ถ้าใครที่ได้ติดตามสถานการณ์ตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลกตั้งแต่หลังช่วง Hamburger Crisis ที่ผ่านมาจะสังเกตได้ว่า การเข้ามาแทรกแซง momentum ของตลาดจากผู้กำหนดนั้น บิดเบือน บดบัง Fundamental ของเศรษฐกิจขนาดไหน เกิดศัพท์ฮิตติดตลาดขึ้นมามากมาย ทั้ง Carry Trade, Risk-on/Risk-off, PIIGS, Grexit, Bailout, Troika, Hard Landing, QE, Tappering, Abenomic และอื่นๆ อีกมากมาย คำพวกนี้ล้วนสะท้อนอำนาจในการจัดการตลาดของผู้กำหนดนโยบายของแต่ละประเทศทั้งสิ้น และเมื่อตลาดตระหนักได้ถึงอำนาจดังกล่าว จึงทำให้เกิดความระแวงตลอดเวลาว่า ”ใคร” จะทำ “อะไร” มากกว่าการมองในเรื่องของ Fundamental
ซึ่งเมื่อพวกพี่ๆ เค้าคิดจะทำอะไร พวกเค้าหวังผลที่ “ใหญ่” เสมอ ดังนั้นพี่ๆ เค้าจึงชอบทำ “เซอร์ไพร์ส” ให้ตลาดเสมอๆ เช่นกัน (จนบางครั้งเหมือนแข่งกัน ว่าใครทำเซอร์ไพร์สได้ใหญ่กว่า) เมื่อตลาดไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าใครจะออกมาทำอะไรเมื่อไหร่ แต่รู้ว่าเมื่อเค้าทำแล้วใหญ่แน่ จึงเกิดความระแวงในตลาดตลอดเวลา ทุกคนพร้อมที่จะปรับ Position อย่างใหญ่หลวง หากเกิดอะไรขึ้น คนที่ชนะคือคนที่ move ก่อน และปล่อยให้คนที่ move สุดท้าย นอนตายอ้างว้าง
แต่พวกเราไม่ใช่คนที่นอนรอใช่มั้ย ระหว่างที่เงี่ยหูรอฟังว่าพี่ๆ เค้าจะทำอะไร พวกเราจึง “เดา” กันไปต่างๆ นาๆ ทั้งเดาแบบมีหลักการบ้าง เดาไปเรื่อยบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เราจะเดาโดยอ้าง “สัญญาณ” สิ่งที่น่าขำก็คือการแปลงค่าสัญญาณที่ว่าเนี่ยแหละ ถ้าได้ติดตามบทวิเคราะห์ของ House ต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา เราจะเห็นการอ้างอิงถึงสัญญาณต่างๆ และการแปลงค่าสัญญาณนั้นๆ เพื่อคาดเดาถึง action ของพี่ๆ ทั้งหลายที่จะทำกัน
ตลกดีที่ตลาดจะมี reaction เป็น “บวก” หรือ “ลบ” นั้น ไม่ได้อยู่ที่ข้อมูลของสัญญาณว่าเป็นบวกหรือลบ แต่คือ Perception ของตลาดต่อสัญญาณนั้นต่างหาก ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์อย่างน่าขำ เช่น ข่าวกรีซได้รับอนุมัติ Bailout จาก Troika ในวันแรกของข่าวนี้ Perception ของตลาดคือบวก เอ้า เฮ! ยูโรแข็งขึ้นไป พอผ่านไปอีกวันตลาดชักลังเลใจ บอกว่า ไม่ใช่ดิ มันเป็นลบ เพราะได้รับเงินที่พ่วงมาด้วยการรัดเข็มขัด เอ้า ฮู! ยูโรอ่อนไป หรือจะเป็นบางข่าว ที่ออกมาผิดที่ผิดเวลาในช่วง ugly contest ของสหรัฐฯ และยุโรป เช่น หนี้สาธารณะของยุโรปพุ่งสูงปรี๊ด ร่อแร่แน่ แต่ขอโทษค่ะ ภาคการจ้างงานของสหรัฐฯ แย่กว่า โอเคยูโรแข็งค่ะ DJ ร่วง ตลาดหุ้นเอเชียเขียว หรือบางทีตัวเลขที่ดี แต่มันไม่ดีพอ หรือที่ว่าแย่ แต่ใครๆ ก็ว่าโอเค เช่น เศรษฐกิจจีนร่วง GDP โตแค่ 7.5% ขณะที่ตลาดเฮ ตัวเลขของฝั่งสหรัฐฯ ยุโรป ที่ยังติดลบแต่ลดลงนิดนึง ถ้าเราเป็นจีนคงเซ็งอ่ะ จะคาดหวังอะไรมากมายยย
