แม้วันนี้จะมีโรงเรียนชาวนา สอนอบรมการทำเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นในหลายจังหวัดก็ตาม แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมุ่งมั่นใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง...ดินแหล่งน้ำธรรมชาติจึงเต็มไปด้วยสารตกค้างจำนวนมาก กลายเป็น ปัญหาทั้งต้นทุนการผลิตสูง สุขภาพเสียตามมา
“นับแต่มาสร้างศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย สังเกตเห็นชาวบ้าน ใช้สารเคมีมาก แม้แต่สุนัขในศูนย์ฯออกไปวิ่งเล่น ผ่านดงหญ้าคา ถูกใบหญ้าบาดเข้าผิวหนัง ตอนเช้า มันเซื่องซึมไม่ยอมลุกวิ่ง ไม่กินอาหารเหมือนทุกๆวัน พาไปหาหมอถึงได้รู้สาเหตุ มาจากการโดนสารพิษตกค้างในพงหญ้ากลางสวนลำไยของชาวบ้านที่สุนัขไปวิ่งเล่นนั่นแหละ รักษาได้ไม่นานมันก็ตาย”
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) บอกว่า แม้ในสถานปฏิบัติธรรมจะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่พื้นที่โดยรอบ ชาวบ้านฉีดยาให้ต้นหญ้าเหลืองตาย เมื่อฝนลง น้ำจะชะสารเคมีไหลลงไปในอ่างเก็บน้ำ บางปีมีปลาลอยขึ้นมาตายเป็นแพ ทั้งน้ำทั้งลมมีสารเคมีอยู่ทั่วไปหมด จะย้ายศูนย์หนีก็ไม่ได้ จะไปสั่งห้ามชาวบ้านเดี๋ยวเป็นเรื่อง
จึงปรึกษาผู้ว่าฯ ได้ข้อสรุป “ถ้าประเทศไทยไม่ มีชาวนาเศรษฐกิจของประเทศพังทันที” จึงร่วมกันตั้งมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้ง เปิด ร.ร.ชาวนา พุทธเศรษฐศาสตร์ สอนชาวบ้านทำเกษตรอินทรีย์ โดยให้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ม.เกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร ปราชญ์ชาวบ้าน ที่ประสบความสำเร็จจากการทำเกษตรอินทรีย์มาให้คำแนะนำ
เพราะการแก้ปัญหาต้องเริ่มข้างบ้านก่อน ชาวนาที่มาอบรมจึงมาจากเชียงราย พะเยา ส่วนปีหน้าถึงจะรับชาวนาจากจังหวัดอื่นๆ แต่ที่นี่เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของชาวบ้าน เมื่อมีชาวนาเข้ามาเรียนกันมากก็เกิดปัญหาเรื่องปลดทุกข์หนักทุกข์เบา ห้องน้ำเดิมมีน้อยเพียงพอเฉพาะคนที่เข้ามาปฏิบัติธรรมเท่านั้น บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) จึงอาสาเข้ามาช่วยเหลือสร้างห้องน้ำให้
สำหรับการอบรมมีทั้งหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรชาวนามืออาชีพ เน้นการให้ธรรมชาติคืนสู่ธรรมชาติ สอนทำปุ๋ยหมัก ปรับปรุงดิน ดูแลข้าวตั้งแต่ต้นกล้าไปจนถึงตั้งท้อง เมื่อดินดีขึ้น ต้นทุนลดลง ไม่มีสารตกค้างให้เป็นอันตรายกับสุขภาพ
พระมหาวุฒิชัย กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า...ตราบใดที่คนเรายังต้องกินต้องอยู่ เราต้องสอนนิพพานแห่งอาชีพควบคู่กันไปด้วย เกษตรกร ชาวนาไทยถึงจะอยู่รอดได้. เพ็ญพิชญา เตียว
http://www.thairath.co.th/content/edu/372228
http://bit.ly/ชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมวัตถุนิยม
