ยุคสายลมแสงแดด ของ มธ
ยุคสายลมแสงแดด นั่นคือยุคที่ฝ่ายทหารออกข้อบังคับในการควบคุมกิจกรรมของนักศึกษาไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จนทำให้นักศึกษาในสมัยนั้นสนใจแต่งานรื่นเริงและการยกพวกตีกันระหว่างคณะ โดยมีความคิดที่ว่านักศึกษาคืออภิสิทธิ์ชนของสังคม ดังที่สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เขียนกวีบ่งบอกเรื่องราวของนักศึกษาไว้ว่า
"กูเป็นนิสิตนักศึกษา
วาสนาสูงส่งสโมสร
ย่ำค่ำนี่จะย่ำไปงานบอลล์
เสพเสน่ห์เกสรสุมาลี
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
พริ้งสง่างามผงาดเพียงราชสีห์
มันสมองของสยามธานี
ค่ำนี้กูจะนาบให้หนำใจ
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
เจ้าขี้ข้ารู้จักกูหรือไหม
หัวเข็มขัด กลัดกระดุม ปุ่มเน็คไทร์
หลีกไปหลีกไปอย่ากีดทาง
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
มหาวิทยาลัยอันกว้างขวาง
ศึกษาสรรพรสมิเว้นวาง
เมืองกว้างช้างหลายสบายดี
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
เดินเหินดูสง่ามีราศี
ย่ำค่ำกูจะย่ำทั้งราตรี
กรุงศรีอยุธยามาราธอน
เฮ้ย กูเป็นนิสิตนักศึกษา
มีสติปัญญาเยี่ยมสิงขร
ให้พระอินทร์เอาพระขรรค์มาบั่นรอน
อเมริกามาสอนกูเชี่ยวชาญ
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
หรูหราแหลมหลักอัครฐาน
พรุ่งนี้ก็ต้องไปร่วมงาน
สังสรรค์ในระดับปริญญา
ได้โปรดฟังกูเถิดสักนิด
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
เงียบโว้ย-ฟังกู--ปรัชญา
กูอยู่มหาวิทยาลัย...
...กูอยู่มหาวิทยาลัย
รู้ไหม เห็นไหม ดีไหม
อีกไม่นานเราก็ต่างจะตายไป
กอบโกยใส่ตัวเองเสียก่อนเอย."
ว่ากันว่าบทกวีที่ชื่อ "กูเป็นนิสิตนักศึกษา" นี้ เป็นการเขียนตอบคำพูดยอดฮิตในสมัยนั้นที่นักศึกษาต้องถามอีกฝ่ายหนึ่งถ้าเดินเจอกัน นั่นคือคำว่า "Who are you?"
แต่ยุคสายลมแสงแดด ก็สิ้นสุดลงในช่วงที่บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้น
" ดอกหาง นกยูง สีแดง ฉาน
บานอยู่เต็มฟากสวรรค์
คนเดินผ่าน ไปมากัน
เขาด้นดั้น หาสิ่งใด
ปัญญา มีขาย ที่นี่หรือ
จะแย่งซื้อ ได้ที่ไหน
อย่างที่โก้ หรูหรา ราคาเท่าใด
จะให้พ่อ ขายนา มาแลกเอา
ฉันมา ฉันเห็น ฉันแพ้
ยินแต่ เสียงด่า ว่าโง่เง่า
เพลงที่นี่ ไม่หวาน เหมือนบ้านเรา
ใครไม่เข้า ถึงพอ เขาเยาะเย้ย
นี่จะให้ อะไร กันบ้างไหม
มหาวิทยาลัย ใหญ่โตเหวย
แม้นท่าน มิอาจให้ อะไรเลย
วานนิ่งเฉย อย่าบ่นอย่าโวยวาย
ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย
สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว
มืดจริงหนอ สถาบัน อันกว้างขวาง
ปล่อยฉัน อ้างว้าง ขับเคี่ยว
เดินหา ซื้อปัญญา จนหน้าเซียว
เทียวมา เทียวไป ไม่รู้วัน
ดอกหางนกยูง สีแดงฉาน
บานอยู่เต็ม ฟากสวรรค์
เกินพอ ให้เจ้าแบ่งปัน
จงเก็บกัน อย่าเดิน ผ่านเลยไป"
....วิทยากร เชียงกูล
หลังจากนั้น นักศึกษาก็กลับมาตั้งคำถามถึงปัญหาของสังคม ทั้งยังออกไปค้นหาความจริงของสังคมด้วยตนเอง และก็ตามมาด้วยเหตการ 14 ตุลา 2516 ไปจนถึงการล้อมปราบนักศึกษา 6 ตุลา 2519
