เมื่อวาน คุณแฟนบอกว่า เราน่าจะเป็นโรคติดแป้ง งงเลยละสิคะ เพราะไม่เคยได้ยินโรคนี้มาก่อนเลย เค้าเลยบอกให้เราไปกูเกิ้ลดู เลยเจอ เว็บอันนี้ค่ะ Credit::
http://www.the-than.com/health/1/19.html
"นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ซึ่งไม่กิน “ข้าว” กินแต่ “กับข้าว” มาเป็นเวลากว่า 5 ปี แล้ว บอกว่า เหตุผลส่วนตัวที่ไม่กินข้าว หรือ ละเว้นอาหารประเภทแป้ง เพราะ แป้ง และน้ำตาล เป็น ศัตรูของความแก่ ความชรา ดังนั้นหากต้องการให้ร่างกายแก่ช้าลง ไม่เสื่อมโทรมเร็ว จะต้องเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
ทั้งนี้เป็นเพราะการกินแป้งมากเกินไปจะทำให้ปริมาณอินซูลินสูงขึ้น ซึ่งอินสุลินมีหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้ร่างกายแก่และโทรมเร็ว อินซูลินยังไปทำให้แป้งเปลี่ยนเป็นไขมันทำให้มีไขมันและน้ำตาลในเลือดสูง
วิธีสังเกตว่า เป็นโรคติดแป้งหรือไม่ คือ กินข้าวอิ่มแล้วยังหิวอีก จะต้องหาอะไรกินอีกหลังอาหาร กินแล้วอยากกินอยู่เรื่อย ๆ เพราะมันไม่พอ ไม่อิ่ม หลังกินข้าวต้องกินของหวานล้างปาก แต่ถ้ากินข้าวแล้วไม่อยากกินอาหารอย่างอื่นต่ออีกก็ถือว่า ไม่เป็นโรคติดแป้ง
ข้อเสียของแป้ง โดยเฉพาะ “แป้งขัดขาว” ที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ คือ เวลาที่เรากินแป้งขัดขาวเข้าไป มันจะเปลี่ยนน้ำตาลภายใน 3 นาที และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว น้ำตาลเหล่านี้จะชอบโปรตีนมาก มันจะไปจับโปรตีนและทำลายโปรตีนตั้งแต่หัวจรดเท้า ทำให้ร่างกายแก่ตั้งแต่หัวจรดเท้านั่นเอง อาการแก่ในตอนแรกอาจจะยังไม่เห็นชัดเจน แต่อาการจะเหมือนกับเวลาที่เรากินของหวาน ร่างกายจะสดชื่นในช่วงแรก แต่หลังจาก 30 นาทีผ่านไป ร่างกายจะรู้สึกโหย มีอารมณ์หงุดหงิด เหนื่อย ไม่สดชื่น หัวตื้อ ๆ สมองไม่ปลอดโปร่ง ไม่กระปรี้กระเปร่า คิดเลขช้าลง
อาการโหยที่เกิดขึ้นเป็นเพราะแป้งซึ่งเปลี่ยนเป็นน้ำตาลถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วเข้าสู่กระแสเลือดจะไปกระตุ้นฮอร์โมนอินสุลินให้พุ่งกระฉูดขึ้น ซึ่งอินสุลินนี้ทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อสูงเกินไปก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมามากจนรู้สึกโหย
