ขออนุญาต กล่าวตามตรงว่า เมื่อได้เห็นข้อความของคนพวกนี้แล้ว
ก็ได้แต่นึกแปลกใจว่า นี่ใช่ "ความเห็น" ของคนที่อ้างตัวว่าเป็น ชาวพุทธ จริงๆ ละหรือ ?
ทั้งนี้ ก็เพราะ โดยหลักการปฏิบัติ(ธรรม) คือ ศีลสิกขา สมาธิสิกขา และ ปัญญาสิกขา นั้น
กลับพบว่า ความเชื่อเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด และ การระลึกชาติ ฯลฯ ไม่มีนัยสำคัญ แต่อย่างใด
หมายความว่า ในกระบวนการศึกษาและปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ในพระพุทธศาสนานี้
ไม่จำเป็นต้องมี ความเชื่อเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด และ การระลึกชาติ ฯลฯ เข้ามาเกี่ยวข้องเลย แม้แต่น้อย !
พูดปากเปล่า อาจยังไม่เห็นภาพได้อย่างชัดเจนนัก จึงขออนุญาต อธิบายความเพิ่มเติมอีก ดังต่อไปนี้
**********************************************************************************
๑) ความเชื่อเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด
หากถามว่า ความเชื่อเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด มีความสำคัญต่อกระบวนการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ หรือมีส่วนเกื้อหนุน
ต่อ สัมมาทิฐิ หรือเป็น ดัชนีชี้วัด เพื่อแยกแยะ มิจฉาทิฐิ ออกจาก สัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา ได้บ้างหรือไม่ ?
ขออนุญาต กล่าวตามตรงว่า ไม่ !
ประการแรก ท่านปยุตโต อธิบายเอาไว้อย่างชัดเจนว่า สำหรับผู้ที่ยังไม่มีความเชื่อใดๆ เลย(ไม่ว่าจะถูกหรือผิด)
พระพุทธเจ้าจะตรัสสอนธรรม อย่างเป็นกลางๆ ว่า เขาเหล่านั้น สามารถประพฤติธรรมได้ โดยอาศัยเหตุผล
ที่พึงพิจารณาเห็นแจ้งด้วย "ปัญญา" ของตน โดยไม่จำเป็นต้องไป "เมาหมก" อยู่กับ นรกสวรรค์(ไม่ว่ามันจะมีอยู่จริงหรือไม่ก็ตาม)
และไม่จำเป็นต้อง อ้างอิง หรือ ยึดติดถือมั่นอยู่กับ ความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด หรือ โลกนี้ โลกหน้า เลย
กล่าวโดยสรุป ก็คือ สำหรับคนที่ไม่มีความเชื่อใดๆ เลยในส่วนที่เกี่ยวกับ นรกสวรรค์ โลกนี้โลกหน้า หรือ การเวียนว่ายตายเกิด
พระพุทธเจ้า ก็มิได้ทรง "โน้มน้าว" หรือ "ตรัสสั่ง" ให้เขาต้องมาเชื่อในเรื่องเหล่านี้ก่อน จึงจะสามารถประพฤติธรรมได้
ในทางตรงข้าม พระพุทธเจ้ากลับตรัสสอนว่า เขาทั้งหลายสามารถปฏิบัติธรรมได้โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องใดๆ กับความเชื่อพวกนี้
ทั้งนี้ ขอให้ ท่านทั้งหลาย พึงสังเกตด้วยว่า กับผู้คนที่มีความเชื่อเหล่านี้อยู่
ซึ่งไม่ว่านั่นจะเป็นความเชื่อที่ถูกต้องตรงสภาวะตามที่มันเป็นจริงหรือไม่ ก็ตาม
ก็จะไม่ทรง "คัดค้าน" หรือ "โน้มน้าว" ว่า "ไม่ต้องเชื่อ" เรื่องเหล่านั้น เช่นกัน !
