คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
มีคนสนใจอยากหาความรู้ก็น่าจะดีใจและสนับสนุนนะครับ
ผมสรุปคร่าวๆ เอาแบบที่น่าสนใจมาให้อ่านนะครับ แปลมาจากวิกิพีเดีย http://en.wikipedia.org/wiki/Apollo_program
Apollo เป็นโครงการที่ตั้งใจจะส่งมนุษย์ไปเหยีบดวงจันทร์ครับ ซึ่งนับเป็นโครงการส่งมนุษย์ไปยังอวกาศโครงการที่3 หลังจาก
- โปรแกรม Mercury (1959-1963) ส่ง 1 คน วนรอบวงโคจรโลก (ช้ากว่า ยูริ กาการิน จากโซเวียตไปหนึ่งเดือน)
- โปรแกรม Gemini (1962-1966) ส่ง 2 คน วนรอบวงโคจรโลก ทำการศึกษาเรื่องระบบยังชีพในอวกาศ ชุดอวกาศ การทำภารกิจในอวกาศ การใช้ ชีวิตอยู่ในอวกาศเป็นระยะเวลานาน ฯลฯ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้โครงการ Apollo
- โปรแกรม Apollo ส่ง 3 คน มีเป้าหมายในการไปยังดวงจันทร์และนำคนเหล่านั้นกลับมายังโลกโดยปลอดภัย
โครงการ Apollo เริ่มนับตั้งแต่ Apollo 4 เป็นต้นไป Apollo 1-3 นั้นไม่มี เพราะว่า ตอนเริ่มต้นทดสอบยานที่จะส่งคนไปดวงจันทร์สามครั้งแรกนั้นใช้ชื่อรหัสว่า AS-201, AS-203 และ AS-202 ตามลำดับ เป็นการทดสอบ Command/Service Module (CSM) (คือส่วนที่นักบินอวกาศจะอยู่ระหว่างการเดินทางไปดวงจันทร์น่ะแหละ) และ จรวด Saturn IB (ยังไม่ใช่ Saturn V หรือ Saturn five ที่คุ้นหูกันดี) ว่ามีการทำงานเป็นยังไงแรงพอมั้ย เครื่องดับแล้วติดใหม่ได้รึเปล่า รับน้ำหนักไหวมั้ย ฯลฯ เป็นต้น
หลังจากได้ทดสอบจนพอใจแล้วต่อไปก็เป็นคิวของ AS-204 ซึ่งจะเป็นภารกิจแรกของ Apollo ที่จะมีนักบินอวกาศขึ้นไปจริงๆ นักบินเหล่านั้นจึงพากันตั้งชื่อเล่นให้ภารกิจของตนว่า Apollo 1 แล้วเป็นยังไงเหรอครับ...ย่างสด
เหตุเกิดตอนเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยจริง เป็นการซ่อมเพื่อทดสอบระบบว่าการทำงานของ CSM ทำงานได้ดีหรือไม่หากไม่มีการเชื่อมต่อกับสถานีภาคพื้นโดยสายสัญญาณ คือ อยากรู้ว่าการรับส่งข้อมูลยังดีอยู่มั้ยตอนก่อนส่ง ไม่ใช่ถอดสายสัญญาณปุ้ปวิทยุไม่ทำงาน งานก็ล่มพอดี ทีนี้พอนักบินเข้าประจำที่ทั้งสามคนและเริ่มเชื้อเพลิงเข้าสู่จรวด ในส่วนที่นักบินนั่งอยู่อัดออกซิเจนเต็มเหนี่ยว 100% เพราะกลัวจะเกิดอาการมีฟองไนโตรเจนในเลือด (เรียกว่าอาการ Bend) ปรากฏว่า แก็สรั่ว! และในบรรยากาศที่มีแต่ออกซิเจนบริสุทธิ์ จึงไม่สามารถดับไฟได้ ต้องรอคนข้างนอกมาเปิด ซึ่งใช้เวลา 90 นาทีเท่านั้นเอง ภาพที่เห็นก็คือนักบินอวกาศ 1 คนพยายามเปิดฝาครอบ อีกคน กำลังติดต่อสถานีภาคพื้น อีกคนพยายามดับไฟ ทำไมน่ะเหรอ? เพราะพวกเค้าทำตามสิ่งที่เค้าต้องทำที่เขียนไว้ในคู่มือเมื่อมีเหตุฉุกเฉินจนวินาทีสุดท้ายที่เค้ามีชีวิตอยู่ไงเล่า
