คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
เหล็กเสริมหลักหมายถึงเหล็กที่วิ่งตลอดความยาวคานโดยไม่มีการหยุด ส่วนมากจะเป็นเหล็กที่มุมปลอกของคาน(ทั้งบนและล่าง) ครับ โดยส่วนใหญ่นิยมวิ่งเหล็กยาวๆ โดยไม่มีการตัด โดยจะมีการทาบต่อกันเมื่อเจอคานต่อเนื่องยาวๆ (ความยาวเหล็กเสริมคอนกรีตปกติประมาณ 10 หรือ 12 เมตรต่อเส้น) โดยการทาบต่อกันนั้น (overlap) นิยมใช้ความยาวในการทาบประมาณ 40เท่าของเส้นผ่าศูนย์ของเหล็กข้ออ้อยครับ (ถ้าทาบเหล็กกลมต้องคูณ 2) โดยเหล็กเสริมหลักบน ให้ต่อทาบกันกลางช่วงคาน และเหล็กเสริมหลักล่าง ให้ต่อทาบกันที่บริเวณช่วงเสาครับ
เหล็กเสริมพิเศษ หมายถึงเหล็กที่เสริมเข้าไปบางช่วงของคานเช่น กลางท้องคาน หรือ บริเวณหัวเสา เพื่อช่วยให้คานรับกำลังได้มากขึ้น โดยความยาวเหล็ก ดูตามแบบที่ระบุ ในที่นี้ L1,L2/5,L2/4,L3/5 และ L3/4 เป็นระยะความยาวของเหล็กเสริมพิเศษที่ล้วงเข้าไปในคานแต่ละช่วง ยกตัวอย่างเช่น คานชื่อ B2 ยาว L2 เมตร สังเกตเหล็กล่างที่หน้าตัดที่ตรงกลางคาน (middle span) ระบุไว้ว่ามี 5db 12 (คือเหล็กข้ออ้อย12mm.จำนวน 5 เส้น)เทียบกับปลายคาน (end&cant Span)ระบุไว้ว่ามี 2 db12 (คือเหล็กข้ออ้อย12mm.จำนวน 2 เส้น) แสดงว่า เหล็กล่างของคาน B2 ที่ยาว 5 เมตรนี้ มีเหล็กเสริมหลักที่ยาวตลอดคาน จำนวน 2 เส้นคือที่มุมปลอกคาน ในส่วนอีก 3 เส้น เป็นเหล็กพิเศษล่างช่วงกลางคาน ซึ่งต้องมีความยาวตามแบบ = L2-(2x(L2/5)) เมตร โดยจัดให้อยู่กึ่งกลางคานตามแบบ
ในทางกลับกัน เหล็กบนก็เช่นกัน แต่การเสริมเหล็กพิเศษบนจะจัดให้อยู่บริเวณหัวเสา โดยระยะความยาวของเหล็กเสริมพิเศษบนก็เท่ากับ L2/5+L3/5 จัดให้อยู่ตามแบบเช่นกัน โดย L3 คือระยะช่วงคานช่วงถัดไป โดยอาจจะเท่ากับ L2 หรือไม่ก็ได้ (แต่โดยส่วนมากจะเท่าหรือใกล้เคียง)
การเสริมเหล็กพิเศษบน ให้ระวังว่า ถ้าคานที่เบอร์ไม่เหมือนกัน มาเจอกัน ให้ยึดเหล็กชุดที่มากหรือจำนวนมากเป็นเกณฑ์ เช่นคานA ระบุมีเหล็กเสริมพิเศษบน 3db12 มาเจอคาน B ระบุมีเหล็กเสริมพิเศษบน 3db16 (เหล็กข้ออ้อย16mm. 3 เส้น) ก็ควรจะใส่ 3db16 ไปเลย
Note : ดูตามแบบแล้ว ให้เทียบความยาว L1 กับ 40D ของเหล็กข้ออ้อยของคานยื่นตัวนั้นๆ ถ้าค่าไหนมากกว่า ให้ใช้ค่านั้นล้วงเข้าไปในคานครับ
เหล็กเสริมพิเศษ หมายถึงเหล็กที่เสริมเข้าไปบางช่วงของคานเช่น กลางท้องคาน หรือ บริเวณหัวเสา เพื่อช่วยให้คานรับกำลังได้มากขึ้น โดยความยาวเหล็ก ดูตามแบบที่ระบุ ในที่นี้ L1,L2/5,L2/4,L3/5 และ L3/4 เป็นระยะความยาวของเหล็กเสริมพิเศษที่ล้วงเข้าไปในคานแต่ละช่วง ยกตัวอย่างเช่น คานชื่อ B2 ยาว L2 เมตร สังเกตเหล็กล่างที่หน้าตัดที่ตรงกลางคาน (middle span) ระบุไว้ว่ามี 5db 12 (คือเหล็กข้ออ้อย12mm.จำนวน 5 เส้น)เทียบกับปลายคาน (end&cant Span)ระบุไว้ว่ามี 2 db12 (คือเหล็กข้ออ้อย12mm.จำนวน 2 เส้น) แสดงว่า เหล็กล่างของคาน B2 ที่ยาว 5 เมตรนี้ มีเหล็กเสริมหลักที่ยาวตลอดคาน จำนวน 2 เส้นคือที่มุมปลอกคาน ในส่วนอีก 3 เส้น เป็นเหล็กพิเศษล่างช่วงกลางคาน ซึ่งต้องมีความยาวตามแบบ = L2-(2x(L2/5)) เมตร โดยจัดให้อยู่กึ่งกลางคานตามแบบ
