ก่อนเข้าไปสู่เนื้อหาข่าวตามแหล่งข่าวข้างล่าง มันน่าใจหายจริงๆ และเชื่อว่าสถานการณ์จะหนักขึ้นแบบนี้ เผลอๆหนักกว่านี้แน่นอน จริงๆกระทบตั้งแต่โรงเรียนเอกชนในต่างจังหวัดแล้วที่ปิดการเรียนการสอนไป สาเหตุที่ลามมาถึงมหาวิทยาลัยไทยนั้น ยอมรับได้เลยว่า เป็นเพราะจำนวนที่นั่งในมหาวิทยาลัย และจำนวนมหาวิทยาลัยมีมากกว่าคนเรียน พูดสั้นๆคือเด็กไทยเกิดน้อยลงนั่นเองครับ เกิดการแย่งชิงนิสิตนักศึกษากันอย่างมหาศาล สถานศึกษาใดที่ปรับตัวได้ก็รอดไป ปรับตัวไม่ได้ก็ต้องรอวันเฉาแล้วตายไปก็แค่นั้นเองครับ
แหล่งที่มา:
https://www.prachachat.net/education/news-1266344
ธุรกิจการศึกษาถึงจุดเปลี่ยน-แข่งเดือด ยอดจำนวนนักศึกษาหดตัวแรง ทั้งตลาดเหลือไม่ถึง 1 แสนคน เผย 5 มหา’ลัยเอกชนเปิดศึกแย่งชิงนักศึกษาไทย-จีน งัดกลยุทธ์การตลาด “ลด-แลก-แจก-แถม” ถล่มโปรโมชั่นผ่านเว็บไซต์ มธบ.ฉีกแนวชูหลักสูตรแพทย์แผนไทย สจล.ห่วงโฆษณาเกินจริง ส่วนนักวิชาการกังวลภาพลักษณ์ติดลบ
จากปัญหาภาพรวมของอัตราเด็กเกิดใหม่ลดลงและประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้เกิด “ช่องว่าง” ของประชากรในวัยเรียนที่จะมีจำนวนมากขึ้นในทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาลจนถึงชั้นอุดมศึกษา
ล่าสุด จำนวนนิสิตนักศึกษาในระบบจะมีอัตราลดน้อยถอยลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สถาบันการศึกษาของเอกชนต้องแข่งขันกันอย่างเข้มข้น พร้อมงัดกลยุทธ์การตลาดในทุกรูปแบบ เพื่อดึงดูดความสนใจ
5 มหา’ลัยยอดฮิต
รายงานข่าวระบุว่า จากสถิติการรับนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งจัดทำรายงานเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 ชี้ว่า จำนวนนักศึกษาใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 1 มีนักศึกษาใหม่ทั้งสิ้น 309,805 คน
ขณะที่นักศึกษาใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนมีจำนวนทั้งสิ้น 85,964 คนโดยจำนวนตัวเลขดังกล่าวคาดการณ์ว่า นักศึกษาใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเอกชนในปีการศึกษา 2566 น่าจะมีตัวเลขไม่ต่างจากปีที่ผ่านมามากนัก
ดังนั้น เมื่อย้อนดูสถิติดังกล่าวจะพบว่า ในจำนวน 85,964 คนที่เรียนในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนนั้น จะมี 5 สถาบันที่มีจำนวนนักศึกษาใหม่สมัครเรียนมากที่สุด (ปีการศึกษา 2565) ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 10,505 คน 2) มหาวิทยาลัยศรีปทุม 9,802 คน
3) มหาวิทยาลัยรังสิต 7,974 คน 4) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 4,617 คน และ 5) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 4,092 คน รวมทั้งหมด 36,990 คน นอกนั้นกระจายกันเรียนในแต่ละสถาบันทั่วประเทศ
เปิดศึกแย่งนักศึกษา
