บทความที่ผมแนบมานี้ชื่อ "หลักคิดที่ผิด นำพาวิกฤตสู่การศึกษาไทย" ได้เผยแพร่ในเวปไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๖ ผมจึงขอส่งมาให้ทางอ่านทางอีเมล์ หากท่านเห็นว่าเป็นบทความที่มีประโยชน์ รบกวนช่วยส่งต่อให้มากๆ ด้วยครับ
อ.วิชัย กอสงวนมิตร
หลักคิดทิ่ผิด นำพาวิกฤตสู่การศึกษาไทย
โดย อ.วิชัย กอสงวนมิตร คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏเชียงใหม่
ผู้เขียนพ็อกเก็ตบุ๊คส์ชื่อ "การจัดการที่ดี ต้องเหมือนการทำฝนหลวง" ที่มีจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไปในปัจจุบัน
เป็นข่าวที่ทำให้คนไทยตกใจไปทั้งประเทศ เมื่อมีการสำรวจพบว่าคุณภาพการศึกษาของไทยอยู่ในลำดับสุดท้ายของกลุ่มประเทศอาเซี่ยน แต่ไม่เป็นที่แปลกใจของครูอาจารย์อย่างพวกเราเลยสักนิด ผมเชื่อว่าหากกระทรวงศึกษาธิการของไทยยังดื้อรั้นวางกรอบและกำหนดนโยบายการศึกษาของชาติอย่างนี้ต่อไป อย่าแต่ว่าลำดับสุดท้ายของกลุ่มประเทศอาเซี่ยนเลย ลำดับสุดท้ายของโลกก็อาจเป็นจริงสักวัน
ไม่ใช่เป็นเพียงเพราะผลตอบแทนต่ำ (ซึ่งก็คือเงินเดือน สวัสดิการ และความมั่นคงในอาชีพครูอาจารย์) เท่านั้น ที่ทำให้คนเก่ง คนดี ในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยอมจะมาทำงานสอนหนังสือ จนทำให้วงการศึกษาไทยขาดแคลนคนเก่ง ครูเก่งๆ เริ่มทยอยเกษียณอายุราชการไป ส่วนครูรุ่นใหม่ พอเข้ามาสู่วงการศึกษาไทย นอกจากต้องจำทนกับเงินเดือนและสวัสดิการอันน้อยนิดแล้ว จำนวนมากถูกจ้างเป็นแค่ครูอัตราจ้างหรือลูกจ้างชั่วคราว ยังต้องเผชิญกับปัญหาในการทำงานมากมาย ไม่ว่าคุณภาพของเด็กและสังคมที่เหลวแหลก พ่อแม่ที่ไม่มีเวลาสั่งสอนลูก แถมต้องมาพบกับนโยบายการศึกษาของชาติ ที่ถูกกำหนดโดยคนที่ไม่ได้มีความเข้าใจลึกซึ้งปรัชญาการศึกษาอย่างแท้จริง หรือไปจำผิดๆ จากต่างประเทศ แล้วนำมาบังคับใช้กับการศึกษาของไทย หลักคิดที่แปลกประหลาดเหล่านี้มีมากมาย เช่น
1. คิดว่าความรู้ที่ดี คือความรู้จากต่างประเทศ ทำให้มีการสอนโดยอาศัยการแปลตำราและตัวอย่างจากอเมริกาและยุโรปเป็นหลัก ทั้งที่มีความรู้ความคิดตามหลักพุทธศาสนา และสังคมเอเซียที่ดีมากมาย มองข้ามภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน
2. คิดว่าหลักสูตรที่ดี คือหลักสูตรที่ยากๆ ทำให้มีการยัดเยียดให้เรียนในสิ่งที่ไม่มีโอกาสใช้ในชีวิตมากมาย จนทำให้เกิดความน่าเบื่อและเคร่งเครียดในการเรียน หารู้ไม่ว่าเรื่องที่ยากๆ คนที่สนใจแม้เรียนจบแล้ว เขาก็จะไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเองได้ในภายหลัง