ในทางกลับกัน เหล็กบนก็เช่นกัน แต่การเสริมเหล็กพิเศษบนจะจัดให้อยู่บริเวณหัวเสา โดยระยะความยาวของเหล็กเสริมพิเศษบนก็เท่ากับ L2/5+L3/5 จัดให้อยู่ตามแบบเช่นกัน โดย L3 คือระยะช่วงคานช่วงถัดไป โดยอาจจะเท่ากับ L2 หรือไม่ก็ได้ (แต่โดยส่วนมากจะเท่าหรือใกล้เคียง)
การเสริมเหล็กพิเศษบน ให้ระวังว่า ถ้าคานที่เบอร์ไม่เหมือนกัน มาเจอกัน ให้ยึดเหล็กชุดที่มากหรือจำนวนมากเป็นเกณฑ์ เช่นคานA ระบุมีเหล็กเสริมพิเศษบน 3db12 มาเจอคาน B ระบุมีเหล็กเสริมพิเศษบน 3db16 (เหล็กข้ออ้อย16mm. 3 เส้น) ก็ควรจะใส่ 3db16 ไปเลย
Note : ดูตามแบบแล้ว ให้เทียบความยาว L1 กับ 40D ของเหล็กข้ออ้อยของคานยื่นตัวนั้นๆ ถ้าค่าไหนมากกว่า ให้ใช้ค่านั้นล้วงเข้าไปในคานครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
มันเป็นอย่างนี้ครับบริเวณหัวเสาเหล็กที่อยู่ด้านบนจะรับแรงมากกว่าเหล็กที่อยู่ด้านล่างจึงต้องเสริมเหล็กพิเศษไว้ด้านบน
บริเวณกลางคานเหล็กที่อยู่ด้านล่างจะรับแรงมากกว่าเลยต้องเสริมเหล็กพิเศษไว้ด้านล่าง
ทำไมไม่เสริมเหล็กพิเศษยาวไปเลยตลอดความยาวคานคำตอบก็คือเปลืองครับเค้าจะใส่เหล็กเสริมหลักยาวตลอดความยาวคานแล้วใส่เหล็กเสริมพิเศษเป็นช่วงๆเอา
ทีนี้จะดูยังไงว่าอันไหนเป็นเหล็กเสริมหลักอันไหนเป็นเหล็กเสริมพิเศษให้ดูที่หน้าตัดเหล็กที่หัวเสากับกลางคานคู่กันครับเหล็กเส้นไหนที่มีเหมือนกันแสดงว่าเป็นเหล็กเสริมหลักต้องวิ่งตลอดความยาวคานอันที่มีไม่เหมือนกันก็คือเหล็กเสริมพิเศษที่เพิ่มขึ้นมา
ส่วนเหล็กเสริมพิเศษต้องยาวเท่าไหร่ต้องเทียบเป็นอัตราส่วนของความยาวคานดูได้จากแบบขยายเหล็กเสริมพิเศษน่าจะทำความเข้าใจได้ไม่ยากครับความเห็นด้านบนก็ตอบไว้ค่อนข้างละเอียดแล้ว
บริเวณกลางคานเหล็กที่อยู่ด้านล่างจะรับแรงมากกว่าเลยต้องเสริมเหล็กพิเศษไว้ด้านล่าง
ทำไมไม่เสริมเหล็กพิเศษยาวไปเลยตลอดความยาวคานคำตอบก็คือเปลืองครับเค้าจะใส่เหล็กเสริมหลักยาวตลอดความยาวคานแล้วใส่เหล็กเสริมพิเศษเป็นช่วงๆเอา
ทีนี้จะดูยังไงว่าอันไหนเป็นเหล็กเสริมหลักอันไหนเป็นเหล็กเสริมพิเศษให้ดูที่หน้าตัดเหล็กที่หัวเสากับกลางคานคู่กันครับเหล็กเส้นไหนที่มีเหมือนกันแสดงว่าเป็นเหล็กเสริมหลักต้องวิ่งตลอดความยาวคานอันที่มีไม่เหมือนกันก็คือเหล็กเสริมพิเศษที่เพิ่มขึ้นมา
ส่วนเหล็กเสริมพิเศษต้องยาวเท่าไหร่ต้องเทียบเป็นอัตราส่วนของความยาวคานดูได้จากแบบขยายเหล็กเสริมพิเศษน่าจะทำความเข้าใจได้ไม่ยากครับความเห็นด้านบนก็ตอบไว้ค่อนข้างละเอียดแล้ว
แสดงความคิดเห็น
การอ่านแบบคาน หลักการตรวจสอบการต่อทาบ ผูกเหล็ก
ข้อมูลที่ไหน
ขอความรู้ด้วยครับ เพื่อตรวจเช็คงานครับ
ขอบคุณครับ