ท่านเคยสงสัยมั้ยครับว่า ประเทศอังกฤษกว่าจะมาเป็นอย่างทุกวันนี้ได้ ต้องผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์มากมายอะไรมาบ้าง วันนี้ผมจะนำท่านไปรู้จักกับ วีรกษัตริย์ท่านหนึ่งของอังกฤษ กษัตริย์พระองค์นี้เป็นกษัตริย์ต่างชาติ ที่ทรงสร้างรากฐานความเจริญรุ่งเรืองของอังกฤษในต้นยุคกลางหลักจากที่โรมันทิ้งเกาะบริเตนไปแล้วไม่นาน
“นอร์มัน”
ก่อนอื่นเราคงจะต้องทราบเรื่องพื้นเพของกษัตริย์พระองค์นี้ก่อนครับ คือ พระองค์เป็นชนชาวนอร์มัน(Normans) หรือ “นอร์แมน” นั่นเองครับ แล้วชาวนอร์มันมันมาจากไหน? คำว่า “นอร์มัน” มีรากศัพท์มากจาก “Northmen”หรือ “Norsemen” ครับ ซึ่งพวกนี้แต่เดิมอาศัยอยู่ที่ตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ประวัติศาสตร์ของพวกเขาเริ่มประมาณปีค.ศ.911
โดยชาวนอร์มันนี้มีชุมชนขนาดใหญ่อยู่ที่แคว้นนอมังดี(Normandy) ติดกับแคว้นBritannyในฝรั่งเศส นั่นหมายความว่า ชอนอร์มันคือชาวฝรั่งเศสเชื้อสายไวกิ้งนั่นเองครับ ซึ่งต่อมาทั้ง2เชื้อชาตินี้เองก็เป็นเชื้อหลักของบรรพบุรุษในอังกฤษ ซึ่งไวกิ้งในที่นี้ คือพวกสแกนดิเนเวียร์ นอรเวย์เดนมาร์ก และสวีเดน ส่วนคนบนเกาะเองแท้ๆจะเป็นพวก “celt” เดิม คือพวกเวลล์และไอร์แลนด์ครับ
แผนที่ครับ
“วิลเลี่ยม ลูกเมียน้อย”
เมื่อเรารู้ ‘หัวนอนปลายเท้า ’ เราก็มารู้จักกับพระราชาพระองค์นี้เลยดีกว่า วิลเลี่ยมเป็นราชบุตรของดยุคโรเบิร์ต ซึ่งบ้างก็ว่า แกเป็นกษัตริย์ชีวิตรันทดในตอนเกิด แต่ชีวิตแกจะว่ารันทด ก็ไม่รันทดเสียทีเดียวครับ มันรันทดตรงที่ว่า “แกเป็นลูกเมียน้อย” ซึ่งเกิดจากสามัญชนที่มีนามว่า "โอลีฟ"
ซึ่งสมัยนั้น คนชื่อซ้ำๆ เต็มไปหมด คราวนี้ คนสมัยก่อนจะเรียกชนชั้นนำของตนเองอย่างไรให้รู้ว่าใคร เขาก็ตั้งสมญานามครับ โดยวิลเลี่ยมถูกตั้งว่า “The Bastard” หรือ “ลูกไม่มีพ่อ” คือ โรเบิร์ต ไม่ยอมรับว่า วิลเลี่ยมเป็นลูก แต่แล้ว วิลเลี่ยมก็ได้ครองแคว้นนอร์มังดีตั้งแต่อายุ8ขวบ ด้วยการสนับสนุนจากบรรดาญาติๆ ในขณะที่ลูกคนอื่นต่อแถวรออยู่
“รัชทายาทแห่งอังกฤษ”
ในปีค.ศ.1053 ดยุควิลเลี่ยมที่2 (คนเดิม) ได้สมรสกับ มาธิลดา ซึ่งพ่อเธอคือเจ้าแคว้นฟรานเดอร์คือแคว้นที่ถัดไปจากแคว้นบริตานี่นิสสนึง ซึ่งมาธิลดาก็มีสายโลหิตเป็นญาติห่างๆกับพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช บรรพกษัตริย์แห่งแคว้นเวสสเส็ก(Wessex)ในเกาะบริเตน