3. คิดว่าการปรับหลักสูตรและวิธีการเรียนบ่อยๆ คือการพัฒนาการศึกษาให้ก้าวกระโดด ทำให้ผู้สอนก็ปรับตัวเตรียมการสอนให้ดีไม่ได้ พี่สอนน้องก็ไม่ได้ แถมบางครั้งเกิดความผิดพลาดในหลักสูตรและการทดสอบ
4. คิดว่าการเรียนหนัก เป็นการทำให้ผู้เรียนพัฒนา ทำให้นักเรียนนักศึกษาไม่มีเวลาให้กับครอบครัวและสังคม เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอารมณ์และบุคลิกภาพ มีใครรู้บ้างไหมว่าโรงเรียนประถมศึกษาในยุโรปเขาห้ามให้การบ้านเด็กนักเรียน เพราะเจ็ดแปดชั่วโมงในโรงเรียนนั้นเพียงพอแล้วสำหรับเด็ก
5. คิดว่าวิชาบางวิชา เป็นวิชาที้ล้าสมัยและไม่จำเป็น การยกเลิกบางวิชา เช่น ศีลธรรม วรรณคดีไทย ฯลฯ โดยอ้างว่าได้นำไปใส่ไว้ในวิชาใหม่แล้ว ทำให้สำนึกทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของนักเรียนนักศึกษาไทยลดลงไปอย่างมาก
6. คิดว่าครูดี คือครูที่เรียนสูงๆ ทำให้คนที่เรียนจบต่างประเทศมีโอกาสเป็นครูอาจารย์สูงกว่าคนที่มีวิญญาณของความเป็นครู และยังทำให้ครูอาจารย์ลาไปศึกษาต่อกันอย่างมาก ซึ่งมีผลการวิจัยออกมาบ้างแล้วว่า การลาไปศึกษาต่อของครูอาจารย์ทำให้ประสิทธิภาพการสอนลดลง
7. คิดว่านักเรียนที่ดี คือนักเรียนที่เชื่อตามครูสอน ทำให้นักเรียนนักศึกษาไทยขาดความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นของตนเอง และความรู้ในรุ่นต่อรุ่นจะลงลงไปเรื่อยๆ หากผู้เรียนไม่สามารถเก่งกว่าผู้สอนได้ในวันข้างหน้า
8. คิดว่าการสร้างวินัยนักเรียนที่ดี คือบังคับเด็กมากๆ ทำให้นักเรียนไทยมีความรู้สึกที่ไม่ดีกับโรงเรียน แทนที่จะให้นักเรียนมีวินัยด้วยการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน
9. คิดว่าสถานบันการศึกษาที่ดี คือต้องมีสถานที่กว้างขวางและอุปกรณ์ทันสมัยมาก่อน โดยลืมไปว่าในอดีตสถาบันการศึกษามากมายที่มีชื่อเสียง ก็มีพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกจำกัด เพียงแต่การมีครูอาจารย์ที่ดี ก็สามารถจัด การศึกษาที่ดีได้ ในทางตรงกันข้ามแม้มีสถานที่โอ่โถง เครื่องมือครบครัน หากครูไม่เก่งก็ไม่สามรถสอนให้ดีได้
10. คิดว่ามาตรฐานการศึกษา คือทำให้ทุกสถาบันเหมือนกัน โดยลืมไปว่าการที่พื้นที่ นักเรียน ครูอาจารย์ ปัจจัยอื่นๆ ที่แตกต่างกันของแต่ละสถาบัน ไม่มีทางจะทำให้การศึกษาเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ และจะต้องหาทางช่วยเหลือให้แต่ละแห่งมีจุดเด่นและได้มาตรฐานที่เหมาะสมของสถาบันมากกว่า
