เห็นด้วยหรือไม่ เพราะอะไรป่าว
http://www.tnews.co.th/html/news/73607/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B9%88%21%21%21%21-%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5-VAT10%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87.html
เตรียมปรับขึ้นแน่ สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หลังจดจ้องมานาน เพราะทุกครั้งที่ส่งสัญญาณว่า รัฐมีแนวคิดปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่ารัฐบาลใดถูกกระแสคัดค้านอย่างหนักจนต้องพับโครงการทิ้งมาโดยตลอด ทำให้ที่ผ่านมาไม่มีรัฐบาลใดกล้าปรับขึ้นภาษี เพราะกลัวจะเสียคะแนนเสียงประชานิยม
โดยล่าสุด นายสมชัย สัจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)ออกมาลุยไฟเสนอให้รัฐบาลเก็บภาษีจากฐานการบริโภคและการใช้จ่าย ผ่านการเก็บภาษีแวต เพิ่มขึ้นเป็น 10% จากปัจจุบันเก็บ 7% รวมถึงการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่รกร้างว่างเปล่า ที่มีการซื้อไว้เพื่อเก็งกำไร ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่า จะเป็นคนชนชั้นกลางและคนรวย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมาย โดย คาดว่าจะมีการเก็บภาษีดังกล่าว 0.5% ของราคาประเมิน
การหมายมั่นปั้นมือที่จะปรับขึ้นภาษีแวตในครั้งนี้ นายสมชัย ระบุว่าได้ผ่านการเห็นของจากนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอ้างเหตุผลว่า กระทรวงการคลังต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างภาษีทั้งระบบ เพื่อรองรับรายจ่ายของประเทศที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการดึงนักลงทุน และลดภาระให้กับผู้เสียภาษี ซึ่งส่งผลให้การเก็บภาษีจากฐานรายได้ของประเทศในอนาคตลดน้อยลง และการเพิ่มขึ้นทุก 1% ของภาษีดังกล่าว จะทำให้รัฐบาลสามารถเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ถึง 5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้นายสมชัยยังโยงมาถึง การกู้เงินเพื่อลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2 ล้านล้านบาท จะเป็นตัวสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจปีหน้าให้ได้ไม่ต่ำกว่า 5% ซึ่งกระทรวงการคลังยืนยันว่า การกู้เงินลงทุนดังกล่าว จะทำหนี้สาธารณะของไทยไม่เกิน 50% ของจีดีพี ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง
อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่รัฐบาลใช้กล่าวอ้าง ว่า ภาษีแวตของไทยจำเป็นต้องปรับเพื่อให้สอดคล้องรองรับรายจ่ายของประเทศที่เพิ่มขึ้นเพื่อการพัฒนาประเทศนั้น เหตุถือเป็นหลักเหตุผลทางการคลังถูกต้อง แต่นัยยะสำคัญและคำถามที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลชุดนี้คือ เงินในคงคลังของประเทศที่หดหาย และแนวคิดที่จะรีดเงินภาษีประชาชนเพิ่มขึ้นนั้น รัฐบาลได้นำเงินของภาษีประชาชนไปใช้อย่างคุ้มค่าหรือไม่ คือที่ผ่านมาได้นำเงินภาษีไปลงทุน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจประเทศให้เติบได้อย่างยั่งยืนหรือไม่ แต่หากนำเงินภาษีของประชาชนไปใช้เพื่อการประชานิยมของรัฐบาล ก็คงไม่ใช่หลักการใช้เงินภาษีที่ถูกต้อง
หากถามถึงความเหมาะสมในการปรับขึ้นภาษีแวตในยามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้เหมาะสมแล้วหรือไม่ และหากเก็บในช่วงที่ไม่เหมาะสม เท่ากับว่าจะเป็นการซ้ำเติมประชาชนในยุคนี้ที่สินค้ามีราคาแพง ค่าครองชีพพุ่งสูงอยู่แล้ว ยิ่งค่าแก๊ส ค่าน้ำมัน และค่าไฟฟ้าก็เพิ่งปรับขึ้นไปไม่นาน ขณะที่ปัญหาหนี้ครัว เรือนไทยก็ยังอยู่ในระดับสูง แน่นอนว่า เมื่อภาษีแวตเพิ่มขึ้น ภาระตรงนี้ก็ต้องตกไปเป็นของผู้ซื้อต้องแบกภาระสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากภาวะแวตที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้มองได้ว่า การพยามหาเหตุผลเพื่อต้องการปรับขึ้นภาษีแวตครั้งนี้ เพราะรัฐบาลต้องการหารายเพื่อชดเชยรายจ่ายที่สูญเสียไปจากนโยบายหาเสียงของรัฐบาล จากโครงการประชานิยมต่างๆจำนวนมหาศาลใช่หรือไม่ ทั้งรายได้ที่หายไปจากการปรับลดภาษีนิติบุคคล 30% เหลือ 20% ที่ทำให้รายได้ประเทศหายไปประมาณ 2 แสนล้านบาท และงบประมาณที่หายไปจาก โครงการรับจำนำข้าว ที่ 2 ปี คาดกันว่า ทำให้ชาติต้องสูญเสียเงินไปแล้วกว่า 4.2 แสนล้านบาท
