คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
นายจ้างใช้อำนาจโดยชอบธรรมออกคำสั่งอันเกี่ยวกับงานโดยชอบธรรม ไม่ได้เลือกปฎิบัติแล้ว
หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตาม ก็ใช้อำนาจลงโทษตามระเบียบข้อบังคับสิครับ ตั้งแต่ตักเตือนด้วยวาจา ทำหนังสือเตือน
หากลูกจ้างยังฝืนขัดคำสั่งอีก ก็ลงโทษด้วยการออกหนังสือเตือนซ้ำไปอีกสักฉบับ ก็ถือเป็นการขัดคำสั่งนายจ้าง
และทำผิดซ้ำคำเตือนแล้ว (มาตรา 119 (4))
เวลาเราเลิกจ้าง เราก็อ้างทำผิดซ้ำคำเตือน (ไม่อ้างว่าขัดคำสั่งนายจ้าง) ก็เลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยใดๆ
ที่ผมชี้แจงมาเช่นนี้ไม่ได้มีเจตนาให้นายจ้างไปหาวิธีเลิกจ้างลูกจ้างนะครับ แต่อยากแนะนำว่า หากลูกจ้างที่ชอบ
ประพฤติตนเป็นปรปักษ์ หรือมักหัวหมออยู่เป็นนิจ ท่านที่เป็นนายจ้างก็ควรลงโทษตามระเบียบข้อบังคับ และการลงโทษ
จนเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ กฎหมายได้อนุญาตไว้เพียงอย่างเดียวคือ "การทำผิดซ้ำคำเตือน" หากลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนเมื่อใด
ท่านก็เลิกจ้างได้ตามกฎหมาย (กฎหมายไม่มีตักเตือนซ้ำ หรือพักงานซ้ำ ถึงเลิกจ้างได้)
กรณีที่ท่านถามมานี้ นายจ้างเสียเปรียบเพราะ ไม่อ้างเหตุเลิกจ้างเขา คือนายจ้างอาจจะมีเหตุอยากจะเลิกจ้างเพราะลูกจ้าง
ประพฤติตนขัดคำสั่งนายจ้าง แต่เวลาเลิกจ้าง ไม่ได้ทำตามวิธีการในบทลงโทษ และไม่ได้อ้างเหตุดังกล่าวในการเลิกจ้าง
เป็นเพียงการจ่ายเงินชดเชย แล้วเลิกจ้างกันไป...ทีนี้ลูกจ้างก็ไปฟ้องร้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่อสิ่ครับ งานนี้
เวลาจะอ้างเหตุเลิกจ้าง ต้องไปอ้างตอนที่เลิกจ้างครับ ไปอ้างในการนำสืบของศาล ศาลท่านไม่รับฟังครับ
หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตาม ก็ใช้อำนาจลงโทษตามระเบียบข้อบังคับสิครับ ตั้งแต่ตักเตือนด้วยวาจา ทำหนังสือเตือน
หากลูกจ้างยังฝืนขัดคำสั่งอีก ก็ลงโทษด้วยการออกหนังสือเตือนซ้ำไปอีกสักฉบับ ก็ถือเป็นการขัดคำสั่งนายจ้าง
และทำผิดซ้ำคำเตือนแล้ว (มาตรา 119 (4))
เวลาเราเลิกจ้าง เราก็อ้างทำผิดซ้ำคำเตือน (ไม่อ้างว่าขัดคำสั่งนายจ้าง) ก็เลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยใดๆ
ที่ผมชี้แจงมาเช่นนี้ไม่ได้มีเจตนาให้นายจ้างไปหาวิธีเลิกจ้างลูกจ้างนะครับ แต่อยากแนะนำว่า หากลูกจ้างที่ชอบ
ประพฤติตนเป็นปรปักษ์ หรือมักหัวหมออยู่เป็นนิจ ท่านที่เป็นนายจ้างก็ควรลงโทษตามระเบียบข้อบังคับ และการลงโทษ
จนเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ กฎหมายได้อนุญาตไว้เพียงอย่างเดียวคือ "การทำผิดซ้ำคำเตือน" หากลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนเมื่อใด
ท่านก็เลิกจ้างได้ตามกฎหมาย (กฎหมายไม่มีตักเตือนซ้ำ หรือพักงานซ้ำ ถึงเลิกจ้างได้)
กรณีที่ท่านถามมานี้ นายจ้างเสียเปรียบเพราะ ไม่อ้างเหตุเลิกจ้างเขา คือนายจ้างอาจจะมีเหตุอยากจะเลิกจ้างเพราะลูกจ้าง
ประพฤติตนขัดคำสั่งนายจ้าง แต่เวลาเลิกจ้าง ไม่ได้ทำตามวิธีการในบทลงโทษ และไม่ได้อ้างเหตุดังกล่าวในการเลิกจ้าง
เป็นเพียงการจ่ายเงินชดเชย แล้วเลิกจ้างกันไป...ทีนี้ลูกจ้างก็ไปฟ้องร้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่อสิ่ครับ งานนี้
เวลาจะอ้างเหตุเลิกจ้าง ต้องไปอ้างตอนที่เลิกจ้างครับ ไปอ้างในการนำสืบของศาล ศาลท่านไม่รับฟังครับ
แสดงความคิดเห็น
การเลิกจ้างลูกจ้าง ที่ไม่ทำตามคำสั่งของนายจ้าง
เรื่องของเรื่องคือ
งานมีปัญหา นายจ้าง แนะนำว่าต้องทำอย่างนี้ๆ แล้วเขาไม่ทำตาม
นานๆ เข้า คนๆนี้ก็ทำมั่งไม่ทำมั่ง อยากเข้างานตอนไหนก็เข้า
งานตัวไหนมีปัญหาก็แก้มั่งไม่แก้มั่ง เกิดผลเสียต่อองค์กร
จนนายจ้างทน บ่ด้าย....
ให้เขาออก พร้อมเงินชดเชย หรือ อะไรสักอย่างนี่แหละ ประมาณ แสนกว่า(น่าจะเป็นเงินเดือน x 5)
ทีนี่เขารับเงินไป แต่ไม่พอใจกลับมาโวยวายที่ บริษัท
เอาทนายมา บอกว่าจะฟ้อง เรียกค่าชดเชยจนอายุ 55 ปี (ปัจจุบันน่าจะประมาณ 48 ปี)
กรณีนี้ เขาสามารถฟ้องร้องกันได้ด้วยหรอครับ หรือถ้าไม่ได้ สิทธิของลูกจ้างที่โดนเลิกจ้างแบบนี้ทำได้แค่ไหน
เพราะผมเข้าใจนายจ้างนะว่า มันสุดทนจริงๆ
ผมสมมตินะครับ สงสัยเอง