++++++ ขอถามเรื่อง Factor of Safety ในการก่อสร้างครับ ++++++++

คือเคยได้ยินมาว่าในการ่อสร้างนั้น มีการให้ค่า Factor of safety ในการกำหนดค่าคุณสมบัติของวัสดุ
ต่างๆๆ เช่น การรับแรงของเสาเข็ม  การรับแรงของคอนกรีต การรับแรงของเหล็ก เพื่อใช้ในการคำนวณ
ในการออกแบบอาคาร ฯลฯ

ในกรณีของเหล็กเส้น....
อ่านในเน็ตมีการระบุว่าเหล็ก SD 300 รับน้ำหนักได้ 3000 Ksc  คำถามคือ....
1.ที่ว่ารับน้ำหนักได้ 3000 Ksc  นั้นหมายถึง 3000 กก.ต่อตารางเซนติเมตรใช่ไหมครับ
( Ksc =  Kilograms per Square Centimeters ??)

2. รับน้ำหนักได้ 3000 Ksc นั้นยังมี Factor of safety อีก 2.5 ใช่ไหมครับ

3.ถ้ามี safety factor 2.5 นั้นหมายถึง เหล็กจะคราดหรือเสียสภาพเมื่อมีแรงมากระทำ
ต่อเหล็กมากกว่า 2.5 เท่าของ 3000 KSc ใช่ไหมครับ (คือเหล็กจะทนไม่ได้เมื่อมีแรง
มากระทำ 7500 Ksc ใช่ไหมครับ)
แก้ไขข้อความเมื่อ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
อ่านในเน็ตมีการระบุว่าเหล็ก SD 300 รับน้ำหนักได้ 3000 Ksc  คำถามคือ....
1.ที่ว่ารับน้ำหนักได้ 3000 Ksc  นั้นหมายถึง 3000 กก.ต่อตารางเซนติเมตรใช่ไหมครับ ( Kilograms per Square Centimeters)
ตอบ ใช่ครับ เป็นแรงดึง

2. ค่า 3000 Ksc ยังมี Factor of safety อีก 2.5 ใช่ไหมครับ
ตอบ ไม่ใช่ครับ ค่า 3000 Ksc คือแรงดึงต่ำสุดที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานครับ ทดสอบจริงอาจจะสูงกว่านี้แต่ไม่มาก
ถ้ามากกว่าก็จะเข้าเกณฑ์ SD 40 ไป ส่วน Factor 2.5 จะใช้ในงานเสาเข็ม และแรงแบกทานของดินมากกว่า
งานเหล็กเสริมใช้แค่ 0.4-0.6 คือ คิดแค่ครึ่งเดียวตอนคำนวนครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่เคยเกิน 1500 ksc

3.ถ้ามี safety factor 2.5 นั้นหมายถึง เหล็กจะคราดหรือเสียสภาพเมื่อมีแรงมากระทำมากกว่า 2.5 เท่าของ 3000 KSc ใช่ไหมครับ
ตอบ ในทางทฤษฎี ใช่ ครับ แต่เราไม่ได้เผื่อเหล็กถึงขนาดนั้น เพราะถ้าใช่ถึง 2.5 เกรงว่าคานเล็กๆ จะเต็มไปด้วยเหล็กเสริมครับ
จะไปใช้จริงๆคือ แรงแบกทานในดิน เช่น สำรวจได้ 2.5 ตันต่อตารางเมตร ที่ความลึก 5 เมตร
พอเราเอาไปคำนวณออกแบบฐานราก เราจะใช้แค่ 1 ตันไปคำนวณครับ หมายความว่าฐานรากจะใหญ่ขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่