รัฐบาล เพิ่มVATเป็น 10% ดีหรือไม่ดีอย่างไร
http://www.tnews.co.th/html/news/73607/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B9%88%21%21%21%21-%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5-VAT10%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87.html
เตรียมปรับขึ้นแน่ สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หลังจดจ้องมานาน เพราะทุกครั้งที่ส่งสัญญาณว่า รัฐมีแนวคิดปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่ารัฐบาลใดถูกกระแสคัดค้านอย่างหนักจนต้องพับโครงการทิ้งมาโดยตลอด ทำให้ที่ผ่านมาไม่มีรัฐบาลใดกล้าปรับขึ้นภาษี เพราะกลัวจะเสียคะแนนเสียงประชานิยม
โดยล่าสุด นายสมชัย สัจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)ออกมาลุยไฟเสนอให้รัฐบาลเก็บภาษีจากฐานการบริโภคและการใช้จ่าย ผ่านการเก็บภาษีแวต เพิ่มขึ้นเป็น 10% จากปัจจุบันเก็บ 7% รวมถึงการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่รกร้างว่างเปล่า ที่มีการซื้อไว้เพื่อเก็งกำไร ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่า จะเป็นคนชนชั้นกลางและคนรวย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมาย โดย คาดว่าจะมีการเก็บภาษีดังกล่าว 0.5% ของราคาประเมิน
การหมายมั่นปั้นมือที่จะปรับขึ้นภาษีแวตในครั้งนี้ นายสมชัย ระบุว่าได้ผ่านการเห็นของจากนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอ้างเหตุผลว่า กระทรวงการคลังต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างภาษีทั้งระบบ เพื่อรองรับรายจ่ายของประเทศที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการดึงนักลงทุน และลดภาระให้กับผู้เสียภาษี ซึ่งส่งผลให้การเก็บภาษีจากฐานรายได้ของประเทศในอนาคตลดน้อยลง และการเพิ่มขึ้นทุก 1% ของภาษีดังกล่าว จะทำให้รัฐบาลสามารถเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ถึง 5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้นายสมชัยยังโยงมาถึง การกู้เงินเพื่อลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2 ล้านล้านบาท จะเป็นตัวสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจปีหน้าให้ได้ไม่ต่ำกว่า 5% ซึ่งกระทรวงการคลังยืนยันว่า การกู้เงินลงทุนดังกล่าว จะทำหนี้สาธารณะของไทยไม่เกิน 50% ของจีดีพี ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง
อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่รัฐบาลใช้กล่าวอ้าง ว่า ภาษีแวตของไทยจำเป็นต้องปรับเพื่อให้สอดคล้องรองรับรายจ่ายของประเทศที่เพิ่มขึ้นเพื่อการพัฒนาประเทศนั้น เหตุถือเป็นหลักเหตุผลทางการคลังถูกต้อง แต่นัยยะสำคัญและคำถามที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลชุดนี้คือ เงินในคงคลังของประเทศที่หดหาย และแนวคิดที่จะรีดเงินภาษีประชาชนเพิ่มขึ้นนั้น รัฐบาลได้นำเงินของภาษีประชาชนไปใช้อย่างคุ้มค่าหรือไม่ คือที่ผ่านมาได้นำเงินภาษีไปลงทุน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจประเทศให้เติบได้อย่างยั่งยืนหรือไม่ แต่หากนำเงินภาษีของประชาชนไปใช้เพื่อการประชานิยมของรัฐบาล ก็คงไม่ใช่หลักการใช้เงินภาษีที่ถูกต้อง
หากถามถึงความเหมาะสมในการปรับขึ้นภาษีแวตในยามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้เหมาะสมแล้วหรือไม่ และหากเก็บในช่วงที่ไม่เหมาะสม เท่ากับว่าจะเป็นการซ้ำเติมประชาชนในยุคนี้ที่สินค้ามีราคาแพง ค่าครองชีพพุ่งสูงอยู่แล้ว ยิ่งค่าแก๊ส ค่าน้ำมัน และค่าไฟฟ้าก็เพิ่งปรับขึ้นไปไม่นาน ขณะที่ปัญหาหนี้ครัว เรือนไทยก็ยังอยู่ในระดับสูง แน่นอนว่า เมื่อภาษีแวตเพิ่มขึ้น ภาระตรงนี้ก็ต้องตกไปเป็นของผู้ซื้อต้องแบกภาระสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากภาวะแวตที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้มองได้ว่า การพยามหาเหตุผลเพื่อต้องการปรับขึ้นภาษีแวตครั้งนี้ เพราะรัฐบาลต้องการหารายเพื่อชดเชยรายจ่ายที่สูญเสียไปจากนโยบายหาเสียงของรัฐบาล จากโครงการประชานิยมต่างๆจำนวนมหาศาลใช่หรือไม่ ทั้งรายได้ที่หายไปจากการปรับลดภาษีนิติบุคคล 30% เหลือ 20% ที่ทำให้รายได้ประเทศหายไปประมาณ 2 แสนล้านบาท และงบประมาณที่หายไปจาก โครงการรับจำนำข้าว ที่ 2 ปี คาดกันว่า ทำให้ชาติต้องสูญเสียเงินไปแล้วกว่า 4.2 แสนล้านบาท