แหล่งข่าวจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยเอกชนกำลังเผชิญปัญหาจำนวนนักศึกษาในระบบลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งเกิดการแย่งชิงนักศึกษา โดยเฉพาะปีการศึกษา 2566 พบว่า มีการโปรโมตหลักสูตรสาขาใหม่ ๆ และสาขาที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดงานด้วย
“แต่ก็ยังไม่เป็นที่สนใจแก่เด็กรุ่นใหม่เท่าที่ควร เพราะส่วนใหญ่ยังยึดติดกับการเรียนคณะเดิม ๆ สาขาเดิม ๆ และมหาวิทยาลัยของรัฐยังเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ มากกว่ามหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเป็นแบบนี้มานานแล้ว แต่ถ้าพวกเขาสนใจที่จะเรียนเอกชนจริง ๆ ก็มักจะเลือกเรียนมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ เพราะมีการลด แลก แจก แถมค่อนข้างเยอะ ทั้งมีหลักสูตรหรือสาขาที่น่าสนใจมากกว่า”
สจล.ห่วงโฆษณาเกินจริง
รศ.ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้มหาวิทยาลัยของรัฐเผชิญปัญหาเรื่องจำนวนนักศึกษาสมัครสอบแข่งขันลดน้อยลงเช่นกัน แต่ไม่หนักเท่ามหาวิทยาลัยเอกชน
ซึ่งทางแก้ของมหาวิทยาลัยภาครัฐได้พยายามเน้นการเปิดหลักสูตรระยะสั้น เพื่อเจาะตลาดกลุ่มคนทั่วไปให้เข้ามาเรียน ตามนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ทุกช่วงวัยของกระทรวง อว. รวมถึงการเปิดหลักสูตร หรือสาขาใหม่ ๆ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด
“แต่ต้องยอมรับว่า มหาวิทยาลัยเอกชนก็มีการทำกลยุทธ์การตลาดเหมือนกัน แถมยังมากกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะแจกทุนการศึกษาแบบให้เปล่า จัดแพ็กเกจโปรโมชั่นพิเศษโดยให้ส่วนลดแบบเต็มที่ รวมถึงการแจกอุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ อีกมากมาย
ซึ่งผมคิดว่าแม้จะเป็นเรื่องปกติของทุกปีที่เห็นการให้สิทธิพิเศษแบบนี้ แต่อดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้ เพราะบางมหาวิทยาลัยอาจใช้วิธีโฆษณามากเกินจริง เช่น สมัครวันนี้ การันตีเรียนจบแน่นอน และจบเร็วภายใน 2-3 ปี ผมห่วงเรื่องผลลัพธ์ปลายทางมากกว่าว่า เด็กจบออกมาแล้วจะทำงานตรงตามที่ตลาดต้องการหรือไม่”
มธบ.ชูแพทย์แผนไทย
ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรับสมัครนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2566 ซึ่งยังเปิดรับอยู่เรื่อย ๆ ตอนนี้น่าจะอยู่ในช่วงที่นักศึกษากำลังตัดสินใจว่าจะเรียนที่ไหน แต่ในส่วนของมหาวิทยาลัยเอง คงต้องดูหลังจากเสร็จสิ้นการสมัคร TCAS รอบสุดท้าย คาดว่าน่าจะมีความคึกคักมากขึ้น
“ขณะนี้ มธบ.พยายามโปรโมตผ่านหน้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เพื่อชักชวนเด็ก ๆ มาสมัครเรียนกับเรา เพราะตอนนี้เปิดหลักสูตรน่าสนใจเยอะมากขึ้น เช่น หลักสูตรที่เกี่ยวกับด้านบริการ การบิน การท่องเที่ยว และเมื่อพวกเขาเรียนจบจะมีโอกาสเข้าสู่สายงานในตลาดค่อนข้างสูง