ความหมาย ก็คือ ความเชื่อในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด ไม่ว่าจะมีอยู่จริง หรือไม่มีอยู่
ย่อมมิได้มีนัยสำคัญ ในแง่ บวก หรือ ลบ ต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อความดับทุกข์เลย
ใครอยากจะเชื่อ ก็เชื่อไป เพราะถึงอย่างไร มันก็เป็นเพียงแค่ "ความเชื่อ"
ทั้งนี้ ถ้าหากเชื่อแล้ว มันจะทำให้เกิด "อายชั่วกลัวบาป" ขึ้นมา นั่นก็นับว่าเป็นผลดีของความเชื่อแบบนั้น
แต่กล่าวสำหรับ ผู้มีปัญญาในการพิจารณา ตามความเป็นจริง เขาย่อมสามารถ ทำบุญทำทาน
ถือศีลปฏิบัติธรรม ได้โดยเพียงแค่พิจารณา ถึงประโยชน์ในปัจจุบัน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัย "ความเชื่อ" ก็ได้
ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า อย่าอาศัยเพียงแค่ "ความเชื่อ" โง่ๆ ของตน ที่ยังมิได้ผ่านการพิสูจน์ ด้วยการ รู้แจ้ง เห็นจริง จนประจักษ์แก่ใจตนเอง
มาเที่ยวตัดสิน ชี้ถูกชี้ผิด ต่อผู้อื่น ซึ่งอาจทรงภูมิปัญญา ในการพิจารณา ธรรมทั้งหลายในปัจจุบัน โดยไม่ต้องอาศัย หรือ อ้างอิง "ความเชื่อ"
มันคงน่าสมเพช ที่ผู้ซึ่งยังจำเป็นต้องอาศัย "ความเชื่อ"
กลับยกตนขึ้นมา สั่งสอน ผู้ที่สามารถพิจารณา "ความจริง" ได้ด้วยปัญญาแห่งตน !
หรือมิใช่ ?
ส่วนประเด็นที่ว่า ความเชื่อในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด สามารถนำมาใช้ในการ แยกแยะ มิจฉาทิฐิ กับ สัมมาทิฐิ ออกจากกันได้หรือไม่ ?
ขอตอบว่า ไม่มีทาง !
เพราะปรากฏหลักฐานอยู่มากมายว่า ผู้ที่มีความเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด ล้วนแล้วแต่เป็นพวก มิจฉาทิฐิ ทั้งสิ้น
จนแม้แต่พวกที่ได้ชื่อว่าเป็นฝ่าย อุจเฉททิฐิ ก็ยังมีความเชื่อในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด ดังเช่น มักขลิโคสาลและสาวก เป็นต้น
ประเด็นนี้ พิจารณาไม่ยากครับ ขอเพียงแค่ ท่านทั้งหลาย ไม่ เลอะหลง หรือ คิดเข้าข้างตนเองมากนัก ก็จะพบ ข้อเท็จจริง ได้ไม่ยากว่า
โดยธรรมชาติของ สัตว์โลก ถือได้ว่าเป็นพวก สัสสตทิฐิ โดยสัญชาตญาณ กล่าวคือ พอเกิดมา ก็มีความยึดติดถือมั่น เป็นตัวเป็นตน
เป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา กันแล้ว อุจเฉททิฐิ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ กล่าวคือ เป็นทิฐิที่ปฏิเสธ อัตตา ที่เคยยึดถือมาแต่เดิม
ดังนั้น ท่านทั้งหลาย จะเห็นได้ว่า ความรู้สึกเป็นตัวเป็นตน เป็น สัตว์ บุคคล เหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่แรก
คำถาม ก็คือ ท่านทั้งหลายคิดว่า ความเชื่อเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด ของท่าน มันมีขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใดกันเล่า
ท่านพึ่งจะมีความเชื่อแบบนี้ เมื่อครั้งที่เป็นสัมมาทิฐิแล้ว กระนั้นหรือ ?
