ระบบเทรด (trading system) : บทที่ 3 : Take Profit เทคนิคการทำกำไร ไม่ปล่อยให้กำไรลอยนวล

กระทู้สนทนา
ระบบเทรด (trading system) : บทที่ 3 : Take Profit เทคนิคการทำกำไร ไม่ปล่อยให้กำไรลอยนวล

ผมขอเปิดประเด็นเรื่อง take profit ด้วยตัวอย่างเปรียบเทียบการเทรดของคน 2 คนนี้ครับ

คนแรก : นายหมูอู๊ดๆ มีอัตราความแม่นยำในการเลือกหุ้นได้ถูกต้องอยู่ที่ 80% กำหนด cut loss ไว้ที่ 5%  ถ้าเทรดผิดทาง โดย นายหมูอู๊ดๆ เข้าซื้อ-ขาย หุ้น รวม 5 ครั้งดังนี้ครับ
ครั้งที่ 1 เข้าซื้อหุ้น AAA ขายทำกำไรที่ 5% (โดยหุ้นวิ่งขึ้นไปในรอบนี้ 50%)
ครั้งที่ 2 เข้าซื้อหุ้น BBB ขายทำกำไรที่ 20% (โดยหุ้นวิ่งขึ้นไปในรอบนี้ 150%)
ครั้งที่ 3 เข้าซื้อหุ้น CCC ขาย cut loss ที่ 5% (โดยหุ้นวิ่งลงไปในรอบนี้ 20%)
ครั้งที่ 4 เข้าซื้อหุ้น DDD ขายทำกำไรที่ 20% (โดยหุ้นวิ่งขึ้นไปในรอบนี้ 500%)
ครั้งที่ 5 เข้าซื้อหุ้น EEE ขายทำกำไรที่ 15% (โดยหุ้นวิ่งขึ้นไปในรอบนี้ 70%)

คนที่สอง : นายอึดถึกทน มีอัตราความแม่นยำในการเลือกหุ้นได้ถูกต้องอยู่ที่ 50% กำหนด cut loss ไว้ที่ 5%  ถ้าเทรดผิดทาง โดย นายอึดถึกทน เข้าซื้อ-ขาย หุ้น รวม 4 ครั้งดังนี้ครับ
ครั้งที่ 1 เข้าซื้อหุ้น BBB ขายทำกำไรที่ 120% (โดยหุ้นวิ่งขึ้นไปในรอบนี้ 150%)
ครั้งที่ 2 เข้าซื้อหุ้น CCC ขาย cut loss ที่ 5% (โดยหุ้นวิ่งลงไปในรอบนี้ 20%)
ครั้งที่ 3 เข้าซื้อหุ้น EEE ขายทำกำไรที่ 50% (โดยหุ้นวิ่งขึ้นไปในรอบนี้ 70%)
ครั้งที่ 4 เข้าซื้อหุ้น FFF ขาย cut loss ที่ 5% (โดยหุ้นวิ่งลงไปในรอบนี้ 40%)

ถ้า นายหมูอู๊ดๆ และ นายอึดถึกทน ใช้เงินในการลงทุนซื้อหุ้นเท่าๆกัน จะพบว่า นายหมูอู๊ดๆ สร้างอัตราผลตอบแทนได้ 11% แต่ นายอึดถึกทน สร้างอัตราผลตอบแทนได้มากถึง 65% ทั้งๆที่ นายหมูอู๊ดๆ เป็นสุดยอดกูรูด้านการเลือกหุ้น (มีอัตราความแม่นยำในการเลือกหุ้นถึง 80%) ต่างกับ นายอึดถึกทน ที่เลือกซื้อหุ้น ถูกครึ่ง ผิดครึ่ง

จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าถ้าตลาดมีแนวโน้มชัดเจนแล้ว เทคนิคในการ take profit สำคัญมากๆ คราวนี้เราจะมาดูกันว่าอะไรคือจุดอ่อนของ นายหมูอู๊ดๆ ที่ส่งผลให้ต้องขายหมูกันอยู่ร่ำไปครับ
1. ไม่ได้วางแผนการทำกำไรไว้ล่วงหน้า
2. หวั่นไหวกับข่าวหรือคำแนะนำของ broker
3. จ้องหน้าจอ streaming มากเกินไป ทำให้ทนต่อแรง swing ของราคาไม่ไหว

คราวนี้มาดูตัวอย่างบางส่วนของเทคนิคการ take profit กันบ้างครับว่าเมื่อไหร่ที่เราควรขายทำกำไร
1. ราคาถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตามหลักการของ Elliott wave
2. เมื่อราคาชนแนวต้านแล้วไม่ผ่าน
3. เมื่อวอลุ่มพีค และ ราคาขึ้นแรงมากเกินไป
4. เมื่อราคาหลุดจุด trailing stop (คือ การยกจุดตัดขาดทุนขึ้นมาตามราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นไป ใช้ในการ lock profit มีประโยชน์มากๆ กับระบบเทรด เพื่อป้องกัน ภาวะปล่อยให้กำไรกลายเป็นขาดทุน)
5. เมื่อกราฟ มีการเปิด Exhausting Gap (gap ที่เกิดขึ้นหลังจากราคาวิ่งขึ้นมาต่อเนื่องยาวนาน)
6. เมื่อราคาหุ้น ทะลุผ่าน เหนือ เส้น Top Bollinger Band
7. เมื่อค่า RSI เข้าสู่เขต overbought (ใช้ได้ดีกับหุ้นที่ราคาเคลื่อนไหวแบบ sideway)
8. เมื่อค่า RSI อยู่ในเขต overbought เป็นระยะเวลานานแล้ว แล้วมีค่า RSI ลดลงต่ำลงเรื่อยๆจนหลุด RSI=70
9. เมื่อมีแรงขายออกมาหนักๆ พร้อมวอลุ่ม และราคาไม่สามารถกลับไปยืนที่เดิมได้
10. เมื่อ indicator ที่ใช้ ส่งสัญญานขายออกมา

จาก ตัวอย่าง 10 ข้อที่ผ่านมาเพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า เทคนิคการทำกำไรนั้นมีมากมายและค่อนข้างหลากหลายมากเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นผมอยากให้เพื่อนๆ มองเทคนิคเหล่านี้เป็นเพียง idea และ กลับไปทำการบ้าน โดยการฝึกสังเกต ทดสอบสมมติฐาน และ นำผลสรุปไปปรับใช้ให้เข้ากับตัวเราเองมากที่สุดครับ

สุดท้ายนี้ผมขอฝากประโยคนี้ไว้ครับ "เรื่องบางเรื่องอาจไม่มีสูตรสำเร็จ มีเพียงความพยายามของเราเท่านั้นที่จะนำทางไปสู่ชัยชนะได้"

หมายเหตุ ถ้าถูกใจ ช่วย กด like , comment ให้กำลังใจ , กด + ที่กระทู้ pantip และ
สามารถ share บทความได้เลยครับ (ขอสงวนสิทธิ์ในการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และ รบกวน
credit กับมาที่ page หุ้นกากกาก ด้วยครับ)

สามารถกลับไปอ่านทบทวน หรือ อ่านย้อนหลังได้นะครับ

บทนำ
https://www.facebook.com/hoonkakkak/posts/407252672707899
http://ppantip.com/topic/30948573

บทที่ 1 : time frame ที่ถูกจริตกับตัวคุณ เป็นจุดเริ่มต้นของการชนะตลาด
https://www.facebook.com/hoonkakkak/posts/407678572665309
http://ppantip.com/topic/30952547

บทที่ 2 : การตัดขาดทุน เป็นทักษะ ที่ทำให้คุณไม่มีวันเจ๊งจากตลาดหุ้น
https://www.facebook.com/hoonkakkak/posts/409474325819067
http://ppantip.com/topic/30978615

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่