สุดท้ายแล้ว NASA จึงประกาศว่าภารกิจต่อไปจะเริ่มที่ Apollo 4 โดยนับรวมภารกิจที่ทำไปแล้วสามครั้ง และยกเลิกชื่อ Apollo 1 ตามที่เหล่าแม่หม้ายของนักบินที่เสียชีวิตร้องขอ เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาเหล่านั้น หลังจากเหตุการณ์นี้ได้มีการตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงกันยกใหญ่ ทำให้ภารกิจต่อๆไปล่าช้า แต่ก็มีการปรับปรุงการออกแบบยานอวกาศและชุดอวกาศใหม่ รวมถึงใช้"อากาศธรรมดา"ในห้องนักบิน
ต่อไปก็ไม่มีไรมาก
- Apollo 4 ถึง Apollo 6 ยังคงเป็นภารกิจแบบไร้นักบิน ทดสอบระบบ และ จรวดใหม่ว่าเหมาะสมกับภารกิจที่มีนักบิน (Man rated) Saturn IB เปลี่ยนชื่อเป็น Saturn V แล้ว
- Apollo 7 เป็นภารกิจที่มีนักบินครั้งแรกของโครงการ Apollo เป็นภารกิจโคจรรอบโลก หลังจากอุบัติเหตุ Apollo 1 ทำให้เกิดความตึงเครียดอย่างมาก แต่ทุกอย่างก็เป็นไปได้ด้วยดี NASA มั่นใจมากจึงปล่อย Apollo 8 เพียง 2 เดือนหลังจากนั้น
- Apollo 8 เป็นครั้งแรกที่นักบินอวกาศออกนอกวงโคจรของโลก เพื่อเดินทางไปยังดวงจันทร์โดยใช้เวลา 3 วัน และโคจรรอบดวงจันทร์ 10 รอบ ใน 20 ชั่วโมง และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์โลกที่ได้เห็นว่าโลกมีทรงกลมจริงๆ จากภาพถ่าย Earth rise ที่หลายๆคนเคยเห็น และยังมีการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์กลับไปยังโลกเนื่องในวันคริสมาสอีกด้วย
- Apollo 9 เป็นครั้งแรกที่มีการส่งโมดูลที่จะไปยังดวงจันทร์จริงๆ คือมีทั้งส่วนที่นักบินอยู่ (CSM) และส่วนที่ใช้ลงจอดบนดวงจันทร์ (Lander) เพื่อที่จะทำการ ตัดออก และ เชื่อมต่อ ( Dock, undock) ระหว่างโมดูลทั้งสองซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการลงจอดบนดวงจันทร์ ทดสอบชุดอวกาศที่ไม่ต้องเชื่อมต่อกับตัวยานอวกาศ (ที่จะใช้บนดวงจันทร์)
- Apollo 10 ซ้อมลงจอด คือทำเหมือนจะลงจอดทุกอย่าง ยกเว้นการลงจอดจริงๆ เฉียดดวงจันทร์ 15 กิโลเมตรแล้วขึ้นมา
- Apollo 11 เป็นภารกิจที่น่าจะเคยผ่านตามาบ้าง เพราะสำคัญ เนื่องจากมีการลงจอดจริงๆ (ซักที) นีล อาร์มสรอง และ บัซ อัลดริน ได้ลงไปเหยีบดวงจันทร์สมใจ เคเนดี้ เก็บตัวอย่างหินดวงจันทร์กลับมายังโลกด้วย 21.6 กิโล
- Apollo 12 ลงจอดอีกครั้ง โกยดินกลับยาน 34.3 กิโล
- Apollo 13 ที่เคยทำเป็นหนัง เกือบไม่รอดระหว่างทางไปดวงจันทร์เพราะเจออุบัติเหตุอุกาบาตขนาดเล็กชนจนยานอวกาศเสียหาย ไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้มีปัญหาเรื่องออกซิเจน พลังงานไม่พอ และยังต้องลุ้นสุดๆว่าจะมีพลังงานให้ร่มชูชีพทำงานตอนจะหล่นลงทะเลมั้ย ยกเลิกการลงจอดและกลับโลกอย่างทุลักทุเล
- Apollo 14 ลงจอดอีกครั้ง โกยตัวอย่างกลับบ้านมากกว่าเดิม 42.8 กิโล
Apollo 15 ถึง 17 จะเน้นการอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นระยะเวลานานและจัดเต็มทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยหอบหิ้วอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ไปด้วย แม้แต่คนที่นอนเฝ้ายานอยู่บนวงโคจรรอบดวงจันทร์ก็ยังต้องถ่ายรูปต่างๆ
