กฎทรงพลังงาน และ กลศาสตร์ควอนตัม และ ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์

เชิญสนทนาศาสนาแห่งวิทยาศาสตร์ ณ คำถาม ผมครับ:
http://ppantip.com/topic/30966523
     Cosmic Religion

สมาชิกหมายเลข 917113 = อนัตตา Science ครับ พี่น้อง


Ref:
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6ecd5e75b766e4b6
กฎทรงพลังงาน และ กลศาสตร์ควอนตัม และ ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์

____________


กฎทรงพลังงาน = ธรรมปริยายสูตร

http://th.wikipedia.org/wiki/กฎทรงพลังงาน
กฎทรงพลังงาน (อังกฤษ: Conservation of energy) เป็นกฎในทางฟิสิกส์ กล่าวว่า พลังงานโดยรวมในระบบปิดหนึ่งๆ จะมีค่าคงที่เสมอ และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ ทำได้แต่เพียงเปลี่ยนรูปของพลังงานไปเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การเสียดสีทำให้พลังงานจลน์กลายไปเป็นพลังงานความร้อน เป็นต้น ในทางอุณหพลศาสตร์ กฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์คือสภาวะของการทรงพลังงานในระบบอุณหพลศาสตร์ กล่าวให้ง่ายก็คือ กฎทรงพลังงานหมายถึง พลังงานไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่หรือถูกทำลายไปได้ มันเพียงแต่เปลี่ยนรูปจากพลังงานอย่างหนึ่งไปเป็นพลังงานอีกอย่างหนึ่งเท่านั้น

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=6876&Z=6957
     ธรรมปริยายสูตร

...กระทำกรรมใดไว้ เป็น กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ...

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตนเป็นผู้รับผล
ของกรรม เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ทำกรรมอันใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งกระเฉือกกระสนเป็นดังนี้แล ฯ...

____________


กลศาสตร์ควอนตัม = อนัตตา

http://th.wikipedia.org/wiki/กลศาสตร์ควอนตัม
กลศาสตร์ควอนตัม (อังกฤษ: quantum mechanics) เป็นสาขาหนึ่งในทฤษฎีรากฐานของฟิสิกส์ ที่มีความสามารถในการอธิบายผลการทดลองต่างๆ และถูกใช้แทนที่กลศาสตร์นิวตัน (หรือกลศาสตร์ดั้งเดิม) และ กลศาสตร์ไฟฟ้าของแม็กซ์เวลล์ (หรือทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า) ซึ่งกลศาสตร์ดั้งเดิมเหล่านี้ไม่สามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ในวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม แต่กลศาสตร์ควอนตัมนั้นสามารถคำนวณได้แม่นยำมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขนาดของวัตถุที่สนใจนั้นเล็กถึงขนาดอะตอม จึงกล่าวได้ว่ากลศาสตร์ควอนตัมนั้นเป็นรากฐานเบื้องต้นของฟิสิกส์ที่มีความสำคัญมากกว่ากลศาสตร์นิวตันและกลศาสตร์ไฟฟ้าของแม็กซ์เวลล์ หรือใกล้เคียงกับความจริงมากกว่านั่นเอง

กลศาสตร์ควอนตัมเริ่มในปี พ.ศ. 2443 เมื่อ มักซ์ พลังค์ ตีพิมพ์ทฤษฎีที่อธิบายถึงการปล่อยสเปกตรัมออกจากวัตถุดำ ซึ่ง 18 ปีต่อมา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

ข้อแตกต่างของกลศาสตร์ดั้งเดิมและกลศาสตร์ควอนตัม กลายเป็นเรื่องประหลาด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2469 แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ และคนอื่นๆ สามารถอธิบายทฤษฎีดังกล่าวทางคณิตศาสตร์ได้

สำหรับความเกี่ยวเนื่องกับทฤษฎีทางฟิสิกส์อื่นๆ นั้น หากรวมสัมพัทธภาพพิเศษลงในกลศาสตร์ควอนตัม จะเรียกว่า พลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัม หรือทฤษฎีสนามควอนตัม

ในปัจจุบัน ถือได้ว่า กลศาสตร์ควอนตัม และ สัมพัทธภาพทั่วไป เป็นเสาหลักของฟิสิกส์ยุคใหม่ ซึ่งยังไม่มีผู้ใดสามารถรวมสองทฤษฎีนี้เข้าด้วยกันได้ แต่ทฤษฎีสตริงอาจเป็นคำตอบสำหรับปัญหานี้

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=1472&Z=1535
     ๗. ปัญจวัคคิยสูตร
ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา

[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือ
ไม่เที่ยง?
             ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะ
ตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา?
             ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=479&Z=575
     ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
             [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

____________


ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ = วีมังสกสูตร


http://th.wikipedia.org/wiki/ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์
องค์ประกอบสำคัญของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์คือการวนซ้ำของขั้นตอนด้านล่าง และการใช้วิธีดังกล่าวซ้ำภายในขั้นตอนย่อย:

1. การระบุลักษณะเฉพาะ (Characterization)
2. การตั้งสมมติฐาน (การสร้างคำอธิบายเชิงทฤษฎีที่มีความเป็นไปได้)
3. การทำนายผล (การอนุมานเชิงตรรกศาสตร์จากสมมติฐาน)
4. การทดลอง (การทดสอบขั้นตอนทั้งหมด)

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=9904&Z=9991
     ๗. วีมังสกสูตร
ว่าด้วยการตรวจดูธรรม

...
พ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตที่ผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่ เราเป็นผู้มีธรรมที่
ผ่องแผ้วนั้นเป็นทาง มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั้นเป็นโคจร เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่ใช่เป็นผู้มีตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวกควรจะเข้าหาศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ เพื่อฟังธรรม ศาสดาย่อมแสดง
ธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำ ส่วนขาว แก่สาวกนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ศาสดาย่อมแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่ภิกษุ ด้วย
ประการใดๆ ภิกษุนั้น รู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ย่อมถึงความตกลงใจใน
ธรรมทั้งหลาย ย่อมเลื่อมใสในศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว...

____________________________________

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=34cf0e597d0b4296
ศาสนาอะไรที่เข้กับวิทยาศาสตร์!
____________

ไม่มีครับ
ตรรกะทางวิทยาศาสตร์ไม่มีศาสนาไหนเหมือน

กระทั่งศาสนาพุทธที่ผมว่าดีที่สุดก็ยังไม่สมบูรณ์เท่าอยู่ดี (ขาดสิ่งสำคัญมากอย่างนึงคือการทดสอบซ้ำ และอีกหลายอย่าง)

31/8/56
Lugia
____________

จากคำตอบของท่าน Lugia: ขาดสิ่งสำคัญมากอย่างนึงคือการทดสอบซ้ำ

ไม่ขาดครับ, พระพุทธศาสนาเรียกการทดสอบซ้ำ หรือ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ว่า วีมังสา หรือ วิมังสา ก็ได้ ครับ

อิทธิบาท4\วีมังสา

เชิญฟังครับพี่น้อง ไฟล์เสียง ครับ ตาม Link openbase.in.th:

http://www.openbase.in.th/node/8511
อิทธิบาท ๔ อย่าดีแต่รู้จักชื่อ ต้องรู้เข้าใจ เอาไปใช้ให้ได้ด้วย- พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต)

http://www.openbase.in.th/taxonomy/term/7513?page=1
อิทธิบาท ๔ อย่าดีแต่รู้จักชื่อ ต้องรู้เข้าใจ เอาไปใช้ให้ได้ด้วย- พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต)
____________

