ระบบเทรด (trading system) : บทที่ 2 : การตัดขาดทุน เป็นทักษะ ที่ทำให้คุณไม่มีวันเจ๊งจากตลาดหุ้น

กระทู้สนทนา
ระบบเทรด (trading system) : บทที่ 2 : การตัดขาดทุน เป็นทักษะ ที่ทำให้คุณไม่มีวันเจ๊งจากตลาดหุ้น

การตัดขาดทุน คำนี้ จะใช้ได้สำหรับ นักเก็งกำไร + คนที่เชื่อในเทคนิคอล เท่านั้น
เพราะ การลงทุนในกิจการ ของนักลงทุนตัวจริง ต้องขายหุ้น เมื่อพื้นฐานของกิจการนั้นๆ
เปลี่ยนแปลง จากที่เขาได้ประเมินไว้ครับ ดังนั้นบทความนี้ ผมจะไม่สื่อสารออกมาว่า
"นักลงทุนที่ดี ต้องตัดขาดทุน" แต่ผมอยากจะนิยามการตัดขาดทุนว่า
"ถ้าคุณหวังที่จะทำกำไรจากส่วนต่างราคา (capital gain) คุณจะต้องกำหนดแผนการ ในการ cut loss และ จุด stop loss ไว้ก่อนเข้าซื้อหุ้นเสมอ"

ผมคิดว่าเพื่อนๆ ที่เล่นหุ้น ส่วนใหญ่ จะรู้จักคำคำนี้ครับ "cut loss" หรือ "จุด stop loss"
เพราะเราจะเห็นจากบทวิเคราะห์ ของ broker หรือ ได้ยินจากเพื่อนๆ
หรือ ได้อ่านจาก fan page ของกูรู ต่างๆ อยู่เป็นประจำอยู่แล้ว
**แล้วในเมื่อ ทุกคนรู้จักคำว่า cut loss อยู่แล้ว ปัญหามันคืออะไรหละ???**
ปัญหามันอยู่ที่ พวกเราไม่เชื่อในการ cut loss เพราะเราทำใจที่จะขาดทุนไม่ได้
แล้วรากเหง้าของปัญหา หรือ สาเหตที่แท้จริง ที่ทำให้พวกเรารู้สึกทำใจไม่ได้ที่จะตัดขาดทุน
มันมีอะไรกันบ้าง ผมขอยกตัวอย่าง ดังนี้ครับ

1. เข้าใจผิด คิดว่าการเล่นหุ้น มีแต่ได้ เล่นง่าย รวยทุกคน ซึ่งเรื่องจริง การเล่นหุ้นให้ได้กำไรนั้น
มันยากมากครับ ผมพูดเลย!! เพราะเราต้องมี 3 สิ่ง คือ ความรู้,ประสบการณ์ และ จิตใจที่มั่นคง
ไม่หวั่นไหวกับความกลัว และ ความโลภ

2. เยอะเกินไป!! ทำใจไม่ได้ที่จะตัดขาดทุน ทำไมถึงเยอะเกินไป?? ก็เพราะเรา
ไม่ได้กำหนดปริมาณความเสี่ยงที่ตัวเราเองจะรับไว้ได้ ล่วงหน้า ก่อนที่จะเข้าซื้อหุ้น ครับ
เช่น นายเจมส์ กินจุ มีเงินสดเริ่มต้นใน port 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินเก็บ
ที่เก็บมาทั้งชีวิตการทำงาน โดยที่ นายเจมส์ รู้สึกว่าถ้าจะขาดทุนหุ้นสักครั้งหนึ่ง
มากกว่า 2 หมื่นบาท ต่อครั้ง ก็รับไม่ได้แล้ว ทนไม่ไหว แบบนี้แปลว่า นายเจมส์ รับความเสี่ยงได้เพียง 2% เท่านั้น ต่อการ ลงทุน 1 ล้านบาท/ครั้ง
แต่เมื่อหุ้นที่ นายเจมส์ ซื้อไป ยังไม่ทันจบวัน นายเจมส์ ก็มาเห็น
ว่า port ตนเองลบไป ถึง 4% หรือ 4 หมื่นบาทเข้าให้แล้ว นายเจมส์ ก็จะตัดใจขายไม่ได้
และมีความหวังแบบลมๆแล้งๆ ว่าราคา จะกลับมาบวกเหมือนเดิม โดยที่ลืมเหตุผลการเข้าซื้อหุ้น
ทุกอย่างก่อนหน้านี้ไปหมดสิ้น แล้วถ้าหลังจากนี้ หุ้นลงไป เรื่อยๆ ถึง 30% --> 50% แล้วราคา
หุ้นไม่กลับมาที่ทุน อีกเลยหละ นายเจมส์จะเครียดแค่ไหน

