คำบริกรรมเช่น "พุทโธ" ครับ
หากเราใช้บริกรรมคือการท่องในใจ แต่เห็นพระสูตรบอก "เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ"
ตกลงมันเป็นอย่างไร?
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๒๓๑
[๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ เมื่อเข้าทุติยฌานวิตกวิจารย่อมดับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมดับ เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้า อากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ ฯ
คำบริกรรมขัดกับพระสูตรหรือไม่?
หากเราใช้บริกรรมคือการท่องในใจ แต่เห็นพระสูตรบอก "เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ"
ตกลงมันเป็นอย่างไร?
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๒๓๑
[๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ เมื่อเข้าทุติยฌานวิตกวิจารย่อมดับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมดับ เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้า อากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ ฯ