Ref:
http://ppantip.com/topic/30741457/comment20-5

ว่าด้วย อนัตตา, ควอนตัม และการพยายามควบคุมค่าเอนโทรปีให้ไม่เป็นไปในทางสับสนวุ่นวายมากขึ้นเรื่อยๆ = พยายาม คิดดี พูดดี ทำดี ตามอริยมรรค8 หรือ โลกิยะมรรค8 ก็ได้ครับ

http://th.wikipedia.org/wiki/เอนโทรปี
     เอนโทรปีเป็นจำนวนซึ่งใช้อธิบายระบบอุณหพลศาสตร์ เมื่อมองในระดับโมเลกุล กระบวนการทางกายที่เกิดขึ้นเองทำให้โมเลกุลมีการเรียงตัวที่ไม่เป็นระเบียบมากขึ้น

     ความมีวินัย ไม่ทำบ้านรก = ทำความสะอาดบ้านและรถให้สะอาดปลอดภัย รวมถึงความมีวินัยในหน้าที่การงาน นั่นอาจถือเป็นโลกิยะสัมมาวายามะได้ครับ =
For example(Case: ทำความสะอาดบ้านและรถให้สะอาด):
พยายามไม่ให้เหตุปัจจัยที่ความสกปรกเกิดขึ้นกับบ้านและรถเกิดขึ้น
พยายามดับความสกปรกเกิดขึ้นกับบ้านและรถที่เกิดขึ้นแล้ว
พยายามสร้างความสะอาดให้เกิดขึ้นกับบ้านและรถ
พยายามรักษาความสะอาดที่เกิดขึ้นกับบ้านและรถไว้ตลอดไป


สัมมาทิฏฐิ
     อาจรวมไปถึงความเห็นที่ว่า เมื่อรู้สึกร่างกายไม่กระฉับกระเฉงก็ต้องออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายสดชื่นกระฉับกระเฉง ด้วยกระมัง
     เนื่องจาก อยากให้รูปขันธ์แข็งแรง มัวแต่อ่านหนังสือธรรมะหรือนั่งสมาธิ ไม่ได้แน่ ต้องออกกำลังกายนะครับ อนึ่ง การเดินจงกรมถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง

สัมมาวายามะ = ความกล้าหาญ ขยัน อดทน เพียร มุ่งมั่น มีวินัย การแต่งตัว การตื่นแต่เช้า การตรงต่อเวลา การออกกำลังกายอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย การต่อสู้ป้องกันตัวเมื่อจำเป็น การทำความสะอาดบ้าน การขยันทำการบ้าน การขยันทำงาน, การวางแผน การรักษาตนเองให้ปลอดภัย การปฏิบัติตามมงคล38ประการ การรักษาวาจาให้ชอบ การศึกษาค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม  ฯลฯ ตามสัมมาทิฏฐิจะเห็นชอบ

สัมมาสติ = สติ + ไม่ประมาท(พระปัจฉิมโอวาท@มหาปรินิพพานสูตร)

____________

Ref:
http://ppantip.com/topic/30741457/comment20-2

Ref:
สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ชื่อก้องเผย : "ไม่มีสวรรค์และชีวิตหลังความตาย" นั่นเป็นแค่"เทพนิยาย"
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3ff90a6e216a7f52


ควอนตัมที่แท้จริง อาจไม่ใช่ ไม่มี แต่เป็น ไม่ใช่

"ไม่มีสิ่งใดกำลังรอเราหรือปรากฏขึ้น" ขอตอบว่ามีครับ จิตกำลังดับ เอาเครื่องมืออะไรไปวัดไม่ได้

แต่ตัวจิตเองก็ไม่ใช่ตัวตน

วิทยาศาสตร์\ควอนตัม คือ นิยามหนึ่ง ของอนัตตา

เราไม่รู้ว่าวิบากใดจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ @อจินติตสูตร ก็เช่นกัน ทำให้เราคิดไปเองว่ามันเป็นเหตุบังเอิญ แต่แท้ที่จริง แม้แต่กฏแห่งกรรมก็ยังเป็นอนัตตา เช่น เราไปตีหัวเขา ไม่จำเป็นที่เราจะโดนตีหัวคืน เราอาจจะโดนหยิกหูแทนก็ได้

