
ทำให้เกิดกำลังผลักดันหมุนเวียนวน อยู่ในวัฏฏสงสารอย่างไม่มีวันจบสิ้น
ไม่มีวันที่สัตวโลกทั้งมวลจะหลุดพ้น ออกไปจาก ภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ


           แต่สำหรับองค์พระตถาคต  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น   พระองค์ทรงหักสังสารจักรได้สำเร็จ
ทรงหลุดพ้นจากภพทั้ง ๓ เสด็จสู่พระนิพพานได้สำเร็จ เรียบร้อยแล้ว
๚:๛

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่