ปาสาทิกสูตร สังคีติสูตร และการสังคายนา

.
             ในสมัยปลายพุทธกาล นิครนถ์นาฏบุตรผู้เป็นศาสดาของศาสนาเชนได้สิ้นชีวิตลง
             สาวกของท่านไม่ได้รวบรวมคำสอนไว้ และไม่ได้ตกลงกันไว้ให้ชัดเจน
             สาวกลูกศิษย์ก็แตกแยกทะเลาะวิวาทกันว่า ศาสดาของตนสอนว่าอย่างไร

             ครั้งนั้น ท่านพระจุนทะได้นำข่าวนี้มากราบทูลแด่พระพุทธเจ้า
             พระองค์ได้ตรัสแนะนำให้พระสงฆ์ทั้งปวง ร่วมกันสังคายนาธรรมทั้งหลายไว้
             เพื่อให้พระศาสนาดำรงอยู่ยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน

             พระพุทธพจน์
             เพราะเหตุดังนี้นั่นแหละ จุนทะ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นใด อัน
เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
             บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุม รวบรวมตรวจตรา
อรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ ในธรรมเหล่านั้น
             โดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงเป็นไปตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนาน
พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็น
อันมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความ
สุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย
             ปาสาทิกสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=2537&Z=3181&bgc=lavender

   


             คราวหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรปรารภเรื่องนี้
             แล้วได้แสดงวิธีการสังคายนาไว้เป็นตัวอย่างเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า ซึ่งมีพระสงฆ์ประชุมเฝ้าพร้อมอยู่
             ท่านได้รวบรวมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อธรรมต่างๆ  ตั้งแต่หมวด ๑ ไปจนถึงหมวด ๑๐
             เมื่อท่านพระสารีบุตรแสดงจบแล้ว พระพุทธเจ้าทรงประทานสาธุการหลักธรรมที่ท่านพระสารีบุตรแสดงจบแล้ว
             เรื่องราวตอนนี้มาในพระสูตรชื่อ สังคีติสูตร ซึ่งแปลว่า พระสูตรว่าด้วยการสังคายนา หรือ สังคีติ
             แปลตามตัวอักษรว่า การสวดพร้อมกัน (จาก สํ "พร้อมกัน" + คายน หรือ คีติ "การสวด")

             หลังพุทธปรินิพพาน ท่านพระมหากัสสปะดำริเรื่องการทำสังคายนาพระธรรมวินัย
โดยปรารภเรื่องสุภัททภิกษุผู้บวชเมื่อแก่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย

             การสังคายนา เป็นวิธีการรักษาพระพุทธพจน์โดยการรวบรวมคำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
แล้วจัดเป็นหมวดหมู่ให้จดจำได้ง่าย และซักซ้อมทบทวนกันจนลงตัว
             แล้วสวดสาธยายพร้อมกันแสดงความยอมรับเป็นแบบแผนเพื่อทรงจำสืบต่อกันมา

             คำว่า การประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าวางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียว;
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังคายนา



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๑๐. สังคีติสูตร (๓๓)
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  บรรทัดที่ ๔๕๐๑ - ๗๐๑๕.  หน้าที่  ๑๘๖ - ๒๘๘.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=4501&Z=7015&bgc=lavender&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&bgc=lavender