เช่นเดียวกับหลักสูตรแพทย์แผนไทยของวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ซึ่งเป็นหลักสูตรยอดนิยม เพราะขณะนี้เทรนด์สุขภาพมาแรง เราพยายามให้โอกาสเด็ก ๆ ด้วยการให้ทุนการศึกษาต่อเนื่องทุกปี”
ถล่มโปรฯผ่านเว็บ
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจเว็บไซต์ 5 มหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ปรากฏว่า แต่ละมหาวิทยาลัยต่างงัดกลยุทธ์การตลาดด้วยการจัดโปรโมชั่นพิเศษ เพื่อชิงนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2566 อย่างคึกคัก อาทิ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มอบทุน BU Freshy แก่นักศึกษาใหม่จำนวน 5,000 บาท
ทั้งยังใช้สิทธิกู้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ด้วยการชำระเพียง 4,000 บาท สามารถเข้าเรียนได้ทันทีโดยไม่จำกัดเกรดเฉลี่ย และบางสาขาสามารถแบ่งชำระค่าเทอมตลอดปีการศึกษาได้ถึง 10 ครั้งต่อปีอีกด้วย
ส่วนมหาวิทยาลัยศรีปทุมใช้กลยุทธ์ไม่ต้องใช้คะแนนสอบ, ไม่ต้องยื่น portfolio, ไม่ต้องสอบสัมภาษณ์ ที่สำคัญ หากนักศึกษาสมัครวันนี้สามารถรับทุนการศึกษาถึง 15,000 บาท ขณะที่มหาวิทยาลัยรังสิต ประกาศให้ทุน Early bird จำนวน 5,000 บาท
พร้อมให้ทุนสำหรับหลักสูตรใหม่ สาขาชรัณสุขศาสตร์ (Gerontology) คณะกายภาพบำบัด และเวชศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับผลิตบุคลากรที่มีทักษะการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม หรือนักจัดการสุขภาวะเพื่อดูแลผู้สูงอายุ เฉพาะหลักสูตรนี้มีการให้ทุนการศึกษา 100% ตลอด 4 ปี
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประกาศหากนักศึกษาคนใดสมัครเรียน แล้วจ่ายเงินเพียง 1,000 บาทจะได้สิทธิพิเศษด้วยการรับทุน START UP จำนวน 15,000 บาท ทั้งยังมีการทำเรื่องกู้ กยศ. พร้อมรับไอแพดฟรี
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์งัดกลยุทธ์ หากผู้ใดสมัครและมอบตัวภายในเดือนเมษายน 2566 รับทุนการศึกษา 15,000 บาท พร้อม iPad Gen 10 รุ่นใหม่ล่าสุดฟรี และรับสิทธิพิเศษสูงถึง 33,000 บาท ที่สำคัญ ยังโปรโมตหลักสูตรสุดฮอตอย่าง “แพทย์แผนไทย” จากวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการโดยสมัครและมอบตัววันนี้รับทุนการศึกษาได้ถึง 60,000 บาท
ห่วงภาพลักษณ์ ม.เอกชน
แหล่งข่าวจากแวดวงธุรกิจการศึกษากล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งเริ่มไม่ค่อยสนใจกลุ่มนักศึกษาไทยแล้ว โดยมุ่งทำตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งช่วงหลังกลายเป็นตลาดหลัก เนื่องจากมีนักศึกษาจีนเข้ามาเรียนในไทยหลายหมื่นคน มากกว่านักศึกษาประเทศอื่น ๆ ทั้งมีแนวโน้มว่าจะแห่มาเรียนมากขึ้นด้วย เนื่องจากตอนนี้คนจีนเข้ามาซื้อกิจการมหาวิทยาลัยของไทยหลายแห่งแล้ว ทั้งของสถาบันอุดมศึกษา และของโรงเรียน บางมหาวิทยาลัยทำโปรแกรมพิเศษรับเฉพาะกลุ่มนักศึกษาจีนเข้ามาเรียนโดยเฉพาะ