- Apollo 15 ลงดวงจันทร์ หิ้วรถไปด้วยหนึ่งคัน เพราะขี้เกียจเดิน (กระโดด มากกว่ามั้ง) หอบดินกลับโลก 77 กิโล อยู่บนดวงจันทร์ 3 วัน ใช้เวลานอกยานไป 18+1/2 ชั่วโมง
- Apollo 16 อยู่ยาว สามวัน อยู่นอกยานไป 20 ชั่วโมง เอารถไปด้วยเหมือนกัน เอาหินกลับบ้าน 94.5 กิโล
- Apollo 17 จัดเต็ม อยู่ยาว สามวัน อยู่นอกยานไป 20 ชั่วโมง เอารถไปด้วยเหมือนกัน แต่พิเศษตรงที่เอานักธรณีวิทยาจริงๆไปด้วย พร้อมอุปกรณ์อีกเพียบ เลยขนดินกลับบ้านเยอะเข้าไปอีก 110 กิโล
จริงๆ Apollo วางแผนไว้จนถึง Apollo 20 แต่ ศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก โดยหั่นงบไปเสียฉิบ ภารกิจก็เลยหยุดอยู่แค่นี้ ภารกิจอื่นๆที่ตามมาเช่น Space shuttle (ที่พึ่งหมดอายุไปเร็วๆนี้), grand tour(ที่กลายมาเป็น Voyager 1,2 ภายหลัง), Nerva (เครื่องยนต์จรวดพลังงานนิวเคลียร์!! เอาไว้ส่งคนไปดาวอังคาร) เป็นอันว่ายุค Apollo อยู่ระหว่าง 1966-1972 แล้วก็ไม่มีใครได้ออกไปนอกวงโคจรโลกอีกเลย
อ่านไปแปลไปเพลินเลย จะมีคนอ่านมั้ยเนี้ย พิมพ์ซะยาวแอบเสียดาย จริงมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่อ่านได้จากวิกิ เรียกได้ว่าเอาออกมาเขียนเป็นหนังสือสนุกๆได้เล่มนึงเลยทีเดียว หากใครสันทัดภาษาอังกฤษก็ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ
แก้ไข ข้อมูล Apollo 13 ตามที่ทั่น ECOS ทักท้วงไปครับ
ผมสรุปคร่าวๆ เอาแบบที่น่าสนใจมาให้อ่านนะครับ แปลมาจากวิกิพีเดีย http://en.wikipedia.org/wiki/Apollo_program
Apollo เป็นโครงการที่ตั้งใจจะส่งมนุษย์ไปเหยีบดวงจันทร์ครับ ซึ่งนับเป็นโครงการส่งมนุษย์ไปยังอวกาศโครงการที่3 หลังจาก
- โปรแกรม Mercury (1959-1963) ส่ง 1 คน วนรอบวงโคจรโลก (ช้ากว่า ยูริ กาการิน จากโซเวียตไปหนึ่งเดือน)
- โปรแกรม Gemini (1962-1966) ส่ง 2 คน วนรอบวงโคจรโลก ทำการศึกษาเรื่องระบบยังชีพในอวกาศ ชุดอวกาศ การทำภารกิจในอวกาศ การใช้ ชีวิตอยู่ในอวกาศเป็นระยะเวลานาน ฯลฯ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้โครงการ Apollo
- โปรแกรม Apollo ส่ง 3 คน มีเป้าหมายในการไปยังดวงจันทร์และนำคนเหล่านั้นกลับมายังโลกโดยปลอดภัย
โครงการ Apollo เริ่มนับตั้งแต่ Apollo 4 เป็นต้นไป Apollo 1-3 นั้นไม่มี เพราะว่า ตอนเริ่มต้นทดสอบยานที่จะส่งคนไปดวงจันทร์สามครั้งแรกนั้นใช้ชื่อรหัสว่า AS-201, AS-203 และ AS-202 ตามลำดับ เป็นการทดสอบ Command/Service Module (CSM) (คือส่วนที่นักบินอวกาศจะอยู่ระหว่างการเดินทางไปดวงจันทร์น่ะแหละ) และ จรวด Saturn IB (ยังไม่ใช่ Saturn V หรือ Saturn five ที่คุ้นหูกันดี) ว่ามีการทำงานเป็นยังไงแรงพอมั้ย เครื่องดับแล้วติดใหม่ได้รึเปล่า รับน้ำหนักไหวมั้ย ฯลฯ เป็นต้น
