นี่คือจุดเริ่มต้นจากแนวคิด ผลักดัยให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบจากรัฐบาล
ถึงวันนี้เราต้องยอมรับกันแล้วว่าวิกฤติอุดมศึกษานั้นเกิดขึ้นแล้ว ในรอบปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งมีนักศึกษาลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสามและมีความจำเป็นต้องบีบอาจารย์ให้ลาออกเนื่องจากขาดทุนย่อยยับ หลายแห่งอาจารย์ลาออกไปมากกว่าครึ่งหนึ่งและตั้งเป้าหมายให้อาจารย์เหลือเพียงแค่หนึ่งในสาม มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งขายที่ดินสร้างคอนโดมิเนียมขาย มหาวิทยาลัยราชภัฎหลายแห่งก็ตัดสินใจไม่ต่อสัญญาในพนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งอาจารย์ เนื่องจากไม่มีนักศึกษาให้สอน มหาวิทยาลัยของรัฐในบางสาขารับนักศึกษาได้เพียงร้อยละ 20 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐไม่ต่อสัญญาจ้างอาจารย์เพราะไม่มีนักศึกษาเพียงพอ เริ่มมีปัญหาทางการเงิน มหาวิทยาลัยของรัฐอีกหลายแห่ง อาจารย์เริ่มแย่งวิชาสอนกันเพื่อให้ตัวเองมีภาระงานครบ และหลายแห่งดิ้นรนด้วยการไปหานักศึกษาจีนเข้ามาเรียนซึ่งเป็นนักศึกษาจีนที่คุณภาพไม่ดีนัก สอบเข้ามหาวิทยาลัยในจีนไม่ได้เนื่องจากการแข่งขันสูงมาก หลายคนมาเรียนเพื่อจะได้เข้าเมืองได้ถูกต้องและทำมาค้าขายได้
คาดได้เลยว่าสถานการณ์น่าจะแย่ลงไปเรื่อยๆ และคาดได้ว่าภายในสี่หรือห้าปีนี้ สถาบันอุดมศึกษาของไทยที่มีมากถึงสามร้อยแห่ง อาจจะได้ไปต่อเป็นส่วนน้อย (หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่ามีเยอะขนาดนั้น แต่ได้สอบถามพนักงานขายซอฟท์แวร์ให้ห้องสมุดแล้วยืนยันเช่นนั้น มีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน สถาบันราชภัฎ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัยเกษตร วิทยาลัยพลศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ แทบทุกคนหันมาสอนอุดมศึกษากันเพิ่มขึ้นแทนอาชีวะศึกษา เพราะค่านิยมกระดาษใบปริญญา)
ในสมัยหนึ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นตำแหน่งงานที่ต้องการกันมาก หาคนมีคุณสมบัติครบถ้วนได้ยาก และเนื่องจากสถาบันอุดมศึกษามีนักศึกษาสมัครมาก มหาวิทยาลัยเปิดกันได้ง่าย รายได้ดีพอสมควร แต่เนื่องจากมีความต้องการสูงเลยรับคนเข้ามาเป็นอาจารย์ได้ง่ายขึ้น แต่ในปัจจุบันการที่ Over Supply และการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) ทำให้เราเกิดประชากรถดถอย มีเด็กเกิดน้อยมากและมีคนตายมากกว่าคนเกิด นักเรียนนักศึกษาที่จะเข้ามหาวิทยาลัยก็ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ขณะนี้การสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในแต่ละปีเหลือที่นั่งว่างๆ หานักศึกษามาเรียนไม่ได้ต่อปีเกือบเจ็ดหมื่นที่นั่ง ดังนั้นการแข่งขันจะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีอาจารย์ล้นเกินจำนวนนักศึกษาในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยไทยจำนวนมากจำเป็นต้องควบรวม (Merger and Acquisition) เพื่อความอยู่รอดซึ่งคาดว่าน่าจะอีกไม่กี่ปี มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาจำนวนหนึ่งจะต้องปิดตัวลงไปเพราะขาดทุนหนักมาก
กระทรวงศึกษาธิการโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควรที่จะต้องศึกษาการฉายภาพประชากร (Demographic Projection) ของประเทศไทยและพยากรณ์ต่อไปว่าจะส่งผลอย่างไรต่อจำนวนนักเรียนที่จะสมัครเข้าศึกษาต่อในประเทศไทย สัดส่วนของเด็กในวัยศึกษานั้นน่าจะลดลงไปเรื่อยๆ และอาจจะต้องคำนวณภาระงานสอนว่าสมดุลกันหรือไม่กับจำนวนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเองก็ต้องปรับตัวอย่างรุนแรงเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้ได้คุณภาพตรงกับความต้องการของนายจ้าง ปัญหาคืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่รับมาเข้าไว้มากมายและมีจำนวนล้นเกินกว่าจำนวนนักศึกษาและภาระงานสอนจะทำเช่นไร