“ในมุมมองของดิฉัน การที่นักศึกษาจีนมาเรียนต่อจำนวนมาก ถือเป็นโอกาสที่ดีของไทย แต่สิ่งที่กังวลคือ อยากให้มหาวิทยาลัยไทยเร่งสร้างภาพลักษณ์และรักษาคุณภาพ ในส่วนมหาวิทยาลัยรัฐอาจไม่ห่วงเท่าไหร่ แต่ของเอกชนบางแห่งที่ Ranking ไม่สูง อาจเสี่ยงโดนแบนจากรัฐบาลจีน เนื่องจากขาดคุณภาพ แถมราคาแพง
เช่น ระดับปริญญาเอก จากค่าเล่าเรียนหลักแสนบาทต่อปี แต่เมื่อไปทำการตลาดที่จีนราคากลับพุ่งไปถึงปีละล้าน ถือว่าสูงมาก แต่คนจีนยอมจ่ายเนื่องจากระดับปริญญาโท ปริญญาเอกยังต้องสอบเข้า ถ้าสอบไม่ผ่านคงต้องมองหาประเทศอื่นเพื่อไปเรียนต่อ เพราะที่นั่งในมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอ เช่นเดียวกับระดับปริญญาตรี”
“ปัจจุบันกลุ่มคนจีนที่นิยมไปเรียนต่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) กลุ่มที่สนใจไปเรียนจริง ๆ และเรียนเพื่อหาโอกาสต่อยอด เพราะการจะรับตำแหน่งต่าง ๆ ในบริษัทจีนต้องใช้วุฒิปริญญาโท หรือปริญญาเอกขึ้นไป 2) กลุ่มที่อยากออกนอกประเทศ กลุ่มนี้มีจำนวนมาก และไม่ได้สนใจเรื่องชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย หรือคุณภาพมากนัก ต่อให้ราคาแพงก็พร้อมจะจ่าย
จึงค่อนข้างกังวลว่าอาจทำให้มาตรฐาน หรือคุณภาพระบบการศึกษาไทยเปลี่ยนไป จนสร้างภาพลบที่ไม่ดีกับประเทศ จึงอยากให้สถาบันต่าง ๆ ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพการเรียนการสอนด้วย เพราะถ้าหากสถาบันใดทำเสียชื่อเสียง เหมือนปลาเน่าตัวเดียว อาจเสียหายทั้งระบบ”
มหาวิทยาลัยไทยแข่งเดือด ถล่มโปรไฟไหม้แย่งนักศึกษาใหม่ (ปีการศึกษา 2566)
แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/education/news-1266344
ธุรกิจการศึกษาถึงจุดเปลี่ยน-แข่งเดือด ยอดจำนวนนักศึกษาหดตัวแรง ทั้งตลาดเหลือไม่ถึง 1 แสนคน เผย 5 มหา’ลัยเอกชนเปิดศึกแย่งชิงนักศึกษาไทย-จีน งัดกลยุทธ์การตลาด “ลด-แลก-แจก-แถม” ถล่มโปรโมชั่นผ่านเว็บไซต์ มธบ.ฉีกแนวชูหลักสูตรแพทย์แผนไทย สจล.ห่วงโฆษณาเกินจริง ส่วนนักวิชาการกังวลภาพลักษณ์ติดลบ
จากปัญหาภาพรวมของอัตราเด็กเกิดใหม่ลดลงและประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้เกิด “ช่องว่าง” ของประชากรในวัยเรียนที่จะมีจำนวนมากขึ้นในทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาลจนถึงชั้นอุดมศึกษา
ล่าสุด จำนวนนิสิตนักศึกษาในระบบจะมีอัตราลดน้อยถอยลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สถาบันการศึกษาของเอกชนต้องแข่งขันกันอย่างเข้มข้น พร้อมงัดกลยุทธ์การตลาดในทุกรูปแบบ เพื่อดึงดูดความสนใจ
5 มหา’ลัยยอดฮิต