หรือว่าในอันที่จริง ท่านก็เชื่อเรื่องแบบนี้ มาตั้งแต่ยังเป็น "เด็กอมมือ" จวบจนโตป่านนี้ ก็ยังเชื่ออย่างนั้นอยู่
แล้วมา มั่วนิ่ม เอาเองทีหลังว่า ความเชื่ออย่างนี้นี่แหละ ที่เป็นความเห็นถูก ถ้าใครไม่เชื่อ ต้องเป็นมิจฉาทิฐิ
เพราะถ้า ตรรกะ นี้เป็นจริง มันก็ต้องแปลว่า บุคคลผู้นั้น เป็น สัมมาทิฐิ เสียตั้งแต่เมื่อยังเป็น เด็กอมมือ แล้วกระมัง !
อีกทั้ง หลักฐานที่ "คัดค้าน" ความข้อนี้อยู่ ก็คือ ..............
แม้แต่คนที่เชื่อถือในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด มาแต่แรก ก็อาจยังคงเป็น สัสสตทิฐิ อยู่ดังเดิม
หรืออาจกลายเป็นพวก อุจเฉททิฐิ ไปเสีย ทั้งๆ ที่ยังคงเชื่อในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด ก็เป็นไปได้
เมื่อ "ข้อเท็จจริง" เป็นดังนี้แล้ว จะสามารถใช้ ความเชื่อในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด
มาเป็นเกณฑ์ ในการแยกแยะ มิจฉาทิฐิ ออกมาจาก สัมมาทิฐิ ได้อย่างไร ?
จริงไหมครับ ?
**********************************************************************************
**********************************************************************************
๒) การระลึกชาติ จำเป็นต่อการปฏิบัติธรรม เพื่อความดับทุกข์ หรือไม่ ?
ท่านปยุตโต อธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้ เอาไว้ว่า มีคนบางกลุ่ม มีความเข้าใจแบบผิดๆ ว่า
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ มีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติธรรมเพื่อความดับทุกข์
แต่ในความเป็นจริงกลับปรากฏว่า มิได้เป็นอย่างนั้นเลย เนื่องจาก ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนว่า
สามารถปฏิบัติธรรมโดยไม่เกี่ยวข้องกับ ญาณ ทั้ง ๒ นั้น
และที่จริง ควรกล่าวให้ชัดเจน ด้วยซ้ำไปว่า ผู้บรรลุธรรมส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้มีญาณทั้ง ๒ นั้นด้วยซ้ำ
ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณาแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังนี้ว่า เมื่อบรรลุฌาน ๔ พระพุทธเจ้าจะตรัสสอนให้
น้อมจิตไปเพื่อ "วิปัสสนาญาณ" มิได้ทรงสอนให้ใช้ ฌานเป็นบาทฐานในการน้อมใจไปเพื่ออภิญญาโดยตรง
อีกประเด็นหนึ่งที่พึงเข้าใจ ก็คือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ มิใช่สิ่งที่ นึกอยากได้ อยากมี ก็มีได้ เสียเมื่อไร
มันมีเหตุปัจจัยอื่นๆ อีกตั้งมากมาย มิใช่เพียงแค่ว่า บรรลุ ฌาน ๔ แล้วจะต้องได้ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ เสมอไป
แนวคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือ หากญาณนั้นไม่เกิดขึ้น ก็ปล่อยผ่านไป แต่หากว่ามันเกิดขึ้น ก็ให้พิจาณาญาณนั้นด้วย "วิปัสสนา"
และนี่ ก็คือ ความแตกต่างระหว่าง อภิญญา ในพระพุทธศาสนา กับ อภิญญา ของอัญเดียรถีย์ กล่าวคือ .............