ร.ร.ชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ วิถีนิพพานอาชีพเกษตร
แม้วันนี้จะมีโรงเรียนชาวนา สอนอบรมการทำเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นในหลายจังหวัดก็ตาม แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมุ่งมั่นใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง...ดินแหล่งน้ำธรรมชาติจึงเต็มไปด้วยสารตกค้างจำนวนมาก กลายเป็น ปัญหาทั้งต้นทุนการผลิตสูง สุขภาพเสียตามมา
“นับแต่มาสร้างศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย สังเกตเห็นชาวบ้าน ใช้สารเคมีมาก แม้แต่สุนัขในศูนย์ฯออกไปวิ่งเล่น ผ่านดงหญ้าคา ถูกใบหญ้าบาดเข้าผิวหนัง ตอนเช้า มันเซื่องซึมไม่ยอมลุกวิ่ง ไม่กินอาหารเหมือนทุกๆวัน พาไปหาหมอถึงได้รู้สาเหตุ มาจากการโดนสารพิษตกค้างในพงหญ้ากลางสวนลำไยของชาวบ้านที่สุนัขไปวิ่งเล่นนั่นแหละ รักษาได้ไม่นานมันก็ตาย”
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) บอกว่า แม้ในสถานปฏิบัติธรรมจะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่พื้นที่โดยรอบ ชาวบ้านฉีดยาให้ต้นหญ้าเหลืองตาย เมื่อฝนลง น้ำจะชะสารเคมีไหลลงไปในอ่างเก็บน้ำ บางปีมีปลาลอยขึ้นมาตายเป็นแพ ทั้งน้ำทั้งลมมีสารเคมีอยู่ทั่วไปหมด จะย้ายศูนย์หนีก็ไม่ได้ จะไปสั่งห้ามชาวบ้านเดี๋ยวเป็นเรื่อง
จึงปรึกษาผู้ว่าฯ ได้ข้อสรุป “ถ้าประเทศไทยไม่ มีชาวนาเศรษฐกิจของประเทศพังทันที” จึงร่วมกันตั้งมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้ง เปิด ร.ร.ชาวนา พุทธเศรษฐศาสตร์ สอนชาวบ้านทำเกษตรอินทรีย์ โดยให้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ม.เกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร ปราชญ์ชาวบ้าน ที่ประสบความสำเร็จจากการทำเกษตรอินทรีย์มาให้คำแนะนำ
เพราะการแก้ปัญหาต้องเริ่มข้างบ้านก่อน ชาวนาที่มาอบรมจึงมาจากเชียงราย พะเยา ส่วนปีหน้าถึงจะรับชาวนาจากจังหวัดอื่นๆ แต่ที่นี่เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของชาวบ้าน เมื่อมีชาวนาเข้ามาเรียนกันมากก็เกิดปัญหาเรื่องปลดทุกข์หนักทุกข์เบา ห้องน้ำเดิมมีน้อยเพียงพอเฉพาะคนที่เข้ามาปฏิบัติธรรมเท่านั้น บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) จึงอาสาเข้ามาช่วยเหลือสร้างห้องน้ำให้
สำหรับการอบรมมีทั้งหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรชาวนามืออาชีพ เน้นการให้ธรรมชาติคืนสู่ธรรมชาติ สอนทำปุ๋ยหมัก ปรับปรุงดิน ดูแลข้าวตั้งแต่ต้นกล้าไปจนถึงตั้งท้อง เมื่อดินดีขึ้น ต้นทุนลดลง ไม่มีสารตกค้างให้เป็นอันตรายกับสุขภาพ
พระมหาวุฒิชัย กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า...ตราบใดที่คนเรายังต้องกินต้องอยู่ เราต้องสอนนิพพานแห่งอาชีพควบคู่กันไปด้วย เกษตรกร ชาวนาไทยถึงจะอยู่รอดได้. เพ็ญพิชญา เตียว
http://www.thairath.co.th/content/edu/372228
http://bit.ly/ชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมวัตถุนิยม