วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 150 คน แบ่งออกเป็น
1. มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด 76 คน ตามมาตรา 112 วรรคหนึ่ง
2. มาจากการสรรหา จำนวน 74 คน ทั้งนี้สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด (150 คน) หักด้วย จำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัด ๆ ละ 1 คน (ตามมาตรา 111 วรรคหนึ่ง) โดยการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา เรียกว่า "คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา"
องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วย
1. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
*2. ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
**3. ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
***4. ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
****5. ประธานกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน
6. ผู้พิพากษาในศาลฏีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฏีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกามอบหมาย จำนวน 1 คน
7. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย จำนวน 1 คน
*แล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นสายตุลาการไหม
(1) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 10 คน ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 4 คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรพรรคละ 1 คน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 4 คน ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 137 ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 5 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น มติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(2) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สัมครเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวน 5 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น
(เสนอชื่อ 10 คน ตุลาการเลือกมากันเองซะ 5 คนแล้ว อีก 5 คนก็มีตุลาการนั่งในกรรมการสรรหา 2 / 10 คน
** แล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดิน สายตุลาการไหม??
การสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน
กระบวนการได้มาซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินนี้ ไม่แตกต่างไปจากการได้มาซึ่งกรรมการในองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ให้มีคณะกรรมการสรรหาจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย
(1) ประธานศาลฎีกา
(2) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
(3) ประธานศาลปกครองสูงสุด
(4) ประธานสภาผู้แทนราษฎร
(5) ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(6) บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคนซึ่งต้องไม่ซ้ำกับบุคคลที่เป็นกรรมการสรรหากรรมการในองค์กรอื่น
(7) บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวนหนึ่งคนซึ่งต้องไม่ซ้ำกับบุคคลที่เป็นกรรมการสรรหากรรมการในองค์กรอื่น
(ในกรรมการสรรหา 7 คน เป็นตุลาการ 5 คนแล้ว )
***แล้ว ปปช. เป็น ปปช. สายตุลาการไหม??
การสรรหาและเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๔ วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา ๒๐๖ และมาตรา ๒๐๗ มาให้บังคับโดยอนุโลม โดยให้มีคณะกรรมการสรรหาจำนวนห้าคน ประกอบด้วย
ประธานศาลฎีกา
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานศาลปกครองสูงสุด
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
( กรรมการสรรหา เป็นตุลาการ 3/5 คน )
****แล้วใน กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีสายตุลาการไหม ??
การสรรหาและการเลือกกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนั้น ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
ประธานศาลฎีกา
ประธานศาลปกครองสูงสุด
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน เป็นกรรมการ
ผู้ดำรงตำแหน่งที่อาจถูกร้องขอให้วุฒิสภาถอดถอนจากตำแหน่งได้ คือ
1. นายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรี
3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
4. สมาชิกวุฒิสภา
5. ประธานศาลฎีกา
6. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
7. ประธานศาลปกครองสูงสุด
8. อัยการสูงสุด
9. กรรมการการเลือกตั้ง
10. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
11. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
12. กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
13. ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
การที่มีวุฒิสภา สายตุลาการ ทำให้การใช้เสียง 3/5 ถอดถอนตุลาการ แทบเป็นไปไม่ได้เลย วุฒิสภาสรรหา มีที่มาจากคนกลุ่มเดียวกันที่มาจากสายตุลาการเป็นการแสดงให้เห็นว่า เป็นการวางแผนล่วงหน้าในรัฐธรรมนูญ 2550 เพื้อที่จะเข้าไปแทรกแทรงในองค์กรอิสระทุกขั้นตอน รวมถึงการปกป้องตัวเองจากการตรวจสอบของวุฒิสภาด้วย การแก้ไขที่มาของ สว. จึงเป็นด่านแรกที่จะปลดล็อก กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ ในรัฐธรรมนูญ 2550
วุฒิสภาสายตุลาการ
1. มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด 76 คน ตามมาตรา 112 วรรคหนึ่ง
2. มาจากการสรรหา จำนวน 74 คน ทั้งนี้สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด (150 คน) หักด้วย จำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัด ๆ ละ 1 คน (ตามมาตรา 111 วรรคหนึ่ง) โดยการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา เรียกว่า "คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา"
องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วย
1. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
*2. ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
**3. ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
***4. ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
****5. ประธานกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน
6. ผู้พิพากษาในศาลฏีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฏีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกามอบหมาย จำนวน 1 คน
7. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย จำนวน 1 คน
*แล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นสายตุลาการไหม
(1) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 10 คน ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 4 คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรพรรคละ 1 คน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 4 คน ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 137 ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 5 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น มติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(2) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สัมครเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวน 5 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น
(เสนอชื่อ 10 คน ตุลาการเลือกมากันเองซะ 5 คนแล้ว อีก 5 คนก็มีตุลาการนั่งในกรรมการสรรหา 2 / 10 คน
** แล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดิน สายตุลาการไหม??
การสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน
กระบวนการได้มาซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินนี้ ไม่แตกต่างไปจากการได้มาซึ่งกรรมการในองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ให้มีคณะกรรมการสรรหาจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย
(1) ประธานศาลฎีกา
(2) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
(3) ประธานศาลปกครองสูงสุด
(4) ประธานสภาผู้แทนราษฎร
(5) ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(6) บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคนซึ่งต้องไม่ซ้ำกับบุคคลที่เป็นกรรมการสรรหากรรมการในองค์กรอื่น
(7) บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวนหนึ่งคนซึ่งต้องไม่ซ้ำกับบุคคลที่เป็นกรรมการสรรหากรรมการในองค์กรอื่น
(ในกรรมการสรรหา 7 คน เป็นตุลาการ 5 คนแล้ว )
***แล้ว ปปช. เป็น ปปช. สายตุลาการไหม??
การสรรหาและเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๔ วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา ๒๐๖ และมาตรา ๒๐๗ มาให้บังคับโดยอนุโลม โดยให้มีคณะกรรมการสรรหาจำนวนห้าคน ประกอบด้วย
ประธานศาลฎีกา
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานศาลปกครองสูงสุด
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
( กรรมการสรรหา เป็นตุลาการ 3/5 คน )
****แล้วใน กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีสายตุลาการไหม ??
การสรรหาและการเลือกกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนั้น ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
ประธานศาลฎีกา
ประธานศาลปกครองสูงสุด
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน เป็นกรรมการ
ผู้ดำรงตำแหน่งที่อาจถูกร้องขอให้วุฒิสภาถอดถอนจากตำแหน่งได้ คือ
1. นายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรี
3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
4. สมาชิกวุฒิสภา
5. ประธานศาลฎีกา
6. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
7. ประธานศาลปกครองสูงสุด
8. อัยการสูงสุด
9. กรรมการการเลือกตั้ง
10. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
11. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
12. กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
13. ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
การที่มีวุฒิสภา สายตุลาการ ทำให้การใช้เสียง 3/5 ถอดถอนตุลาการ แทบเป็นไปไม่ได้เลย วุฒิสภาสรรหา มีที่มาจากคนกลุ่มเดียวกันที่มาจากสายตุลาการเป็นการแสดงให้เห็นว่า เป็นการวางแผนล่วงหน้าในรัฐธรรมนูญ 2550 เพื้อที่จะเข้าไปแทรกแทรงในองค์กรอิสระทุกขั้นตอน รวมถึงการปกป้องตัวเองจากการตรวจสอบของวุฒิสภาด้วย การแก้ไขที่มาของ สว. จึงเป็นด่านแรกที่จะปลดล็อก กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ ในรัฐธรรมนูญ 2550