ประวัติของสถานีอวกาศสกายแล็บ (Skylab Space Station)

สวัสดีครับทุกท่าน แนะนำตัวก่อนว่าผมชื่อ"นนทชัย"นะครับ หรือจะเรียก"โดม"ก็ได้แหล่ะ เข้าเรื่องกันเลย วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง"สถานีอวกาศสกายแล็บ สถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา

สถานีอวกาศSkylab (Skylab space station)นั้นเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา ขึ้นชื่อว่าเป็นสถานีอวกาศแน่นอนครับ ต้องมีมนุษย์อาศัยอยู่
โดยสถานีอวกาศ Skylab นั้นเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของภารกิจใน “โครงการ Skylab” โดยภารกิจนี้มีเป้าหมายหลักๆคือ “เพื่อทำการพิสูจน์ให้เห็นว่ามนุษย์นั้นสามารถมีชีวิตรอดและทำงานได้เมื่ออยู่ในอวกาศในระยะเวลาที่นาน และเพื่อขยายขอบเขตความรู้ในเรื่องดาราศาสตร์ที่เกี่ยวกับดวงอาทิตย์ให้ดีกว่าการสังเกตจากภาคพื้นดินบนโลก” ถึงแม้ว่าภารกิจในโครงการ Skylab นี้จะทีปัญหาเชิงกลในช่วงแรก แต่ก็อย่างที่เห็น มันได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จดี ในส่วนของคาบการโคจร 1 รอบจะอยู่ที่ประมาณ 93 นาที และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 435 กิโลเมตร ซึ่งใกล้เคียงกันกับสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) กันเลยทีเดียว

เข้าเรื่องVehicleที่ใช้ส่งตัวสถานีอวกาศกันเลยนะครับ เนื่องด้วยสมัยนั้นเป็นยุค70's เราก็คงจะรู้กันดีว่าก่อนหน้านั้นไม่กี่สิบปีจะมีโครงการที่เราคุ้นๆหูและรู้จักกันอย่างกว้างขวางนะครับก็คือโครงการ"อพอลโล่"นั่นเองครับผมมม และตอนนั้นโครงการอพอลโล่17พึ่งจะปิดไปได้ไม่กี่ปีครับ จึงนำวิทยาการจรวดสมัยนั้นซึ่งก็คือsaturn v ที่ใช้ในภารกิจอพอลโล่มาดัดแปลงส่วนหัวครับ กลายเป็นจรวดSaturn INT-21 นั่นเองงง เพื่อให้ใส่ payload อย่างสถานี Skylab ได้ (ซึ่งถ้ามองรูปร่างเผินๆแล้ว มันก็คือจรวดที่ใช้ส่งยาน Ranger 1 และ Ranger 2 ในภาพยนต์เรื่อง Interstellar ของ Christopher Nolan เลยนี่นา//ฮา แต่แปลกใจนิดหน่อยที่แกเล่นหยิบจรวดซีรี่ย์ Saturn V มาใช้ในเรื่องหน่อยๆนะ) ซึ่งSaturn INT-21 เธอก็มีความแตกต่างตรงที่มีแค่2stageไม่เหมือนsaturn v ที่เป็นจรวดรุ่นพี่ที่มี3stage


ซึ่งจรวด Saturn INT-21 ถูกใช้ในการส่งสถานี Skylab  ที่มีน้ำหนักถึง 77.5 ตัน ในภารกิจ Skylab 1 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1973 ที่ฐานส่ง Pad 39A ณ แหลมคานาเวอรัล แต่ภารกิจนี้เป็นเพียงแค่การส่งตัวสถานีขั้นไปเฉยๆโดยไม่มีนักขินอวกาศขึ้นไปด้วยแต่อย่างใด


เรามาพูดถึงmodule(ส่วนประกอบต่างๆ)ในตัวยานกันครับ Skylab นั้นจะมีโมดุลหลักๆอยู่ 4 ส่วนหลักๆถ้าไม่นับ Apollo Command and Service module (Apollo CSM) ที่ใช้เป็นพาหนะนำนักบินอวกาศขั้นมาสู่สถานีอวกาศ โดยจะมีชื่อเรียกตามนี้ Obital Workshop (OWS), Airlock Module (AM), Multiple Docking Adapter (MDA) และ Apollo Telescope Mount (ATM)


