Credit: Chatchai Wongkaewcharoen
Credit: Thanwa Laohasiriwong
จุดเปลี่ยน / คอลัมน์ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ : ประชาชาติธุรกิจ 3 กันยายน 2556
การลงทุนในตลาดหุ้นไทยปี 2556 นับว่ามีความผันผวนสูงมาก จากที่มีบรรยากาศการลงทุนที่สดใสในช่วง 4-5 เดือนแรก บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มีผลประกอบการไตรมาสแรกที่ดี ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 18% ปิดสูงสุดที่ 1,643 จุด ณ วันที่ 21 เดือนพฤษภาคม ตลาดหุ้นไทยมีผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมตลาดหุ้นหนึ่งของโลกเลยท...ีเดียว
ตลาดหุ้นไทยเผชิญ “จุดเปลี่ยน” ในเวลาต่อมา บรรยากาศการลงทุนได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ข้อมูลข่าวสารที่ทยอยประกาศออกมาตั้งแต่ การชะลอมาตรการ QE ของอเมริกา ตัวเลขดัชนีบ่งชี้ทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อภายในประเทศ ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ พัฒนาการการเมืองที่เริ่มเข้มข้น กระแสเงินลงทุนไหลออกพร้อมการอ่อนค่าเงินบาท ความตึงเครียดของประเทศตะวันออกกลาง ล้วนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนทั้งสิ้น หุ้นส่วนใหญ่ถูกขายออกมาทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างต่อเนื่อง ดัชนีปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดถึง 350 จุดปิดที่ 1,294 จุด ณ วันสุดท้ายของเดือนสิงหาคม แม้เมื่อเปรียบเทียบกับวันแรกของปี ดัชนีได้ปรับตัวลงเพียง 100 จุด หรือ 7.2% หรือเพียง 4% หากคิดรวมเงินปันผลที่จ่ายประมาณ 3.2% ด้วย
หากย้อนดูประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นทุกแห่ง นักลงทุนต้องพบ “จุดเปลี่ยน” ได้ตลอดเวลาเนื่องจากตลาดหุ้นมักอ่อนไหวและตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอ หากมีเหตุการณ์ชั่วคราว ไม่มีนัยสำคัญ จุดเปลี่ยนนั้นอาจมีผลต่ออารมณ์ และจิตวิทยาลงทุนระยะสั้นทำให้ดัชนีผันผวนขึ้นลงในวงจำกัด แต่หากมีเหตุการณ์ที่กระทบต่อปัจจัยพื้นฐานกิจการอย่างมีนัยสำคัญและเป็นเวลายาวนาน เช่น วิกฤติต้มยำกุ้งปี 40 หรือวิกฤติซับไพร์มอเมริกา นั่นคือ “จุดเปลี่ยน” ที่ทำให้ตลาดหุ้นเปลี่ยนเป็น “ขาลง” ได้เช่นกัน
ในภาวะตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว ตลาดหุ้นไทยที่เคยซื้อขาย ณ ระดับ PE กว่า 16 เท่าถูกปรับลดมาที่ 14 เท่า ลองมาประเมินกันว่า ตลาดหุ้นไทยจะอยู่ในสถานการณ์ใดและจะเผชิญ “จุดเปลี่ยน” สำคัญหรือไม่อย่างไร
สถานการณ์ที่ดีที่สุด (Best Case) หากเครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจและปัจจัยลบต่างๆ ไม่มีผลกระทบต่อผลประกอบการเลย นั่นคือ ปัจจัยลบเป็นเพียงแค่เหตุการณ์ชั่วคราว เศรษฐกิจโดยรวมจะกลับมาสดใสในอนาคตอันใกล้ ราคาหุ้นอาจกลับขึ้นไปซื้อขายในระดับ PE ก่อนหน้า ยิ่งหากกิจการยังมีอัตราการเติบโตทั้งรายได้และกำไรดีตามคาด มีค่า Earning (E) เพิ่มขึ้น ราคาหุ้นยังมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกด้วย ราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงในปัจจุบันคือโอกาสซื้อสำหรับนักลงทุนที่ยังมีถือเงินสดอยู่ แต่หากมีหุ้นอยู่เต็มพอร์ตก็ไม่จำเป็นที่ต้องกังวลเพราะราคาคงจะกลับขึ้นมาในไม่ช้า อย่างไรก็ตาม หากประเมินจากสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ที่มีนัยสำคัญที่ทำให้เชื่อได้ว่า ตลาดหุ้นจะกลับมาอยู่ในสถานการณ์ Best Case ใน 1-2 เดือนข้างหน้า
สถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้ (Base Case) นั่นคือ ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงและซื้อขายในระดับ PE ที่เหมาะสมเพราะได้สะท้อนปัจจัยลบต่างๆ ที่คาดกว่าจะเกิดขึ้นแล้ว หากสถานการณ์ไม่เลวร้ายมากกว่าที่เป็นอยู่ ราคาหุ้นอาจมี Downside Risk จำกัด หากตลาด Over React นี่คือโอกาสซื้อหุ้นยอดเยี่ยมในราคาที่มี Margin of Safety ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ เครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินผลกระทบที่จะเกิดจริงและการตัดสินใจลงทุนที่ถูกต้อง
สถานการณ์เลวร้ายที่สุด (Worse Case) หากสถานการณ์เลวร้ายกว่าที่คาดและนำไปสู่ภาวะวิกฤติ เศรษฐกิจที่ตกต่ำย่อม ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของกิจการในระยะยาว ผลประกอบการ (E) ที่ย่ำแย่จะทำให้ตลาดหุ้นและหุ้นส่วนใหญ่จะถูกปรับลดระดับ PE ที่ซื้อขายต่ำลง นี่คือการเข้าสู่ภาวะตลาดหุ้น “ขาลง” อย่างแท้จริง ราคาหุ้นอาจปรับตัวลงได้อีกมากและกินเวลายาวนานดังเช่นวิกฤติต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต การตัดสินใจขายหุ้นตอนนี้อาจเป็นวิธีหนึ่งในการจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
คำถามก็คือ ตลาดหุ้นไทยจะเข้าสู่ภาวะ Worse Case หรือ “ขาลง” หรือไม่ คงไม่มีคำตอบที่ถูกต้องแม่นยำเพราะไม่มีใครรู้อนาคตล่วงหน้าอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องล้วนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกับ 8 เดือนแรกของปีนี้
คุณฉัตรชัย วงแก้วเจริญ อุปนายกสมาคมนักลงทุนคุณค่า (ประเทศไทย) ได้โพสต์ข้อความส่วนตัวในเฟซบุ๊คไว้ว่า “ที่ผมยังถือหุ้น 100% ไม่ใช่ว่าเป็น VI แล้วต้องถือหุ้นยาวๆ เหตุผลที่แท้จริงก็คือ ผมไม่รู้ว่าหุ้นจะตกไปถึงไหน จะตกไปถึงวันไหน ผมก็เป็น
คนที่ขาดความสามารถในการคาดเดาราคาตลาด แต่ก็ยังอยากที่จะลงในหุ้น คุณมีเหตุผลของคุณ ผมก็มีวิธีของผม ก็เท่านั้น”
นักลงทุนทุกคนที่คิดลงทุนในตลาดหุ้นอีกยาวนาน คงต้องเผชิญ “จุดเปลี่ยน” ที่จะเกิดขึ้นเสมอโดยอาจมีขนาดและความรุนแรงแตกต่างกันไป ในฐานะ Value Investor จึงต้องวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์และเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อความสุขและสบายใจในการลงทุนของตนเอง แม้ต้องเผชิญ “จุดเปลี่ยน” สำคัญครั้งแล้วครั้งเล่าในชีวิตการลงทุน แต่สิ่งที่ “สำคัญ” และ “ต้องไม่เปลี่ยน” ก็คือ “หลักการ” ลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่ใช้ได้เสมอไม่ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไป
https://www.facebook.com/#!/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
