นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงสถานการณ์ค่าครองชีพปรับสูงขึ้น ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทนั้นไม่เพียงพอต่ออัตราค่าครองชีพในปัจจุบัน จึงเห็นว่าบอร์ดค่าจ้างควรทบทวนเงื่อนไขว่าจะไม่มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจนถึงปี 2558
http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=694247&lang=T&cat
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงสถานการณ์ค่าครองชีพปรับสูงขึ้นทั้งค่าทางด่วน ค่าไฟฟ้า แก๊สหุงต้มและสินค้าอุปโภคบริโภคว่า แม้ปัจจุบันผู้ใช้แรงงานจะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ แต่ยังคงไม่เพียงพอต่ออัตราค่าครองชีพในปัจจุบัน เนื่องจากค่าครองชีพ สินค้าอุปโภคบริโภคมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น โดยส่วนตัวจึงเห็นว่าคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ควรทบทวนมติเดิมที่กำหนดเงื่อนไขว่าหากมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศแล้ว จะไม่มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำอีก 3 ปี หรือไปจนถึงปี 2558 ขณะเดียวกันยังพบว่ามติการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ยังไม่มีการบังคับใช้ในทุกบริษัท เพราะบางบริษัทยังไม่จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทให้แก่ลูกจ้าง
"ขณะนี้คสรท.กำลังลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบในเรื่องค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น รวมทั้งความต้องการเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานในหลายๆพื้นที่เพื่อให้ครอบคลุมทุกจังหวัด เช่น กรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคตะวันออก เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบว่าค่าจ้างกับค่าครองชีพมีความสมดุลมากน้อยเพียงใด ทีมงานคสรท.จะเร่งหาข้อมูลดังกล่าวให้เร็วที่สุดเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและตัวเลขที่แน่นอนคาดว่าจะรู้ผลได้ในปลายเดือนกันยายนนี้แล้วจะแถลงข่าวเพื่อให้สังคมได้รับทราบ หลังจากนั้นคสรท.จะหารือกับเครือข่ายแรงงานทั่วประเทศว่าจะเสนอต่อกระทรวงแรงงานและรัฐบาล รวมทั้งจะมีการเรียกร้องให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ " นายชาลี กล่าว
กก.สมานฉันท์แรงงานชี้ค่าแรง 300 บ.ไม่พอใช้
http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=694247&lang=T&cat
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงสถานการณ์ค่าครองชีพปรับสูงขึ้นทั้งค่าทางด่วน ค่าไฟฟ้า แก๊สหุงต้มและสินค้าอุปโภคบริโภคว่า แม้ปัจจุบันผู้ใช้แรงงานจะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ แต่ยังคงไม่เพียงพอต่ออัตราค่าครองชีพในปัจจุบัน เนื่องจากค่าครองชีพ สินค้าอุปโภคบริโภคมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น โดยส่วนตัวจึงเห็นว่าคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ควรทบทวนมติเดิมที่กำหนดเงื่อนไขว่าหากมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศแล้ว จะไม่มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำอีก 3 ปี หรือไปจนถึงปี 2558 ขณะเดียวกันยังพบว่ามติการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ยังไม่มีการบังคับใช้ในทุกบริษัท เพราะบางบริษัทยังไม่จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทให้แก่ลูกจ้าง
"ขณะนี้คสรท.กำลังลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบในเรื่องค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น รวมทั้งความต้องการเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานในหลายๆพื้นที่เพื่อให้ครอบคลุมทุกจังหวัด เช่น กรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคตะวันออก เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบว่าค่าจ้างกับค่าครองชีพมีความสมดุลมากน้อยเพียงใด ทีมงานคสรท.จะเร่งหาข้อมูลดังกล่าวให้เร็วที่สุดเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและตัวเลขที่แน่นอนคาดว่าจะรู้ผลได้ในปลายเดือนกันยายนนี้แล้วจะแถลงข่าวเพื่อให้สังคมได้รับทราบ หลังจากนั้นคสรท.จะหารือกับเครือข่ายแรงงานทั่วประเทศว่าจะเสนอต่อกระทรวงแรงงานและรัฐบาล รวมทั้งจะมีการเรียกร้องให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ " นายชาลี กล่าว