กรณี "เขื่อนแม่วงก์" กับสิ่งที่ประชาชนต้องการ

ติดตามข่าวเื่รื่องการสร้างเขื่อนแม่วงก์มาระยะัหนึ่ง

ในฐานะประชาชนธรรมดาคนหนึ่ง บอกได้เลยว่าสิ่งที่ประชาชนทั่วไปอย่างพวกผมต้องการก็คือ ความจริง และ การแก้ปัญหา

ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาสิ่งที่รับรู้รับทราบจนชินตาก็คือปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่ภาคกลางของประเทศ ถ้าใครสนใจติดตามความเป็นไปรอบตัวก็จะทราบได่ว่า ...

ปัญหาน้ำท่วมส่งผลกระทบกับประชาชนแทบทุกปี เป็นปัญหาที่ซ้ำซากน่าเบื่อ บ่นกันมาเป็น 30-40 ปีไม่มีวันจบ พอเข้าหน้าฝนบรรดาข้า่ราชการในพื้นที่ที่เป็นปัญหาไม่เป็นอันต้องทำอะไร ใช้เวลาเกือบครึ่งปี ทุ่มเทจดจ่อไปที่ป้องกันและบรรเทาทุกข์เพียงอย่างเดียว  ภาพนาล่ม พืชผลเสียหาย การปล่อยน้ำเข้านาเพื่อป้องกันน้ำเข้าเขตตัวเมืองเป็นเรื่องที่เห็นกันซ้ำ ๆ แทบทุกปี เป็นวงจรอันน่าสลด บางปีหนักหน่อยก็เกิดเหตุการณ์ "มหาอุทกภัย" (หลังจากฤดูฝนก็ต้องเผชิญกับภัยแล้งอย่างที่ไม่รู้ว่าไอ้น้ำเยอะ ๆ ก่อนหน้านั้นมันหายไปไหนหมด)

ถ้านับเม็ดเงินกับกำลังคน รวมทั้งสรรพกำัลังที่ทุ่มเทไปในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบเฉพาะหน้ารวมถึงความเสียหายจากน้ำท่วมในเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ผมคิดว่าน่าจะมากกว่างบประมาณในการใช้สร้างเขื่อนหลายเขื่อน

ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนต้องการสิ่งแรกก็คือการแก้ัไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม

สิ่งต่อมาที่ประชาชนต้องการก็คือ

ความจริง

รัฐบาลมีหน้าที่ให้ความข้อมูล ความเข้าใจ และสื่อสารกับประชาชนกับประชาชนว่า การสร้างเขื่อนและแผนการจัดการน้ำทั้งระบบของรัฐบาลจะช่วยแก้ปัญหาอย่างไร อย่าปล่อยให้เกิดความคลุมเครือ ให้ประชาชนเข้าใจเอง หรือมีเพียงแค่การรณรงค์ต่อต้านแต่เพียงอย่างเดียว ประชาชนต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจว่าจะเลือกสนับสนุนแนวทางใด

ยก ตย. อาจมีการเทียบเคียงหรืออ้างอิงกับการสร้างเขื่อนต่าง ๆ เช่นเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ ฯลฯ ว่าที่ผ่านมาเกิดประโยชน์หรือผลเสียหายมาน้อยประการใด ซึ่งนั่นอาจเป็นแนวทางหนึ่ง

ถ้าการจัดการน้ำทั้งระบบโดยการสร้างเขื่อนในหลายลุ่มน้ำจะส่งผลรวมในทางแก้ปัญหาจริง ก็ขอให้ข้อมูลที่หนักแน่นและเห็นภาพชัดเจน

และขอให้ทุกฝ่ายแยกประเด็นให้ชัดเจนอย่าสร้างความไข้วเขวให้มากนัก

การทุจริตที่อาจเกิดขึ้นถ้าเกรงว่าจะมีก็ต้องหาต้องป้องกันและติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด มิใช่นำมาดิสเครดิตเพื่อมิให้มีการสร้างเขื่อน มันคนละประเด็นกัน เพราะถ้าหากกล่าวอ้างถึงความไม่น่าไว้วางใจ มันก็มีด้วยกันทุกฝ่าย ฝ่ายเอ็นจีโอก็มีถ้าจะพูดกัน อาทิ เอ็นจีโอที่เคลื่อนไหวเรื่องพลังงานนี้ บางที่เงินเดือนเกือบแสน (อยู่กันห้องเล็ก ๆ ทำงานกันสองสามคนแต่เงินเดือนเยอะมาก) ยิ่งถ้าเป็นเอ็นจีโอตัวเอ้ ๆ รับค่าตอบแทนจากหลายที่ เงินเดือนที่ได้รับมากจนคิดไม่ถึง การประชุม การเดินทาง การทำกิจกรรม การรณรงค์แทบทุกครั้งล้วนมีค่าตอบแทน ดังนั้นอย่านำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นหลัก  แต่ให้เน้นหนักที่ข้อมูลที่เป็นจริง ผลประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับในระยะยาว

การให้ข้อมูลก็คือหัวใจของประชาพิจารณ์ ฝ่ายที่ต่อต้านก็ขอให้คัดค้านด้วยเหตุผลข้อมูล และถ้าปรากฏออกมาแล้วว่าสาธารณะชนส่วนใหญ่เห็นว่าการสร้างเขื่อนสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง รัฐบาลก็ต้องยินหยัดและมุ่งหน้าเพื่ออนาคตและการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน แต่ทั้งนี้ต้องให้ความเข้าใจกับประชาชนในทุกทางที่สื่อสารได้

โดยเรียกร้องจากใจจริงในฐานะประชาชนธรรมดาคนหนึ่งว่าขอให้ทุกฝ่ายเห็นแก่การแก้ไขปัญหาของประเทศและประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่