หลังจากได้ทดสอบจนพอใจแล้วต่อไปก็เป็นคิวของ AS-204 ซึ่งจะเป็นภารกิจแรกของ Apollo ที่จะมีนักบินอวกาศขึ้นไปจริงๆ นักบินเหล่านั้นจึงพากันตั้งชื่อเล่นให้ภารกิจของตนว่า Apollo 1 แล้วเป็นยังไงเหรอครับ...ย่างสด
เหตุเกิดตอนเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยจริง เป็นการซ่อมเพื่อทดสอบระบบว่าการทำงานของ CSM ทำงานได้ดีหรือไม่หากไม่มีการเชื่อมต่อกับสถานีภาคพื้นโดยสายสัญญาณ คือ อยากรู้ว่าการรับส่งข้อมูลยังดีอยู่มั้ยตอนก่อนส่ง ไม่ใช่ถอดสายสัญญาณปุ้ปวิทยุไม่ทำงาน งานก็ล่มพอดี ทีนี้พอนักบินเข้าประจำที่ทั้งสามคนและเริ่มเชื้อเพลิงเข้าสู่จรวด ในส่วนที่นักบินนั่งอยู่อัดออกซิเจนเต็มเหนี่ยว 100% เพราะกลัวจะเกิดอาการมีฟองไนโตรเจนในเลือด (เรียกว่าอาการ Bend) ปรากฏว่า แก็สรั่ว! และในบรรยากาศที่มีแต่ออกซิเจนบริสุทธิ์ จึงไม่สามารถดับไฟได้ ต้องรอคนข้างนอกมาเปิด ซึ่งใช้เวลา 90 นาทีเท่านั้นเอง ภาพที่เห็นก็คือนักบินอวกาศ 1 คนพยายามเปิดฝาครอบ อีกคน กำลังติดต่อสถานีภาคพื้น อีกคนพยายามดับไฟ ทำไมน่ะเหรอ? เพราะพวกเค้าทำตามสิ่งที่เค้าต้องทำที่เขียนไว้ในคู่มือเมื่อมีเหตุฉุกเฉินจนวินาทีสุดท้ายที่เค้ามีชีวิตอยู่ไงเล่า
สุดท้ายแล้ว NASA จึงประกาศว่าภารกิจต่อไปจะเริ่มที่ Apollo 4 โดยนับรวมภารกิจที่ทำไปแล้วสามครั้ง และยกเลิกชื่อ Apollo 1 ตามที่เหล่าแม่หม้ายของนักบินที่เสียชีวิตร้องขอ เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาเหล่านั้น หลังจากเหตุการณ์นี้ได้มีการตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงกันยกใหญ่ ทำให้ภารกิจต่อๆไปล่าช้า แต่ก็มีการปรับปรุงการออกแบบยานอวกาศและชุดอวกาศใหม่ รวมถึงใช้"อากาศธรรมดา"ในห้องนักบิน
ต่อไปก็ไม่มีไรมาก
- Apollo 4 ถึง Apollo 6 ยังคงเป็นภารกิจแบบไร้นักบิน ทดสอบระบบ และ จรวดใหม่ว่าเหมาะสมกับภารกิจที่มีนักบิน (Man rated) Saturn IB เปลี่ยนชื่อเป็น Saturn V แล้ว
- Apollo 7 เป็นภารกิจที่มีนักบินครั้งแรกของโครงการ Apollo เป็นภารกิจโคจรรอบโลก หลังจากอุบัติเหตุ Apollo 1 ทำให้เกิดความตึงเครียดอย่างมาก แต่ทุกอย่างก็เป็นไปได้ด้วยดี NASA มั่นใจมากจึงปล่อย Apollo 8 เพียง 2 เดือนหลังจากนั้น
- Apollo 8 เป็นครั้งแรกที่นักบินอวกาศออกนอกวงโคจรของโลก เพื่อเดินทางไปยังดวงจันทร์โดยใช้เวลา 3 วัน และโคจรรอบดวงจันทร์ 10 รอบ ใน 20 ชั่วโมง และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์โลกที่ได้เห็นว่าโลกมีทรงกลมจริงๆ จากภาพถ่าย Earth rise ที่หลายๆคนเคยเห็น และยังมีการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์กลับไปยังโลกเนื่องในวันคริสมาสอีกด้วย