ซึ่งถือว่าเป็นแคว้นที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการยอมรับในการเป็นผู้นำในบรรดาแคว้นใหญ่ๆบนเกาะหลักในตอนนั้นคือ เมอร์เซีย(mercia) อีส แองเกลีย(east anglia) เวสเส็ก(wessex) และนอธัมเบรีย(northumbria)
วิลเลี่ยมคิดออกทันใด แกลงแรงเดินทางไปอังกฤษ ไปบอกกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้ครองแคว้นเวสเส็กว่า ว่าขอสืบต่อราชบัลลังก์ พอวิลเลี่ยมเจรจาเสร็จก็นั่งเรือกลับนอร์มังดีเลยครับ นั่งรอบัลลังก์แห่งอังกฤษแบบสบายๆ โดยไม่ทำอะไรทั้งสิ้น
ที่สำคัญ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดแกมีรัชทายาทอยู่ก่อนแล้วด้วยครับ คือ ฮาโรลด์ ก็อดวินสัน(Harold Godwinson)ซึ่งเป็นรัชทายาทวงศ์แองโกล-แซ็กซันผสมไวกิ้งอยู่แล้ว
“สงครามชิงบัลลังก์”
เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์ลงในปี 1066 ทางแคว้นเว็สเส็ก ก็ได้แต่งตั้งดยุคฮาโรลด์ขึ้นครองราชย์ทันที เอาสิครับ ดยุควิลเลี่ยมก็ยังคงใจเย็นอยู่ในแคว้นนอมังดีไม่กลัวว่าหน้าจะแตกแต่อย่างใด พร้อมทั้งสะสมไพร่พลและสร้างกองเรือรบให้พร้อม รอเวลาพายุและลมทะเลเป็นใจเมื่อใด จะไปเอาบัลลังก์อังกฤษ!
แต่ทางฮาโรลด์เองชีวิตก็ไม่ราบเรียบนักเพราะ มีฮาโรลด์อีกคนนึง จะมาเอาบัลลังก์เหมือนกันครับ ฮาโรลด์อีกผู้หนึ่งนี้คือ ฮาโรลด์ ฮาราด้า(Harold Harada)จากวงศ์เดนส์หรือไวกิ้งโดยเฉพาะ ข้ามน้ำข้ามทะเลมาทำสงครามเพื่อชิงบัลลังก์ที่สะพานสแตมฟอร์ด(Stamford Bridge) เมืองยอร์กไชร์(Yorkshire) แต่จนแล้วจนรอดฮาโรลด์แห่งเวสเส็กก็รวมพลขึ้นเหนือสามารถขับไล่กองทัพไวกิ้งกลับไปได้ ซึ่งในศึกนั้นมีกองเรือไวกิ้งถึง300ลำแต่รอดกลับไปได้เพียง24ลำ…
“ฉวยโอกาส”
แต่การที่ฮาโรลด์แห่งเวสเส็กนั้น ไม่ทราบถึงเรื่องที่วิลเลี่ยมจะมาเอาบัลลังก์เลย เรียกง่ายๆว่า “ลืมมันไปนานแล้ว” ทำให้อังกฤษทางใต้นั้นไม่มีกำลังพลปกป้องชายแดน เพราะทหารหาญทั้งหมดร่วมทัพไปกับฮาโรลด์ในศึกที่ยอร์กไชร์ ในวันที่28กันยายน 1066 ดยุควิลเลี่ยม รวมรวบกองกำลังอัศวินนอร์แมน พลธนูสั้น-ยาว ไพร่ราบร่วม7,000(บางตำราว่า12,000) พร้อมกองเรือข้ามช่องแคบอังกฤษไปขึ้นบกที่เกาะ