11. คิดว่าครูเป็นเพียงลูกจ้าง ไม่คิดว่าครูอาจารย์ต้องการความมั่นคงในชีวิตการทำงาน จึงทำการจ้างครูอาจารย์เป็นเพียงพนักงานชั่วคราว หรือครูอัตราจ้าง และไม่บรรจุให้เป็นข้าราชการประจำเช่นในอดีต
12. คิดว่าสถาบันการศึกษาควรเลี้ยงตัวเองให้ได้ทุกแห่ง โดยไม่คำนึงว่า บางสาขาวิชาชีพที่จำเป็น อาจไม่สามารถคุ้มทุนได้ แต่ก็จำเป็นในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้สถาบันการศึกษายังต้องช่วยเหลือให้โอกาสแก่ผู้ยากไร้ได้เรียนในระดับสูงด้วย
13. คิดว่าการเรียกเงินแปะเจี๊ยะเป็นเรื่องผิดไม่ร้ายแรง จึงปล่อยให้มีการให้เงินอุดหนุนสถาบันการศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนกับโควต้าการเข้าเรียน ทั้งที่มีนโยบายห้ามเรียก แต่ก็เป็นเหมือนการเขียนเสือให้วัวกลัว
14. คิดว่าจำเป็นต้องตรวจสอบทุกสถาบันการศึกษา แทนที่เข้าไปช่วยเหลือสนับสนุน หน่วยงานไม่ว่า สมศ. สกอ. ฯลฯ สร้างตัวชี้วัดและตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสถาบันการศึกษามากมาย จนครูอาจารย์ทุกวันนี้กลายเป็นทำงานเพื่อคะแนน เช่นเดียวกับนักเรียนนักศึกษา แทนที่จะทำเพื่อความก้าวหน้าของลูกศิษย์
15. คิดว่าปริญญาคือสิ่งจำเป็น และละเลยอาชีวศึกษา ทำให้ทุกคนพยายามหันไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้เวลาเรียนมากกว่า และขาดแรงงานในระดับวิชาชีพอย่างมากในปัจจุบัน
16. คิดว่าครูอนุบาลและประถมไม่สำคัญ ทำให้คนที่เรียนเก่งพยายามไปเป็นครูอุดมศึกษา โดยลืมไปว่า หากนักเรียนไม่ชอบเรียนตั้งแต่ก่อนและประถมศึกษาแล้ว พื้นฐานการศึกษาที่ไม่ดี จะทำให้ไปต่อได้ยาก
17. คิดว่าครูอาจารย์ควรทำงานอื่นควบคู่งานประจำ จึงกำหนดให้ทำงานเอกสาร ทำงานวิจัย เขียนบทความตำรา จัดกิจกรรมต่างๆ แม้กระทั่งงานฝากจากหน่วยงานราชการอื่นๆ อย่างมากมาย ต้องไปประชุม อบรม ฯลฯ จนแทบไม่มีเวลาเตรียมการสอน
18. คิดว่างานวิจัยคืองานสำคัญของสถาบันการศึกษา ทั้งที่สถาบันการศึกษาไม่ใช่สถาบันวิจัย การทำวิจัยควรยกให้เจ้าหน้าที่วิจัย เพราะเขามีเวลาว่างและชำนาญการกว่าครูอาจารย์ แล้วให้ครูอาจารย์ไปศึกษาและนำผลวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน แต่ไม่ใช่ไปทำเอง คนจับปลาสองมือจะทำได้จริงหรือ ?
