ใครจะรวยบ้าง คุณกิตติรัตน์กรุณาชี้แจงด้วย
ในช่วง ๖ เดือนที่ผ่านมาเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในภาวะถดถอย จะเป็นเพราะวันหยุดเยอะอย่างที่ท่านนายกฯอ้างหรือไม่ก็แล้วแต่ ที่น่าสนใจคือในช่วงเวลาเดียวกัน บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศกลับสะสมเงินสดได้มหาศาล
ไม่น่าแปลกใจครับ เพราะนอกจากเขาจะแข่งขันได้เก่งกว่าบริษัทเล็กๆนอกตลาดหลักทรัพย์แล้ว เขาได้รับอานิสงส์โดยตรงจากการลดภาษีนิติบุคคลโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์อีกด้วย
การลดภาษีเป็นสิ่งที่ดีถ้ามีผลกระตุ้นให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น และการลดภาษีนิติบุคคลนั้น รัฐบาลก็อ้างว่าจะช่วยทำให้การลงทุนโดยภาคเอกชนสูงขึ้น เนื่องจากจะทำกำไรได้มากขึ้น
วันนี้เราเห็นแล้วครับว่า 'ไม่จริง' และนโยบายนี้เท่ากับเป็นการโอนเงินจากประชาชนกลับไปสู่นายทุน (พวกผู้ถือหุ้น ซึ่งผมเป็นคนหนึ่งในกลุ่มนี้) เป็นวงเงินโดยรวมเกือบๆ 200,000 ล้านบาทต่อปี โดยที่มีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมน้อยมาก และไม่มีหลักฐานชี้ให้เห็นว่าทำให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่มเลย
ในแง่ตรงกันข้ามกับผลที่รัฐบาลอ้างว่าจะเกิด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพิ่งเปิดเผยว่าบริษัทในตลาดจะจ่ายเงินปันผลกลางปีให้ผูุ้ถือหุ้นมากที่สุดที่เคยจ่ายมา (ทั้งๆที่เศรษฐกิจภาพรวมติดลบ) และหลักฐานที่ชัดที่สุดที่ชี้ให้เห็นว่ากำไรที่เพิ่มขึ้นที่ได้มาจาการลดภาษีนั้น ไม่ได้นำไปสู่การลงทุนเพิ่มเติม แต่มีการส่งต่อโดยตรงทันทีให้กับผู้ถือหุ้นคือ 'สัดส่วนปันผล' (pay-out ratio) ที่เพิ่มขึ้นอยากมากจาก 45% เป็น 62.5% ความหมายคือเดิมกำไรทุก 100บาท บริษัทจะแบ่งให้ผู้ถือหุ้น 45บาท และเก็บอีก 55บาทไว้ลงทุน แต่ปีนี้กำไรเพิ่มขึ้นแต่กลับเก็บไว้ลงทุนน้อยลง คือแบ่งผู้ถือหุ้น 62.5บาท เหลือลงทุนเพียง 37.5บาทเท่านั้น
ผมลองไปเช็คข้อมูลทางแบงค์ชาติดูเพื่อความแน่ใจ ก็พบว่า'ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน' ลดลงต่อเนื่องทุกเดือนตั้งแต่สิ้นปี ๒๕๕๕ จนถึงกลางปีนี้ คือลงมาจาก 247.7 มาที่ 239.8 และตัวเลขการลงทุนสร้างโรงงานต่างประเทศก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย แถมมีแนวโน้มลดลงด้วยซํ้า อย่างเช่นการขอใบอนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนครึ่งปีแรกนี้มีทั้งสิ้น 1,055 ราย เทียบกับ 2,420 รายทั้งปีที่แล้ว
ส่วน'ค่าเสียโอกาส'ในการนำเงินภาษี 200,000ล้านไปทำประโยชน์นั้นมากมายมหาศาล ยกตัวอย่างเช่นสามารถนำไปลงทุนตามแผนการใช้เงินกู้ 2ล้านล้านได้ในสองปีแรกโดยไม่ต้องกู้เพิ่มแม้แต่บาทเดียว หรือสามารถนำไปชำระหนี้ครูทั่วประเทศได้ทั้งหมดภายในสองปี
แต่นี่กลับกลายเป็นรายได้เพิ่มของผู้ที่รํ่ารวยที่สุดในประเทศอยู่แล้ว (ก็ถือว่าโชคดีไป) และข้อเท็จจริงอีกข้อคือ ผู้ถือหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์กว่าครึ่งเป็นต่างประเทศอีกต่างหาก เงินปันผลส่วนนี้จึงออกไปนอกประเทศ ไม่มีประโยชน์ต่อคนไทยเลย
ถ้าข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นหรือข้อมูลผมไม่ครบถ้วน ผมขอให้คุณกิตติรัตน์ชี้แจงด่วนครับ ผมรอรัฐบาลท่านเสนอผลนโยบายปีแรกต่อสภาฯมานานแล้ว จึงจำเป็นต้องขอตั้งกระทู้ถาม 'นอกสภาฯ' แบบนี้ครับ
----------------------------------------------------------
ส่วนตัวผม พนักงานกินเงินเดือน ได้ลดภาษีได้โขอยู่
รถคันแรก ก็มีชื่อผมอยู่ ถ้าไม่ผิดพลาด ก็จะได้ภาษีคืน เกือบแสน
รัฐบาล มีพระคุณกับผมขนาดนี้ ทำไมผมยังทำใจชอบไม่ลงนะ
----------------------------------------------------------
แท๊ก 2 ห้อง จะได้ช่วยกันวิจารณ์
จริงๆอยากฟังในมุมของนักเศรษฐศาสตร์ ว่าคุณกรณ์พูดจริงไหม
