‘ยิ่งลักษณ์’ จะแกล้งโง่ กระทำสิ่งที่ ‘มิบังควร’ เพื่ออะไร? เส้นใต้บรรทัด จิตกร บุษบา แนวหน้าออนไลน์

กระทู้สนทนา
บริวารของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เคยออกมายืนยันว่า คำ “ยิ้ม
ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกล่าวบนเวทีผ่าความจริง ที่โรงเรียนวัดดอกไม้ ย่าน
พระราม 3 นั้น หมายถึง “ยิ่งลักษณ์” ผมไม่รู้เธอโง่จริงๆหรือไม่ แต่การตอบคำถาม
หลายๆ ครั้ง ชวนรู้สึกว่าเธอไม่ได้ตอบมันด้วย “สมอง”

อย่างกรณีล่าสุด ที่มีความพยายามสื่อสารถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน
นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบ
จากรัฐสภา ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง
ลงพระปรมาภิไธย เนื่องจากกฎหมายดังกล่าว ยังมีความขัดแย้งที่ไม่มีบทสรุปทาง
กฎหมาย  มีคนนำเรื่องนี้ไปร้องศาล ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย นายกฯมีเวลาตามกฎหมาย
ตั้ง 20 วัน ดังนั้น ควรรอให้ถึงที่สุดก่อน ค่อยนำขึ้นทูลเกล้าฯ

แต่---การทำงานของ “สมองน้อยๆ” ก็ปรากฏผลเช่นนี้ครับ!

1) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวหลังประชุมคณะรัฐมนตรี
(ครม.)ถึงการยื่นทูลเกล้าฯร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ สว.ว่า ในเบื้องต้น
ฝ่ายเลขาธิการครม.ได้รับเรื่องจากรัฐสภาแล้ว และร่วมตรวจสอบกับสำนักงานคณะ
กรรมการกฤษฎีกา ซึ่งขั้นตอนทุกอย่างถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ
และได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการยื่นทูลเกล้าฯใช่หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า “ใช่ค่ะ
ในส่วนของฝ่ายเลขาฯก็ได้ตรวจสอบทุกอย่าง ก็ถูกต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นก็ทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการนำเสนอ”

เมื่อถามต่อว่า เกรงจะมีปัญหาตามมาหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ในส่วนของรัฐบาลมีหน้าที่
ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เราต้องตรวจสอบในแง่การทำงานให้เป็นไปตามบทบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ

ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า หากผลสุดท้าย ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นผลลบต่อรัฐบาล ฝ่ายค้าน
หรือกลุ่ม 40 สว.เรียกร้องให้นายกฯเป็นผู้รับผิดชอบ จะทำอย่างไร

น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ตัวนายกฯเอง ในฐานะเป็นผู้รับสนองและเป็นผู้นำกราบบังคม
ทูลตามรัฐธรรมนูญ และก็มีกฎหมายหลายฉบับที่ในฐานะนายกฯ ต้องปฏิบัติตาม
ฉะนั้นส่วนนี้เป็นอำนาจการตัดสินใจของรัฐสภา ต้องแยกงานกัน เพราะในส่วนของ
ฝ่ายบริหารและงานรัฐสภา หน้าที่นายกฯก็มีหน้าที่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น  

เมื่อถามย้ำว่าวันนี้จะยื่นทูลเกล้าฯเลยหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า “เรียบร้อยแล้วค่ะ อยู่ใน
ขั้นตอนของฝ่ายเลขาฯ” เมื่อถามว่า ยืนยันที่ผ่านมารัฐบาลทำถูกต้องตามขั้นตอนใช่
หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เราได้ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ และทุก
หน่วยงาน ก็ยืนยันว่าถูกต้องตามขั้นตอนรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ปัจจุบันมีการมองข้อ
กฎหมายแตกต่างกันจะทำให้เกิดปัญหาต่อไปในอนาคตหรือไม่นั้น  เชื่อว่าผู้ที่มีความรู้
ความชำนาญเรื่องข้อกฎหมายคงตอบข้อคิดเห็นนี้ได้ดีกว่าตน

2) น่าสงสัยว่า  ยิ่งลักษณ์ “รู้เรื่องรู้ราว” ของ “ความมิบังควร” ที่ตน “ถูกเชิด” ให้ทำ
และพูดเช่นนี้อยู่หรือไม่?

3) ตั้งแต่ต้น ยิ่งลักษณ์ถูกผลักให้ไกลพ้นจากการแก้รัฐธรรมนูญ โดยให้เธอสร้างภารกิจ
อื่นๆ ขึ้นกลบเกลื่อนในนาม “ภารกิจของนายกฯ” จนลืมไปว่า หน้าที่การเป็น สส. ของ
ยิ่งลักษณ์ ที่จะร่วมกับสมาชิกในรัฐสภา พิจารณาการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้เกิด
ประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาตินั้น เป็นหน้าที่โดยตรงและสำคัญหน้าที่หนึ่ง ซึ่ง
หากคนที่มี “สามัญสำนึก” ในหน้าที่ของตนก็ “จัดลำดับความสำคัญ” และเลือกปฏิบัติ
ภารกิจภายใต้ “หมวกหลายใบ” ที่ตนเองสวมอยู่ จากความสำคัญของเรื่องนั้นๆ โดยชั่ง
น้ำหนักความสำคัญจาก “หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย” และ “ประโยชน์ที่คนอื่นๆ จะได้รับ
จากการทำหน้าที่นั้น” ดังนั้น ยิ่งลักษณ์แทบไม่ได้มีส่วนร่วมในการรับรู้และพิจารณา
กฎหมายเลย แต่กฎหมายกำหนดให้เธอในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯต้องเป็นผู้นำ
กฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย

4) แต่ในขั้นตอนการประชุมพิจารณา มีข้อร้องเรียนต่อศาลและหน่วยงานอื่นๆ ถึงการทำ
หน้าที่ที่ไม่เที่ยงตรง เที่ยงธรรม ขาดจริยธรรมของประธานในที่ประชุม ซึ่งมีผลให้เกิดการ
รวบรัดตัดความ ลงมติ โดยที่ผู้อภิปรายหลายรายถูกตัดสิทธิการอภิปรายหรือแปรญัตติโดย
ไม่เป็นธรรม ซ้ำมีการทุจริตการลงมติ ด้วยการนำบัตรแสดงตนสส.รายอื่น มากดลงมติแทน
กัน อันมีผลให้มติที่เกิดเป็นมติที่เกิดบนกระบวนการทุจริต แล้วมีผู้นำเรื่องไปร้องหน่วยงาน
เกี่ยวข้องและศาลให้ตรวจสอบ ยิ่งลักษณ์ซึ่งมีอำนาจเต็มในการนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯต่อ
องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีอำนาจยับยั้งการนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อรอให้ศาลตัดสิน
ชี้ขาดเสียก่อน ปัญหาคือยิ่งลักษณ์เข้าใจเรื่องนี้หรือไม่

5) ยิ่งลักษณ์พูดเสมือน ตนเองเป็นแค่“พนักงานไปรษณีย์” เมื่อสภาพิจารณาผ่านกฎหมายมา
เธอทำอะไรไม่ได้ นอกจากนำขึ้นทูลเกล้าฯและรอรับสนองพระบรมราชโองการ ก่อนนำ
ไปประกาศใช้

6) นางสาวรสนา โตสิตระกูล สว.กทม.เขียนไว้ในเฟซบุ๊คว่า อดีตตุลาการศาลฎีกาท่านหนึ่ง
เขียนมาบอกดิฉัน ดังนี้.... “การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้น
ทูลเกล้าฯภายใน 20 วัน เป็นเพียงระยะเวลาเร่งรัดมิให้ฝ่ายบริหารเตะถ่วงร่างแก้ไข
รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อายุความ และหมายถึงกรณีไม่มีเหตุคัดค้านหรือเหตุพิเศษอื่น ถ้ามีเหตุ
ดังกล่าวระยะเวลาเร่งรัดนั้นย่อมขยายได้ ไม่เหมือนอายุความที่ขยายไม่ได้  เรื่องทำนองนี้
รัฐบาลชุดนี้ก็เคยทำมาแล้ว เป็นต้นว่าเรื่องแถลงนโยบาย เรื่อง พ.ร.บ.งบประมาณ เป็นต้น

หากนายกฯดึงดันที่จะนำขึ้นทูลเกล้า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากระบวนการพิจารณาของ
สภาไม่โปร่งใส เป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบ รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ
ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกๆคนต้องรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรีผู้นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ
จะหลีกเลี่ยงความรับผิดมิได้”
  
7) อ.แก้วสรร อติโพธิ ก็ตอบคำถามที่น่าสนใจในเรื่องนี้ไว้หลายประเด็น เช่น

ถาม : รัฐธรรมนูญยอมให้นำร่างกฎหมายที่ค้างคาเป็นคดีอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ  
ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายหรือไม่?

ตอบ : ชัดเจนว่าไม่ยอมให้เกิดขึ้นเลย อย่างกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติผ่านสภาแล้ว
ถ้ามี สส. หรือ สว. ร้องให้ศาลตรวจสอบ ร่าง พ.ร.บ.นั้น จะต้องหยุดอยู่กับที่ ประธานสภา
ส่งร่างกฎหมายนั้นให้ นายกฯ ไม่ได้ ในกรณี ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญนั้นก็เช่นกัน
กฎหมายกำหนดต้องส่งให้ศาลตรวจสอบก่อน เมื่อศาลเห็นว่าถูกต้องแล้ว นายกฯจึงจะ
นำขึ้นทูลเกล้าฯได้

ถาม : ทำไมถึงต้องทำอย่างนี้

ตอบ : โดยทฤษฎีนั้น อธิบายว่าในหลวงทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้อกำหนดใด กลาย
เป็นกฎหมายได้ ก็โดยคำแนะนำของสภา และเมื่อโปรดเกล้าฯ แล้ว  นายกฯก็รับสนอง
พระบรมราชโองการไปจัดการให้เป็นกฎหมายต่อไป ในชั้นที่ร่างกฎหมาย มาถึงในหลวงนี้
มันต้องหมดปัญหาทุกอย่างแล้ว ถ้าคดีค้างศาลก็ต้องให้ศาลตัดสินก่อน จะให้ร่างกฎหมาย
ใดมีอำนาจศาลกับพระราชอำนาจซ้อนกันไม่ได้ เมื่อทูลเกล้าฯถวายในหลวง ทุกสิ่งทุก
อย่างต้องอยู่ที่พระราชอำนาจเท่านั้น ถ้าทรงเห็นควรให้ทบทวนกันให้ดีๆ อีกครั้ง ก็จะ
พระราชทานคืนมาหรือไม่พระราชทานคืนมาภายใน 90 วัน ตรงนี้รัฐสภาต้องประชุมปรึกษา
กันอีกที ถ้ามีเสียงยืนยันถึงสองในสาม ร่างกฎหมายนั้นจึงจะมีผลใช้บังคับได้ นี่คือขั้นตอน
สุดท้ายของกำเนิดกฎหมายที่รอพระราชอำนาจเท่านั้น จะมีอำนาจศาลซ้อนอยู่ด้วยไม่ได้


ยังมีต่อ    ยิ้ม

สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่