19. คิดว่ากิจกรรมนักเรียนนักศึกษาเป็นงานที่ผู้เรียนต้องทำประจำ ทั้งที่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงนั้น ควรเป็นเพื่อความบันเทิง หรือสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะต้องไปกะเกณฑ์ให้สถาบันการศึกษาต้องทำ และเขาจะหาโอกาสทำเองหากเห็นว่าสมควรและมีเวลาว่างพอ แต่ไม่ใช่ทำกิจกรรมกันจนแทบไม่เป็นอันเรียนแบบในปัจจุบัน
20. คิดว่าใครๆ ก็มาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการได้ เดี๋ยวนี้กระทรวงศึกษาธิการกลายเป็นกระทรวงเกรด A ไปแล้ว เพราะได้รับงบประมาณสูงสุด ประเทศเราแทบไม่เคยมีรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่รู้จริงปัญหาการศึกษาเลย มีเพียงบางคนที่เคยเป็นครูอาจารย์มาก่อน แต่ก็ไม่ใช่ผู้ที่รู้ลึกปัญหาการศึกษาของชาติ
ตัวอย่างหลักคิดที่ผิดเพี้ยนเหล่านี้ ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการจัดการศึกษาของไทย แถมยังบั่นทอนกำลังใจของครูอาจารย์ทั่วประเทศ โดยที่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการไม่เคยยอมรับผิดและแก้ไขวิธีการทำงานเลย จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมนักเรียนนักศึกษาไทย จึงมีแต่สมองที่มีแต่ความรู้ แต่ขาดความคิด (แถมไม่ค่อยรู้จริงด้วย) มิหนำซ้ำการเรียนยังเต็มไปด้วยความเคร่งเครียด เพราะให้เรียนมากและยากเกินความจำเป็น ประโยคทองของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" จึงไม่อาจบังเกิดขึ้นได้ในหมู่นักเรียนนักศึกษาไทย เพราะท่านคิดเองมาตลอดว่าคนในกระทรวงฯ รู้ดีและเก่งกว่าครูบ้านนอก ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องปฏิวัติแนวคิดการจัดการศึกษาของไทย เพราะหากถ้าหลักคิดผิด ก็ย่อมไม่มีทางจะจัดการศึกษาให้ดีได้ !
หมายเหตุ บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับสถาบันการศึกษาที่ผู้เขียนทำงานอยู่ และหากท่านผู้อ่านเห็นด้วยหรือไม่ และมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาโพสต์ได้ในเฟสบุ๊คส์ผู้เขียน www.facebook.com/vichai.kosanguanmitr
หลักคิดที่ผิด นำพาวิกฤตสู่การศึกษาไทย
อ.วิชัย กอสงวนมิตร
หลักคิดทิ่ผิด นำพาวิกฤตสู่การศึกษาไทย
โดย อ.วิชัย กอสงวนมิตร คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏเชียงใหม่
ผู้เขียนพ็อกเก็ตบุ๊คส์ชื่อ "การจัดการที่ดี ต้องเหมือนการทำฝนหลวง" ที่มีจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไปในปัจจุบัน
เป็นข่าวที่ทำให้คนไทยตกใจไปทั้งประเทศ เมื่อมีการสำรวจพบว่าคุณภาพการศึกษาของไทยอยู่ในลำดับสุดท้ายของกลุ่มประเทศอาเซี่ยน แต่ไม่เป็นที่แปลกใจของครูอาจารย์อย่างพวกเราเลยสักนิด ผมเชื่อว่าหากกระทรวงศึกษาธิการของไทยยังดื้อรั้นวางกรอบและกำหนดนโยบายการศึกษาของชาติอย่างนี้ต่อไป อย่าแต่ว่าลำดับสุดท้ายของกลุ่มประเทศอาเซี่ยนเลย ลำดับสุดท้ายของโลกก็อาจเป็นจริงสักวัน
