เพื่อนสมาชิกบางท่าน กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงสอนการบริกรรม
ในความเข้าใจผม คิดว่ามีการสอนแน่ เพียงแต่เป็นที่รู้ถึงวิธีปฏิบัติโดยทั่วไป
ในสมัยนั้น จึงมิได้มีการบันทึกไว้
ผมจึงนำข้อสังเกตุบางประการที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกมาเพื่อช่วยกันตรวจสอบครับ
ม.มูล. ข้อ ๓๑๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุได้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ซึ่งมี
บริกรรมว่า อากาศหาที่สุดมิได้อยู่ เพราะเพิกรูปสัญญาเสียทั้งสิ้น ฯลฯ
และ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
เสียแล้ว ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่ ฯลฯ
ขุท.เถรคาถา ข้อ ๓๗๓ ภาษิตของพระจูฬปันนถก
เมื่อก่อน ญาณคติเกิดแก่เราช้า เราจึงถูกดูหมิ่น และพี่
ชายจึงขับไล่เราว่า จงกลับไปเรือนเดี๋ยวนี้เถิด เราถูกพี่ชายขับไล่แล้ว
ไปยืนร้องไห้อยู่ที่ใกล้ซุ้มประตูสังฆาราม เพราะยังมีความอาลัยในศาสนา
พระผู้มีพระภาคได้เสด็จมา ณ ที่นั้น ทรงลูบศีรษะเรา ทรงจับแขนเรา
พาเข้าไปสู่สังฆาราม พระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ประทานผ้าเช็ดพระบาท
ให้แก่เรา ตรัสว่า จงอธิษฐานผ้าสะอาดผืนนี้ให้ตั้งมั่นดีโดยมนสิการว่า
รโชหรณํๆ ผ้าสำหรับเช็ดธุลีๆ จงตั้งจิตให้มั่น นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ยังมีกล่าวถึงอีหลายที่ครับ โดยรวม ทรงกล่าวถึงการบรรลุอรูปฌาน แล้วยกขึ้นวิปัสสนาภายหลัง
ผมจึงสรุปว่า การบริกรรมมีปรากฎในพระไตรปิฎก
มีข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งในสติปัฏฐานสูตร ดังนี้
โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ ฯ
เธอมีสติ หายใจออก มีสติ หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว ฯ
ที่ขีดเส้นไต้ คือตัวอย่างของการรู้แบบมีสติ
ในทางไวยากรณ์ ที่ผมขีดเส้นไต้ ถ้าแปลแบบเอาความหมาย ก็จะง่ายๆว่า ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
การตีความหมาย น่าจะต้องตีไปว่า จะรู้แบบไม่กำหนดก็ได้ คือรู้ลมที่ออกยาว หรือ
จะรู้แบบกำหนดบริกรรมเป็นคำๆในใจก็ได้ ทั้ง ๒ อย่างจะไม่ผิดความหมายเลย อันเนื่องมาจาก
ไวยากรณ์บังคับให้รู้เป็นคำๆ และ ในสูตรอื่นก็มีตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงการบริกรรม
ต่อมา อีกตัวอย่างหนึ่งในอิริยาบทบรรพ สติปัฎฐานสูตรเช่นกัน
คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ
ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่า เราเดิน
ที่ผมขีดเส้นไต้ไว้ ทรงแสดงว่า ให้รู้อย่างไร ในที่นี้คือ ให้รู้ว่าเราเดิน(อยู่)
บาลีตรงคำว่า คจฺฉามีติ เวลาแปล จะแยกเป็น คจฺฉามิ อิติ แปลได้ว่า
อันว่าเรา เดินอยู่ ดังนี้
ในประโยคที่มีการเอา อิติ ศัพท์มาปิดท้าย จะแสดงได้ว่า รู้ว่าเดินอยู่ ทั้งนี้จะบริกรรมก็ไม่ผิด
ในบางสายการปฏิบัติ บริกรรมว่า เดินหนอ ก็ไม่ผิด เพราะการเรียงประโยคที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
ยกตัวอย่างมาให้เห็นเป็นคำพูดคำๆเลย
อนึ่ง ถ้าต้องการกำหนดเพียงให้รู้เฉยๆเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องกำหนด บาลีน่าจะเรียงมาว่า
คจฺฉนฺโต วา ปชานาติ
เดินอยู่ก็รู้สึก
