จากแนวคิด ตรรกะและพฤติกรรมที่มีต่อการแก้ไข รธน. ในส่วนที่มาของ สว.
ยังเข้าใจได้ที่ต้องการให้ สว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
แต่...
ไม่เข้าใจจริงๆ ที่สนับสนุนการแก้ไขคุณสมบัติของผู้สมัครที่เคยเป็นข้อห้าม
ตาม รธน.50…ดังนี้
>> ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
>> ไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง
หรือเคยเป็นสมาชิกหรือเคยดำรงตำแหน่งและพ้นจากการเป็นสมาชิก
หรือการดำรงตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมืองมาแล้ว
ยังไม่เกิน 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
>> ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่เกิน 5 ปี
นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
>> ไม่เป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น
ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
หรือเคยเป็นแต่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วยังไม่เกิน 5 ปี
>> สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น
หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมิได้
และผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกิน 2 ปี
จะเป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได้เช่นกัน
ที่น่าสนใจก็คือ
ในร่างของกมธ.ชุดแก้ไขเรื่องที่มาของส.ว.
ที่มีสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทยเป็นประธาน
ปรากฏว่ามีการไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดสำคัญของร่างดังกล่าว
ที่แตกต่างจากรธน.ฉบับ 2550 รวมถึงแก้ไขไปจากร่างเดิมที่ผ่านรัฐสภาในวาระแรก
นั่นคือในส่วนของมาตรา 115 ในรธน.ฉบับปัจจุบันที่เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่อง บุคคลที่มีคุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว.
กรรมาธิการไปตัดออกยกทิ้งของเดิมหมดเช่น
ในเรื่องที่ว่าผู้ลงสมัครส.ว.ต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตร
ของผู้ดำรงตำแหน่งส.ส.หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เครดิต : http://board.postjung.com/700454.html
V
V
การแก้ไขคุณสมบัติของที่มาแห่ง สว. ซึ่งเป็นสาระสำคัญ
ของการปฏิบัติหน้าที่การกลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านสภาผู้แทนมาแล้ว
ถ้าคุณสมบัติเหล่านี้ถูกแก้ไข...
การมีอยู่ของวุฒิสภา แทบจะไม่มีความหมายแล้วค่ะ
เพราะสุดท้ายแล้ว พรรคที่ได้เสียงส่วนใหญ่ ก็จะได้เสียงส่วนใหญ่ทั้ง 2 สภาฯ
แล้วจะมีวุฒิสภาไปทำมัย ให้สิ้นเปลืองงบประมาณ
จึงไม่เข้าใจตรรกกะในการสนับสนุนพรรคเพื่อไทยชองกลุ่มคนเสื้อแดง
ในกรณีนี้เลยค่ะ
คุณคนเสื้อแดงทั้งหลาย ถ้าคุณไม่ใช่แกนนำ นปช.ไม่ใช่ สส. และไม่ใช่นายทุนพรรค
ซึ่งจะได้ประโยชน์กันเห็นๆ
แต่คุณเป็นเสื้อแดงที่เป็นประชาชนธรรมดา
คุณได้ประโยชน์อะไร หรือเสียประโยชน์กันแน่
กับการแก้ไขข้อห้ามต่างๆที่ยกตัวอย่างมาคะ???
๐๐๐๐๐ ไม่เข้าใจคนเสื้อแดงจริงๆค่ะ ๐๐๐๐๐
ยังเข้าใจได้ที่ต้องการให้ สว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
แต่...ไม่เข้าใจจริงๆ ที่สนับสนุนการแก้ไขคุณสมบัติของผู้สมัครที่เคยเป็นข้อห้าม
ตาม รธน.50…ดังนี้
>> ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
>> ไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง
หรือเคยเป็นสมาชิกหรือเคยดำรงตำแหน่งและพ้นจากการเป็นสมาชิก
หรือการดำรงตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมืองมาแล้ว
ยังไม่เกิน 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
>> ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่เกิน 5 ปี
นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
>> ไม่เป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น
ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
หรือเคยเป็นแต่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วยังไม่เกิน 5 ปี
>> สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น
หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมิได้
และผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกิน 2 ปี
จะเป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได้เช่นกัน
ที่น่าสนใจก็คือ ในร่างของกมธ.ชุดแก้ไขเรื่องที่มาของส.ว.
ที่มีสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทยเป็นประธาน
ปรากฏว่ามีการไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดสำคัญของร่างดังกล่าว
ที่แตกต่างจากรธน.ฉบับ 2550 รวมถึงแก้ไขไปจากร่างเดิมที่ผ่านรัฐสภาในวาระแรก
นั่นคือในส่วนของมาตรา 115 ในรธน.ฉบับปัจจุบันที่เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่อง บุคคลที่มีคุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว.
กรรมาธิการไปตัดออกยกทิ้งของเดิมหมดเช่น
ในเรื่องที่ว่าผู้ลงสมัครส.ว.ต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตร
ของผู้ดำรงตำแหน่งส.ส.หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เครดิต : http://board.postjung.com/700454.html
V
V
การแก้ไขคุณสมบัติของที่มาแห่ง สว. ซึ่งเป็นสาระสำคัญ
ของการปฏิบัติหน้าที่การกลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านสภาผู้แทนมาแล้ว
ถ้าคุณสมบัติเหล่านี้ถูกแก้ไข...
การมีอยู่ของวุฒิสภา แทบจะไม่มีความหมายแล้วค่ะ
เพราะสุดท้ายแล้ว พรรคที่ได้เสียงส่วนใหญ่ ก็จะได้เสียงส่วนใหญ่ทั้ง 2 สภาฯ
แล้วจะมีวุฒิสภาไปทำมัย ให้สิ้นเปลืองงบประมาณ
จึงไม่เข้าใจตรรกกะในการสนับสนุนพรรคเพื่อไทยชองกลุ่มคนเสื้อแดง
ในกรณีนี้เลยค่ะ
คุณคนเสื้อแดงทั้งหลาย ถ้าคุณไม่ใช่แกนนำ นปช.ไม่ใช่ สส. และไม่ใช่นายทุนพรรค
ซึ่งจะได้ประโยชน์กันเห็นๆ
แต่คุณเป็นเสื้อแดงที่เป็นประชาชนธรรมดา
คุณได้ประโยชน์อะไร หรือเสียประโยชน์กันแน่
กับการแก้ไขข้อห้ามต่างๆที่ยกตัวอย่างมาคะ???