ไม่ใช่เป็นเพียงเพราะผลตอบแทนต่ำ (ซึ่งก็คือเงินเดือน สวัสดิการ และความมั่นคงในอาชีพครูอาจารย์) เท่านั้น ที่ทำให้คนเก่ง คนดี ในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยอมจะมาทำงานสอนหนังสือ จนทำให้วงการศึกษาไทยขาดแคลนคนเก่ง ครูเก่งๆ เริ่มทยอยเกษียณอายุราชการไป ส่วนครูรุ่นใหม่ พอเข้ามาสู่วงการศึกษาไทย นอกจากต้องจำทนกับเงินเดือนและสวัสดิการอันน้อยนิดแล้ว จำนวนมากถูกจ้างเป็นแค่ครูอัตราจ้างหรือลูกจ้างชั่วคราว ยังต้องเผชิญกับปัญหาในการทำงานมากมาย ไม่ว่าคุณภาพของเด็กและสังคมที่เหลวแหลก พ่อแม่ที่ไม่มีเวลาสั่งสอนลูก แถมต้องมาพบกับนโยบายการศึกษาของชาติ ที่ถูกกำหนดโดยคนที่ไม่ได้มีความเข้าใจลึกซึ้งปรัชญาการศึกษาอย่างแท้จริง หรือไปจำผิดๆ จากต่างประเทศ แล้วนำมาบังคับใช้กับการศึกษาของไทย หลักคิดที่แปลกประหลาดเหล่านี้มีมากมาย เช่น
1. คิดว่าความรู้ที่ดี คือความรู้จากต่างประเทศ ทำให้มีการสอนโดยอาศัยการแปลตำราและตัวอย่างจากอเมริกาและยุโรปเป็นหลัก ทั้งที่มีความรู้ความคิดตามหลักพุทธศาสนา และสังคมเอเซียที่ดีมากมาย มองข้ามภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน
2. คิดว่าหลักสูตรที่ดี คือหลักสูตรที่ยากๆ ทำให้มีการยัดเยียดให้เรียนในสิ่งที่ไม่มีโอกาสใช้ในชีวิตมากมาย จนทำให้เกิดความน่าเบื่อและเคร่งเครียดในการเรียน หารู้ไม่ว่าเรื่องที่ยากๆ คนที่สนใจแม้เรียนจบแล้ว เขาก็จะไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเองได้ในภายหลัง
3. คิดว่าการปรับหลักสูตรและวิธีการเรียนบ่อยๆ คือการพัฒนาการศึกษาให้ก้าวกระโดด ทำให้ผู้สอนก็ปรับตัวเตรียมการสอนให้ดีไม่ได้ พี่สอนน้องก็ไม่ได้ แถมบางครั้งเกิดความผิดพลาดในหลักสูตรและการทดสอบ
4. คิดว่าการเรียนหนัก เป็นการทำให้ผู้เรียนพัฒนา ทำให้นักเรียนนักศึกษาไม่มีเวลาให้กับครอบครัวและสังคม เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอารมณ์และบุคลิกภาพ มีใครรู้บ้างไหมว่าโรงเรียนประถมศึกษาในยุโรปเขาห้ามให้การบ้านเด็กนักเรียน เพราะเจ็ดแปดชั่วโมงในโรงเรียนนั้นเพียงพอแล้วสำหรับเด็ก
5. คิดว่าวิชาบางวิชา เป็นวิชาที้ล้าสมัยและไม่จำเป็น การยกเลิกบางวิชา เช่น ศีลธรรม วรรณคดีไทย ฯลฯ โดยอ้างว่าได้นำไปใส่ไว้ในวิชาใหม่แล้ว ทำให้สำนึกทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของนักเรียนนักศึกษาไทยลดลงไปอย่างมาก
6. คิดว่าครูดี คือครูที่เรียนสูงๆ ทำให้คนที่เรียนจบต่างประเทศมีโอกาสเป็นครูอาจารย์สูงกว่าคนที่มีวิญญาณของความเป็นครู และยังทำให้ครูอาจารย์ลาไปศึกษาต่อกันอย่างมาก ซึ่งมีผลการวิจัยออกมาบ้างแล้วว่า การลาไปศึกษาต่อของครูอาจารย์ทำให้ประสิทธิภาพการสอนลดลง