- Apollo 9 เป็นครั้งแรกที่มีการส่งโมดูลที่จะไปยังดวงจันทร์จริงๆ คือมีทั้งส่วนที่นักบินอยู่ (CSM) และส่วนที่ใช้ลงจอดบนดวงจันทร์ (Lander) เพื่อที่จะทำการ ตัดออก และ เชื่อมต่อ ( Dock, undock) ระหว่างโมดูลทั้งสองซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการลงจอดบนดวงจันทร์ ทดสอบชุดอวกาศที่ไม่ต้องเชื่อมต่อกับตัวยานอวกาศ (ที่จะใช้บนดวงจันทร์)
- Apollo 10 ซ้อมลงจอด คือทำเหมือนจะลงจอดทุกอย่าง ยกเว้นการลงจอดจริงๆ เฉียดดวงจันทร์ 15 กิโลเมตรแล้วขึ้นมา
- Apollo 11 เป็นภารกิจที่น่าจะเคยผ่านตามาบ้าง เพราะสำคัญ เนื่องจากมีการลงจอดจริงๆ (ซักที) นีล อาร์มสรอง และ บัซ อัลดริน ได้ลงไปเหยีบดวงจันทร์สมใจ เคเนดี้ เก็บตัวอย่างหินดวงจันทร์กลับมายังโลกด้วย 21.6 กิโล
- Apollo 12 ลงจอดอีกครั้ง โกยดินกลับยาน 34.3 กิโล
- Apollo 13 ที่เคยทำเป็นหนัง เกือบไม่รอดระหว่างทางไปดวงจันทร์เพราะ
- Apollo 14 ลงจอดอีกครั้ง โกยตัวอย่างกลับบ้านมากกว่าเดิม 42.8 กิโล
Apollo 15 ถึง 17 จะเน้นการอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นระยะเวลานานและจัดเต็มทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยหอบหิ้วอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ไปด้วย แม้แต่คนที่นอนเฝ้ายานอยู่บนวงโคจรรอบดวงจันทร์ก็ยังต้องถ่ายรูปต่างๆ
- Apollo 15 ลงดวงจันทร์ หิ้วรถไปด้วยหนึ่งคัน เพราะขี้เกียจเดิน (กระโดด มากกว่ามั้ง) หอบดินกลับโลก 77 กิโล อยู่บนดวงจันทร์ 3 วัน ใช้เวลานอกยานไป 18+1/2 ชั่วโมง
- Apollo 16 อยู่ยาว สามวัน อยู่นอกยานไป 20 ชั่วโมง เอารถไปด้วยเหมือนกัน เอาหินกลับบ้าน 94.5 กิโล
- Apollo 17 จัดเต็ม อยู่ยาว สามวัน อยู่นอกยานไป 20 ชั่วโมง เอารถไปด้วยเหมือนกัน แต่พิเศษตรงที่เอานักธรณีวิทยาจริงๆไปด้วย พร้อมอุปกรณ์อีกเพียบ เลยขนดินกลับบ้านเยอะเข้าไปอีก 110 กิโล
จริงๆ Apollo วางแผนไว้จนถึง Apollo 20 แต่ ศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก โดยหั่นงบไปเสียฉิบ ภารกิจก็เลยหยุดอยู่แค่นี้ ภารกิจอื่นๆที่ตามมาเช่น Space shuttle (ที่พึ่งหมดอายุไปเร็วๆนี้), grand tour(ที่กลายมาเป็น Voyager 1,2 ภายหลัง), Nerva (เครื่องยนต์จรวดพลังงานนิวเคลียร์!! เอาไว้ส่งคนไปดาวอังคาร) เป็นอันว่ายุค Apollo อยู่ระหว่าง 1966-1972 แล้วก็ไม่มีใครได้ออกไปนอกวงโคจรโลกอีกเลย
อ่านไปแปลไปเพลินเลย จะมีคนอ่านมั้ยเนี้ย พิมพ์ซะยาวแอบเสียดาย จริงมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่อ่านได้จากวิกิ เรียกได้ว่าเอาออกมาเขียนเป็นหนังสือสนุกๆได้เล่มนึงเลยทีเดียว หากใครสันทัดภาษาอังกฤษก็ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ
แก้ไข ข้อมูล Apollo 13 ตามที่ทั่น ECOS ทักท้วงไปครับ
แสดงความคิดเห็น
:::ช่วยแบ่งปันความรู้ เกี่ยวกับ "Apollo" ทั้งหมด ให้หน่อยจ้า