การนี้ทำให้พระเจ้าฮาโรลด์ซึ่งคุมทหารถึง5,000นาย(บางตำราว่า13,000) ทรงกริ้วและรีบยกทัพกลับจากยอร์กไชร์ให้ด่วน ซึ่งทางดยุควิลเลี่ยมเอง ตอนนี้ได้จอดเรือลำเลียงกองทัพที่อ่อนล้าจากลมทะเลมาพักที่ชายหาด มีเรื่องเล่าว่า ขณะที่พระองค์ก้าวลงจากเรือพระที่นั่ง ดันลื่นทรายล้มคะมำ จนต้องเดินขากะเผกไปขึ้นม้าทรง
จนทหารที่เห็นนั้นจิตตกกันไปตามๆกัน ดยุควิลเลี่ยมเห็นดังนั้น ก็เลยปลุกใจทหารเอาฤกษ์ชัย ก้มลงเอาพระหัตถ์กำทรายเกาะบริเตนแล้วกล่าวว่า “ไชโย! เกาะบริเตนเป็นของเราแล้ว!” เช่นนั้น อุปทานหมู่ก็เกิดขึ้น ทหารที่รู้อิโหน่อิเหน่ และไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ก็พากันโห่ร้องยินดี ตามๆกันไป
ซึ่งกว่าข่าวจะไปถึง กว่าจะเดินทางยกทัพมา ก็ทำให้มีเวลาเหลือเฟือ ดยุควิลเลี่ยมมีเวลาพอขนาดที่ว่าสร้างปราสาทไว้รอศึก
แผนที่การเดินทางพระเจ้าฮาโรลด์และดยุควิลเลี่ยม
“ยุทธการแฮสติ้ง”
กองทัพของพระเจ้าฮาโรลใช้เวลา12วันการเดินทางมาถึงสมรภูมิแฮสติ้ง(Hasting)ที่ซึ่งดยุควิลเลี่ยมรั้งทัพรออยู่ ซึ่งพระเจ้าฮาโรลด์ตั้งทัพห่างจากวิลเลี่ยมประมาณ6ไมล์ห่างจากเมืองแฮสติ้ง
เช้าวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ.1066 เวลา 6โมง48นาที
กองทัพนอร์แมน7,000นาย ยาตราทัพเข้าปะทะกับกองทัพปกป้องบัลลังก์ของฮาโรลด์5,000นาย ซึ่งเป็นพวกแองโกล-แซกซันล้วน อีกทั้งเป็นพลราบล้วนอีกด้วย ความแตกต่างและความชำนาญศึกทำให้ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบสูสีกันในชั้นต้น เนื่องจาก ทหารแองโกล-แซกซัน เป็นพลชำนาญศึก ถือขวานใหญ่สองมือ ตามแบบฉบับชาวเหนือ รวมทั้งมีพลดาบ ขวานสั้น หอก คู่กับโล่ห์ยาว ส่วนทหารนอร์แมนมีกำลังอัศวินม้าทวนถึง3,000นาย
กองทัพของดยุควิลเลี่ยมแบ่งเป็น3ส่วน ทัพหลวง ส่วนกลางคือพลทหารนอร์แมน ปีกตะวันออกคือ พลทหารธนูสั้นและยาวจากฝรั่งเศส ผสมกับกองธนูถือทวนจากแคว้นบริตานี ส่วนที่3ปีกตะวันตกคือ กองอัศวินม้าทวน และหอกซัดนอร์แมน ซึ่งเป็นที่ล่ำลือว่าเก่งกาจที่สุดในยุโรปยุคนั้น
กองทหารของพระเจ้าฮาโรลด์ และ ดยุควิลเลี่ยม
“เปิดกระดาน”
การต่อสู้เริ่มต้นในเวลา 9 โมงตรง ในชั้นแรก กองทหารนอร์แมนไม่สามารถ ทำอะไรกองทัพอังกฤษได้เลย เนื่องจากการใช้ “shield wall” ป้องกันลูกธนูและหอกซัดของพลม้านอร์แมนและพลธนูไว้ได้ อีกทั้งกองทัพของพระเจ้าฮาโรลด์มีชัยภูมิที่ดี คือตั้งทัพไว้บนเนิน อีกทั้งวิลเลี่ยมต้องทำการโจมตีจึงเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
เปลี่ยนแผน”
ในการรบนั้น มีผู้ตะโกนว่า “วิลเลี่ยมตายแล้ว!” ทำให้แนวรบของนอร์แมนระส่ำระส่าย ดยุควิลเลี่ยมจึงเปิดหมวกศึกของตนออกและตะโกนว่า “ข้ายังอยู่” เหล่าทหารจึงกลับมามีขวัญกำลังใจอีกครั้ง ดยุดวิลเลี่ยมไม่รอช้า ใช้โอกาสนี้ทำทีถอยทัพออกจากสมรภูมิเนินที่เสียเปรียบ กองทัพฮาโรลด์จึงเร่งไล่ตามด้วยคิดว่าจะไล่เหยียบพวกนอร์แมนให้จมแผ่นดินอังกฤษ
เมื่อกองทัพลงมาจากเนินแล้ว และการไล่ตามทำให้ระเบียบแถวทหารหลวมลง กองทัพนอร์แมนหันมาใช้อัศวินม้าเข้าชาร์จให้พลทหารแตกกระเจิง และโถมกำลังทัพโรมรันกับทหารแองโกล-แซกซัน
ขณะที่ทหารทั้งสองฝ่ายปะทะกันอย่างเอาเป็นเอาตายด้วยขวานศึกและดาบโล่ ห่าธนูยังคงโปรยปรายจากฟ้าดุจสายฝน
ยังไม่ทันที่พระผู้เป็นเจ้าจะชี้ชะตาให้ทหารอังกฤษคนสุดท้ายจะอยู่หรือตาย พระเจ้าฮาโรลด์ซึ่งทรงมาสู้ศึกอยู่ก็ถูกลูกศรจากพลธนูของฝ่ายนอร์แมนยิงเข้าที่พระเนตรร่วงลงจากม้า สิ้นพระชนม์ กองทหารอังกฤษพ่ายแพ้อย่างไม่มีทางสู้ เนื่องจากผู้นำในทัพของตนถูกสังหารหมดสิ้น
ดยุควิลเลี่ยมได้เห็นพระศพของพระเจ้าฮาโรลด์ ซึ่งทรงถูกลูกธนู และพระวรกายถูกแทง อีกทั้ง ถูกตัดพระบาทไปโดยอัศวินนอร์มัน ซึ่งต่อมา ดยุควิลเลี่ยมได้ปลดอัศวินผู้นั้นออกจากราชการ และ สั่งให้ฝังพระศพของพระเจ้าฮาโรลด์ที่ชายหาดเมืองพีเวนซี ซึ่งต่อมามีผู้ขุดไปทำพิธีฝังที่วิหารเมืองวอลแธม…
สนามรบในปัจจุบัน
“ยุทธการแฮสติ้ง วิลเลี่ยมผู้พิชิต”
“นอร์มัน”
ก่อนอื่นเราคงจะต้องทราบเรื่องพื้นเพของกษัตริย์พระองค์นี้ก่อนครับ คือ พระองค์เป็นชนชาวนอร์มัน(Normans) หรือ “นอร์แมน” นั่นเองครับ แล้วชาวนอร์มันมันมาจากไหน? คำว่า “นอร์มัน” มีรากศัพท์มากจาก “Northmen”หรือ “Norsemen” ครับ ซึ่งพวกนี้แต่เดิมอาศัยอยู่ที่ตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ประวัติศาสตร์ของพวกเขาเริ่มประมาณปีค.ศ.911
โดยชาวนอร์มันนี้มีชุมชนขนาดใหญ่อยู่ที่แคว้นนอมังดี(Normandy) ติดกับแคว้นBritannyในฝรั่งเศส นั่นหมายความว่า ชอนอร์มันคือชาวฝรั่งเศสเชื้อสายไวกิ้งนั่นเองครับ ซึ่งต่อมาทั้ง2เชื้อชาตินี้เองก็เป็นเชื้อหลักของบรรพบุรุษในอังกฤษ ซึ่งไวกิ้งในที่นี้ คือพวกสแกนดิเนเวียร์ นอรเวย์เดนมาร์ก และสวีเดน ส่วนคนบนเกาะเองแท้ๆจะเป็นพวก “celt” เดิม คือพวกเวลล์และไอร์แลนด์ครับ