แท้จริงแล้ว ทั้งอนัตตาและควอนตัม อาจเป็นเรื่องเดียวกัน คือ
อนิจจัง = มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ทุกขัง = มันเสื่อมสลายไปได้ตามหลักเอนโทรปี(ค่าการเรียงตัวอย่างสับสนวุ่นวายของอนุภาค)ที่ต้องเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
อนัตตา = มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่รู้เมื่อไหร่จะออกหัวออกก้อย และ มันมีแต่จะเสื่อมไปเรื่อยๆตามกฏข้อที่2ของเทอร์โมไดนามิกส์ = กฏข้อที่3ของสามัญลักษณะหรือที่พูดกันเป็นภาษาบาลีว่าพระไตรลักษณ์ ถ้าเราไม่พยายามทำให้มันดีขึ้นก็จะแย่ลง เราจึงต้องมีสัมมาทิฏฐิ
    ไม่ว่าจะเป็นโลกิยะสัมมาทิฏฐิที่นำไปสู่กุศลวิบากแด่ขันธ์5@มหาจัตตารีสกสูตร
    หรือจะเป็นโลกุตตรสัมมาทิฏฐิที่นำไปสู่พระนิพพานอันเป็นสุขอย่างยิ่ง@มหาจัตตารีสกสูตร
ล้วนเป็นการทำตัวให้ดี ในทางโลก(โลกิยะมรรค) หรือทางธรรม(โลกุตตรมรรค)


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


เพลงนี้ช่วยให้เห็นอนิจจัง ว่า คนเราต้องแก่ครับ ท่านและผม ก็ต้องแก่ทั้งคู่ครับ ต้องตายด้วย, ถ้ายังไม่ไปพระนิพพานก็ต้องมาเกิดแก่เจ็บตายไปเรื่อยๆ ครับ

สภาพธรรมใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา

____________


แนะนำเพลงเพราะๆ ครับ พี่น้อง:

2545(มหาวิทยาลัย): ผมฟังเทปคาสเส็ท2อัลบั้มนี้(dojo city และ ฺBallads) พบว่า ทุกเพลงใน2อัลบั้มนี้ไม่ทำลายสมาธิในการอ่านหนังสือเตรียมสอบ

     Best of dojo city
http://www.youtube.com/watch?v=ArhjS2xhUAQ&list=PLDCVpt_Xe4PwhQ0NrLq6iBL_4E5xZnP0I

     Ballads (Richard Marx album)
http://www.youtube.com/watch?v=fIIdueC6vZc&list=PLDCVpt_Xe4PzfKuPL0tQ9THvuclt4ZRkn

แนะนำ เพลงเพราะๆ(ข้าพเจ้าฟังสมัยมหาวิทยาลัย) ฟังแล้วสมองปลอดโปร่ง ครับ, แนวนี้ฟังแล้วสบายใจเนอะครับ พี่น้อง

     Warning 1:
     ในฐานะอุบาสก@ศีล5 ฟังเพลงได้ครับ(ถ้าศีล8 มะได้) แต่ไม่เข้าไปถือมั่นยึดมั่น เนื่องจาก เพลง ก็เป็นอนัตตาครับ(สัพเพ ธัมมา อนัตตา) ไม่ควรเข้าไปถือมั่นยึดมั่นให้เกิดทุกข์ เนอะครับ

     Warning 2:
    Best of dojo city แต่ละเพลงเพราะมากอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องมองภาพ ดังนั้น ขอแนะนำให้ซ่อนจอภาพ แล้วฟังแต่เสียง จะทำให้เพลงฟังดูน่ารักและอ่อนโยนกว่า๋ครับ
    เนื่องจาก นักร้องสวยเกิน ครับ อาจดึง "วิถีจิต" ให้เข้าไปถือมั่นยึดมั่นให้เป็นทุกข์ได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่