น่าจะประมาณนี้นะครับในเรื่องการบริกรรมในระหว่างปฏิบัติ
บริกรรมในพระไตรปิฎก
ในความเข้าใจผม คิดว่ามีการสอนแน่ เพียงแต่เป็นที่รู้ถึงวิธีปฏิบัติโดยทั่วไป
ในสมัยนั้น จึงมิได้มีการบันทึกไว้
ผมจึงนำข้อสังเกตุบางประการที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกมาเพื่อช่วยกันตรวจสอบครับ
ม.มูล. ข้อ ๓๑๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุได้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ซึ่งมี
บริกรรมว่า อากาศหาที่สุดมิได้อยู่ เพราะเพิกรูปสัญญาเสียทั้งสิ้น ฯลฯ
และ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
เสียแล้ว ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่ ฯลฯ
ขุท.เถรคาถา ข้อ ๓๗๓ ภาษิตของพระจูฬปันนถก
เมื่อก่อน ญาณคติเกิดแก่เราช้า เราจึงถูกดูหมิ่น และพี่
ชายจึงขับไล่เราว่า จงกลับไปเรือนเดี๋ยวนี้เถิด เราถูกพี่ชายขับไล่แล้ว
ไปยืนร้องไห้อยู่ที่ใกล้ซุ้มประตูสังฆาราม เพราะยังมีความอาลัยในศาสนา
พระผู้มีพระภาคได้เสด็จมา ณ ที่นั้น ทรงลูบศีรษะเรา ทรงจับแขนเรา
พาเข้าไปสู่สังฆาราม พระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ประทานผ้าเช็ดพระบาท
ให้แก่เรา ตรัสว่า จงอธิษฐานผ้าสะอาดผืนนี้ให้ตั้งมั่นดีโดยมนสิการว่า
รโชหรณํๆ ผ้าสำหรับเช็ดธุลีๆ จงตั้งจิตให้มั่น นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ยังมีกล่าวถึงอีหลายที่ครับ โดยรวม ทรงกล่าวถึงการบรรลุอรูปฌาน แล้วยกขึ้นวิปัสสนาภายหลัง
ผมจึงสรุปว่า การบริกรรมมีปรากฎในพระไตรปิฎก
มีข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งในสติปัฏฐานสูตร ดังนี้
โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ ฯ
เธอมีสติ หายใจออก มีสติ หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว ฯ
ที่ขีดเส้นไต้ คือตัวอย่างของการรู้แบบมีสติ
ในทางไวยากรณ์ ที่ผมขีดเส้นไต้ ถ้าแปลแบบเอาความหมาย ก็จะง่ายๆว่า ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
การตีความหมาย น่าจะต้องตีไปว่า จะรู้แบบไม่กำหนดก็ได้ คือรู้ลมที่ออกยาว หรือ
จะรู้แบบกำหนดบริกรรมเป็นคำๆในใจก็ได้ ทั้ง ๒ อย่างจะไม่ผิดความหมายเลย อันเนื่องมาจาก
ไวยากรณ์บังคับให้รู้เป็นคำๆ และ ในสูตรอื่นก็มีตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงการบริกรรม
ต่อมา อีกตัวอย่างหนึ่งในอิริยาบทบรรพ สติปัฎฐานสูตรเช่นกัน
คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ
ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่า เราเดิน
ที่ผมขีดเส้นไต้ไว้ ทรงแสดงว่า ให้รู้อย่างไร ในที่นี้คือ ให้รู้ว่าเราเดิน(อยู่)
บาลีตรงคำว่า คจฺฉามีติ เวลาแปล จะแยกเป็น คจฺฉามิ อิติ แปลได้ว่า
อันว่าเรา เดินอยู่ ดังนี้
ในประโยคที่มีการเอา อิติ ศัพท์มาปิดท้าย จะแสดงได้ว่า รู้ว่าเดินอยู่ ทั้งนี้จะบริกรรมก็ไม่ผิด
ในบางสายการปฏิบัติ บริกรรมว่า เดินหนอ ก็ไม่ผิด เพราะการเรียงประโยคที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
ยกตัวอย่างมาให้เห็นเป็นคำพูดคำๆเลย
อนึ่ง ถ้าต้องการกำหนดเพียงให้รู้เฉยๆเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องกำหนด บาลีน่าจะเรียงมาว่า
คจฺฉนฺโต วา ปชานาติ
เดินอยู่ก็รู้สึก
น่าจะประมาณนี้นะครับในเรื่องการบริกรรมในระหว่างปฏิบัติ