สถานการณ์จะเป็นนายของทุกคน ขณะนี้เริ่มมีอาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาธรรมาภิบาลอุดมศึกษาซึ่งมีการใช้อำนาจพวกพ้อง และฝ่ายบริหารเป็นกลุ่มพวกเดียวกับสภามหาวิทยาลัย ทำให้เลือกกันวนเวียนเกาหลังกันไปมา และฝ่ายบริหารบางส่วนถือโอกาสในการกลั่นแกล้งอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นพลเมืองชั้นสองในสถาบันอุดมศึกษา และเริ่มมีคดีฟ้องร้องกันในศาลปกครองมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาคือคดีล่าช้ามาก และอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยนั้นมีสิทธิ์ในการต่อสู้ที่แย่กว่ากระทั่งกรรมกร เนื่องจากไปฟ้องร้องที่ศาลแรงงานก็ยังไม่ได้ ทุก พ.ร.บ. ที่นำมามหาวิทยาลัยออกนอกระบบต่างไม่ยอมให้ฟ้องร้องศาลแรงงาน ทำให้เกิดการรังแกกัน อีกส่วนหนึ่งและน่าจะเป็นส่วนใหญ่ด้วยคือการที่ไม่มีนักศึกษา รายได้ลดลง จนไม่สามารถจะจ้างอาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากได้อีกต่อไป
อันที่จริงอาจารย์มหาวิทยาลัยก็เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถสูงเป็นส่วนใหญ่ น่าจะต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้ไม่ยากนัก หลักสูตรบางหลักสูตรสอนเนื้อหาวิชาที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงในโลกปัจจุบัน บางสาขาวิชาจบมาปีละหลายพัน แต่นายจ้างหาคนที่มีคุณภาพพอจะทำงานไม่ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้ประเทศไทยขาดแคลนโปรแกรมเมอร์อย่างรุนแรง มีคนสมัครมาก แต่คุณภาพนั้นมีปัญหา ทำงานไม่ได้จริง ไม่ตรงตามสิ่งที่ภาคเอกชนและภาคธุรกิจใช้กันในปัจจุบัน ประกอบกับนักศึกษาก็ไม่อยากเรียนอะไรที่ยาก ชอบเรียนอะไรง่ายๆ สบายๆ ซึ่งเป็นการทำลายตนเองในระยะยาวอยู่ดี น่าเห็นใจอาจารย์ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก โลกของดิจิทัลและวิทยาการข้อมูลกำลังรุกล้ำเข้ามาอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจที่ใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นฐานทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกยุค อาจารย์มหาวิทยาลัยคงไม่สามารถสอนเรื่องเดิมๆ ที่ตนเองเคยเรียนมาเมื่อ 20-30 ปีก่อนได้อีกต่อไป
ที่น่าสังเกตคืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่ปรับตัวได้ กลับเป็นพวกที่ลาออกไปทำงานอื่น เช่น ทำงานภาคเอกชน ด้วยรายได้สูงลิบหรือออกไปทำธุรกิจส่วนตัว พวกนี้ไม่น่าห่วงแต่น่าเสียดายโอกาสสำหรับบางคนที่มีความจำเป็นด้านการเงินมีความสามารถสูงและมีความเป็นครูที่ดี โครงการ Talent mobility ที่เปิดโอกาสให้อาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัยในภาครัฐไปทำงานวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมให้กับภาคเอกชนนั้นเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริมยิ่งน่าจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ไปได้บ้างพอสมควร
ปัญหาหลักคือท้ายที่สุดจำนวนมหาวิทยาลัยก็ต้องลดลงไป และจำนวนอาจารย์ที่ต้องออกจากงานคงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมหาวิทยาลัยไทยไม่มีนักศึกษาให้สอนอีกต่อไป บางภาควิชา บางคณะ จำเป็นต้องถูกยุบ เนื่องจากไม่มีเงินพอ และไม่มีนักศึกษา อันที่จริงก็เป็นเรื่องน่าเสียดายที่เป็นเช่นนั้น สาขาวิชาบางวิชาที่ไม่มีนักเรียนสนใจจะเรียนไม่สร้างรายได้ก็มีความจำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาประเทศจริงๆ ในขณะที่บางสาขาไม่มีความต้องการและความจำเป็นมากก็ควรต้องรับผลแห่งกรรมกันไป โดยเฉพาะในสายสังคมศาสตร์ของไทยที่มาผิดทางโดยตลอด เราเร่งกระบวนการสร้างคนแบบ-ด่วน โดยไม่ได้คำนึงถึงชาติเท่าที่ควร ทำให้เกิดปัญหาในเวลานี้
อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด บางคนทั้งๆ ที่รู้อยู่ไม่มีนักศึกษาให้สอนก็ดิ้นรนจะต่ออายุราชการให้ตัวเองต่อ บางคนที่ไม่มีทางไปก็พยายามดิ้นรนหานักศึกษาเข้ามาเรียนให้มากขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เหลืออยู่ต้องปรับตัว ทางเลือกหนึ่งคือให้อาจารย์มหาวิทยาลัยทำงานบริการวิชาการให้กับรัฐและเอกชนเพื่อหารายได้เข้ามหาวิทยาลัยให้มากขึ้น แต่ก็พบปัญหาว่าหลายแห่งให้เอกชนเป็นคนทำแต่ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยไปประมูลงานในภาครัฐและกินหัวคิวทั้งอาจารย์หัวหน้าโครงการและมหาวิทยาลัยแห่งนั้น เนื่องจากหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐเข้าไปประมูลงานจะถือว่าเป็นสัญญาระหว่างหน่วยราชการและใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษได้
ประเทศไทยนั้นแท้จริงแล้วต้องการนวัตกรและนักวิจัยอีกจำนวนมาก ผมเคยสนทนากับผู้บริหารบริษัทเอกชนจำนวนมากต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยผลิตงานวิจัยขึ้นหิ้ง ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติกันมากมายแต่เอามาใช้งานจริงหรือนำมาประยุกต์ใช้ให้ขายได้จริงในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) ได้น้อยมาก เรื่องเหล่านี้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่จะอยู่ต่อไปรอด คงต้องปรับตัวให้สามารถสร้างผลงานที่นำไปใช้ได้จริง ขายได้จริง เป็นประโยชน์ได้จริงมากขึ้นเช่นกัน แล้วรายได้จากงานบริการวิชากา
ฤา การศึกษาเป็นแค่ธุรกิจ "วิกฤตการศึกษาไทย มหา'ลัยออกนอกระบบไม่เกิน5ปี"...เตรียมเจ้ง!!!
นี่คือจุดเริ่มต้นจากแนวคิด ผลักดัยให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบจากรัฐบาล
ถึงวันนี้เราต้องยอมรับกันแล้วว่าวิกฤติอุดมศึกษานั้นเกิดขึ้นแล้ว ในรอบปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งมีนักศึกษาลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสามและมีความจำเป็นต้องบีบอาจารย์ให้ลาออกเนื่องจากขาดทุนย่อยยับ หลายแห่งอาจารย์ลาออกไปมากกว่าครึ่งหนึ่งและตั้งเป้าหมายให้อาจารย์เหลือเพียงแค่หนึ่งในสาม มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งขายที่ดินสร้างคอนโดมิเนียมขาย มหาวิทยาลัยราชภัฎหลายแห่งก็ตัดสินใจไม่ต่อสัญญาในพนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งอาจารย์ เนื่องจากไม่มีนักศึกษาให้สอน มหาวิทยาลัยของรัฐในบางสาขารับนักศึกษาได้เพียงร้อยละ 20 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐไม่ต่อสัญญาจ้างอาจารย์เพราะไม่มีนักศึกษาเพียงพอ เริ่มมีปัญหาทางการเงิน มหาวิทยาลัยของรัฐอีกหลายแห่ง อาจารย์เริ่มแย่งวิชาสอนกันเพื่อให้ตัวเองมีภาระงานครบ และหลายแห่งดิ้นรนด้วยการไปหานักศึกษาจีนเข้ามาเรียนซึ่งเป็นนักศึกษาจีนที่คุณภาพไม่ดีนัก สอบเข้ามหาวิทยาลัยในจีนไม่ได้เนื่องจากการแข่งขันสูงมาก หลายคนมาเรียนเพื่อจะได้เข้าเมืองได้ถูกต้องและทำมาค้าขายได้
คาดได้เลยว่าสถานการณ์น่าจะแย่ลงไปเรื่อยๆ และคาดได้ว่าภายในสี่หรือห้าปีนี้ สถาบันอุดมศึกษาของไทยที่มีมากถึงสามร้อยแห่ง อาจจะได้ไปต่อเป็นส่วนน้อย (หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่ามีเยอะขนาดนั้น แต่ได้สอบถามพนักงานขายซอฟท์แวร์ให้ห้องสมุดแล้วยืนยันเช่นนั้น มีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน สถาบันราชภัฎ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัยเกษตร วิทยาลัยพลศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ แทบทุกคนหันมาสอนอุดมศึกษากันเพิ่มขึ้นแทนอาชีวะศึกษา เพราะค่านิยมกระดาษใบปริญญา)