โมดุล Orbital Workshop หรือ OWS เป็นโมดุลหลักที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในสถานีอวกาศ Skylab เพราะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการทำกิจการมต่างๆของลูกเรือในภารกิจ Skylab 2, 3 และ 4 ไม่ว่าจะเป็นเพื่ออยู่อาศัย รับประทานอาหาร ทำงานวิจัย หรือแม้แต่นอนหลับพักผ่อนก็ตาม ล้วนจำเป็นต้องอาศัยโมดุล OWS ในการทำภารกิจ ซึ่งโมดุลนี้จะมีแผนโซลาร์เซลล์ที่เรียกว่า OWS Solar Array Panels แต่เดิมทีแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดกับตัวโมดุล OWS ถูกออกแบบให้มีถึง 2 ชุด แต่เนื่อด้วย micrometeroid shield หรือเกราะกันความร้อนได้รับความเสียหายทำให้สูญเสียแผนโซลาร์ฝั่งหนึ่งไป จึงทำให้เหลืออยู่แค่ฝั่งเดียว โดยตามที่ออกแบบไว้สามารถสร้างพลังงานไว้ใช้กับสถานี Skylab ได้ถึง 12.4 กิโลวัตต์ ซึ่งถ้าอยากเห็นโมดุลส่วนนี้บนพื้นโลก ทาง NASA ได้ทำการจำลองโมดุล OWS มาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ National Air and Space ของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1975 และถูกนำมาวางไว้ใน Space Hall ของพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่ปี 1976 เป็นต้นมา


ต่อออกมาจากโมดุล OWS ก็จะมีอีก 2 โมดุล โดยจะขอเริ่มที่ Airlock Module หรือ AM เป็นโมดุลที่ทำให้ลูกเรือในภารกิจสามารถออกไปทำปฏิบัติการ Spacewalk ภายนอกตัวสถานี โดยโมดุลนี้จะมี hatch สำหรับ Extra-Vehicular Activity (EVA) และโมดุลนี้อยู่ระหว่างโมดุล OWS

และโมดุล Multiple Docking Adapter หรือ MDA ถ้าให้พูดเพื่อให้นึกภาพออก ก็เหมือนกับ Docking port หรือจุดเชื่อมต่อยานของสถานอวกาศนานาชาติ (ISS) โดยสำหรับ AM ของสถานี Skylab นี้จะมีช่องประตูสำหรับเชื่อมต่อกับยานที่พานักบินอวกาศขึ้นมาด้วยกันถึง 2 ที่ โดยตำแหน่งถ้าสถานีวางตัวในแนวขนานกับพื้นโลกหรือแนวระดับจะอยู่ที่ด้านปลายของสถานีฝั่งโมดุล MDA 1 จุดและด้านใต้ของโมดุล MDA อีก 1 จุด จึงเป็น 2 จุดที่สามารถเชื่อมต่อกับตัวสถานีได้


มาถึงโมดุลหลักส่วนสุดท้ายนั่นคือโมดุล Apollo Telescope Mouth หรือ ATM (ไม่ใช่ตู้กดเงินนะเฟ้ยย//ฮา) ก็ตามชื่อเลยเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งอยู่บนสถานีอวกาศ Skylab มีลักษณะเป็นทรงจานวางอยู่เหนือโมดุล MDA โดยรูปแบบของโทรทรรศน์ ATM นั้นจะเป็นประเภทกล้องโทรทรรศน์วงโคจรและเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้สังเกตุและศึกษาดวงอาทิตย์ โมดุลนี้มีมาเพื่อการทำให้เป้าหมายของโครงการ Skylab สำเร็จตามที่กล่าวไปว่า “และเพื่อขยายขอบเขตความรู้ในเรื่องดาราศาสตร์ที่เกี่ยวกับดวงอาทิตย์ให้ดีกว่าการสังเกตจากภาคพื้นดินบนโลก” โดยจะใช้ถ่ายภาพพฤติกรรมต่างๆของดวงอาทิตย์ โดยภาพถ่ายที่ได้จะถูกนำลงมาพร้อมกับแคปซูล Apollo โดยจำนวนภาพถ่ายรวมที่ถ่ายได้จากภารกิจ Skylab 2, 3 และ 4 มีมากกว่า 150,000 ภาพ โดยการจะนำภาพถายกลับมานั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย ลูกเรือในแต่ละภารกิจนั้นจำเป็นต้องทำการ Spacewalk หรือ EVA ออกไปนอกสถานีเพื่อเอาภาพถ่ายกลับมา โดยถังที่บรรจุภาพถ่ายดวงอาทิตย์ที่มีน้ำหนักมากที่สุดมีน้ำหนักประมาณ 40 กิโลกรัมกันเลยทีเดียวโดยถังนี้สามารถบรรจุภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์ได้ประมาณ 16,000 รูป และจากภารกิจทั้ง 3 ที่มีลูกเรือไปด้วยมีการนำถังบรรจุภาพถ่ายดวงอาทิตย์กลับมาพร้อมแคปซูล Apollo ด้วยกันเกือบ 30 ถังกันเลยทีเดียว และโมดุล ATM นี้จะมีจุดเด่นตรงที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ด้วยกัน 4 ชุด โดยจะเรียงตัวกันเป็นรูปกากบาท หรือตัว X