จุดเปลี่ยน
Credit: Thanwa Laohasiriwong
จุดเปลี่ยน / คอลัมน์ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ : ประชาชาติธุรกิจ 3 กันยายน 2556
การลงทุนในตลาดหุ้นไทยปี 2556 นับว่ามีความผันผวนสูงมาก จากที่มีบรรยากาศการลงทุนที่สดใสในช่วง 4-5 เดือนแรก บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มีผลประกอบการไตรมาสแรกที่ดี ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 18% ปิดสูงสุดที่ 1,643 จุด ณ วันที่ 21 เดือนพฤษภาคม ตลาดหุ้นไทยมีผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมตลาดหุ้นหนึ่งของโลกเลยท...ีเดียว
ตลาดหุ้นไทยเผชิญ “จุดเปลี่ยน” ในเวลาต่อมา บรรยากาศการลงทุนได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ข้อมูลข่าวสารที่ทยอยประกาศออกมาตั้งแต่ การชะลอมาตรการ QE ของอเมริกา ตัวเลขดัชนีบ่งชี้ทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อภายในประเทศ ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ พัฒนาการการเมืองที่เริ่มเข้มข้น กระแสเงินลงทุนไหลออกพร้อมการอ่อนค่าเงินบาท ความตึงเครียดของประเทศตะวันออกกลาง ล้วนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนทั้งสิ้น หุ้นส่วนใหญ่ถูกขายออกมาทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างต่อเนื่อง ดัชนีปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดถึง 350 จุดปิดที่ 1,294 จุด ณ วันสุดท้ายของเดือนสิงหาคม แม้เมื่อเปรียบเทียบกับวันแรกของปี ดัชนีได้ปรับตัวลงเพียง 100 จุด หรือ 7.2% หรือเพียง 4% หากคิดรวมเงินปันผลที่จ่ายประมาณ 3.2% ด้วย
หากย้อนดูประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นทุกแห่ง นักลงทุนต้องพบ “จุดเปลี่ยน” ได้ตลอดเวลาเนื่องจากตลาดหุ้นมักอ่อนไหวและตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอ หากมีเหตุการณ์ชั่วคราว ไม่มีนัยสำคัญ จุดเปลี่ยนนั้นอาจมีผลต่ออารมณ์ และจิตวิทยาลงทุนระยะสั้นทำให้ดัชนีผันผวนขึ้นลงในวงจำกัด แต่หากมีเหตุการณ์ที่กระทบต่อปัจจัยพื้นฐานกิจการอย่างมีนัยสำคัญและเป็นเวลายาวนาน เช่น วิกฤติต้มยำกุ้งปี 40 หรือวิกฤติซับไพร์มอเมริกา นั่นคือ “จุดเปลี่ยน” ที่ทำให้ตลาดหุ้นเปลี่ยนเป็น “ขาลง” ได้เช่นกัน
ในภาวะตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว ตลาดหุ้นไทยที่เคยซื้อขาย ณ ระดับ PE กว่า 16 เท่าถูกปรับลดมาที่ 14 เท่า ลองมาประเมินกันว่า ตลาดหุ้นไทยจะอยู่ในสถานการณ์ใดและจะเผชิญ “จุดเปลี่ยน” สำคัญหรือไม่อย่างไร
สถานการณ์ที่ดีที่สุด (Best Case) หากเครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจและปัจจัยลบต่างๆ ไม่มีผลกระทบต่อผลประกอบการเลย นั่นคือ ปัจจัยลบเป็นเพียงแค่เหตุการณ์ชั่วคราว เศรษฐกิจโดยรวมจะกลับมาสดใสในอนาคตอันใกล้ ราคาหุ้นอาจกลับขึ้นไปซื้อขายในระดับ PE ก่อนหน้า ยิ่งหากกิจการยังมีอัตราการเติบโตทั้งรายได้และกำไรดีตามคาด มีค่า Earning (E) เพิ่มขึ้น ราคาหุ้นยังมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกด้วย ราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงในปัจจุบันคือโอกาสซื้อสำหรับนักลงทุนที่ยังมีถือเงินสดอยู่ แต่หากมีหุ้นอยู่เต็มพอร์ตก็ไม่จำเป็นที่ต้องกังวลเพราะราคาคงจะกลับขึ้นมาในไม่ช้า อย่างไรก็ตาม หากประเมินจากสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ที่มีนัยสำคัญที่ทำให้เชื่อได้ว่า ตลาดหุ้นจะกลับมาอยู่ในสถานการณ์ Best Case ใน 1-2 เดือนข้างหน้า
สถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้ (Base Case) นั่นคือ ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงและซื้อขายในระดับ PE ที่เหมาะสมเพราะได้สะท้อนปัจจัยลบต่างๆ ที่คาดกว่าจะเกิดขึ้นแล้ว หากสถานการณ์ไม่เลวร้ายมากกว่าที่เป็นอยู่ ราคาหุ้นอาจมี Downside Risk จำกัด หากตลาด Over React นี่คือโอกาสซื้อหุ้นยอดเยี่ยมในราคาที่มี Margin of Safety ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ เครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินผลกระทบที่จะเกิดจริงและการตัดสินใจลงทุนที่ถูกต้อง
สถานการณ์เลวร้ายที่สุด (Worse Case) หากสถานการณ์เลวร้ายกว่าที่คาดและนำไปสู่ภาวะวิกฤติ เศรษฐกิจที่ตกต่ำย่อม ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของกิจการในระยะยาว ผลประกอบการ (E) ที่ย่ำแย่จะทำให้ตลาดหุ้นและหุ้นส่วนใหญ่จะถูกปรับลดระดับ PE ที่ซื้อขายต่ำลง นี่คือการเข้าสู่ภาวะตลาดหุ้น “ขาลง” อย่างแท้จริง ราคาหุ้นอาจปรับตัวลงได้อีกมากและกินเวลายาวนานดังเช่นวิกฤติต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต การตัดสินใจขายหุ้นตอนนี้อาจเป็นวิธีหนึ่งในการจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
คำถามก็คือ ตลาดหุ้นไทยจะเข้าสู่ภาวะ Worse Case หรือ “ขาลง” หรือไม่ คงไม่มีคำตอบที่ถูกต้องแม่นยำเพราะไม่มีใครรู้อนาคตล่วงหน้าอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องล้วนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกับ 8 เดือนแรกของปีนี้
คุณฉัตรชัย วงแก้วเจริญ อุปนายกสมาคมนักลงทุนคุณค่า (ประเทศไทย) ได้โพสต์ข้อความส่วนตัวในเฟซบุ๊คไว้ว่า “ที่ผมยังถือหุ้น 100% ไม่ใช่ว่าเป็น VI แล้วต้องถือหุ้นยาวๆ เหตุผลที่แท้จริงก็คือ ผมไม่รู้ว่าหุ้นจะตกไปถึงไหน จะตกไปถึงวันไหน ผมก็เป็น
คนที่ขาดความสามารถในการคาดเดาราคาตลาด แต่ก็ยังอยากที่จะลงในหุ้น คุณมีเหตุผลของคุณ ผมก็มีวิธีของผม ก็เท่านั้น”
นักลงทุนทุกคนที่คิดลงทุนในตลาดหุ้นอีกยาวนาน คงต้องเผชิญ “จุดเปลี่ยน” ที่จะเกิดขึ้นเสมอโดยอาจมีขนาดและความรุนแรงแตกต่างกันไป ในฐานะ Value Investor จึงต้องวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์และเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อความสุขและสบายใจในการลงทุนของตนเอง แม้ต้องเผชิญ “จุดเปลี่ยน” สำคัญครั้งแล้วครั้งเล่าในชีวิตการลงทุน แต่สิ่งที่ “สำคัญ” และ “ต้องไม่เปลี่ยน” ก็คือ “หลักการ” ลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่ใช้ได้เสมอไม่ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไป
https://www.facebook.com/#!/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376