ในสมัยหนึ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นตำแหน่งงานที่ต้องการกันมาก หาคนมีคุณสมบัติครบถ้วนได้ยาก และเนื่องจากสถาบันอุดมศึกษามีนักศึกษาสมัครมาก มหาวิทยาลัยเปิดกันได้ง่าย รายได้ดีพอสมควร แต่เนื่องจากมีความต้องการสูงเลยรับคนเข้ามาเป็นอาจารย์ได้ง่ายขึ้น แต่ในปัจจุบันการที่ Over Supply และการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) ทำให้เราเกิดประชากรถดถอย มีเด็กเกิดน้อยมากและมีคนตายมากกว่าคนเกิด นักเรียนนักศึกษาที่จะเข้ามหาวิทยาลัยก็ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ขณะนี้การสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในแต่ละปีเหลือที่นั่งว่างๆ หานักศึกษามาเรียนไม่ได้ต่อปีเกือบเจ็ดหมื่นที่นั่ง ดังนั้นการแข่งขันจะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีอาจารย์ล้นเกินจำนวนนักศึกษาในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยไทยจำนวนมากจำเป็นต้องควบรวม (Merger and Acquisition) เพื่อความอยู่รอดซึ่งคาดว่าน่าจะอีกไม่กี่ปี มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาจำนวนหนึ่งจะต้องปิดตัวลงไปเพราะขาดทุนหนักมาก
กระทรวงศึกษาธิการโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควรที่จะต้องศึกษาการฉายภาพประชากร (Demographic Projection) ของประเทศไทยและพยากรณ์ต่อไปว่าจะส่งผลอย่างไรต่อจำนวนนักเรียนที่จะสมัครเข้าศึกษาต่อในประเทศไทย สัดส่วนของเด็กในวัยศึกษานั้นน่าจะลดลงไปเรื่อยๆ และอาจจะต้องคำนวณภาระงานสอนว่าสมดุลกันหรือไม่กับจำนวนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเองก็ต้องปรับตัวอย่างรุนแรงเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้ได้คุณภาพตรงกับความต้องการของนายจ้าง ปัญหาคืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่รับมาเข้าไว้มากมายและมีจำนวนล้นเกินกว่าจำนวนนักศึกษาและภาระงานสอนจะทำเช่นไร
สถานการณ์จะเป็นนายของทุกคน ขณะนี้เริ่มมีอาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาธรรมาภิบาลอุดมศึกษาซึ่งมีการใช้อำนาจพวกพ้อง และฝ่ายบริหารเป็นกลุ่มพวกเดียวกับสภามหาวิทยาลัย ทำให้เลือกกันวนเวียนเกาหลังกันไปมา และฝ่ายบริหารบางส่วนถือโอกาสในการกลั่นแกล้งอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นพลเมืองชั้นสองในสถาบันอุดมศึกษา และเริ่มมีคดีฟ้องร้องกันในศาลปกครองมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาคือคดีล่าช้ามาก และอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยนั้นมีสิทธิ์ในการต่อสู้ที่แย่กว่ากระทั่งกรรมกร เนื่องจากไปฟ้องร้องที่ศาลแรงงานก็ยังไม่ได้ ทุก พ.ร.บ. ที่นำมามหาวิทยาลัยออกนอกระบบต่างไม่ยอมให้ฟ้องร้องศาลแรงงาน ทำให้เกิดการรังแกกัน อีกส่วนหนึ่งและน่าจะเป็นส่วนใหญ่ด้วยคือการที่ไม่มีนักศึกษา รายได้ลดลง จนไม่สามารถจะจ้างอาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากได้อีกต่อไป