รายงานข่าวระบุว่า จากสถิติการรับนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งจัดทำรายงานเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 ชี้ว่า จำนวนนักศึกษาใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 1 มีนักศึกษาใหม่ทั้งสิ้น 309,805 คน
ขณะที่นักศึกษาใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนมีจำนวนทั้งสิ้น 85,964 คนโดยจำนวนตัวเลขดังกล่าวคาดการณ์ว่า นักศึกษาใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเอกชนในปีการศึกษา 2566 น่าจะมีตัวเลขไม่ต่างจากปีที่ผ่านมามากนัก
ดังนั้น เมื่อย้อนดูสถิติดังกล่าวจะพบว่า ในจำนวน 85,964 คนที่เรียนในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนนั้น จะมี 5 สถาบันที่มีจำนวนนักศึกษาใหม่สมัครเรียนมากที่สุด (ปีการศึกษา 2565) ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 10,505 คน 2) มหาวิทยาลัยศรีปทุม 9,802 คน
3) มหาวิทยาลัยรังสิต 7,974 คน 4) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 4,617 คน และ 5) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 4,092 คน รวมทั้งหมด 36,990 คน นอกนั้นกระจายกันเรียนในแต่ละสถาบันทั่วประเทศ
เปิดศึกแย่งนักศึกษา
แหล่งข่าวจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยเอกชนกำลังเผชิญปัญหาจำนวนนักศึกษาในระบบลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งเกิดการแย่งชิงนักศึกษา โดยเฉพาะปีการศึกษา 2566 พบว่า มีการโปรโมตหลักสูตรสาขาใหม่ ๆ และสาขาที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดงานด้วย
“แต่ก็ยังไม่เป็นที่สนใจแก่เด็กรุ่นใหม่เท่าที่ควร เพราะส่วนใหญ่ยังยึดติดกับการเรียนคณะเดิม ๆ สาขาเดิม ๆ และมหาวิทยาลัยของรัฐยังเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ มากกว่ามหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเป็นแบบนี้มานานแล้ว แต่ถ้าพวกเขาสนใจที่จะเรียนเอกชนจริง ๆ ก็มักจะเลือกเรียนมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ เพราะมีการลด แลก แจก แถมค่อนข้างเยอะ ทั้งมีหลักสูตรหรือสาขาที่น่าสนใจมากกว่า”
สจล.ห่วงโฆษณาเกินจริง
รศ.ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้มหาวิทยาลัยของรัฐเผชิญปัญหาเรื่องจำนวนนักศึกษาสมัครสอบแข่งขันลดน้อยลงเช่นกัน แต่ไม่หนักเท่ามหาวิทยาลัยเอกชน
ซึ่งทางแก้ของมหาวิทยาลัยภาครัฐได้พยายามเน้นการเปิดหลักสูตรระยะสั้น เพื่อเจาะตลาดกลุ่มคนทั่วไปให้เข้ามาเรียน ตามนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ทุกช่วงวัยของกระทรวง อว. รวมถึงการเปิดหลักสูตร หรือสาขาใหม่ ๆ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด
“แต่ต้องยอมรับว่า มหาวิทยาลัยเอกชนก็มีการทำกลยุทธ์การตลาดเหมือนกัน แถมยังมากกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะแจกทุนการศึกษาแบบให้เปล่า จัดแพ็กเกจโปรโมชั่นพิเศษโดยให้ส่วนลดแบบเต็มที่ รวมถึงการแจกอุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ อีกมากมาย