             สังคีติสูตร (ย่อ)
            สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวจาริกไปในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จถึงนครของพวกมัลลกษัตริย์อันมีนามว่า ปาวา แล้วประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง
ของนายจุนทกัมมารบุตร
            พวกเจ้ามัลละได้สดับข่าวนี้ จึงได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ  
กราบทูลขอให้พระผู้มีพระภาคทรงใช้ท้องพระโรงหลังใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จชื่อว่า อุพภตกะ เป็นปฐมฤกษ์
            หลังจากนั้น พวกเจ้ามัลละจึงจะใช้ท้องพระโรงนี้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่พวกเจ้ามัลละตลอดกาลนาน
            พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ
            เมื่อพวกเจ้ามัลละตระเตรียมสถานที่เสร็จแล้ว พระองค์จึงเสด็จไปยังท้องพระโรงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
            พระองค์ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
            ภิกษุสงฆ์นั่งพิงฝาด้านตะวันตก อยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง) ของพระองค์
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
            พวกเจ้ามัลละนั่งพิงฝาด้านตะวันออก อยู่เบื้องพระพักตร์ (หน้า) ของพระองค์
หันหน้าไปทางทิศตะวันตก
            ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาแ่ก่พวกเจ้ามัลละจนเกือบสว่าง
แล้วตรัสให้พวกเจ้ามัลละกลับไปได้
            เมื่อพวกเจ้ามัลละกลับไปแล้ว พระองค์ทอดพระเนตรเห็นภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนะ
และมิทธะ (หดหู่และเซื่องซึม)
            จึงตรัสสั่งให้ท่านพระสารีบุตรแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เพราะพระองค์ทรงเมื่อยหลัง
จะทรงพักผ่อน
            ท่านพระสารีบุตรทูลรับสนองพระดำรัส พระผู้มีพระภาคจึงทรงสำเร็จสีหไสยา
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=จุนทกัมมารบุตร
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรมีกถา
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สีหไสยา

            สมัยนั้น นิครนถ์นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมแล้วไม่นานที่นครปาวา เพราะการถึงแก่กรรมของ
นิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็น ๒ พวก
            แม้พวกสาวกของนิครนถ์นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ก็มีอาการเบื่อหน่าย
คลายความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวก
            ทั้งนี้เพราะธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี
            ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนัก (ศาสดา) ถูกทำลายแล้ว
เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นิครนถนาฏบุตร&detail=on

            ท่านพระสารีบุตรปรารภความที่นิครนถ์นาฏบุตรถึงแก่กรรม สาวกแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย ฯลฯ
            และกล่าวว่า
            ส่วนธรรมนี้แหละ พระผู้มีพระภาคของพวกเราตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว
เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้
            พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา (สงฺคายิตพฺพํ) ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น
เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน

            ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

            ธรรมดังกล่าว จัดเป็นหมวดดังนี้

            ๑. ธรรมหนึ่ง คือ
๑.   สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร (กพฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร)
๒.   สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะสังขาร (อวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร)
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาหาร_4