อันที่จริงอาจารย์มหาวิทยาลัยก็เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถสูงเป็นส่วนใหญ่ น่าจะต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้ไม่ยากนัก หลักสูตรบางหลักสูตรสอนเนื้อหาวิชาที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงในโลกปัจจุบัน บางสาขาวิชาจบมาปีละหลายพัน แต่นายจ้างหาคนที่มีคุณภาพพอจะทำงานไม่ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้ประเทศไทยขาดแคลนโปรแกรมเมอร์อย่างรุนแรง มีคนสมัครมาก แต่คุณภาพนั้นมีปัญหา ทำงานไม่ได้จริง ไม่ตรงตามสิ่งที่ภาคเอกชนและภาคธุรกิจใช้กันในปัจจุบัน ประกอบกับนักศึกษาก็ไม่อยากเรียนอะไรที่ยาก ชอบเรียนอะไรง่ายๆ สบายๆ ซึ่งเป็นการทำลายตนเองในระยะยาวอยู่ดี น่าเห็นใจอาจารย์ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก โลกของดิจิทัลและวิทยาการข้อมูลกำลังรุกล้ำเข้ามาอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจที่ใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นฐานทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกยุค อาจารย์มหาวิทยาลัยคงไม่สามารถสอนเรื่องเดิมๆ ที่ตนเองเคยเรียนมาเมื่อ 20-30 ปีก่อนได้อีกต่อไป
ที่น่าสังเกตคืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่ปรับตัวได้ กลับเป็นพวกที่ลาออกไปทำงานอื่น เช่น ทำงานภาคเอกชน ด้วยรายได้สูงลิบหรือออกไปทำธุรกิจส่วนตัว พวกนี้ไม่น่าห่วงแต่น่าเสียดายโอกาสสำหรับบางคนที่มีความจำเป็นด้านการเงินมีความสามารถสูงและมีความเป็นครูที่ดี โครงการ Talent mobility ที่เปิดโอกาสให้อาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัยในภาครัฐไปทำงานวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมให้กับภาคเอกชนนั้นเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริมยิ่งน่าจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ไปได้บ้างพอสมควร
ปัญหาหลักคือท้ายที่สุดจำนวนมหาวิทยาลัยก็ต้องลดลงไป และจำนวนอาจารย์ที่ต้องออกจากงานคงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมหาวิทยาลัยไทยไม่มีนักศึกษาให้สอนอีกต่อไป บางภาควิชา บางคณะ จำเป็นต้องถูกยุบ เนื่องจากไม่มีเงินพอ และไม่มีนักศึกษา อันที่จริงก็เป็นเรื่องน่าเสียดายที่เป็นเช่นนั้น สาขาวิชาบางวิชาที่ไม่มีนักเรียนสนใจจะเรียนไม่สร้างรายได้ก็มีความจำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาประเทศจริงๆ ในขณะที่บางสาขาไม่มีความต้องการและความจำเป็นมากก็ควรต้องรับผลแห่งกรรมกันไป โดยเฉพาะในสายสังคมศาสตร์ของไทยที่มาผิดทางโดยตลอด เราเร่งกระบวนการสร้างคนแบบ-ด่วน โดยไม่ได้คำนึงถึงชาติเท่าที่ควร ทำให้เกิดปัญหาในเวลานี้
อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด บางคนทั้งๆ ที่รู้อยู่ไม่มีนักศึกษาให้สอนก็ดิ้นรนจะต่ออายุราชการให้ตัวเองต่อ บางคนที่ไม่มีทางไปก็พยายามดิ้นรนหานักศึกษาเข้ามาเรียนให้มากขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เหลืออยู่ต้องปรับตัว ทางเลือกหนึ่งคือให้อาจารย์มหาวิทยาลัยทำงานบริการวิชาการให้กับรัฐและเอกชนเพื่อหารายได้เข้ามหาวิทยาลัยให้มากขึ้น แต่ก็พบปัญหาว่าหลายแห่งให้เอกชนเป็นคนทำแต่ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยไปประมูลงานในภาครัฐและกินหัวคิวทั้งอาจารย์หัวหน้าโครงการและมหาวิทยาลัยแห่งนั้น เนื่องจากหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐเข้าไปประมูลงานจะถือว่าเป็นสัญญาระหว่างหน่วยราชการและใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษได้
ประเทศไทยนั้นแท้จริงแล้วต้องการนวัตกรและนักวิจัยอีกจำนวนมาก ผมเคยสนทนากับผู้บริหารบริษัทเอกชนจำนวนมากต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยผลิตงานวิจัยขึ้นหิ้ง ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติกันมากมายแต่เอามาใช้งานจริงหรือนำมาประยุกต์ใช้ให้ขายได้จริงในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) ได้น้อยมาก เรื่องเหล่านี้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่จะอยู่ต่อไปรอด คงต้องปรับตัวให้สามารถสร้างผลงานที่นำไปใช้ได้จริง ขายได้จริง เป็นประโยชน์ได้จริงมากขึ้นเช่นกัน แล้วรายได้จากงานบริการวิชากา