ซึ่งผมคิดว่าแม้จะเป็นเรื่องปกติของทุกปีที่เห็นการให้สิทธิพิเศษแบบนี้ แต่อดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้ เพราะบางมหาวิทยาลัยอาจใช้วิธีโฆษณามากเกินจริง เช่น สมัครวันนี้ การันตีเรียนจบแน่นอน และจบเร็วภายใน 2-3 ปี ผมห่วงเรื่องผลลัพธ์ปลายทางมากกว่าว่า เด็กจบออกมาแล้วจะทำงานตรงตามที่ตลาดต้องการหรือไม่”
มธบ.ชูแพทย์แผนไทย
ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรับสมัครนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2566 ซึ่งยังเปิดรับอยู่เรื่อย ๆ ตอนนี้น่าจะอยู่ในช่วงที่นักศึกษากำลังตัดสินใจว่าจะเรียนที่ไหน แต่ในส่วนของมหาวิทยาลัยเอง คงต้องดูหลังจากเสร็จสิ้นการสมัคร TCAS รอบสุดท้าย คาดว่าน่าจะมีความคึกคักมากขึ้น
“ขณะนี้ มธบ.พยายามโปรโมตผ่านหน้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เพื่อชักชวนเด็ก ๆ มาสมัครเรียนกับเรา เพราะตอนนี้เปิดหลักสูตรน่าสนใจเยอะมากขึ้น เช่น หลักสูตรที่เกี่ยวกับด้านบริการ การบิน การท่องเที่ยว และเมื่อพวกเขาเรียนจบจะมีโอกาสเข้าสู่สายงานในตลาดค่อนข้างสูง
เช่นเดียวกับหลักสูตรแพทย์แผนไทยของวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ซึ่งเป็นหลักสูตรยอดนิยม เพราะขณะนี้เทรนด์สุขภาพมาแรง เราพยายามให้โอกาสเด็ก ๆ ด้วยการให้ทุนการศึกษาต่อเนื่องทุกปี”
ถล่มโปรฯผ่านเว็บ
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจเว็บไซต์ 5 มหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ปรากฏว่า แต่ละมหาวิทยาลัยต่างงัดกลยุทธ์การตลาดด้วยการจัดโปรโมชั่นพิเศษ เพื่อชิงนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2566 อย่างคึกคัก อาทิ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มอบทุน BU Freshy แก่นักศึกษาใหม่จำนวน 5,000 บาท
ทั้งยังใช้สิทธิกู้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ด้วยการชำระเพียง 4,000 บาท สามารถเข้าเรียนได้ทันทีโดยไม่จำกัดเกรดเฉลี่ย และบางสาขาสามารถแบ่งชำระค่าเทอมตลอดปีการศึกษาได้ถึง 10 ครั้งต่อปีอีกด้วย
ส่วนมหาวิทยาลัยศรีปทุมใช้กลยุทธ์ไม่ต้องใช้คะแนนสอบ, ไม่ต้องยื่น portfolio, ไม่ต้องสอบสัมภาษณ์ ที่สำคัญ หากนักศึกษาสมัครวันนี้สามารถรับทุนการศึกษาถึง 15,000 บาท ขณะที่มหาวิทยาลัยรังสิต ประกาศให้ทุน Early bird จำนวน 5,000 บาท
พร้อมให้ทุนสำหรับหลักสูตรใหม่ สาขาชรัณสุขศาสตร์ (Gerontology) คณะกายภาพบำบัด และเวชศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับผลิตบุคลากรที่มีทักษะการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม หรือนักจัดการสุขภาวะเพื่อดูแลผู้สูงอายุ เฉพาะหลักสูตรนี้มีการให้ทุนการศึกษา 100% ตลอด 4 ปี