            ๒. ธรรมสอง คือ
๒.๑  - นาม (คือ อรูปขันธ์ ๔ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) และ นิพพาน ๑)
    - รูป (มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ คืออุปาทายรูป ๒๔)
๒.๒  อวิชชา (ความไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔) และ ภวตัณหา (ความปรารถนาภพ)
๒.๓  - ภวทิฐิ (สัสสตทิฏฐิ คือเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง)
    - วิภวทิฐิ (อุจเฉททิฏฐิ  คือเห็นว่าอัตตาและโลกขาดสูญ)
๒.๔  ความไม่ละอาย (อหิริกะ) และ ความไม่เกรงกลัว (อโนตตัปปะ)
๒.๕  ความละอาย (หิริ) และ ความเกรงกลัว (โอตตัปปะ)
๒.๖  ความเป็นผู้ว่ายาก (โทวจัสสตา) และ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว (ปาปมิตตตา)
๒.๗  ความเป็นผู้ว่าง่าย (โสวจัสสตา) และ ความเป็นผู้มีมิตรดี (กัลยาณมิตตตา)
๒.๘  - ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ (อาปัตติกุสลตา เช่น รู้ว่าการกระทำอย่างนั้นเป็นอาบัติหรือไม่)
    - ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ
     (อาปัตติวุฏฐานกุสลตา เช่น อาบัตินั้นออกได้ด้วยการแสดงหรือเปิดเผยแก่พระภิกษุรูปอื่น)
๒.๙  - ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ (สมาปัตติกุสลตา)
    - ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ (สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา)
๒.๑๐ - ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑๘ (ธาตุกุสลตา)
    - ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการในธาตุเหล่านั้น (มนสิการกุสลตา)
๒.๑๑ - ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ ๑๒ (อายตนกุสลตา)
    - ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท (ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา)
๒.๑๒ - ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ [คือเหตุที่เป็นได้] (ฐานกุสลตา)
    - ความเป็นผู้ฉลาดในอัฏฐานะ [คือเหตุที่เป็นไปไม่ได้] (อัฏฐานกุสลตา)
๒.๑๓ การกล่าววาจาอ่อนหวาน (สาขัลยะ) และ การต้อนรับ (ปฏิสันถาร (ด้วยอาิมิสและด้วยธรรม))
๒.๑๔ - ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา ด้วยเอ็นดู กรุณาเจโตวิมุตติ)
    - ความสะอาด (โสเจยยะ ด้วยไมตรี เมตตาเจโตวิมุตติ)
๒.๑๕ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม (มุฏฐสัจจะ) และ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ (อสัมปชัญญะ คือ อวิชชา)
๒.๑๖ สติ (ความระลึกได้) และ สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)
๒.๑๗ - ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (อินทริเยสุ อคุตตทวารตา)
    - ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ (โภชเน อมัตตัญญุตา)
๒.๑๘ - ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (อินทริเยสุ คุตตทวารตา)
    - ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ (โภชเน มัตตัญญุตา)
๒.๑๙ - กำลังที่เกิดแต่การพิจารณา (ปฏิสังขานพละ)
    - กำลังที่เกิดแต่การอบรม (ภาวนาพละ ก็คือโพชฌงค์ ๗)
๒.๒๐ กำลังคือสติ (สติพละ) และ กำลังคือสมาธิ (สมาธิพละ)
๒.๒๑ สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) และ วิปัสสนา (ปัญญา ความเห็นแจ้ง)
๒.๒๒ นิมิตที่เกิดเพราะสมถะ (สมถนิมิต) และ นิมิตที่เกิดเพราะความเพียร (ปัคคหนิมิต)
๒.๒๓ ความเพียร (ปัคคหะ) และ ความไม่ฟุ้งซ่าน (อวิกเขปะ)
๒.๒๔ ความวิบัติแห่งศีล (สีลวิบัติ) และ ความวิบัติแห่งทิฐิ (ทิฏฐิวิบัติ เช่น ความเห็นที่ว่าให้ทานไม่มีผล)
๒.๒๕ ความถึงพร้อมแห่งศีล (สีลสัมปทา) และ ความถึงพร้อมแห่งทิฐิ (ทิฏฐิสัมปทา)
๒.๒๖ ความหมดจดแห่งศีล (สีลวิสุทธิ) และ ความหมดจดแห่งทิฐิ (ทิฏฐิวิสุทธิ)
๒.๒๗ - ความหมดจดแห่งทิฐิ (ทิฏฐิวิสุทธิ)
    - ความเพียรของผู้มีทิฐิ (ยถาทิฏฐิปธานะ ความเพียรที่สมควรแก่สัมมาทิฏฐิ)
๒.๒๘ - ความสลดใจ (สังเวชนีเยสุ ฐาเนสุ สังเวคะ ความสลดใจในภัยของชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ)
    - ความเพียรโดยแยบคายของผู้สลดใจแล้วในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ
      (สังวิคคัสสะ โยนิโส  ปธานะ)
๒.๒๙ - ความปรารถนายิ่งๆ ขึ้นไปในธรรมอันเป็นกุศล (กุสเลสุ ธัมเมสุ อสันตุฏฐิตา)
    - ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในการตั้งความเพียร (ปธานัสมิง อัปปฏิวานิตา)
๒.๓๐ - วิชชา ๓ (ความรู้แจ้ง)
    - วิมุตติ ๒ (ความหลุดพ้น คืออธิมุตติแห่งจิต (สมาบัติ ๘) ๑ และนิพพาน ๑)
๒.๓๑ - ญาณในอริยมรรคอันทำให้กิเลสสิ้นไป (ขยญาณ)
    - ญาณในอริยผลในความไม่เกิดกิเลส (อนุปปาทญาณ)

(มีต่อ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่