การระลึกชาติ ที่เป็น สัมมาทิฐิ ในพระพุทธศาสนา เป็นการตามระลึก ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาญาณ
การระลึกชาติ ที่เป็น มิจฉาทิฐิ ของพวกอัญเดียรถีย์ เป็นการตามระลึก ด้วยอำนาจ ฌานสมาบัติ
(สามารถพิจารณาเพิ่มเติมได้จาก กระทู้ พระพุทธเจ้า ตรัสเรื่อง การระลึกชาติ ของ เจ้าชายสิทธัตถะ
http://ppantip.com/topic/31046045)
กล่าวโดยสรุป ก็คือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ มิได้มีนัยสำคัญอะไร ต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อความดับทุกข์ในพระพุทธศาสนา
ผู้ที่ "เชื่อ" ในเรื่องปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ ทั้งๆ ที่ตนเอง ก็มิได้รู้แจ้งเห็นจริงแก่ใจตนเอง ก็มิได้เป็นมีหลักประกันใดๆ ว่า
จะเป็นผู้มีความเห็นถูก เป็นสัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา เพราะหลักการศึกษา และ ปฏิบัติ ในพระพุทธศาสนา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
สามารถดำเนินไปได้จนสุดทาง คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ
ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดี ในหมู่ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาว่า อริยบุคคล โดยส่วนใหญ่ ก็มิได้มี ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ แต่อย่างใด
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ชาวพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ่ายเถรวาท จะมามัว "เมาหมก"
อยู่กับเรื่องที่มิได้เป็น "แก่นสาร" ของพระศาสนา ให้เสียเวลาไปเปล่า ทำไม ?
ดังนั้น คำถามสำคัญ ที่มีต่อชาวพุทธเถรวาททั้งหลาย ก็คือ
ไม่เชื่อเรื่อง ภพชาติ แล้วอย่างไร ?
ปฏิเสธ การระลึกชาติ แล้วแปลกตรงไหน ?
ในฐานะที่ผมเป็นชาวพุทธเถรวาท(เดิมแท้) ผมยังไม่เห็นว่า มันจะมีนัยสำคัญต่อการดับทุกข์ ตรงไหนเลย
หรือไม่จริง ?
ไม่เชื่อเรื่อง ภพชาติ แล้วอย่างไร ? ปฏิเสธ การระลึกชาติ แล้วแปลกตรงไหน ?
ก็ได้แต่นึกแปลกใจว่า นี่ใช่ "ความเห็น" ของคนที่อ้างตัวว่าเป็น ชาวพุทธ จริงๆ ละหรือ ?
ทั้งนี้ ก็เพราะ โดยหลักการปฏิบัติ(ธรรม) คือ ศีลสิกขา สมาธิสิกขา และ ปัญญาสิกขา นั้น
กลับพบว่า ความเชื่อเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด และ การระลึกชาติ ฯลฯ ไม่มีนัยสำคัญ แต่อย่างใด
หมายความว่า ในกระบวนการศึกษาและปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ในพระพุทธศาสนานี้
ไม่จำเป็นต้องมี ความเชื่อเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด และ การระลึกชาติ ฯลฯ เข้ามาเกี่ยวข้องเลย แม้แต่น้อย !
พูดปากเปล่า อาจยังไม่เห็นภาพได้อย่างชัดเจนนัก จึงขออนุญาต อธิบายความเพิ่มเติมอีก ดังต่อไปนี้
**********************************************************************************
๑) ความเชื่อเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด
หากถามว่า ความเชื่อเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด มีความสำคัญต่อกระบวนการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ หรือมีส่วนเกื้อหนุน
ต่อ สัมมาทิฐิ หรือเป็น ดัชนีชี้วัด เพื่อแยกแยะ มิจฉาทิฐิ ออกจาก สัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา ได้บ้างหรือไม่ ?
ขออนุญาต กล่าวตามตรงว่า ไม่ !