แต่เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยสำคัญของคนไทยเรา จนมีคำว่า "ข้าวปลาอาหาร" จึงขอให้หลักสำคัญในการเลี่ยง "แป้งขัดขาว" เช่น ข้าวเจ้า ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว ทุกท่านไม่จำเป็นต้องเลิกกินข้าว แต่ขอให้ลดปริมาณลง ขณะเดียวกันควรค่อย ๆ เพิ่มเป็นแป้งเชิงซ้อนขึ้น เช่น เดิมเคยกินข้าวเจ้า 3 มื้อ ขอให้ใช้แป้งเชิงซ้อน เช่น ข้าวมันปู หรือข้าวซ้อมมือ หุงเพิ่มเข้าไปด้วยกัน แต่ไม่ใช่แยกกินนะครับ ไม่ใช่ข้าวเจ้า 2 มื้อ แล้วข้าวกล้องอีกมื้อหนึ่ง เพราะการกินรวมกันจะดีกว่าตรงที่ว่า แป้งเชิงซ้อน เช่น ข้าวซ้อมมือนี้จะมี "กาก" หรือ "เส้นใย" ที่เหมือนกับฟองน้ำช่วยดูดซับไม่ให้น้ำตาลจากข้าวเจ้าดูดซึมเข้าเลือดเร็วเกินไป จนทำให้เรามีอาการติดแป้ง
นอกจากข้าวมันปูและข้าวซ้อมมือแล้ว “แป้งเชิงซ้อน” ยังมีใน ลูกเดือย ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต นอกจากนี้ยังพบในผักและผลไม้ เช่น หอมหัวใหญ่ ผักคะน้า ฟักทอง กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า ขนุน แก้วมังกร ส้มโอ ฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งแป้งเชิงซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที กว่าจะสลายเป็นน้ำตาลเข้ากระแสเลือดต่างจากแป้งขัดขาวที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลเร็วมาก
หากจะไม่กินแป้งเลย สูตรของ นพ.กฤษดา คือ ลดข้าวแต่ละมื้อลงก่อนในช่วงแรก แล้วหนักที่กับข้าว โดยมากจะเป็นผักที่มีแป้งเชิงซ้อน เช่น ผัดหอมใหญ่ คะน้า ฟักทอง กล้วย ในช่วง 2 สัปดาห์แรกจะรู้สึกหิวมาก เหนื่อย ไม่กระฉับกระเฉง ก็ต้องกินกับข้าวให้มากเพื่อให้หนักท้อง แต่ผ่านพ้น 2 สัปดาห์ไปแล้ว ประมาณ 1 เดือน จะเริ่มอดข้าวหรือแป้งได้ ร่างกายจะอยู่ตัว ไม่โหย ทั้งนี้ต้องค่อย ๆ ลดแป้งลง อย่าหักดิบ เพราะการหักดิบแล้วกลับมากินอีกจะยิ่งทำให้กินแบบอุตลุดจนเกิดโยโย่เอฟเฟ็กต์จนอ้วนมากขึ้น
นพ.กฤษดา แนะนำว่า การไม่กินแป้งเลย ต้องดูความเหมาะสมด้วย เช่น ในเด็ก กำลังเจริญเติบโต จะต้องได้รับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม ดังนั้นก็ไม่ต้องตัดอาหารประเภทแป้งทิ้งไป แต่ควรฝึกให้เด็กกินแป้งเชิงซ้อนมากขึ้น ในขณะที่ผู้สูงอายุควรเน้นกินแป้งเชิงซ้อนมากขึ้น อย่าเน้นอาหารโปรตีน เพราะโปรตีนจะยิ่งทำให้ไตไม่ดี ถ้าอยากลดไขมันให้กินข้าวโอ๊ตวันละ 1 ถ้วยตวง กินสักประมาณ 2 เดือน ไขมันกับน้ำตาลจะลดลงอย่างแน่นอน."
โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพสื่อด้วยนะคะ ไอตัวเราก็ความรู้ด้านแพทย์ก็ไม่มี เจออะไรดีๆก็อยากเอามาแชร์ให้เพื่อนๆได้ทราบกัน อันไหนที่มันเกินจริงไปก็อย่าไปเชื่อน้า ในทั้งนี้ทั้งนั้น อย่างเช่นตัวเราเอง เราคงหักดิบไม่กินแป้งเลยแบบ คุณหมอ คงไม่ได้ เพราะแป้ง มีส่วนสำคัญต่อร่างกาย เราคงไม่อดข้าวหรือแป้งทั้งหมดค่ะ เราเปลี่ยนจากกินข้าวขาวมาเป็นข้าวกล้อง หรือ ขนมปังขาวมาเป็น โฮลวีต ที่มีวิตามินและกากใยแทน ซึ่งดีต่อสุขภาพแน่นอนจ้ะ คอมเฟริม (กินทีไร ข้าศึกทะลวงได้อย่างง่ายดาย)
ใครที่โหยของหวานหลังกินข้าวทุกมื้อ ควรเข้ามาอ่าน "โรคติดแป้ง"
"นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ซึ่งไม่กิน “ข้าว” กินแต่ “กับข้าว” มาเป็นเวลากว่า 5 ปี แล้ว บอกว่า เหตุผลส่วนตัวที่ไม่กินข้าว หรือ ละเว้นอาหารประเภทแป้ง เพราะ แป้ง และน้ำตาล เป็น ศัตรูของความแก่ ความชรา ดังนั้นหากต้องการให้ร่างกายแก่ช้าลง ไม่เสื่อมโทรมเร็ว จะต้องเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
ทั้งนี้เป็นเพราะการกินแป้งมากเกินไปจะทำให้ปริมาณอินซูลินสูงขึ้น ซึ่งอินสุลินมีหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้ร่างกายแก่และโทรมเร็ว อินซูลินยังไปทำให้แป้งเปลี่ยนเป็นไขมันทำให้มีไขมันและน้ำตาลในเลือดสูง
วิธีสังเกตว่า เป็นโรคติดแป้งหรือไม่ คือ กินข้าวอิ่มแล้วยังหิวอีก จะต้องหาอะไรกินอีกหลังอาหาร กินแล้วอยากกินอยู่เรื่อย ๆ เพราะมันไม่พอ ไม่อิ่ม หลังกินข้าวต้องกินของหวานล้างปาก แต่ถ้ากินข้าวแล้วไม่อยากกินอาหารอย่างอื่นต่ออีกก็ถือว่า ไม่เป็นโรคติดแป้ง
ข้อเสียของแป้ง โดยเฉพาะ “แป้งขัดขาว” ที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ คือ เวลาที่เรากินแป้งขัดขาวเข้าไป มันจะเปลี่ยนน้ำตาลภายใน 3 นาที และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว น้ำตาลเหล่านี้จะชอบโปรตีนมาก มันจะไปจับโปรตีนและทำลายโปรตีนตั้งแต่หัวจรดเท้า ทำให้ร่างกายแก่ตั้งแต่หัวจรดเท้านั่นเอง อาการแก่ในตอนแรกอาจจะยังไม่เห็นชัดเจน แต่อาการจะเหมือนกับเวลาที่เรากินของหวาน ร่างกายจะสดชื่นในช่วงแรก แต่หลังจาก 30 นาทีผ่านไป ร่างกายจะรู้สึกโหย มีอารมณ์หงุดหงิด เหนื่อย ไม่สดชื่น หัวตื้อ ๆ สมองไม่ปลอดโปร่ง ไม่กระปรี้กระเปร่า คิดเลขช้าลง
อาการโหยที่เกิดขึ้นเป็นเพราะแป้งซึ่งเปลี่ยนเป็นน้ำตาลถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วเข้าสู่กระแสเลือดจะไปกระตุ้นฮอร์โมนอินสุลินให้พุ่งกระฉูดขึ้น ซึ่งอินสุลินนี้ทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อสูงเกินไปก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมามากจนรู้สึกโหย