@@@.....น่าขำ...2 @@@
ยุคสายลมแสงแดด ของ มธ
ยุคสายลมแสงแดด นั่นคือยุคที่ฝ่ายทหารออกข้อบังคับในการควบคุมกิจกรรมของนักศึกษาไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จนทำให้นักศึกษาในสมัยนั้นสนใจแต่งานรื่นเริงและการยกพวกตีกันระหว่างคณะ โดยมีความคิดที่ว่านักศึกษาคืออภิสิทธิ์ชนของสังคม ดังที่สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เขียนกวีบ่งบอกเรื่องราวของนักศึกษาไว้ว่า
"กูเป็นนิสิตนักศึกษา
วาสนาสูงส่งสโมสร
ย่ำค่ำนี่จะย่ำไปงานบอลล์
เสพเสน่ห์เกสรสุมาลี
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
พริ้งสง่างามผงาดเพียงราชสีห์
มันสมองของสยามธานี
ค่ำนี้กูจะนาบให้หนำใจ
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
เจ้าขี้ข้ารู้จักกูหรือไหม
หัวเข็มขัด กลัดกระดุม ปุ่มเน็คไทร์
หลีกไปหลีกไปอย่ากีดทาง
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
มหาวิทยาลัยอันกว้างขวาง
ศึกษาสรรพรสมิเว้นวาง
เมืองกว้างช้างหลายสบายดี
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
เดินเหินดูสง่ามีราศี
ย่ำค่ำกูจะย่ำทั้งราตรี
กรุงศรีอยุธยามาราธอน
เฮ้ย กูเป็นนิสิตนักศึกษา
มีสติปัญญาเยี่ยมสิงขร
ให้พระอินทร์เอาพระขรรค์มาบั่นรอน
อเมริกามาสอนกูเชี่ยวชาญ
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
หรูหราแหลมหลักอัครฐาน
พรุ่งนี้ก็ต้องไปร่วมงาน
สังสรรค์ในระดับปริญญา
ได้โปรดฟังกูเถิดสักนิด
กูเป็นนิสิตนักศึกษา
เงียบโว้ย-ฟังกู--ปรัชญา
กูอยู่มหาวิทยาลัย...
...กูอยู่มหาวิทยาลัย
รู้ไหม เห็นไหม ดีไหม
อีกไม่นานเราก็ต่างจะตายไป
กอบโกยใส่ตัวเองเสียก่อนเอย."
ว่ากันว่าบทกวีที่ชื่อ "กูเป็นนิสิตนักศึกษา" นี้ เป็นการเขียนตอบคำพูดยอดฮิตในสมัยนั้นที่นักศึกษาต้องถามอีกฝ่ายหนึ่งถ้าเดินเจอกัน นั่นคือคำว่า "Who are you?"
แต่ยุคสายลมแสงแดด ก็สิ้นสุดลงในช่วงที่บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้น
" ดอกหาง นกยูง สีแดง ฉาน
บานอยู่เต็มฟากสวรรค์
คนเดินผ่าน ไปมากัน
เขาด้นดั้น หาสิ่งใด
ปัญญา มีขาย ที่นี่หรือ
จะแย่งซื้อ ได้ที่ไหน
อย่างที่โก้ หรูหรา ราคาเท่าใด
จะให้พ่อ ขายนา มาแลกเอา
ฉันมา ฉันเห็น ฉันแพ้
ยินแต่ เสียงด่า ว่าโง่เง่า
เพลงที่นี่ ไม่หวาน เหมือนบ้านเรา
ใครไม่เข้า ถึงพอ เขาเยาะเย้ย
นี่จะให้ อะไร กันบ้างไหม
มหาวิทยาลัย ใหญ่โตเหวย
แม้นท่าน มิอาจให้ อะไรเลย
วานนิ่งเฉย อย่าบ่นอย่าโวยวาย
ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย
สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว
มืดจริงหนอ สถาบัน อันกว้างขวาง
ปล่อยฉัน อ้างว้าง ขับเคี่ยว
เดินหา ซื้อปัญญา จนหน้าเซียว
เทียวมา เทียวไป ไม่รู้วัน
ดอกหางนกยูง สีแดงฉาน
บานอยู่เต็ม ฟากสวรรค์
เกินพอ ให้เจ้าแบ่งปัน
จงเก็บกัน อย่าเดิน ผ่านเลยไป"
....วิทยากร เชียงกูล
หลังจากนั้น นักศึกษาก็กลับมาตั้งคำถามถึงปัญหาของสังคม ทั้งยังออกไปค้นหาความจริงของสังคมด้วยตนเอง และก็ตามมาด้วยเหตการ 14 ตุลา 2516 ไปจนถึงการล้อมปราบนักศึกษา 6 ตุลา 2519