ประการแรก ท่านปยุตโต อธิบายเอาไว้อย่างชัดเจนว่า สำหรับผู้ที่ยังไม่มีความเชื่อใดๆ เลย(ไม่ว่าจะถูกหรือผิด)
พระพุทธเจ้าจะตรัสสอนธรรม อย่างเป็นกลางๆ ว่า เขาเหล่านั้น สามารถประพฤติธรรมได้ โดยอาศัยเหตุผล
ที่พึงพิจารณาเห็นแจ้งด้วย "ปัญญา" ของตน โดยไม่จำเป็นต้องไป "เมาหมก" อยู่กับ นรกสวรรค์(ไม่ว่ามันจะมีอยู่จริงหรือไม่ก็ตาม)
และไม่จำเป็นต้อง อ้างอิง หรือ ยึดติดถือมั่นอยู่กับ ความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด หรือ โลกนี้ โลกหน้า เลย
กล่าวโดยสรุป ก็คือ สำหรับคนที่ไม่มีความเชื่อใดๆ เลยในส่วนที่เกี่ยวกับ นรกสวรรค์ โลกนี้โลกหน้า หรือ การเวียนว่ายตายเกิด
พระพุทธเจ้า ก็มิได้ทรง "โน้มน้าว" หรือ "ตรัสสั่ง" ให้เขาต้องมาเชื่อในเรื่องเหล่านี้ก่อน จึงจะสามารถประพฤติธรรมได้
ในทางตรงข้าม พระพุทธเจ้ากลับตรัสสอนว่า เขาทั้งหลายสามารถปฏิบัติธรรมได้โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องใดๆ กับความเชื่อพวกนี้
ทั้งนี้ ขอให้ ท่านทั้งหลาย พึงสังเกตด้วยว่า กับผู้คนที่มีความเชื่อเหล่านี้อยู่
ซึ่งไม่ว่านั่นจะเป็นความเชื่อที่ถูกต้องตรงสภาวะตามที่มันเป็นจริงหรือไม่ ก็ตาม
ก็จะไม่ทรง "คัดค้าน" หรือ "โน้มน้าว" ว่า "ไม่ต้องเชื่อ" เรื่องเหล่านั้น เช่นกัน !
ความหมาย ก็คือ ความเชื่อในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด ไม่ว่าจะมีอยู่จริง หรือไม่มีอยู่
ย่อมมิได้มีนัยสำคัญ ในแง่ บวก หรือ ลบ ต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อความดับทุกข์เลย
ใครอยากจะเชื่อ ก็เชื่อไป เพราะถึงอย่างไร มันก็เป็นเพียงแค่ "ความเชื่อ"
ทั้งนี้ ถ้าหากเชื่อแล้ว มันจะทำให้เกิด "อายชั่วกลัวบาป" ขึ้นมา นั่นก็นับว่าเป็นผลดีของความเชื่อแบบนั้น
แต่กล่าวสำหรับ ผู้มีปัญญาในการพิจารณา ตามความเป็นจริง เขาย่อมสามารถ ทำบุญทำทาน
ถือศีลปฏิบัติธรรม ได้โดยเพียงแค่พิจารณา ถึงประโยชน์ในปัจจุบัน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัย "ความเชื่อ" ก็ได้
ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า อย่าอาศัยเพียงแค่ "ความเชื่อ" โง่ๆ ของตน ที่ยังมิได้ผ่านการพิสูจน์ ด้วยการ รู้แจ้ง เห็นจริง จนประจักษ์แก่ใจตนเอง
มาเที่ยวตัดสิน ชี้ถูกชี้ผิด ต่อผู้อื่น ซึ่งอาจทรงภูมิปัญญา ในการพิจารณา ธรรมทั้งหลายในปัจจุบัน โดยไม่ต้องอาศัย หรือ อ้างอิง "ความเชื่อ"
มันคงน่าสมเพช ที่ผู้ซึ่งยังจำเป็นต้องอาศัย "ความเชื่อ"
กลับยกตนขึ้นมา สั่งสอน ผู้ที่สามารถพิจารณา "ความจริง" ได้ด้วยปัญญาแห่งตน !
หรือมิใช่ ?