แผนที่ครับ
“วิลเลี่ยม ลูกเมียน้อย”
เมื่อเรารู้ ‘หัวนอนปลายเท้า ’ เราก็มารู้จักกับพระราชาพระองค์นี้เลยดีกว่า วิลเลี่ยมเป็นราชบุตรของดยุคโรเบิร์ต ซึ่งบ้างก็ว่า แกเป็นกษัตริย์ชีวิตรันทดในตอนเกิด แต่ชีวิตแกจะว่ารันทด ก็ไม่รันทดเสียทีเดียวครับ มันรันทดตรงที่ว่า “แกเป็นลูกเมียน้อย” ซึ่งเกิดจากสามัญชนที่มีนามว่า "โอลีฟ"
ซึ่งสมัยนั้น คนชื่อซ้ำๆ เต็มไปหมด คราวนี้ คนสมัยก่อนจะเรียกชนชั้นนำของตนเองอย่างไรให้รู้ว่าใคร เขาก็ตั้งสมญานามครับ โดยวิลเลี่ยมถูกตั้งว่า “The Bastard” หรือ “ลูกไม่มีพ่อ” คือ โรเบิร์ต ไม่ยอมรับว่า วิลเลี่ยมเป็นลูก แต่แล้ว วิลเลี่ยมก็ได้ครองแคว้นนอร์มังดีตั้งแต่อายุ8ขวบ ด้วยการสนับสนุนจากบรรดาญาติๆ ในขณะที่ลูกคนอื่นต่อแถวรออยู่
“รัชทายาทแห่งอังกฤษ”
ในปีค.ศ.1053 ดยุควิลเลี่ยมที่2 (คนเดิม) ได้สมรสกับ มาธิลดา ซึ่งพ่อเธอคือเจ้าแคว้นฟรานเดอร์คือแคว้นที่ถัดไปจากแคว้นบริตานี่นิสสนึง ซึ่งมาธิลดาก็มีสายโลหิตเป็นญาติห่างๆกับพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช บรรพกษัตริย์แห่งแคว้นเวสสเส็ก(Wessex)ในเกาะบริเตน
ซึ่งถือว่าเป็นแคว้นที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการยอมรับในการเป็นผู้นำในบรรดาแคว้นใหญ่ๆบนเกาะหลักในตอนนั้นคือ เมอร์เซีย(mercia) อีส แองเกลีย(east anglia) เวสเส็ก(wessex) และนอธัมเบรีย(northumbria)
วิลเลี่ยมคิดออกทันใด แกลงแรงเดินทางไปอังกฤษ ไปบอกกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้ครองแคว้นเวสเส็กว่า ว่าขอสืบต่อราชบัลลังก์ พอวิลเลี่ยมเจรจาเสร็จก็นั่งเรือกลับนอร์มังดีเลยครับ นั่งรอบัลลังก์แห่งอังกฤษแบบสบายๆ โดยไม่ทำอะไรทั้งสิ้น
ที่สำคัญ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดแกมีรัชทายาทอยู่ก่อนแล้วด้วยครับ คือ ฮาโรลด์ ก็อดวินสัน(Harold Godwinson)ซึ่งเป็นรัชทายาทวงศ์แองโกล-แซ็กซันผสมไวกิ้งอยู่แล้ว
“สงครามชิงบัลลังก์”
เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์ลงในปี 1066 ทางแคว้นเว็สเส็ก ก็ได้แต่งตั้งดยุคฮาโรลด์ขึ้นครองราชย์ทันที เอาสิครับ ดยุควิลเลี่ยมก็ยังคงใจเย็นอยู่ในแคว้นนอมังดีไม่กลัวว่าหน้าจะแตกแต่อย่างใด พร้อมทั้งสะสมไพร่พลและสร้างกองเรือรบให้พร้อม รอเวลาพายุและลมทะเลเป็นใจเมื่อใด จะไปเอาบัลลังก์อังกฤษ!
แต่ทางฮาโรลด์เองชีวิตก็ไม่ราบเรียบนักเพราะ มีฮาโรลด์อีกคนนึง จะมาเอาบัลลังก์เหมือนกันครับ ฮาโรลด์อีกผู้หนึ่งนี้คือ ฮาโรลด์ ฮาราด้า(Harold Harada)จากวงศ์เดนส์หรือไวกิ้งโดยเฉพาะ ข้ามน้ำข้ามทะเลมาทำสงครามเพื่อชิงบัลลังก์ที่สะพานสแตมฟอร์ด(Stamford Bridge) เมืองยอร์กไชร์(Yorkshire) แต่จนแล้วจนรอดฮาโรลด์แห่งเวสเส็กก็รวมพลขึ้นเหนือสามารถขับไล่กองทัพไวกิ้งกลับไปได้ ซึ่งในศึกนั้นมีกองเรือไวกิ้งถึง300ลำแต่รอดกลับไปได้เพียง24ลำ…
“ฉวยโอกาส”
แต่การที่ฮาโรลด์แห่งเวสเส็กนั้น ไม่ทราบถึงเรื่องที่วิลเลี่ยมจะมาเอาบัลลังก์เลย เรียกง่ายๆว่า “ลืมมันไปนานแล้ว” ทำให้อังกฤษทางใต้นั้นไม่มีกำลังพลปกป้องชายแดน เพราะทหารหาญทั้งหมดร่วมทัพไปกับฮาโรลด์ในศึกที่ยอร์กไชร์ ในวันที่28กันยายน 1066 ดยุควิลเลี่ยม รวมรวบกองกำลังอัศวินนอร์แมน พลธนูสั้น-ยาว ไพร่ราบร่วม7,000(บางตำราว่า12,000) พร้อมกองเรือข้ามช่องแคบอังกฤษไปขึ้นบกที่เกาะ
การนี้ทำให้พระเจ้าฮาโรลด์ซึ่งคุมทหารถึง5,000นาย(บางตำราว่า13,000) ทรงกริ้วและรีบยกทัพกลับจากยอร์กไชร์ให้ด่วน ซึ่งทางดยุควิลเลี่ยมเอง ตอนนี้ได้จอดเรือลำเลียงกองทัพที่อ่อนล้าจากลมทะเลมาพักที่ชายหาด มีเรื่องเล่าว่า ขณะที่พระองค์ก้าวลงจากเรือพระที่นั่ง ดันลื่นทรายล้มคะมำ จนต้องเดินขากะเผกไปขึ้นม้าทรง
จนทหารที่เห็นนั้นจิตตกกันไปตามๆกัน ดยุควิลเลี่ยมเห็นดังนั้น ก็เลยปลุกใจทหารเอาฤกษ์ชัย ก้มลงเอาพระหัตถ์กำทรายเกาะบริเตนแล้วกล่าวว่า “ไชโย! เกาะบริเตนเป็นของเราแล้ว!” เช่นนั้น อุปทานหมู่ก็เกิดขึ้น ทหารที่รู้อิโหน่อิเหน่ และไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ก็พากันโห่ร้องยินดี ตามๆกันไป
ซึ่งกว่าข่าวจะไปถึง กว่าจะเดินทางยกทัพมา ก็ทำให้มีเวลาเหลือเฟือ ดยุควิลเลี่ยมมีเวลาพอขนาดที่ว่าสร้างปราสาทไว้รอศึก
แผนที่การเดินทางพระเจ้าฮาโรลด์และดยุควิลเลี่ยม
“ยุทธการแฮสติ้ง”
กองทัพของพระเจ้าฮาโรลใช้เวลา12วันการเดินทางมาถึงสมรภูมิแฮสติ้ง(Hasting)ที่ซึ่งดยุควิลเลี่ยมรั้งทัพรออยู่ ซึ่งพระเจ้าฮาโรลด์ตั้งทัพห่างจากวิลเลี่ยมประมาณ6ไมล์ห่างจากเมืองแฮสติ้ง
เช้าวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ.1066 เวลา 6โมง48นาที
กองทัพนอร์แมน7,000นาย ยาตราทัพเข้าปะทะกับกองทัพปกป้องบัลลังก์ของฮาโรลด์5,000นาย ซึ่งเป็นพวกแองโกล-แซกซันล้วน อีกทั้งเป็นพลราบล้วนอีกด้วย ความแตกต่างและความชำนาญศึกทำให้ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบสูสีกันในชั้นต้น เนื่องจาก ทหารแองโกล-แซกซัน เป็นพลชำนาญศึก ถือขวานใหญ่สองมือ ตามแบบฉบับชาวเหนือ รวมทั้งมีพลดาบ ขวานสั้น หอก คู่กับโล่ห์ยาว ส่วนทหารนอร์แมนมีกำลังอัศวินม้าทวนถึง3,000นาย
กองทัพของดยุควิลเลี่ยมแบ่งเป็น3ส่วน ทัพหลวง ส่วนกลางคือพลทหารนอร์แมน ปีกตะวันออกคือ พลทหารธนูสั้นและยาวจากฝรั่งเศส ผสมกับกองธนูถือทวนจากแคว้นบริตานี ส่วนที่3ปีกตะวันตกคือ กองอัศวินม้าทวน และหอกซัดนอร์แมน ซึ่งเป็นที่ล่ำลือว่าเก่งกาจที่สุดในยุโรปยุคนั้น
กองทหารของพระเจ้าฮาโรลด์ และ ดยุควิลเลี่ยม
“เปิดกระดาน”
การต่อสู้เริ่มต้นในเวลา 9 โมงตรง ในชั้นแรก กองทหารนอร์แมนไม่สามารถ ทำอะไรกองทัพอังกฤษได้เลย เนื่องจากการใช้ “shield wall” ป้องกันลูกธนูและหอกซัดของพลม้านอร์แมนและพลธนูไว้ได้ อีกทั้งกองทัพของพระเจ้าฮาโรลด์มีชัยภูมิที่ดี คือตั้งทัพไว้บนเนิน อีกทั้งวิลเลี่ยมต้องทำการโจมตีจึงเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
เปลี่ยนแผน”
ในการรบนั้น มีผู้ตะโกนว่า “วิลเลี่ยมตายแล้ว!” ทำให้แนวรบของนอร์แมนระส่ำระส่าย ดยุควิลเลี่ยมจึงเปิดหมวกศึกของตนออกและตะโกนว่า “ข้ายังอยู่” เหล่าทหารจึงกลับมามีขวัญกำลังใจอีกครั้ง ดยุดวิลเลี่ยมไม่รอช้า ใช้โอกาสนี้ทำทีถอยทัพออกจากสมรภูมิเนินที่เสียเปรียบ กองทัพฮาโรลด์จึงเร่งไล่ตามด้วยคิดว่าจะไล่เหยียบพวกนอร์แมนให้จมแผ่นดินอังกฤษ
เมื่อกองทัพลงมาจากเนินแล้ว และการไล่ตามทำให้ระเบียบแถวทหารหลวมลง กองทัพนอร์แมนหันมาใช้อัศวินม้าเข้าชาร์จให้พลทหารแตกกระเจิง และโถมกำลังทัพโรมรันกับทหารแองโกล-แซกซัน
ขณะที่ทหารทั้งสองฝ่ายปะทะกันอย่างเอาเป็นเอาตายด้วยขวานศึกและดาบโล่ ห่าธนูยังคงโปรยปรายจากฟ้าดุจสายฝน
ยังไม่ทันที่พระผู้เป็นเจ้าจะชี้ชะตาให้ทหารอังกฤษคนสุดท้ายจะอยู่หรือตาย พระเจ้าฮาโรลด์ซึ่งทรงมาสู้ศึกอยู่ก็ถูกลูกศรจากพลธนูของฝ่ายนอร์แมนยิงเข้าที่พระเนตรร่วงลงจากม้า สิ้นพระชนม์ กองทหารอังกฤษพ่ายแพ้อย่างไม่มีทางสู้ เนื่องจากผู้นำในทัพของตนถูกสังหารหมดสิ้น
ดยุควิลเลี่ยมได้เห็นพระศพของพระเจ้าฮาโรลด์ ซึ่งทรงถูกลูกธนู และพระวรกายถูกแทง อีกทั้ง ถูกตัดพระบาทไปโดยอัศวินนอร์มัน ซึ่งต่อมา ดยุควิลเลี่ยมได้ปลดอัศวินผู้นั้นออกจากราชการ และ สั่งให้ฝังพระศพของพระเจ้าฮาโรลด์ที่ชายหาดเมืองพีเวนซี ซึ่งต่อมามีผู้ขุดไปทำพิธีฝังที่วิหารเมืองวอลแธม…
สนามรบในปัจจุบัน