7. คิดว่านักเรียนที่ดี คือนักเรียนที่เชื่อตามครูสอน ทำให้นักเรียนนักศึกษาไทยขาดความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นของตนเอง และความรู้ในรุ่นต่อรุ่นจะลงลงไปเรื่อยๆ หากผู้เรียนไม่สามารถเก่งกว่าผู้สอนได้ในวันข้างหน้า
8. คิดว่าการสร้างวินัยนักเรียนที่ดี คือบังคับเด็กมากๆ ทำให้นักเรียนไทยมีความรู้สึกที่ไม่ดีกับโรงเรียน แทนที่จะให้นักเรียนมีวินัยด้วยการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน
9. คิดว่าสถานบันการศึกษาที่ดี คือต้องมีสถานที่กว้างขวางและอุปกรณ์ทันสมัยมาก่อน โดยลืมไปว่าในอดีตสถาบันการศึกษามากมายที่มีชื่อเสียง ก็มีพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกจำกัด เพียงแต่การมีครูอาจารย์ที่ดี ก็สามารถจัด การศึกษาที่ดีได้ ในทางตรงกันข้ามแม้มีสถานที่โอ่โถง เครื่องมือครบครัน หากครูไม่เก่งก็ไม่สามรถสอนให้ดีได้
10. คิดว่ามาตรฐานการศึกษา คือทำให้ทุกสถาบันเหมือนกัน โดยลืมไปว่าการที่พื้นที่ นักเรียน ครูอาจารย์ ปัจจัยอื่นๆ ที่แตกต่างกันของแต่ละสถาบัน ไม่มีทางจะทำให้การศึกษาเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ และจะต้องหาทางช่วยเหลือให้แต่ละแห่งมีจุดเด่นและได้มาตรฐานที่เหมาะสมของสถาบันมากกว่า
11. คิดว่าครูเป็นเพียงลูกจ้าง ไม่คิดว่าครูอาจารย์ต้องการความมั่นคงในชีวิตการทำงาน จึงทำการจ้างครูอาจารย์เป็นเพียงพนักงานชั่วคราว หรือครูอัตราจ้าง และไม่บรรจุให้เป็นข้าราชการประจำเช่นในอดีต
12. คิดว่าสถาบันการศึกษาควรเลี้ยงตัวเองให้ได้ทุกแห่ง โดยไม่คำนึงว่า บางสาขาวิชาชีพที่จำเป็น อาจไม่สามารถคุ้มทุนได้ แต่ก็จำเป็นในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้สถาบันการศึกษายังต้องช่วยเหลือให้โอกาสแก่ผู้ยากไร้ได้เรียนในระดับสูงด้วย
13. คิดว่าการเรียกเงินแปะเจี๊ยะเป็นเรื่องผิดไม่ร้ายแรง จึงปล่อยให้มีการให้เงินอุดหนุนสถาบันการศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนกับโควต้าการเข้าเรียน ทั้งที่มีนโยบายห้ามเรียก แต่ก็เป็นเหมือนการเขียนเสือให้วัวกลัว
14. คิดว่าจำเป็นต้องตรวจสอบทุกสถาบันการศึกษา แทนที่เข้าไปช่วยเหลือสนับสนุน หน่วยงานไม่ว่า สมศ. สกอ. ฯลฯ สร้างตัวชี้วัดและตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสถาบันการศึกษามากมาย จนครูอาจารย์ทุกวันนี้กลายเป็นทำงานเพื่อคะแนน เช่นเดียวกับนักเรียนนักศึกษา แทนที่จะทำเพื่อความก้าวหน้าของลูกศิษย์
15. คิดว่าปริญญาคือสิ่งจำเป็น และละเลยอาชีวศึกษา ทำให้ทุกคนพยายามหันไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้เวลาเรียนมากกว่า และขาดแรงงานในระดับวิชาชีพอย่างมากในปัจจุบัน
16. คิดว่าครูอนุบาลและประถมไม่สำคัญ ทำให้คนที่เรียนเก่งพยายามไปเป็นครูอุดมศึกษา โดยลืมไปว่า หากนักเรียนไม่ชอบเรียนตั้งแต่ก่อนและประถมศึกษาแล้ว พื้นฐานการศึกษาที่ไม่ดี จะทำให้ไปต่อได้ยาก