เอาเป็นว่าหลังจากการตัดสินใจไม่ “Tappering” ในรอบนี้ของพี่เบน เราคงต้องเผชิญกับคำนี้กันอีกต่อไปอีกยาววว และขอปิดท้ายเพลงที่สะท้อนสถานการณ์ในตอนนี้ได้ดีที่สุด
สิ่งที่น่าตลกของ Economic ทุกวันนี้คือเรื่องของ Perception
ซึ่งเมื่อพวกพี่ๆ เค้าคิดจะทำอะไร พวกเค้าหวังผลที่ “ใหญ่” เสมอ ดังนั้นพี่ๆ เค้าจึงชอบทำ “เซอร์ไพร์ส” ให้ตลาดเสมอๆ เช่นกัน (จนบางครั้งเหมือนแข่งกัน ว่าใครทำเซอร์ไพร์สได้ใหญ่กว่า) เมื่อตลาดไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าใครจะออกมาทำอะไรเมื่อไหร่ แต่รู้ว่าเมื่อเค้าทำแล้วใหญ่แน่ จึงเกิดความระแวงในตลาดตลอดเวลา ทุกคนพร้อมที่จะปรับ Position อย่างใหญ่หลวง หากเกิดอะไรขึ้น คนที่ชนะคือคนที่ move ก่อน และปล่อยให้คนที่ move สุดท้าย นอนตายอ้างว้าง
แต่พวกเราไม่ใช่คนที่นอนรอใช่มั้ย ระหว่างที่เงี่ยหูรอฟังว่าพี่ๆ เค้าจะทำอะไร พวกเราจึง “เดา” กันไปต่างๆ นาๆ ทั้งเดาแบบมีหลักการบ้าง เดาไปเรื่อยบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เราจะเดาโดยอ้าง “สัญญาณ” สิ่งที่น่าขำก็คือการแปลงค่าสัญญาณที่ว่าเนี่ยแหละ ถ้าได้ติดตามบทวิเคราะห์ของ House ต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา เราจะเห็นการอ้างอิงถึงสัญญาณต่างๆ และการแปลงค่าสัญญาณนั้นๆ เพื่อคาดเดาถึง action ของพี่ๆ ทั้งหลายที่จะทำกัน
ตลกดีที่ตลาดจะมี reaction เป็น “บวก” หรือ “ลบ” นั้น ไม่ได้อยู่ที่ข้อมูลของสัญญาณว่าเป็นบวกหรือลบ แต่คือ Perception ของตลาดต่อสัญญาณนั้นต่างหาก ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์อย่างน่าขำ เช่น ข่าวกรีซได้รับอนุมัติ Bailout จาก Troika ในวันแรกของข่าวนี้ Perception ของตลาดคือบวก เอ้า เฮ! ยูโรแข็งขึ้นไป พอผ่านไปอีกวันตลาดชักลังเลใจ บอกว่า ไม่ใช่ดิ มันเป็นลบ เพราะได้รับเงินที่พ่วงมาด้วยการรัดเข็มขัด เอ้า ฮู! ยูโรอ่อนไป หรือจะเป็นบางข่าว ที่ออกมาผิดที่ผิดเวลาในช่วง ugly contest ของสหรัฐฯ และยุโรป เช่น หนี้สาธารณะของยุโรปพุ่งสูงปรี๊ด ร่อแร่แน่ แต่ขอโทษค่ะ ภาคการจ้างงานของสหรัฐฯ แย่กว่า โอเคยูโรแข็งค่ะ DJ ร่วง ตลาดหุ้นเอเชียเขียว หรือบางทีตัวเลขที่ดี แต่มันไม่ดีพอ หรือที่ว่าแย่ แต่ใครๆ ก็ว่าโอเค เช่น เศรษฐกิจจีนร่วง GDP โตแค่ 7.5% ขณะที่ตลาดเฮ ตัวเลขของฝั่งสหรัฐฯ ยุโรป ที่ยังติดลบแต่ลดลงนิดนึง ถ้าเราเป็นจีนคงเซ็งอ่ะ จะคาดหวังอะไรมากมายยย
เอาเป็นว่าหลังจากการตัดสินใจไม่ “Tappering” ในรอบนี้ของพี่เบน เราคงต้องเผชิญกับคำนี้กันอีกต่อไปอีกยาววว และขอปิดท้ายเพลงที่สะท้อนสถานการณ์ในตอนนี้ได้ดีที่สุด