คราวนี้ นายเจมส์ กินจุ พลาดตรงไหนหละ? ข้อแรก คือ นายเจมส์ ลงเงินต่อครั้ง (bet) มากเกินไป
ข้อสอง คือ นายเจมส์ อาจนำเงินเก็บมาเล่นหุ้นมากเกินไป (กรณีนี้ นายเจมส์ ทุ่มหมดตัว)
ข้อสาม คือ นายเจมส์ ขาดระเบียบวินัยและการกำหนดกลยุทธ์ในการเทรด

จะดีกว่ามั๊ยครับ ถ้านายเจมส์ กินจุ นำเงินมาใส่ port ซัก 4 แสนบาท
และอาจเข้าซื้อหุ้นต่อครั้งที่ 2.5 แสนบาท ถ้าหุ้นปรับลดลงมาไม่ถึง 8% (ขาดทุน 2 หมื่นบาท)
นายเจมส์ก็ยังไม่ต้อง cut loss โอกาสที่นายเจมส์ จะขายหมู ก็มีน้อยลงมากเมื่อเทียบกับการ
ตัดขาดทุนที่ 2% ทั้งนี้นายเจมส์ยังจะสะดวกใจและมีเวลาในการที่จะ cut loss ที่ 8% อีกด้วย

3. สับสนระหว่างการลงทุนเน้นคุณค่า กับ การเก็งกำไร ยกตัวอย่าง นางสาว กลองแก้ว เข้าซื้อหุ้น
ABC โดยบอกกับเพื่อนๆว่า หุ้นตัวนี้ เจ้าเข้านะจ๊ะ เป้า 30 บาท สายบอกมา ตอนนี้ เพิ่ง 10 บาทเอง (ณ ขณะนั้น หุ้นตัวนี้ P/E = 50 และขึ้นมาจาก 5 บาท ภายในเวลาแค่ 1 เดือน)
โอ้ว เพื่อนๆ บอกเธอ กล้าแฮะ นี่นักเก็งกำไรตัวจริงเลยนะเนี่ย วันแรกกลองแก้วยังกำไรอยู่ 3%
วันที่ 2 หุ้นถูกเทขายหนัก กลองแก้ว กลับมาติดลบ 5% ภายใน week เดียว กลองแก้ว พบว่าหุ้นของเธอ ติดลบอยู่ถึง 30% กลองแก้ว บอกกับเพื่อนๆของเธอว่า เธอเป็น VI  !!!!! ไม่ขายไม่ขาดทุน นะจ๊ะ กิจการดี เจ้าแค่ทุบไล่เม่า เท่านั้น ผ่านไป 6 เดือน หุ้นตัวนี้ ราคา กลับไปอยู่ที่ 3 บาท ต่ำกว่า ช่วงก่อนที่จะถูกลากขึ้นมาเสียอีก แถมยังมีข่าวร้ายออกมาอีกว่า
ปีนี้บริษัท ขาดทุนจากการดำเนินงาน เนื่องจาก สินค้าที่ผลิต ไม่ได้มาตรฐานสากล อีกต่อไป
ต้องเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ยกโรงงาน โอ้วนี่หรือ VI  !!!!!!