แต่เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยสำคัญของคนไทยเรา จนมีคำว่า "ข้าวปลาอาหาร" จึงขอให้หลักสำคัญในการเลี่ยง "แป้งขัดขาว" เช่น ข้าวเจ้า ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว ทุกท่านไม่จำเป็นต้องเลิกกินข้าว แต่ขอให้ลดปริมาณลง ขณะเดียวกันควรค่อย ๆ เพิ่มเป็นแป้งเชิงซ้อนขึ้น เช่น เดิมเคยกินข้าวเจ้า 3 มื้อ ขอให้ใช้แป้งเชิงซ้อน เช่น ข้าวมันปู หรือข้าวซ้อมมือ หุงเพิ่มเข้าไปด้วยกัน แต่ไม่ใช่แยกกินนะครับ ไม่ใช่ข้าวเจ้า 2 มื้อ แล้วข้าวกล้องอีกมื้อหนึ่ง เพราะการกินรวมกันจะดีกว่าตรงที่ว่า แป้งเชิงซ้อน เช่น ข้าวซ้อมมือนี้จะมี "กาก" หรือ "เส้นใย" ที่เหมือนกับฟองน้ำช่วยดูดซับไม่ให้น้ำตาลจากข้าวเจ้าดูดซึมเข้าเลือดเร็วเกินไป จนทำให้เรามีอาการติดแป้ง
นอกจากข้าวมันปูและข้าวซ้อมมือแล้ว “แป้งเชิงซ้อน” ยังมีใน ลูกเดือย ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต นอกจากนี้ยังพบในผักและผลไม้ เช่น หอมหัวใหญ่ ผักคะน้า ฟักทอง กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า ขนุน แก้วมังกร ส้มโอ ฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งแป้งเชิงซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที กว่าจะสลายเป็นน้ำตาลเข้ากระแสเลือดต่างจากแป้งขัดขาวที่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลเร็วมาก
หากจะไม่กินแป้งเลย สูตรของ นพ.กฤษดา คือ ลดข้าวแต่ละมื้อลงก่อนในช่วงแรก แล้วหนักที่กับข้าว โดยมากจะเป็นผักที่มีแป้งเชิงซ้อน เช่น ผัดหอมใหญ่ คะน้า ฟักทอง กล้วย ในช่วง 2 สัปดาห์แรกจะรู้สึกหิวมาก เหนื่อย ไม่กระฉับกระเฉง ก็ต้องกินกับข้าวให้มากเพื่อให้หนักท้อง แต่ผ่านพ้น 2 สัปดาห์ไปแล้ว ประมาณ 1 เดือน จะเริ่มอดข้าวหรือแป้งได้ ร่างกายจะอยู่ตัว ไม่โหย ทั้งนี้ต้องค่อย ๆ ลดแป้งลง อย่าหักดิบ เพราะการหักดิบแล้วกลับมากินอีกจะยิ่งทำให้กินแบบอุตลุดจนเกิดโยโย่เอฟเฟ็กต์จนอ้วนมากขึ้น
นพ.กฤษดา แนะนำว่า การไม่กินแป้งเลย ต้องดูความเหมาะสมด้วย เช่น ในเด็ก กำลังเจริญเติบโต จะต้องได้รับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม ดังนั้นก็ไม่ต้องตัดอาหารประเภทแป้งทิ้งไป แต่ควรฝึกให้เด็กกินแป้งเชิงซ้อนมากขึ้น ในขณะที่ผู้สูงอายุควรเน้นกินแป้งเชิงซ้อนมากขึ้น อย่าเน้นอาหารโปรตีน เพราะโปรตีนจะยิ่งทำให้ไตไม่ดี ถ้าอยากลดไขมันให้กินข้าวโอ๊ตวันละ 1 ถ้วยตวง กินสักประมาณ 2 เดือน ไขมันกับน้ำตาลจะลดลงอย่างแน่นอน."
โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพสื่อด้วยนะคะ ไอตัวเราก็ความรู้ด้านแพทย์ก็ไม่มี เจออะไรดีๆก็อยากเอามาแชร์ให้เพื่อนๆได้ทราบกัน อันไหนที่มันเกินจริงไปก็อย่าไปเชื่อน้า ในทั้งนี้ทั้งนั้น อย่างเช่นตัวเราเอง เราคงหักดิบไม่กินแป้งเลยแบบ คุณหมอ คงไม่ได้ เพราะแป้ง มีส่วนสำคัญต่อร่างกาย เราคงไม่อดข้าวหรือแป้งทั้งหมดค่ะ เราเปลี่ยนจากกินข้าวขาวมาเป็นข้าวกล้อง หรือ ขนมปังขาวมาเป็น โฮลวีต ที่มีวิตามินและกากใยแทน ซึ่งดีต่อสุขภาพแน่นอนจ้ะ คอมเฟริม (กินทีไร ข้าศึกทะลวงได้อย่างง่ายดาย)