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประกาศหากนักศึกษาคนใดสมัครเรียน แล้วจ่ายเงินเพียง 1,000 บาทจะได้สิทธิพิเศษด้วยการรับทุน START UP จำนวน 15,000 บาท ทั้งยังมีการทำเรื่องกู้ กยศ. พร้อมรับไอแพดฟรี
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์งัดกลยุทธ์ หากผู้ใดสมัครและมอบตัวภายในเดือนเมษายน 2566 รับทุนการศึกษา 15,000 บาท พร้อม iPad Gen 10 รุ่นใหม่ล่าสุดฟรี และรับสิทธิพิเศษสูงถึง 33,000 บาท ที่สำคัญ ยังโปรโมตหลักสูตรสุดฮอตอย่าง “แพทย์แผนไทย” จากวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการโดยสมัครและมอบตัววันนี้รับทุนการศึกษาได้ถึง 60,000 บาท
ห่วงภาพลักษณ์ ม.เอกชน
แหล่งข่าวจากแวดวงธุรกิจการศึกษากล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งเริ่มไม่ค่อยสนใจกลุ่มนักศึกษาไทยแล้ว โดยมุ่งทำตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งช่วงหลังกลายเป็นตลาดหลัก เนื่องจากมีนักศึกษาจีนเข้ามาเรียนในไทยหลายหมื่นคน มากกว่านักศึกษาประเทศอื่น ๆ ทั้งมีแนวโน้มว่าจะแห่มาเรียนมากขึ้นด้วย เนื่องจากตอนนี้คนจีนเข้ามาซื้อกิจการมหาวิทยาลัยของไทยหลายแห่งแล้ว ทั้งของสถาบันอุดมศึกษา และของโรงเรียน บางมหาวิทยาลัยทำโปรแกรมพิเศษรับเฉพาะกลุ่มนักศึกษาจีนเข้ามาเรียนโดยเฉพาะ
“ในมุมมองของดิฉัน การที่นักศึกษาจีนมาเรียนต่อจำนวนมาก ถือเป็นโอกาสที่ดีของไทย แต่สิ่งที่กังวลคือ อยากให้มหาวิทยาลัยไทยเร่งสร้างภาพลักษณ์และรักษาคุณภาพ ในส่วนมหาวิทยาลัยรัฐอาจไม่ห่วงเท่าไหร่ แต่ของเอกชนบางแห่งที่ Ranking ไม่สูง อาจเสี่ยงโดนแบนจากรัฐบาลจีน เนื่องจากขาดคุณภาพ แถมราคาแพง
เช่น ระดับปริญญาเอก จากค่าเล่าเรียนหลักแสนบาทต่อปี แต่เมื่อไปทำการตลาดที่จีนราคากลับพุ่งไปถึงปีละล้าน ถือว่าสูงมาก แต่คนจีนยอมจ่ายเนื่องจากระดับปริญญาโท ปริญญาเอกยังต้องสอบเข้า ถ้าสอบไม่ผ่านคงต้องมองหาประเทศอื่นเพื่อไปเรียนต่อ เพราะที่นั่งในมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอ เช่นเดียวกับระดับปริญญาตรี”
“ปัจจุบันกลุ่มคนจีนที่นิยมไปเรียนต่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) กลุ่มที่สนใจไปเรียนจริง ๆ และเรียนเพื่อหาโอกาสต่อยอด เพราะการจะรับตำแหน่งต่าง ๆ ในบริษัทจีนต้องใช้วุฒิปริญญาโท หรือปริญญาเอกขึ้นไป 2) กลุ่มที่อยากออกนอกประเทศ กลุ่มนี้มีจำนวนมาก และไม่ได้สนใจเรื่องชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย หรือคุณภาพมากนัก ต่อให้ราคาแพงก็พร้อมจะจ่าย
จึงค่อนข้างกังวลว่าอาจทำให้มาตรฐาน หรือคุณภาพระบบการศึกษาไทยเปลี่ยนไป จนสร้างภาพลบที่ไม่ดีกับประเทศ จึงอยากให้สถาบันต่าง ๆ ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพการเรียนการสอนด้วย เพราะถ้าหากสถาบันใดทำเสียชื่อเสียง เหมือนปลาเน่าตัวเดียว อาจเสียหายทั้งระบบ”