ส่วนประเด็นที่ว่า ความเชื่อในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด สามารถนำมาใช้ในการ แยกแยะ มิจฉาทิฐิ กับ สัมมาทิฐิ ออกจากกันได้หรือไม่ ?
ขอตอบว่า ไม่มีทาง !
เพราะปรากฏหลักฐานอยู่มากมายว่า ผู้ที่มีความเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด ล้วนแล้วแต่เป็นพวก มิจฉาทิฐิ ทั้งสิ้น
จนแม้แต่พวกที่ได้ชื่อว่าเป็นฝ่าย อุจเฉททิฐิ ก็ยังมีความเชื่อในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด ดังเช่น มักขลิโคสาลและสาวก เป็นต้น
ประเด็นนี้ พิจารณาไม่ยากครับ ขอเพียงแค่ ท่านทั้งหลาย ไม่ เลอะหลง หรือ คิดเข้าข้างตนเองมากนัก ก็จะพบ ข้อเท็จจริง ได้ไม่ยากว่า
โดยธรรมชาติของ สัตว์โลก ถือได้ว่าเป็นพวก สัสสตทิฐิ โดยสัญชาตญาณ กล่าวคือ พอเกิดมา ก็มีความยึดติดถือมั่น เป็นตัวเป็นตน
เป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา กันแล้ว อุจเฉททิฐิ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ กล่าวคือ เป็นทิฐิที่ปฏิเสธ อัตตา ที่เคยยึดถือมาแต่เดิม
ดังนั้น ท่านทั้งหลาย จะเห็นได้ว่า ความรู้สึกเป็นตัวเป็นตน เป็น สัตว์ บุคคล เหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่แรก
คำถาม ก็คือ ท่านทั้งหลายคิดว่า ความเชื่อเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด ของท่าน มันมีขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใดกันเล่า
ท่านพึ่งจะมีความเชื่อแบบนี้ เมื่อครั้งที่เป็นสัมมาทิฐิแล้ว กระนั้นหรือ ?
หรือว่าในอันที่จริง ท่านก็เชื่อเรื่องแบบนี้ มาตั้งแต่ยังเป็น "เด็กอมมือ" จวบจนโตป่านนี้ ก็ยังเชื่ออย่างนั้นอยู่
แล้วมา มั่วนิ่ม เอาเองทีหลังว่า ความเชื่ออย่างนี้นี่แหละ ที่เป็นความเห็นถูก ถ้าใครไม่เชื่อ ต้องเป็นมิจฉาทิฐิ
เพราะถ้า ตรรกะ นี้เป็นจริง มันก็ต้องแปลว่า บุคคลผู้นั้น เป็น สัมมาทิฐิ เสียตั้งแต่เมื่อยังเป็น เด็กอมมือ แล้วกระมัง !
อีกทั้ง หลักฐานที่ "คัดค้าน" ความข้อนี้อยู่ ก็คือ ..............
แม้แต่คนที่เชื่อถือในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด มาแต่แรก ก็อาจยังคงเป็น สัสสตทิฐิ อยู่ดังเดิม
หรืออาจกลายเป็นพวก อุจเฉททิฐิ ไปเสีย ทั้งๆ ที่ยังคงเชื่อในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด ก็เป็นไปได้
เมื่อ "ข้อเท็จจริง" เป็นดังนี้แล้ว จะสามารถใช้ ความเชื่อในเรื่อง เวียนว่ายตายเกิด
มาเป็นเกณฑ์ ในการแยกแยะ มิจฉาทิฐิ ออกมาจาก สัมมาทิฐิ ได้อย่างไร ?
จริงไหมครับ ?
**********************************************************************************
**********************************************************************************
๒) การระลึกชาติ จำเป็นต่อการปฏิบัติธรรม เพื่อความดับทุกข์ หรือไม่ ?