จากเฟสบุคกรณ์ "ใครจะรวยบ้าง คุณกิตติรัตน์กรุณาชี้แจงด้วย"
ในช่วง ๖ เดือนที่ผ่านมาเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในภาวะถดถอย จะเป็นเพราะวันหยุดเยอะอย่างที่ท่านนายกฯอ้างหรือไม่ก็แล้วแต่ ที่น่าสนใจคือในช่วงเวลาเดียวกัน บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศกลับสะสมเงินสดได้มหาศาล
ไม่น่าแปลกใจครับ เพราะนอกจากเขาจะแข่งขันได้เก่งกว่าบริษัทเล็กๆนอกตลาดหลักทรัพย์แล้ว เขาได้รับอานิสงส์โดยตรงจากการลดภาษีนิติบุคคลโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์อีกด้วย
การลดภาษีเป็นสิ่งที่ดีถ้ามีผลกระตุ้นให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น และการลดภาษีนิติบุคคลนั้น รัฐบาลก็อ้างว่าจะช่วยทำให้การลงทุนโดยภาคเอกชนสูงขึ้น เนื่องจากจะทำกำไรได้มากขึ้น
วันนี้เราเห็นแล้วครับว่า 'ไม่จริง' และนโยบายนี้เท่ากับเป็นการโอนเงินจากประชาชนกลับไปสู่นายทุน (พวกผู้ถือหุ้น ซึ่งผมเป็นคนหนึ่งในกลุ่มนี้) เป็นวงเงินโดยรวมเกือบๆ 200,000 ล้านบาทต่อปี โดยที่มีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมน้อยมาก และไม่มีหลักฐานชี้ให้เห็นว่าทำให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่มเลย
ในแง่ตรงกันข้ามกับผลที่รัฐบาลอ้างว่าจะเกิด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพิ่งเปิดเผยว่าบริษัทในตลาดจะจ่ายเงินปันผลกลางปีให้ผูุ้ถือหุ้นมากที่สุดที่เคยจ่ายมา (ทั้งๆที่เศรษฐกิจภาพรวมติดลบ) และหลักฐานที่ชัดที่สุดที่ชี้ให้เห็นว่ากำไรที่เพิ่มขึ้นที่ได้มาจาการลดภาษีนั้น ไม่ได้นำไปสู่การลงทุนเพิ่มเติม แต่มีการส่งต่อโดยตรงทันทีให้กับผู้ถือหุ้นคือ 'สัดส่วนปันผล' (pay-out ratio) ที่เพิ่มขึ้นอยากมากจาก 45% เป็น 62.5% ความหมายคือเดิมกำไรทุก 100บาท บริษัทจะแบ่งให้ผู้ถือหุ้น 45บาท และเก็บอีก 55บาทไว้ลงทุน แต่ปีนี้กำไรเพิ่มขึ้นแต่กลับเก็บไว้ลงทุนน้อยลง คือแบ่งผู้ถือหุ้น 62.5บาท เหลือลงทุนเพียง 37.5บาทเท่านั้น
ผมลองไปเช็คข้อมูลทางแบงค์ชาติดูเพื่อความแน่ใจ ก็พบว่า'ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน' ลดลงต่อเนื่องทุกเดือนตั้งแต่สิ้นปี ๒๕๕๕ จนถึงกลางปีนี้ คือลงมาจาก 247.7 มาที่ 239.8 และตัวเลขการลงทุนสร้างโรงงานต่างประเทศก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย แถมมีแนวโน้มลดลงด้วยซํ้า อย่างเช่นการขอใบอนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนครึ่งปีแรกนี้มีทั้งสิ้น 1,055 ราย เทียบกับ 2,420 รายทั้งปีที่แล้ว
ส่วน'ค่าเสียโอกาส'ในการนำเงินภาษี 200,000ล้านไปทำประโยชน์นั้นมากมายมหาศาล ยกตัวอย่างเช่นสามารถนำไปลงทุนตามแผนการใช้เงินกู้ 2ล้านล้านได้ในสองปีแรกโดยไม่ต้องกู้เพิ่มแม้แต่บาทเดียว หรือสามารถนำไปชำระหนี้ครูทั่วประเทศได้ทั้งหมดภายในสองปี
แต่นี่กลับกลายเป็นรายได้เพิ่มของผู้ที่รํ่ารวยที่สุดในประเทศอยู่แล้ว (ก็ถือว่าโชคดีไป) และข้อเท็จจริงอีกข้อคือ ผู้ถือหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์กว่าครึ่งเป็นต่างประเทศอีกต่างหาก เงินปันผลส่วนนี้จึงออกไปนอกประเทศ ไม่มีประโยชน์ต่อคนไทยเลย
ถ้าข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นหรือข้อมูลผมไม่ครบถ้วน ผมขอให้คุณกิตติรัตน์ชี้แจงด่วนครับ ผมรอรัฐบาลท่านเสนอผลนโยบายปีแรกต่อสภาฯมานานแล้ว จึงจำเป็นต้องขอตั้งกระทู้ถาม 'นอกสภาฯ' แบบนี้ครับ
----------------------------------------------------------
ส่วนตัวผม พนักงานกินเงินเดือน ได้ลดภาษีได้โขอยู่
รถคันแรก ก็มีชื่อผมอยู่ ถ้าไม่ผิดพลาด ก็จะได้ภาษีคืน เกือบแสน
รัฐบาล มีพระคุณกับผมขนาดนี้ ทำไมผมยังทำใจชอบไม่ลงนะ
----------------------------------------------------------
แท๊ก 2 ห้อง จะได้ช่วยกันวิจารณ์
จริงๆอยากฟังในมุมของนักเศรษฐศาสตร์ ว่าคุณกรณ์พูดจริงไหม