เรามาดูภารกิจของนักบินอวกาศที่ไปทำงานบนสถานีอวกาศ skylab กันบ้างดีกว่าครับ
ในส่วนของภารกิจ Skylab 2 หรือ SL-2 หรือ SLM-1 นั้นเป็นภารกิจที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในบรรดาภารกิจทั้งหมดของภารกิจในโครงการ Skylab ทั้งหมด โดยภารกิจนี้ถูกปล่อยขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 1973 หรือ 14 วันหลังจากส่งสถานีอวกาศ Skylab ขึ้นสู่วงโคจรในภารกิจ Skylab 1 และภารกิจ Skylab 2 นี้ใช้เวลาในการทำภารกิจทั้งหมด 28 วัน


ภารกิจนี้ถูกส่งขึ้นไปด้วย Apollo CSM-116 โดยจรวด Saturn IB SA-206 โดยลูกเรือในภารกิจนี้มีด้วยกัน 3 คน มี Charles Pete Conrad เป็นผู้นำทีม Paul J. Weitz เป็นนักบินหลักที่ควบคุมยาน Apollo CSM และมี Joseph P. Kerwin เป็นนักบินฝ่ายนักวิยาศาสตร์
(ในรูปจากซ้าย-ขวา Paul J. Weitz , Charles Conrad Jr. , Joseph P. Kerwin)

โดยงานหลักของภารกิจหลักนี้คือการขึ้นไปซ่อมแซมตัวสถานีอวกาศที่ได้รับความเสียหายหลังการส่งขึ้นไปเนื่องด้วยความที่ตัวสถานีร้อนเกินไปจากการโดนอุกกาบาตพุ่งเฉี่ยวใส่ และเกราะกันความร้อนได้รับความเสียหายจนฉีกขาดจนทำให้แผงโซลาร์เซลล์ที่อยู่บนตัว OWS ฝั่งหนึ่งกางไม่ได้และอีกฝั่งหลุดออกไป นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไปถึงมีแผงโซลาร์เซลล์แค่ฝั่งเดียว การซ่อมแซมสถานีอวกาศในส่วนของแผงโซลาร์เซลล์ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการทำลายสถิติเรื่องระยะเวลาการทำ Spacewalk จากสถิติในตอนนั้น เพิ่อให้มีพลังงานที่เพียงพอกับสถานีอวกาศและสามารถทำให้โครงการนี้ยังดำเนินออกไปได้อีก ในส่วนของครึ่งหลังของเวลาทำการภารกิจจะเป็นการทำงานตามเป้าหมายของโครงการที่ต้องศึกษาและขยายของเขตความรู้เรื่องดวงอาทิตย์โดยใช้กล้องของโมดุล ATM เป็นตัวช่วยในการศึกษา มีการศึกษาเรื่องการทำการทดสอบทางการแพทย์ในอวกาศ และลูกเรือในภารกิจ Skylab 2 นี้ยังสามารถทำลายสถิติความอดทนของการอยู่ในอวกาศที่ลูกเรือภารกิจ Soyuz 11 ของโซเวียต ที่ทำไว้เพียง 24 วันเมื่อปี 1971 หลังจากนั้น 2 วัน ได้ทำการ Spacewalk ออกไปนำภาพถ่ายจำนวนหนึ่งจากโมดุล ATM กลับเข้ามา และลูกเรือภารกิจนี้ได้ทำการ Undocking หรือออกจากสถานีอวกาศและกลับสู่โลกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ในปีเดียวกันถือเป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจ Skylab 2
apollo command and service module ของ ภารกิจskylab2 หลังจากกลับโลก


กำ....พันทิปเขียนไม่พออีก เดี๋ยวไปเขียนในเม้นต่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่