ท่านปยุตโต อธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้ เอาไว้ว่า มีคนบางกลุ่ม มีความเข้าใจแบบผิดๆ ว่า
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ มีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติธรรมเพื่อความดับทุกข์
แต่ในความเป็นจริงกลับปรากฏว่า มิได้เป็นอย่างนั้นเลย เนื่องจาก ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนว่า
สามารถปฏิบัติธรรมโดยไม่เกี่ยวข้องกับ ญาณ ทั้ง ๒ นั้น
และที่จริง ควรกล่าวให้ชัดเจน ด้วยซ้ำไปว่า ผู้บรรลุธรรมส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้มีญาณทั้ง ๒ นั้นด้วยซ้ำ
ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณาแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังนี้ว่า เมื่อบรรลุฌาน ๔ พระพุทธเจ้าจะตรัสสอนให้
น้อมจิตไปเพื่อ "วิปัสสนาญาณ" มิได้ทรงสอนให้ใช้ ฌานเป็นบาทฐานในการน้อมใจไปเพื่ออภิญญาโดยตรง
อีกประเด็นหนึ่งที่พึงเข้าใจ ก็คือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ มิใช่สิ่งที่ นึกอยากได้ อยากมี ก็มีได้ เสียเมื่อไร
มันมีเหตุปัจจัยอื่นๆ อีกตั้งมากมาย มิใช่เพียงแค่ว่า บรรลุ ฌาน ๔ แล้วจะต้องได้ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ เสมอไป
แนวคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือ หากญาณนั้นไม่เกิดขึ้น ก็ปล่อยผ่านไป แต่หากว่ามันเกิดขึ้น ก็ให้พิจาณาญาณนั้นด้วย "วิปัสสนา"
และนี่ ก็คือ ความแตกต่างระหว่าง อภิญญา ในพระพุทธศาสนา กับ อภิญญา ของอัญเดียรถีย์ กล่าวคือ .............
การระลึกชาติ ที่เป็น สัมมาทิฐิ ในพระพุทธศาสนา เป็นการตามระลึก ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาญาณ
การระลึกชาติ ที่เป็น มิจฉาทิฐิ ของพวกอัญเดียรถีย์ เป็นการตามระลึก ด้วยอำนาจ ฌานสมาบัติ
(สามารถพิจารณาเพิ่มเติมได้จาก กระทู้ พระพุทธเจ้า ตรัสเรื่อง การระลึกชาติ ของ เจ้าชายสิทธัตถะ http://ppantip.com/topic/31046045)
กล่าวโดยสรุป ก็คือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ มิได้มีนัยสำคัญอะไร ต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อความดับทุกข์ในพระพุทธศาสนา
ผู้ที่ "เชื่อ" ในเรื่องปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ ทั้งๆ ที่ตนเอง ก็มิได้รู้แจ้งเห็นจริงแก่ใจตนเอง ก็มิได้เป็นมีหลักประกันใดๆ ว่า
จะเป็นผู้มีความเห็นถูก เป็นสัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา เพราะหลักการศึกษา และ ปฏิบัติ ในพระพุทธศาสนา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
สามารถดำเนินไปได้จนสุดทาง คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ
ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดี ในหมู่ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาว่า อริยบุคคล โดยส่วนใหญ่ ก็มิได้มี ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ แต่อย่างใด
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ชาวพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ่ายเถรวาท จะมามัว "เมาหมก"
อยู่กับเรื่องที่มิได้เป็น "แก่นสาร" ของพระศาสนา ให้เสียเวลาไปเปล่า ทำไม ?
ดังนั้น คำถามสำคัญ ที่มีต่อชาวพุทธเถรวาททั้งหลาย ก็คือ
ไม่เชื่อเรื่อง ภพชาติ แล้วอย่างไร ?
ปฏิเสธ การระลึกชาติ แล้วแปลกตรงไหน ?
ในฐานะที่ผมเป็นชาวพุทธเถรวาท(เดิมแท้) ผมยังไม่เห็นว่า มันจะมีนัยสำคัญต่อการดับทุกข์ ตรงไหนเลย
หรือไม่จริง ?