แต่จะดีกว่ามั๊ย ถ้า นางสาว กลองแก้ว เข้าใจแต่แรกว่าตนเองเก็งกำไรจากข่าวของสาย วงใน
แต่ถ้าผิดพลาดอย่างไร ราคาไม่น่าปรับลงมาต่ำกว่า 5% และเงิน 5% นั้นเธอก็ยอมขาดทุน
แบบทำใจรับได้

^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^
ที่กล่าวมา 3 ข้อนี้เป็นเพียงตัวอย่างของ สาเหตุที่ พวกเรา ไม่ยอม cut loss กันครับ
คราวนี้เรามารู้ถึงประโยชน์ของการ cut loss กันบ้างครับ ผมสรุปได้ 2 ข้อ ดังนี้ครับ
1. จำนวนเงินที่ขาดทุนได้มากที่สุด ได้ถูกกำหนดกลยุทธ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว
ทำให้เราเทรดหุ้นได้ด้วยสภาพจิตใจที่ดี
2. หลีกเลี่ยงอาการติดดอย ซึ่งส่งผลในเรื่องของค่าเสียโอกาส
เช่น ถ้าทุกครั้งที่คุณซื้อหุ้น คุณจะตัดสินใจ ถูกต้อง เป็นจำนวน 80% แต่การเทรดครั้งแรก
ของคุณ คุณไม่ยอม stop loss คุณจะติดดอย และคุณไม่มีโอกาส ที่จะทำกำไรได้อีกเลย
ทั้งๆ ที่คุณรู้ตัวเองว่า คุณเลือกหุ้นเก่ง และมีโอกาสที่จะได้กำไรในครั้ง ถัดๆไป ถึง 80%

$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$
คราวนี้ถ้าเราจะกำหนดกลยุทธ์การ cut loss กัน แน่นอนครับว่าเราก็ต้องกำหนดจุด stop loss
(ราคาหุ้นที่เราจะตัดใจขายขาดทุน) ไว้ด้วย โดยผมขอแนะนำวิธีการ 2 วิธี ดังต่อไปนี้ ครับ
1. กำหนดจาก จำนวนเงิน ที่เราคิดว่าจะทำใจขายขาดทุนได้ในแต่ละครั้ง
2. กำหนดจาก เทคนิคอล เช่น หลุดจุดต่ำสุดเก่า , indicator เกิด sell signal , หลุด เส้นแนวรับ
ซึ่งในรายละเอียด เราจะไปคุยกันใน บทหลังๆ ที่เป็น ความรู้ด้านเทคนิคอล กันครับ
$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

เมื่อเพื่อนๆ ได้รับแนวคิดจากบทความนี้ไปแล้ว เพื่อนๆ จะเห็นว่า การ stop loss
คือสิ่งสำคัญ สำหรับ การใช้งานระบบเทรด และเป็นสาเหตหลักที่ทำให้ผู้ใช้ระบบ
เทรด ไม่เจ๊ง หนีหายไปจากตลาดหุ้นครับ

หมายเหตุ1 การ trailing stop ผมจะจัดให้อยู่ในบทของการทำกำไร ซึ่งเป็นบทถัดไปนะครับ
หมายเหตุ2 ถ้าถูกใจ ช่วย กด like , comment ให้กำลังใจ , กด + ที่กระทู้ pantip และ
สามารถ share บทความได้เลยครับ (ขอสงวนสิทธิ์ในการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และ รบกวน
credit กับมาที่ page หุ้นกากกาก ด้วยครับ)

***บทต่อไป บทที่ 3 :  Take Profit เทคนิคการทำกำไร ไม่ปล่อยให้กำไรลอยนวล***

สามารถกลับไปอ่านทบทวน หรือ อ่านย้อนหลังได้นะครับ

บทนำ
https://www.facebook.com/hoonkakkak/posts/407252672707899
http://ppantip.com/topic/30948573

บทที่ 1 : time frame ที่ถูกจริตกับตัวคุณ เป็นจุดเริ่มต้นของการชนะตลาด
https://www.facebook.com/hoonkakkak/posts/407678572665309
http://ppantip.com/topic/30952547

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่