17. คิดว่าครูอาจารย์ควรทำงานอื่นควบคู่งานประจำ จึงกำหนดให้ทำงานเอกสาร ทำงานวิจัย เขียนบทความตำรา จัดกิจกรรมต่างๆ แม้กระทั่งงานฝากจากหน่วยงานราชการอื่นๆ อย่างมากมาย ต้องไปประชุม อบรม ฯลฯ จนแทบไม่มีเวลาเตรียมการสอน
18. คิดว่างานวิจัยคืองานสำคัญของสถาบันการศึกษา ทั้งที่สถาบันการศึกษาไม่ใช่สถาบันวิจัย การทำวิจัยควรยกให้เจ้าหน้าที่วิจัย เพราะเขามีเวลาว่างและชำนาญการกว่าครูอาจารย์ แล้วให้ครูอาจารย์ไปศึกษาและนำผลวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน แต่ไม่ใช่ไปทำเอง คนจับปลาสองมือจะทำได้จริงหรือ ?
19. คิดว่ากิจกรรมนักเรียนนักศึกษาเป็นงานที่ผู้เรียนต้องทำประจำ ทั้งที่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงนั้น ควรเป็นเพื่อความบันเทิง หรือสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะต้องไปกะเกณฑ์ให้สถาบันการศึกษาต้องทำ และเขาจะหาโอกาสทำเองหากเห็นว่าสมควรและมีเวลาว่างพอ แต่ไม่ใช่ทำกิจกรรมกันจนแทบไม่เป็นอันเรียนแบบในปัจจุบัน
20. คิดว่าใครๆ ก็มาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการได้ เดี๋ยวนี้กระทรวงศึกษาธิการกลายเป็นกระทรวงเกรด A ไปแล้ว เพราะได้รับงบประมาณสูงสุด ประเทศเราแทบไม่เคยมีรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่รู้จริงปัญหาการศึกษาเลย มีเพียงบางคนที่เคยเป็นครูอาจารย์มาก่อน แต่ก็ไม่ใช่ผู้ที่รู้ลึกปัญหาการศึกษาของชาติ
ตัวอย่างหลักคิดที่ผิดเพี้ยนเหล่านี้ ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการจัดการศึกษาของไทย แถมยังบั่นทอนกำลังใจของครูอาจารย์ทั่วประเทศ โดยที่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการไม่เคยยอมรับผิดและแก้ไขวิธีการทำงานเลย จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมนักเรียนนักศึกษาไทย จึงมีแต่สมองที่มีแต่ความรู้ แต่ขาดความคิด (แถมไม่ค่อยรู้จริงด้วย) มิหนำซ้ำการเรียนยังเต็มไปด้วยความเคร่งเครียด เพราะให้เรียนมากและยากเกินความจำเป็น ประโยคทองของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" จึงไม่อาจบังเกิดขึ้นได้ในหมู่นักเรียนนักศึกษาไทย เพราะท่านคิดเองมาตลอดว่าคนในกระทรวงฯ รู้ดีและเก่งกว่าครูบ้านนอก ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องปฏิวัติแนวคิดการจัดการศึกษาของไทย เพราะหากถ้าหลักคิดผิด ก็ย่อมไม่มีทางจะจัดการศึกษาให้ดีได้ !
หมายเหตุ บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับสถาบันการศึกษาที่ผู้เขียนทำงานอยู่ และหากท่านผู้อ่านเห็นด้วยหรือไม่ และมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาโพสต์ได้ในเฟสบุ๊คส์ผู้เขียน www.facebook.com/vichai.kosanguanmitr